4.1.1      การใช้สัมผัส

 

             รอนรอน สุริยะโอ้             อัสดง

        เรื่อยเรื่อย   ลับเมรุลง            ค่ำแล้ว

        รอนรอน  จิตจำนง                 นุชพี่ เพียงแม่

        เรื่อยเรื่อย  เรียมคอยแก้ว         คลับคล้ายเรียมเหลียว

                                              ( กาพย์เห่เรือ : เจ้าฟ้าธรรมธิเบศร์ )

                          คำประพันธ์นอกจากไพเราะด้วยเสียงสัมผัสบังคับแล้ว

ยังเพิ่มความไพเราะด้วยเสียงสัมผัสในได้แก่  คำว่า โอ้-อัส, ลง-แล้ว,นง-นุช

และเล่นคำว่า  รอนรอน-เรื่อยเรื่อย ซึ่งเป็นคำสัมผัส “ ” ทั้งหมด นอกจากนี้

จะได้เสียงสัมผัสและยังแสดงความรู้สึกโศกเศร้าได้อย่างชัดเจน คำว่า รอนรอน

ทำให้เห็นภาพดวงอาทิตย์กำลังจะตกเหมือนหัวใจที่รอนรอน เรื่อยเรื่อย แสดง

อาการดวงอาทิตย์กำลังจะลับลงช้า ๆ เช่นเดียวกับการรอคอยที่ยาวนาน

 

 4.1.2   การเล่นสัมผัส

 

             “…พลางพระดูดงเฌอ  พิศพุ่มเสมอเหมือนฉัตร เป็นขนัด

เนืองนันต์  หลายเหล่าพรรณพฤกษา  มีนานาไม้แมก  หมู่ตระแบกกระบาก  มาก

รวกโรกรักรังรง  ปริกปริงปรงปรางปรู  ลำแพนลำพูลำพัน…”

                  ( ลิลิตตะเลงพ่าย : สมเด็จพระมหาสมรเจ้ากรมพระปรมานุชิตชิโนรส )

                             คำประพันธ์ข้างต้นนี้แสดงให้เห็นการเล่นสัมผัสพยัญชนะ

ในแต่ละวรรคมีคำที่เสียงคล้องจองทำให้เกิดเสียงที่กลมกลืนกัน เช่น พลาง-พระ

พิศ-พุ่ม,เนือง-นันต์,พรรณ-พฤกษา,สมอ-สมี-แสม,ม่วง-โมก,ซาก-ซึก, โศก-สน-สัก

รวก-โรก-รัก-รัง-รง, ปริก-ปริง-ปรง-ปราง-ปรู,แพน-พู-พัน เป็นต้น

 

4.1.2      การเล่นคำ

 

                  แก้วเกาะกิ่งแก้วก่อง      กานน

             เสียงพูดภาษาคน              คล่องแจ้ว

             โผผินโบกบินบน               ไปบอก หน่อยรา

              ข่าวส่งตรงสู่แก้ว               เนตรผุ้ดูถวิล

                                                   ( สามกรุง : น.ม.ส. )

 

 Page 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20