การแปลงสัญญาณอนาล็อกเป็นสัญญาณดิจิตอล (A/D)

ในกรณีถ้าระบบเครือข่ายของเราเป็น แบบดิจิตอล คือ สามารถส่งผ่านสัญญาณดิจิตอลสู่ช่องทางสื่อสารดิจิตอล ได้โดยตรง เช่น ในเครือข่าย ISDN หรือไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์(Electronic Mail) เป็นต้น เราสามารถส่งสัญญาณ ดิจิตอลที่ออกจากคอมพิวเตอร์สู่เครือข่ายได้โดยตรงโดยไม่ต้องผ่านโมเด็มและในทำนอง เดียวกันเราก็สามารถส่งสัญญาณอนาล็อกผ่านเข้าไปในระบบเครือข่ายดิจิตอลได้โดยการเปลี่ยนแปลงสัญญาณอนาล็อกให้ เป็นสัญญาณดิจิตอลเสียก่อนโดยใช้อุปกรณ์ที่ทำงานตรงกันข้าม กับ โมเด็ม คือ โคเดก ( CODEC หรือCOder/DECoder )

เทคนิคในการเปลี่ยนแปลงสัญญาณอนาล็อกเป็นสัญญาณดิจิตอล แบ่งออกเป็น 2 วิธีคือ

1. การมอดูเลตทางแอมปลิจูดของพัสส์หรือ PAM (Pulse Amplitude Modulation)
2. การมอดูเลตแบบรหัสพัลส์หรือ PCM (Pulse Amplitude Modulation) การมอดูเลตทางแอมปลิจูดของพัลส์ (PAM) โดยอาศัยหลักการแซมปิงหรือการชักตัวอย่าง (Sampling) ของสัญญาณ ที่เป็นอนาล็อก(ต่อเนื่อง)ตามช่วงเวลาให้สัญญาณนั้นขาดจากกันเป็นพัลส์ๆ โดยขนาดของแต่ละพัลส์จะเท่ากับขนาดของ สัญญาณเดิมในช่วงเวลานั้นๆ ทางทฤษฎีการ
แซมปิงจะทำด้วยอัตราสองเท่าของแบนด์วิดท์ของสัญญาณอนาล็อกเป็นจำนวนครั้งต่อวินาที (อัตราแซมปิง= 2 BW เฮิรตซ์) ยิ่งถ้าแซมปิงสัญญาณด้วยอัตราน้อยเท่าไรเราก็จะได้สัญญาณพัลส์ที่ใกล้เคียงกับสัญญาณ เดิมมากที่สุดแต่ถ้าอัตราน้อยเกินไปสัญญาณก็จะกลับไปเป็นสัญญาณอนาล็อกเหมือนเดิม
จะเห็นว่าขนาดของพัลส์ของแต่ละแซมปิงเป็นอัตราส่วนโดยตรงกับสัญญาณเดิมและสัญญาณใหม่ที่ได้จะเป็น แบบไม่ต่อเนื่อง ( Discrete ) แต่ขนาดของสัญญาณพัลส์ยังเป็นแบบต่อเนื่องเท่าและเหมือนสัญญาณเดิมดังนั้น ในการส่งสัญญาณPAMในระยะทางไกลๆ จะเกิดสัญญาณรบกวนได้ง่ายเช่นเดียวกับการส่งสัญญาณแบบ AM ซึ่งจะไม่สามารถแก้ไขได้เมื่อสัญญาณถึงปลายทางการมอดูเลตแบบรหัสพัลส์ ( PCM ) เนื่องจากขนาดของพัลส์ ในแบบ PAM ยังคงเป็นแบบต่อเนื่องการส่งสัญญาณแบบ PAM จึงไม่ได้ต่างอะไรกับ การส่งสัญญาณอนาล็อก เลยดังนั้นในวิธีการส่ง แบบPCM จึงมีขั้นตอนการทำให้ขนาดของสัญญาณข้อมูลเป็นแบบไม่ต่อ เนื่องก่อนด้วย วิธีการที่เรียกว่า การควอนไทซ์ ( Quantize )