<<<---- Best view with Internet Explorer 4.0 or higher!! Resolution 1024x768 Pixels Font size Medium --->>>


ISDN
เป็นสถาปัตยกรรมที่เชื่อมต่อ NETWORK เข้าด้วยกัน เป็นการส่งข้อมูลแบบ
Digital to Digital เป็นการนำข้อมูลจากหลาย Network เข้าสู่ USER 1ตัว

ISDN มี 2 ประเภท คือ
- Narrowband
- Broadband

Narrowband ISDN สามารถรับส่งข้อมูลได้ไม่เกิน 1.544 Mbps แบ่งเป็น 4 ชนิด
- Circuit Switched Voice เป็นการส่งสัญญาณเสียงแบบ Digital ใช้สายแบบ 4wire
- Circuit Switched Data เป็นการส่งข้อมูลทางด้าน Comp
ส่งข้อมูลผ่าน Pubic network หลายคนใช้ร่วมกันได้ สายโทรศัพท์ไม่ใช้สาย Lease line
- Low Speed Packet
- High Speed Packet

BROADBAND ISDN ใช้ในอานาเขตที่มีพื้นที่กว้าง
-Frame Relay การส่งข้อมูลเป็นแบบ Frame
-SMSD ใช้กับความเร็วสูงการเชื่อมต่อแบบ Virtual circuits
-ATM sinv cell reray การส่งข้อมูลทีเล็กกว่าpacket

ชนิดของ ISDN
- Basic Rate Interface ( BRI )
2 B cannel
1 D cannel
- Primary Rate Interface ( PRI )
23 B cannel
1 D cannel
X.25 เป็น Protocol ส่งผ่าน packet switch
เชื่อมต่อ DCE and DTE ใช้กับ LAN and WAN
- Physical พุดถึงการเชื่อมต่ออุปกรณ์
- Link level = Data Link เกี่ยวข้องกับการส่งข้อมูลแต่ละ Frame
จะมีตัวควบคุม error
- Packet Level = Network Layer เส้นทางในการเชื่อมต่อเครือข่าย

ATM
เป็น Protocol ที่เชื่อม Network ช่วงข้อมูลประมาณ 53 Byte
การทำงานคือรับส่งข้อมูล 48 อ่านและปรับปรุง Header 5 และส่ง Cell ไป
ATM มี 2 ส่วน
ATM switch
ATM end system
ชนิดของ ATM
UNI ATM switch กับ ATM end system
NNI ATM switch กับ ATM switch

ATM services
1.CBR Leased line แบบ analog (การส่งข้อมูลคงที่, อัตราในการส่ง)
2.VBR การส่งข้อมูลไม่ตายตัว ปรับขึ้นลงได้ 64

TCP/IP
หากคุณจะต้องการศึกษาเรื่องของ TCP/IP อย่างละเอียด ขอแนะนำให้อ่านหนังสือชุดของ TCP/IP สามเล่ม Internetworking with TCP/IP โดย Douglas R. Comer จัดพิมพ์โดย Prentice Hall หนังสือทั้งสามเล่มจะบอกถึงสถาปัตยกรรม การออกแบบและการเขียนแอพพลิเคชั่นในแบบ Client-Server หนังสือชุดนี้ถือว่าเป็นหนังสือหลัก หากคุณต้องการจะเข้าใจเนื้อหาด้านลึกของ TCP/IP

การจะใช้งาน TCP/IP ได้นั้นจำเป็นจะต้องมีการกำหนดค่าของ IP address หรือหมายเลขประจำตัวให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องในเครือข่าย ซึ่งจะคล้ายกับเลขที่บ้านของคุณ ที่จะทำหน้าที่บอกตำแหน่งที่อยู่ของคุณให้คนอื่นๆได้รับทราบ

นอกจากนี้ก็ยังจะมีค่าอื่นๆอีก แต่ที่จำเป็นอีกอย่างก็คือค่าของ MTU หรือ Maximum Transfer Unit ซึ่งค่านี้ก็จะบอกถึงจำนวนสูงสุดของข้อมูล (datagram) ที่จะใช้ทำการ process


IP Address
IP address เป็นตัวเลขความยาว 32 บิท และจะต้องกำหนดให้แต่ละเครื่องมีความแตก ต่างกัน ถ้าคุณใช้งานเนตเวอร์กของคุณเพียงแค่ในหน่วยงานของคุณเอง ในกรณีนี้คุณสามารถกำหนดหมายเลขของ IP ให้กับเครื่องต่างๆของคุณเองได้ แต่ถ้าหากเป็นเนตเวอร์กที่ติดต่อกับสาธารณะเมื่อใด จะต้องมีการกำหนดมาจากหน่วยงานที่ทำการควบคุมหมายเลข IP โดยเฉพาะซึ่งจะเรียกว่า the Network Information Centor (NIC)

หมายเลข IP จะถูกแบ่งออกเป็นตัวเลข 8 บิทจำนวน 4 ส่วน (octets) ตัวอย่างเช่น IP address 0x954C0C04 จะถูกเขียนอย่างง่ายได้เป็น 149.76.12.4 การเขียนแบบนี้จะเรียกว่า dotted quad notation ประโยชน์อีกอย่างของการเขียนแบบแบ่งเป็นตัวเลข 4 ชุดนี้คือเพื่อแสดงถึง หมายเลขของเนตเวอร์ก และหมายเลขของโฮสต์

มีการแบ่งเนตเวอร์กออกเป็นขนาดต่างๆ ซึ่งจะมีผลต่อจำนวนของโฮสต์ที่มีอยู่ได้ ในเนตเวอร์กแต่ละชนิดด้วย

Class A
Class A ประกอบด้วยเนตเวอร์หมายเลข 1.0.0.0 จนถึง 127.0.0.0 หมายเลขของโฮสต์จะประกอบด้วยตัวเลข 24 บิต ซึ่งจะทำให้มีโฮสต์ถึง 1.6 ล้านโฮสต์

Class B
Class B ประกอบด้วยเนตเวอร์กหมายเลข 128.0.0.0 จนถึง 191.255.0.0 หมายเลขของโฮสต์จะมี 16 บิต มีเนตเวอร์กได้ 16320 เนตเวอร์ก และมีโฮสต์ได้ 65024 โฮสต์ สำหรับแต่ละเนตเวอร์ก

Class C
Class C ประกอบด้วยเนตเวอร์กตั้งแต่ 192.0.0.0 จนถึง 223.255.255.0 จะมีเนตเวอร์กได้จำวน 2 ล้านเนตเวอร์ก ซึ่งแต่ละเนตเวอร์กจะมีจำนวนโฮสต์ได้ 254 โฮสต์

Class D, E และ F
มีแอดเดรสตั้งแต่ 224.0.0.0 ถึง 254.0.0.0 อยู่ในระหว่างการทดลองและสำรองไว้เผื่ออนาคต ไม่ได้กำหนดจำนวนเนตเวอร์กใดๆ

ตัวอย่างเช่น IP หมายเลข 149.76.12.4 จะหมายถึงโฮสต์ 12.4 บนเนตเวอร์ก Class B หมายเลขที่ 149.76.0.0 ในกรณีหมายเลขเป็น 149.76.255.255 จะหมายถึงโฮสต์ทุกตัวที่ อยู่บนเนตเวอร์กหมายเลข 147.76.0.0

มีเนตเวอร์กอีกสองหมายเลขที่ถูกสำรองไว้ใช้งานเฉพาะด้านคือ เนตเวอร์กหมายเลข 0.0.0.0 (default root) และ 127.0.0.0 (loopback address) loopback จะเป็นช่องทางพิเศษที่ใช้ติดต่อกับโฮสต์เครื่องนั้นเอง บางทีจะใช้สำหรับการทดสอบเนตเวอร์กบางอย่าง โดยไม่จำเป็นจะต้องต่อกับเนตเวอร์กจริง


เนตมาสก์ (Netmask)
เนตมาสก์เป็นตัวบอกให้เราทราบได้ว่า IP ใดอยู่ในเนตเวอร์กเดียวกันบ้าง ตัวอย่าง ถ้าหากเนตมาสก์ มีค่าเป็น

255.255.255.0
ดังนั้นโฮสต์ที่มีหมายเลข IP เป็น 149.108.10.1 ที่มีค่าเนตมาสก์เป็นค่าข้างต้น เรารู้ว่าโฮสต์ตัวนี้จะอยู่ในเนตเวอร์กเดียวกันกับ โฮสต์ตัวอื่นๆที่มีหมายเลข IP ขึ้นต้นด้วย 149.108.10


โดเมนเนมเซอร์ฟเวอร์ (Domain Name Server : DNS)
โดเมนเนมเซอร์ฟเวอร์จะทำหน้าที่คล้ายกับสมุดโทรศัพท์ ซึ่งเราสามารถจะเปิดหาชื่อของบุคคลที่เราต้องการจะติดต่อ เพื่อค้นหาเบอร์โทรศัพท์ของเขาได้ ในทำนองเดียวกันหมายเลข IP address มีลักษณะเป็นตัวเลขที่มนุษย์ค่อนข้างจะจดจำได้ยาก จึงมีการเปลี่ยนมาใช้เป็นตัวอักษรสำหรับแทนหมายเลข IP address ต่างๆ และมีเครื่องเซอร์ฟเวอร์ ที่คอยทำหน้าที่บริการเปลี่ยนจาก ตัวเลข IP ให้กลายเป็นตัวอักษรได้


เกตเวย์ (Gateway)
เกตเวย์เป็นหนทางการเชื่อมต่อระหว่างเครือข่าย 2 เครือข่ายเข้าด้วยกัน สำหรับในกรณีที่มีโฮสต์ที่อยู่ในเครือข่ายที่เป็นซับเน็ต (subnet : เครือข่ายย่อย) เดียวกัน โฮสต์ต่างๆเหล่านั้นจะสามารถทำการติดต่อกันได้ แต่ถ้าหากจะต้องการติดต่อกับโฮสต์ ที่อยู่คนละซับเนตกันแล้วจำเป็นจะต้องอาศัยเกตเวย์เข้ามาช่วย เกตเวย์จะเปรียบเสมือนเป็นโฮสต์ที่เป็นที่รับรู้อยู่ ทั้งสองซับเน็ต และจะคอยทำการส่งผ่านข้อมูลระหว่างซับเนตทั้งสองไปมา สำหรับการหาเส้นทางการสื่อสารของเครือข่ายจำเป็นจะต้องอาศัยเครื่องหาเส้นทาง (router) เข้ามาช่ว§

 

 

 
 



  • introduction
  • The OSI Model
  • Singnals
  • Digital Data Transmission
  • Transmission
  • Multiplexing
  • Local Area Networks
  • ISDN TCP/IP
  • Networking Devices



  • Thai-handicraft.com
  • vit
  • Dome
  • Meng
  • Rungsit University

  • More ...



  • นักศึกษาเผยแพร่ระบบสารสนเทศในระบบอินเตอร์เน็ตมหาวิทยาลัย รังสิต
    ก่อตั้งเมื่อ 1 มกราคม 2545 [ ไม่สงวนลิขสิทธิ์ [Non Copyright] ]


    Since : 07 Nov. 1998