หลักสูตรการศึกษานอกโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย พุทธศักราช 2530 ต้องใช้เวลาเรียนไม่น้อยกว่า 4 ภาคเรียน ยกเว้นกรณีที่มีการเทียบโอนผลการเรียน ก็อาจจบได้ก่อนกำหนด หลักสูตรนี้มีโครงสร้างซึ่งประกอบด้วย หมวดวิชาบังคับ หมวดวิชาเลือก และกิจกรรมที่ผู้เรียนรต้องเลือกเรียนไม่น้อยกว่า 75 หน่วยการเรียน ตามรายละเอียดดังนี้
1. หมวดวิชาบังคับ มี 5 หมวดวิชา รวม 36 หน่วยการเรียนคือ

ภาษาไทย 1 6 หน่วยการเรียน
สังคมศึกษา 1 6 หน่วยการเรียน
พลานามัย 6 หน่วยการเรียน
วิทยาศาสตร์ 1 หรือ 2 (เลือก 1 สาขาวิชา) 6 หน่วยการเรียน

พื้นฐานวิชาอาชีพ (เลือก 1 สาขาวิชา)
- ช่างอุตสาหกรรม - พานิชยกรรม
- ศิลปหัตถกรรม - เกษตรกรรม
- ศิลปกรรม - คหกรรม

12 หน่วยการเรียน

2. หมวดวิชาเลือก มี 6 หมวดวิชา ผู้เรียนสามารถเลือกเรียนไม่น้อยกว่า 3 หมวดวิชา รวม 39 หน่วยการเรียน คือ

ภาษาไทย 2 13 หน่วยการเรียน
สังคมศึกษา 2 13 หน่วยการเรียน
วิทยาศาสตร์ 3 13 หน่วยการเรียน
คณิตศาสตร์ 13 หน่วยการเรียน

ภาษาไทยต่างประเทศ
- ภาษาอังกฤษ - ภาษาญี่ปุ่น
- ภาษาอังกฤษเพื่อพัฒนาฯ - ภาษาเยอรมัน
- ภาษาฝรั่งเศส - ภาษาอาหรับ - ภาษาบาลี

13 หน่วยการเรียน

อาชีพ(เทียบโอนได้ไม่เกิน 1 หมวดวิชา ) หมวดวิชาละ 13 หน่วยการเรียน

3. กิจกรรม การเรียนการสอนในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ต้องทำกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต 48 หน่วยการเรียน ดังนี้
กิจกรรมศาสนา ศิลป วัฒนธรรม และประเพณี
กิจกรรมพัฒนาชุมชนและสังคม
กิจกรรมสนับสนุนงานการศึกษานอกโรงเรียน

การทำกิจกรรมให้เป็นไปตามเกณฑ์ที่กรมกำหนด

การจบหลักสูตร

การประเมินผลการเรียนของนักศึกษา สถานศึกษาจะพิจารณาองค์ประกอบต่อไปนี้แต่ละวิธีเรียน ดังนี้
1. การสอบ จัดสอบเป็นหมวดวิชา
2. สิทธิ์ในการเข้าสอบปลายภาคเรียน จะต้องมีเวลาเรียนหรือเวลาที่พบกลุ่มดังนี้

วิธีเรียนทางไกล
ต้องมีเวลาพบกลุ่มไม่น้อยกว่า 75 ของเวลาพบกลุ่มทั้งหมดในแต่ละภาคเรียน

3. การตัดสินผลการเรียน ตัดสินเป็นหมวดวิชา โดยพิจารณาจากคะแนนระหว่างภาคเรียนรวมกับคะแนนปลายภาคเรียน

วิธีเรียนทางไกล
คะแนนระหว่างภาค 40 คะแนน
คะแนนปลายภาค 60 คะแนน

นักศึกษาจะต้องได้คะแนนระหว่างภาคเรียนและคะแนนปลายภาคเรียนรวมกันให้ได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50
เกณฑ์การตัดสินผลการเรียน

80-100
ดีมาก
70-79
ดี
60-69
ปานกลาง
50-59
ผ่าน
0-49
ไม่ผ่าน

 



 


 

หลักสูตรระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย