หลักการฝึกจิต
ท่านสาธุชนทั้งหลาย
วันนี้อาตมาในนามชาวพุทธจาก
ประเทศไทยที่ได้เข้ามาสู่สถานที่นี้
ท่านผู้เจริญทั้งหลายจงตั้งใจฟัง
พระธรรมเทศนาโดยเคารพ
อาตมาได้มาที่นี่กับพระภิกษุสงฆ์
มีพระ
ภิกษุสุเมโธซึ่งเป็นชาวอเมริกัน
และพระเขมธมฺโมซึ่งเป็นชาวอังกฤษ
ส่วนตัวอาตมาเองอยู่เมืองไทย
ได้มาพบกับพุทธบริษัททั้งหลายในวัน
นี้ นับว่าเป็นโอกาสที่ดีที่เหมาะสมเหลือเกิน
อาตมาไม่เคยคิดว่าจะได้
มาเยี่ยมพุทธบริษัทที่นี่เลย
เมื่อมาถึงแล้วขอญาติโยมจงตั้งใจฟัง
โอวาทที่อาตมาจะนำมาแสดงวันนี้
เป็นธรรมคำสอนของพระ
บรมศาสดา
อันเป็นเครื่องขัดเกลา
ซึ่งอาสวะธรรมทั้งหลายที่นอน
เนื่องอยู่ในสันดานของมนุษย์นั่นเอง
ธรรมะของพระพุทธเจ้าของเรา
นั้นเป็นสัจจธรรม
เป็นธรรมที่ตรงไปตรงมา
ไม่ตามใจบุคคลใดบุคคล
หนึ่ง
เพราะธรรมเป็นสัจธรรม
จิตใจของมนุษย์ทั้งหลายซึ่งเป็นธรรมชาติ
ประกอบไปด้วย
โลภะ โทสะ
โมหะ ประจำใจ
เป็นเครื่องหุ้มห่อจิตใจของมนุษย์
ฉะนั้น
จิตใจมนุษย์นี้จึงเป็นธรรมชาติอันหนึ่ง
ซึ่งเป็นไปตามธรรมชาติอันนั้น
เป็นจิตใจที่ยังมิได้ฝึกหัด
ไม่ได้รับการอบรมแนะนำพร่ำสอน
ฉะนั้น
เมื่อมนุษย์จะทำอะไรก็ตาม
จะพูดอะไรก็ตาม
จะนึกคิดอะไรก็ตาม
ย่อมชอบที่จะคิด
พูด ทำตามอารมณ์ของตนทั้งนั้น
นั่นเรียกว่าจิตใจ
ที่ยังไม่ได้ฝึก
ทุกคนก็เป็นอย่างนั้น
ฉะนั้น จิตชนิดนี้จึงเป็นจิตที่ควร
จะอบรมให้ถูกต้อง
ตามคำสอนของธรรมะของพระพุทธเจ้าของเรา
ที่
เรียกว่าสัจจธรรม
ฉะนั้นธรรมะของพระพุทธเจ้านี้
จึงเป็นข้าศึกต่อ
มิจฉาทิฐิ
(หมายเหตุ 1) ต่อความเห็นของมนุษย์
ฉะนั้นเมื่อเราปฏิบัติ
ธรรม
เพราะธรรมะเป็นสัจจธรรม
เมื่อเราน้อมใจเข้าไปหาธรรมะ
ธรรมะก็มีอำนาจที่จะทำจิตใจของเราให้มองเห็น
โลภะ โทสะ โมหะ
(หมายเหตุ
2) เป็นอย่างดี
ถ้าหากว่าน้อมธรรมะเข้ามาสู่ใจของเรา
แล้ว
ใจของเราจะไม่เห็นธรรมะ
เปรียบเหมือนว่า
บุคคลที่มีความรู้กับ
บุคคลที่ไม่มีความรู้
สองคน คนที่ไม่มีความรู้จะต้องน้อมเข้ามาสู่
บุคคลที่มีความรู้
เพื่อเรียนวิชา
ความรู้ไม่จำเป็นที่จะน้อมเข้าไปสู่จิต
ใจของบุคคลที่ยังไม่รู้
ฉันนั้นก็เหมือนกัน
ฉะนั้นเราน้อมใจของเราเข้า
ไปสู่ธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าของเรา
แล้วจิตใจ
ของมนุษย์ทั้งหลายก็จะมีโอกาสคลี่คลายออกจากความมืดมนอนธ
กาลได้
เมื่อพูดถึงธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าของเราแล้ว
มันมาก
เหลือเกิน
เมื่อกล่าวพิสดารแล้วมันมาก
ไม่อาจยังบุคคลให้รู้ทั่วถึงได้
ฉะนั้นเมื่อย่นย่อกล่าวมาแล้ว
ไม่ใช่ของมากอะไรนัก
อย่างตัวบุคคล
หนึ่งๆ
ซึ่งมีทั้งตา
หู จมูก ลิ้น
กาย และอวัยวะทั้งหมด
หลายอย่าง
หลายประการ
แต่ที่สำคัญอยู่อย่างเดียวคือ
ดวงจิต ดวงจิตนี้เป็นสิ่ง
สำคัญ
เมื่อหากว่าพวกเราทั้งหลายฝึกหัดที่มันมีอยู่ในตัวนี้
เป็นสัมมา
ทิฐิแล้ว
ให้มีความถูกต้องแล้ว
ตา หู จมูก ลิ้น
กาย ก็เป็นไปด้วยทั้ง
นั้น
คือมีสัมมาทิฐิความเห็นชอบ
สัมมาวาจา สัมมาสังกัปโปเลี้ยง
ชีวิตก็ชอบ
พยายามก็ชอบ
ตั้งสติก็ชอบ
ตั้งใจก็ชอบ
เพราะจิตดวง
เดียวนี้มันเห็นชอบแล้ว
อะไรๆทั้งหมดในอวัยวะร่างกายนี้
ก็ชอบไป
ด้วยเสียทั้งนั้น
จึงพูดได้ว่าแม้จะมีอวัยวะร่างกายทุกส่วนก็จริง
แต่ที่
สำคัญก็คือดวงจิต
โอวาทคำสอนของพระพุทธเจ้าถึงแม้จะมีมากก็
จริง แต่ว่าเมื่อเรามาพิจารณาดูแล้ว
ก็คือมาประพฤติปฏิบัติ
ให้ดวง
จิตดวงเดียวนี้เห็นชอบเท่านั้น
ก็เป็นอันว่ามีทางที่จะพ้นทุกข์ไปได้
สิ่งที่เราทั้งหลายจะต้องปฏิบัตินั้น
ที่นำมาแล้ว
คือกายอย่าง
หนึ่ง
จิตอย่างหนึ่ง
กายได้แก่อวัยวะส่วนต่างๆ
จิตก็คือผู้รู้
มันเกิดจาก
ความรู้ทั้งหลาย
จะเป็นมิจฉาทิฐิหรือสัมมาทิฐิก็ได้
เกิดจากจิตอัน
เดียวกัน
เมื่อความเห็นผิดเกิดขึ้นมา
เป็นมิจฉาทิฐิ
เมื่อความเห็นถูก
เกิดขึ้นมา
เป็นสัมมาทิฐิในจิตนั้น
ฉะนั้นพุทธศาสนาจึงเป็นศาสนา
ทางจิตใจ
สอนให้เป็นผู้รู้จักผิดถูก
ผู้รู้นั้นคืออะไร?
คือที่นั่งฟังอยู่นี้คือ
ผู้รู้
เกิดขึ้นมารู้ทุกคน
มีความรู้ทุกคน
แต่ความรู้นั้นๆมันไม่ถึง
รู้ไม่ถึง
ก็เป็นอย่างหนึ่ง
ถ้ารู้ถึงแล้วก็เป็นอย่างหนึ่ง
ถ้ารู้ไม่ถึงแล้วมีความทุกข์
ยากลำบาก
เป็นมิจฉาทิฐิเห็นผิด
ถ้าความรู้มันเข้าถึงแล้ว
ก็ไม่มีอะไร
ในสิ่งทั้งหลายในโลกนี้
แต่มันเป็นธรรมชาติที่เป็นอยู่อย่างนั้นเอง
เช่น
ร่างกายและจิตใจของเราทั้งหลายนี้
เมื่อเราเป็นผู้รู้
ร่างกายก็เป็น
ธรรมะของร่างกาย
มันเกิด มันแก่
เปลี่ยนไปตามสภาวะของมันอย่าง
นั้น
เป็นของไม่แน่
เป็นของที่ไม่ยืนยงคงทน
มันก็เป็นไปตามสภาพ
ของมันอยู่อย่างนั้น
จิตใจนั้นก็เป็นเรื่องของอนิจจัง
ทุกขัง อนัตตา
เหมือนกัน
มีความเกิดขึ้นแล้วก็ดับไปอยู่อย่างนั้น
กายกับจิตนี้เขา
เป็นอยู่อย่างนั้น
ถ้าเราเห็นผิด
ทุกข์ก็เกิดขึ้นมา
ถ้าเราเห็นถูกแล้ว
ก็มี
ความสบาย
เป็นสัมมาทิฐิ
เรียกว่า สัมมามรรค
หลักใหญ่ๆของพุทธศาสนานั้นมีอยู่สามประการ
ถ้าพูดถึงตัว
จริงแล้วคือ
กาย วาจา ใจ ถ้าพูดถึงธรรมะล้วนก็คือ
ศีล สมาธิ
ปัญญา
ถ้าพูดถึงตัวบุคคลก็คือ
กาย วาจา ใจ เมื่อบุคคลจะประพฤติ
ปฏิบัติให้พ้นจากวัฏฏสงสารนี้
ก็ตั้งต้นที่ศีล
ศีลนี้ก็คือการประพฤติ
กาย วาจา
ให้ปราศจากโทษ
ปราศจากเรื่องวุ่นวาย
สมาธิคือความ
สงบ เมื่อกายวาจาเป็นสิ่งที่ปราศจากโทษ
ปราศจากความผิดแล้วนี้
ก็เรียกว่าสมาธิ
สงบจากความวุ่นวาย
สงบจากความชั่ว
ก็เรียวว่าตั้ง
ใจมั่น
เมื่อจิตใจสงบระงับเป็นสมาธิแล้วปัญญาก็เกิด
ปัญญาที่เกิด
มานี้ก็คือผลของความสงบที่เกิดมาจากสมาธิของจิต
ฉะนั้น สิ่งทั้ง
สามประการนี้
จึงเป็นไวพจน์ซึ่งกันและกัน
จะเรียกว่า
ศีลก็ดี สมาธิก็
ดี ปัญญาก็ดี
ก็รวมอยู่ในกายกับจิตของเรานี้เอง
ไม่ได้อยู่ที่อื่นเลย
ศีลก็คือเหตุของสมาธิ
สมาธิก็คือผลของศีล
สมาธิเป็นเหตุของ
ปัญญา
ศีลก็ดี สมาธิก็ดี
ปัญญาก็ดี รวมแล้วก็อยู่ในกายกับจิตนี้
ฉะนั้นมรรคคือข้อประพฤติปฏิบัติที่ถูกต้อง
จึงมีอยู่ที่กายกับจิตของ
เราเหมือนกัน
ฉะนั้น พระพุทธศาสนาท่านจึงสอนให้น้อมเข้ามาเป็น
โอปนยยิกโก
ให้น้อมเข้ามาในกายและจิตนี้
การประพฤติศีล
สมาธิ ปัญญา
นี้ก็เพื่อให้เกิดความเห็นชอบ
ให้มีความเห็นถูก
ปราศจากความผิด
ไม่มีอื่นนอกจากนี้ไป
เมื่อ
ปัญญาเกิดขึ้นมาแล้ว
ก็กำจัดมิจฉาทิฐิออกไปได้
มิจฉาทิฐิเกิดขึ้นมา
แล้ว
มันก็กำจัดสัมมาทิฐิออกไปได้
มีอยู่สองอย่าง
อย่างนี้ พุทธ
ศาสนาสอนให้มีความสงบ
และความสงบมันจะเกิดขึ้นได้ก็เพราะ
ความเห็นที่ถูกต้อง
ความสงบนี้มีอยู่สองประการ
สงบอย่างหนึ่งก็คือ
สงบด้วยสมถกรรมฐาน
คือผลเกิดจากสมถะ
ความสงบอีกอย่างหนึ่ง
เกิดจากปัญญา
เป็นสัมมาทิฐิ
ความสงบที่เกิดจากสมาธินั้นเป็น
ความสงบที่มีกำลังน้อย
เป็นความสงบที่ไม่แน่นอน
ไม่มีกำลังมาก
เป็นความสงบที่โง่
เป็นความสงบที่ปราศจากปัญญา
ความสงบที่เกิด
จากวิปัสสนานั้น
เป็นความสงบที่แน่นอน
เป็นความสงบที่ตายตัว
เพราะเกิดจากปัญญา
ความสงบทั้งสองประการนี้
เปรียบได้ว่าเรามา
นั่งสมาธิในที่นี้
รูปเราก็ไม่เห็น
เสียงเราก็ไม่ได้ยิน
กลิ่นก็ไม่ถูกต้อง
จมูกของเรา
โผฏฐัพพะก็ไม่ถูกต้องกายเรา
จิตก็สบาย เมื่อจิตสบาย
มันก็สงบ
สงบเพราะอะไร?
เพราะรูปไม่ปรากฏ
เสียงไม่ปรากฏ
แล้วก็
สงบอยู่
ความสงบประเภทนี้ท่านเรียกว่าความสงบน้อยๆ
ไม่ใช่ความ
สงบอย่างแท้จริง
และเมื่อเราเข้าไปเห็นรูป
ก็มีความรู้สึกเกลียดบ้าง
ชอบบ้าง
ความไม่สงบก็เกิดขึ้นมา
เพราะความสงบอย่างนี้เป็นความ
สงบที่ไม่แน่นอน
เป็นความสงบที่ปราศจากปัญญา
นำให้ความทุกข์
เกิดขึ้นมาอีกได้
ทีนี้ความสงบประเภทที่สองนั้น
เป็นความสงบที่เกิด
มาจากปัญญาอันแท้จริง
แม้ตาเห็นรูปก็ไม่ทุกข์
หูได้ยินก็ไม่ทุกข์
เปรียบว่าคนที่นั่งสมาธิอยู่
เมื่อได้ยินเสียงดนตรีหรืออะไรต่างๆ
ก็รู้สึก
รำคาญใจ
เพราะคิดว่าเสียงมากวนเรา
นั่นก็เรียกว่ามีความเห็นผิด
อยู่
ก็หนีจากเสียงเรื่อยไป
เมื่อไม่มีเสียงก็สงบ
เมื่อได้ยินเสียงก็ไม่
สงบ (หมายเหตุ
3) เมื่อได้ยินก็ว่าเสียงมากวน
เราก็เกิดทุกข์ขึ้นมา
เพราะเห็นผิด
เรียกว่าทุกขสัจจ์
อย่างนี้ก็ต้องคิดว่าเราไปกวนเสียง
คิดเช่นนี้ก็มีสัมมาทิฐิได้
แล้วก็แก้เหตุที่จิตตัวเอง
แล้วก็สงบได้
ความ
รู้ที่เกิดขึ้นมานี้ก็เรียกว่าปัญญา
ทีนี้แม้ใจจะนั่งอยู่กับเสียงก็สงบ
อยู่ที่
ไหนก็สบาย
อันนี้เรียกว่าผู้รู้เกิดขึ้นมาแล้วทุกข์หายไป
เพราะความรู้
อันนี้มันถึง
มันเป็นความรู้ที่แน่นอน
เพราะเกิดมาจากปัญญา
การ
ปฏิบัติในทางพุทธศาสนานี้
เมื่อรู้ถึงที่สุดแล้วก็ไม่มีอะไร
รูปก็เป็นรูป
เสียงก็เป็นเสียง
รสก็เป็นรส
ก็อยู่กับรูป
เสียง กลิ่น
รส นั่นเหละ
พระ
พุทธเจ้าให้รู้จักรูป
เสียง กลิ่น
รส นี้ว่า เป็นอนิจจัง
ทุกขัง อนัตตา
เขาก็เป็นของเขาอยู่อย่างนั้น
เมื่อเรามีความคิดเห็นอยู่
สงบอยู่ ดังนั้น
จึงเรียกว่าเป็นสัมมาทิฐิ
เมื่อเราปฏิบัติได้เช่นนี้ก็สมควรแล้ว
ดังนั้นการปฏิบัติจึงให้ดูจิตของตัวเอง
เอาจิตมาดูกาย
พิจารณากาย
เพราะความจริงมันอยู่ที่ตรงนี้
เราจะต้องเข้าไปดูความ
จริง เอาจิตมาดูกาย
เพราะความจริงอยู่ตรงนี้
ความจริงขันธ์ห้าก็คือ
กายกับจิต
มันแสดงความจริงของมันอยู่
กระทั่งวัน
กระทั่งคืน
ให้เรา
เรียนรู้จิต
ศึกษาจิต พูดกับจิต
ศึกษาจิต ให้เห็นจิต
ความจริงก็จะ
ปรากฏขึ้นมา
คือเป็นอนิจจัง
ทุกขัง อนัตตา
อยู่ที่กายกับจิตนี้
ผู้
ปฏิบัติเอาจิตมาพิจารณาดูกาย
ก็จะได้เห็นความจริง
จะได้เห็น
อนิจจัง
ทุกขัง อนัตตา
เมื่อเห็นอนิจจัง
ทุกขัง อนัตตาแล้ว
ก็ชื่อว่าเรา
เห็นธรรมะที่แน่นอน
เห็นไหม? จิตนี้มันเที่ยงแน่นอนไหม?
บางทีก็
เกิดความรู้สึกด้วยอารมณ์ที่ชอบใจ
บางทีก็เกิดทุกข์ด้วยอารมณ์ที่ไม่
ชอบใจ
กายก็ไม่แน่นอนเหมือนกัน
เป็นของที่หลอกลวง
ขันธ์ทั้งห้าก็
คือ อนิจจารูปัง
อนิจจาเวทนา
อนิจจาสัญญา
อนิจจาสังขารา
อนิจจาวิญญาณัง
(หมายเหตุ 4) อนิจจานี้คือตัวสัจจธรรม
สัจจธรรม
อยู่ที่กายกับจิตนี้เอง
(หมายเหตุ 5) ถ้าเราเห็นกายกับจิตว่า
เป็น
อนิจจัง
ทุกขัง อนัตตาแล้ว
ก็เป็นเหตุให้เราปล่อยวาง
เรื่องกายมันก็
เป็นอยู่อย่างนั้น
เมื่อเรามาดูจิตพร้อมๆกับกายของเรา
ก็จะเห็นสัจจ
ธรรม
กายก็ไม่เที่ยง
จิตก็ไม่เที่ยง
เราก็ไม่ยึดมั่นสิ่งทั้งหลายเหล่านี้
เราจะเห็นว่าจิตก็สักว่าจิต
กายก็สักว่ากาย
เขาก็ไม่เที่ยงของเขาอยู่
อย่างนั้น
เป็นธรรมะที่เกิดแล้วก็ดับๆ
สุขเกิดขึ้นมาก็ตั้งอยู่แล้วก็ดับไป
ทุกข์เกิดมาแล้วก็ตั้งอยู่แล้วก็ดับไป
ไม่มีอะไรมากไปกว่านี้
จิตก็สักว่า
จิต กายก็สักว่ากาย
เมื่อคิดอย่างนี้
จิตเราก็รู้
ปัญญาก็เกิดขึ้นมาใน
รูป เวทนา
สัญญา สังขาร
วิญญาณนี้ มันเกิดขึ้นกับกายกับจิตนี้
การปฏิบัติในพุทธศาสนานี้
ก็แบ่งออกเป็นสองประเภทคือ
การปฏิบัติโดยตรง
กับการปริยัติศึกษาจากหนังสือ
สำหรับการศึกษา
อ่านหนังสือนั้นก็ไม่ค่อยจะเข้าใจ
เสื่อมลงมาก
ส่วนการปฏิบัติโดย
ตรงนั้น
พระพวกนี้ชอบอยู่ป่า
ออกไปอยู่ป่าทำกรรมฐานกัน
รู้สึกว่า
ทำให้เข้าอกเข้าใจดีมาก
เพราะว่าความสงสัยในการปฏิบัติมันจะหาย
ไปได้
ไม่ใช่ว่าอยู่ที่การอ่านหนังสือ
แต่อยู่ที่การปฏิบัติให้รู้แจ้ง
อันนี้
พระพุทธองค์ก็สอนอยู่แล้วว่า
ความเคลือบแคลงสงสัยมันจะหายไป
ได้ ก็เพราะการปฏิบัติธรรม
ไม่ใช่จะหายไปเพราะการเรียนหนังสือ
พระพุทธเจ้าให้เราปฏิบัติจนเห็นเอง
นั่นคือให้ปฏิบัติในใจตัวเอง
พระ
ตถาคตเป็นแต่ผู้บอก
และธรรมะที่แท้นั้นบอกกันไม่ได้
ถึงบอกก็ไม่รู้
เรียนก็ไม่รู้
แต่จะรู้ได้ด้วยปัญญา
ที่เรียนนั้นมันรู้ได้ด้วยสัญญา
ด้วย
ความจำ
ไม่ใช่ของจริง
พระพุทธองค์สอนว่าให้เราปฏิบัติเอง
จนรู้แจ้ง
เห็นจริงด้วยตนเอง
ความสงสัยก็จะเหือดแห้งไปได้
การเชื่อเพราะผู้
อื่นนั้น
พระพุทธองค์ไม่ทรงสรรเสริญ
พระองค์สรรเสริญผู้ที่ปฏิบัติจนรู้
เห็นได้ด้วยตนเอง
และเรื่อง สมถะ
วิปัสสนานี้
ถ้าจะว่ามันแยกกันมัน
ก็แยกกัน
และถ้าจะพูดว่ามันไม่แยกกันมันก็ไม่แยกกัน
แต่ความจริง
แล้วมันจะแยกกันไม่ได้
เช่นผลไม้ผลหนึ่ง
เมื่อมันเล็กมันดิบอยู่
มันก็
ผลไม้นั่นเอง
มันจะห่ามมันก็ผลไม้นั้นเอง
มันจะสุกเหลืองมันก็ผลไม้
นั่นเอง
การเรียนสมถะ
เรียนวิปัสสนานี้
ก็คือการปฏิบัติธรรมนั่นเองมิ
ใช่อย่างอื่น
เมื่อเรารักษาศีล
ใจเราก็สะอาด
เมื่อสะอาดมันก็สบาย
เมื่อสบายมันก็สงบ
เมื่อสงบแล้วก็เกิดปัญญา
เพราะฉะนั้น
สมถะ
วิปัสสนานี้
ก็เหมือนผลไม้ผลเดียวกัน
เมื่อมันยังไม่นาน
มันก็เล็ก เมื่อ
มันนานมันก็โต
เมื่อมันดิบอยู่รสมันก็เปรี้ยว
เมื่อมันสุกรสมันก็หวาน
ฉะนั้นการปฏิบัติสมถะ
วิปัสสนา หรือศีล
สมาธิ ปัญญานี้มันก็จะเกิด
ขึ้นได้ในตัวของมันเอง
เมื่อมีการปฏิบัติแล้วเราก็ค่อยๆรู้เห็นเอง
นี่
อาตมาเข้าใจอย่างนี้
สิ่งที่ควรรู้ก็ต้องรู้ก่อน
เช่น พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า
สุขก็ไม่
ให้เอา
ทุกข์ก็ไม่ให้เอา
จะทำอย่างไรดี
เราจะทำจิตอย่างไร?
แต่ให้รู้
นะ ไม่ใช่ไม่รู้
ต้องให้รู้จัก
รู้จักความพอดี
พระพุทธเจ้าสอนให้รู้จัก
ความพอดีที่ถูกต้อง
(หมายเหตุ 6) ท่านบอกว่าให้วางข้างซ้ายข้างขวา
ข้างซ้ายนี้คือสุข
ข้างขวานี้คือทุกข์
เมื่อจิตเราไปติดอยู่ในสุขมันก็ยังไม่
ถูก เมื่อจิตเราไปติดอยู่ในทุกข์มันก็ยังไม่ถูก
นี้เรียกว่ายังไม่ถูกต้อง
ในเวลาเรานั่งสมาธิ
ก็รู้ว่าทำไมจิตเราจึงไม่สงบ
ทำไมถึงไม่พอดี
มัน
จะต้องติดอยู่ในอารมณ์อันใดอันหนึ่ง
มันจึงไม่ถูกต้อง
เมื่อความไม่
ถูกต้องเกิดขึ้นมา
ความสงบก็ไม่มี
อันนี้เป็นปัญหาหนักเหลือเกินใน
การปฏิบัตินี้
บางคนคิดไม่ถูก
ก็ไม่รู้ เลยเสียกำลังใจ
บอกว่าผิดหวังก็
เลิกไปเฉยๆเท่านั้น
ความลังเลสงสัยอย่างนั้นเกิดขึ้นมา
มิจฉาทิฐิก็
เกิดขึ้นมาพร้อมกัน
เมื่อมิจฉาทิฐิเกิดขึ้นมาพร้อมแล้วก็วุ่นวาย
ปล่อย
การงานนั้นทิ้งไปก็ได้
เพราะฉะนั้น
เราจึงต้องรู้จักว่า
จะกำหนด
อย่างไร
จะกระทำอย่างไร
จะให้มีความรู้อย่างไรจึงจะถูกต้อง
อย่าง
นั้นเสียก่อน
(หมายเหตุ 7)
เพราะว่าจิตของผู้ปฏิบัติเห็นแก่ตัวมาก
เช่นว่า อารมณ์อันใด
ที่เราชอบใจ
อารมณ์เช่นนั้นเราก็ชอบ
อารมณ์เช่นใดที่ไม่ชอบใจ
อารมณ์เช่นนั้นเราก็ไม่ชอบ
เป็นอยู่อย่างนี้
จิตของปุถุชนเราก็เป็นอยู่
อย่างนี้
ดังนั้น มันจึงลงความถูกต้องไม่ได้
เมื่อลงความถูกต้องไม่ได้
ก็ไม่เป็นสัมมาทิฐิเท่านั้น
นักปฏิบัติกรรมฐานทั้งหลายนั้น
ท่านจึงให้มี
สติอยู่
รู้อยู่ เห็นอยู่เสมอ
เมื่อเรามีสติอยู่
รู้อยู่ ก็เห็นจิตของเรา
เมื่อ
เห็นจิตของเรา
ก็รู้ว่าจิตของเราไปยึดอารมณ์ที่ชอบใจบ้าง
อารมณ์ที่
ไม่ชอบใจบ้าง
เข้ามาสู่จิตของตน
เมื่อเป็นเช่นนั้นก็เป็นสังขารที่ปรุง
แต่งขึ้นมาตามใจของเรา
สิ่งที่ชอบเราก็เอา
สิ่งที่ไม่ชอบเราก็ไม่เอา
เมื่อเป็นเช่นนี้ก็เป็นตัวสมุทัย
เป็นเหตุให้เกิดทุกข์ขึ้นมาได้
เพราะว่า
จะมีความสุขอย่างเดียวนั้นไม่มี
จะมีความทุกข์อย่างเดียวนั้นไม่มี
ใน
โลกนี้มันมีสุขทุกข์ปะปนกันไปตลอดทาง
เมื่อเป็นเช่นนั้น
ก็จำเป็นที่
สุดที่มนุษย์เราในโลกนี้
จะต้องรู้จักความสุขความทุกข์อันนี้ตามความ
เป็นจริง
เมื่อเราไม่รู้จักความสุขความทุกข์อันนี้ตามความเป็นจริงแล้ว
เราก็มีความเห็นผิดอยู่เรื่อยไปเท่านั้น
ฉะนั้น พระพุทธเจ้าท่านจึงให้ทำความรู้จักมันว่า
อารมณ์ทั้ง
สองประการนี้
เป็นข้าศึกแก่เราเสมอไป
เรายังไม่รู้จักมันเมื่อไร
เราก็
ยังไม่พ้นทุกข์อยู่ตราบนั้น
ดังนั้น เราจึงต้องปฏิบัติให้เป็นสัมมา
ปฏิปทา
ตามแบบของพระพุทธเจ้า
เช่นว่า ศีลคือ
ความรักษากาย
วาจาให้เรียบร้อยไม่มีโทษ
สมาธิความตั้งใจมั่น
ปัญญาความรอบรู้ใน
กองสังขารเหล่านี้
เป็นต้น
กลุ่มที่ทำกรรมฐานนี้
บางกลุ่มก็เห็นว่าศีลไม่ต้องปฏิบัติก็ได้
สมาธิไม่ต้องปฏิบัติก็ได้
ยืน เดิน นั่ง
นอนอยู่เฉยๆ
ทำให้มีสติอยู่แล้ว
ก็พอ
เท่านั้นก็ดีเหมือนกันแต่ไม่ดีแบบของพระพุทธเจ้า
เช่น แมวมันก็
มีสติเหมือนกัน
แพะแกะมันก็มีสติเหมือนกัน
แต่ว่าเป็นมิจฉา
ไม่เป็น
สัมมาสติ
เราจะไปถือเอาเช่นนั้นได้อยู่
แต่มันไม่ถูกทางพระพุทธ
ศาสนา
พระพุทธศาสนานี้ถือว่า
ให้มีสติอยู่รู้อยู่ก็คือ
ให้รู้ความผิด
ความถูกนั่นเอง
เมื่อรู้จักความถูกและความผิดก็ให้ลงมือปฏิบัติ
คือ
ละความชั่วนั้น
ประพฤติความดีทั้งหลายให้เกิดขึ้นเท่านั้น
ดังนั้นสติ
ในทางพระพุทธศาสนานี้
เมื่อหากว่าใครมีสติสัมปชัญญะรู้ตัวอยู่แล้ว
การกระทำความชั่วทั้งหลาย
เรารู้แล้ว
เราก็ละ เมื่อละแล้ว
ก็จะรู้สึก
ว่าความชั่วมันหายไป
ความดีเกิดขึ้นมาได้
เพราะฉะนั้น
การรักษาศีล
ก็คือ
การรักษากายของเราไม่ให้เกิดโทษ
ไม่ให้เกิดความชั่วขึ้นมา
ให้
มีเมตตา
กรุณา มุทิตา
แก่เพื่อนมนุษย์
สัตว์เดียรัจฉานด้วยกัน
นี้ถูก
แล้ว
ได้ทำสมาธิวันนี้ก็เพื่ออยากจะให้รู้ว่า
จิตของเรานี้ตั้งมั่นอยู่
ในคุณงามความดีนั่นเอง
ในสัมมาทิฐินั่นเอง
ให้มีอารมณ์เป็นอัน
เดียว
เช่นยกอานาปานสติขึ้นเป็นกรรมฐาน
หรือให้จิตของเราติดตาม
ลมหายใจเข้าออกอยู่สม่ำเสมอ
จนจิตของเรามีสติอยู่ในอารมณ์อัน
เดียว
ไม่หวั่นไหวในอารมณ์ต่างๆ
มีความรู้อยู่เสมอ
เมื่อเป็นเช่นนี้
ก็
ฝึกจิตของเราที่มีความสงบอยู่นี้
ให้พิจารณาอวัยวะร่างกายนี้
อวัยวะ
ทั้งหลายนี้เป็นเหตุอย่างหนึ่งที่ให้มนุษย์สัตว์เราติดอยู่
ไม่รู้ตามความ
เป็นจริง
รู้ตามความจริงนั้นคืออะไร?
คือความถูกที่ต้องนั่นเอง
ที่ท่าน
ตรัสไว้ว่า
อวัยวะทั้งหลายนี้เป็นของไม่เที่ยง
เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา
ทำไมมันถึงไม่เที่ยง
เพราะว่ามันเป็นทุกข์
ทำไมมันถึงเป็นทุกข์
เพราะ
สิ่งทั้งหลายเหล่านี้เป็นอนัตตานั่นเอง
ความไม่เที่ยงของร่างกายนั้น
เป็นอย่างไร?
เราจะเห็นได้ง่ายๆที่ว่า
เกสา โลมา นขา
ทันตา ตะโจ
ซึ่งมันมีอยู่ในสกลร่างกายของเรานี้
มันเปลี่ยนไปๆๆๆ
ไม่คงที่ มันเป็น
ไปตามสภาวะของมันอย่างนี้
มันไม่ได้อยู่ใต้บังคับบัญชาของใคร
มัน
อยู่ด้วยความเปลี่ยนแปลงอยู่อย่างนี้ตลอดไป
ดังนั้น ความยึดมั่นถือ
มั่นของมนุษย์ทั้งหลายไม่อยากให้เป็นอย่างนั้น
ไม่อยากให้มีความ
เปลี่ยนแปลง
เกิดมาเป็นหนุ่มก็ให้เป็นหนุ่มอยู่อย่างนั้น
ไม่ให้แก่เฒ่า
แก่ชรา
อยากให้มันเที่ยงก็เที่ยงไม่ได้
เพราะอันนั้นไม่ได้อย่างนั้น
มัน
จึงเป็นทุกข์
ดังนั้นท่านจึงสอนให้รู้ว่า
อันนั้นไม่ใช่เรา
ไม่ใช่ของเรา
ตามเป็นจริง
แต่มนุษย์เราทั้งหลายนั้นไม่รู้ตามความเป็นจริง
ดังนั้น
ร่างกายอวัยวะอันนี้มันเสื่อมโทรมไปจึงเป็นทุกข์
เพราะว่าสภาวะของ
สังขารร่างกายนี้
มันอยู่ด้วยความเปลี่ยนแปลงทั้งนั้น
เป็นหนุ่มสาว
เฒ่าแก่มันก็เป็นอยู่อย่างนั้น
จะให้หนุ่มอยู่อย่างเดียวก็ไม่ได้
จะให้แก่
อย่างเดียวก็ไม่ได้
เหมือนกับลมหายใจเข้าออก
จะให้ออกอย่างเดียว
ก็ไม่ได้
จะให้เข้าอย่างเดียวก็ไม่ได้
จำเป็นจะต้องให้เปลี่ยนแปลงอยู่
อย่างนี้
ท่านจึงเรียกความเป็นอยู่ของสังขาร
ฉะนั้นมนุษย์เราทั้งหลาย
จะไปยึดว่าเป็นตัวเป็นตน
เป็นเราเป็นเขาอยู่อย่างแน่นอนไม่ได้
ได้แต่
เพียงของสมมุติว่าเรา
ว่าของเราเท่านั้น
แม้เราจะแต่งงานเป็นผัวเป็น
เมียอย่างนี้ก็ตาม
ทุกๆคน ทุกชั้น
ทุกภูมิ ก็ต้องเป็นอยู่อย่างนี้
ท่านจึง
เรียกว่ามีสภาวะเสมอกัน
แก่สังขารทั้งหลายทั้งปวง
เมื่อเรามา
พิจารณาสรีระร่างกายของเราแล้ว
ก็เห็นว่ามันเป็นของไม่เที่ยง
เป็น
ทุกข์
เป็นอนัตตาอย่างนั้น
ส่วนที่มันเคลื่อนแข็งอยู่ในสกลร่างกายอยู่
อันนั้นก็เรียกว่าธาตุดิน
สิ่งที่เหลวเป็นน้ำ
ท่านก็เรียกว่าธาตุน้ำ
สิ่งที่
มันอบอุ่น
ท่านก็เรียกว่าธาตุไฟ
สิ่งที่พัดขึ้นเบื้องบนลงเบื้องต่ำในร่าง
กาย ท่านก็เรียกว่าธาตุลม
สี่ธาตุนี้ประกอบกันเข้าก็สมมุติว่า
เป็น
สัตว์
เป็นบุคคล ความจริงแล้ว
หาสัตว์ หาบุคคลตามเป็นจริงไม่มี
เมื่อเราได้พิจารณาเช่นนี้ด้วยกรรมฐานของเราแล้ว
จิตใจจะมีความ
สงบ ไม่วุ่นวาย
เพราะเห็นตามเป็นจริงของสังขารอันนั้น
ใครจะดีใจ
กับมัน
มันก็เป็นอยู่อย่างนั้น
ใครจะเสียใจกับมัน
มันก็เป็นอยู่อย่าง
นั้น
ดังนั้นทางพระพุทธศาสนาท่านจึงสอนว่า
อย่าไปเข้าใจว่า
เป็น
ด้วยความจริง
ให้รู้เพียงว่าตัวเราเป็นเพียงสมมุติ
เป็นของเราเพียง
สมมุติเท่านั้น
ถ้าเราเห็นเช่นนั้น
กิเลสทั้งหลายที่มันมีอยู่นั้นก็จะ
บรรเทา
บรรเทาความโลภ
ความโกรธ ความหลงไหล
ความพอใจ
ความรักของตัวเองลงได้
ขอให้ญาติโยมทั้งหลายที่มาประพฤติปฏิบัติ
วันนี้
ให้ทำความสงบแล้วพิจารณาให้ถูกต้อง
วันนี้ก็ได้ฝึกกรรมฐาน
และแสดงธรรมะให้ฟังพอสมควรแล้ว
หมายเหตุจากผู้จัดทำ
เรื่องนี้ผมใช้หนังสือ
หลวงพ่อชา เล่มสอง
ซึ่งจัดพิมพ์โดย
สำนักพิมพ์
ชมสมัย มาเป็นต้นฉบับ
พิมพ์เข้าเครื่องคอมพิวเตอร์
ผมได้ปรับปรุงตำแหน่งการเว้นวรรคและย่อหน้าให้เหมาะสม
แต่ยังได้พยายามที่จะคงข้อความเดิมไว้
ยกเว้นมีการแก้ไขข้อความ
บางจุด
โดยได้ใส่วงเล็บกำกับไว้
ณ จุดที่แก้ไขแล้ว
ดังรายละเอียดดัง
ต่อไปนี้
จุด 1 มีการแก้ไขคำว่า
ทิฏฐิ ซึ่งปรากฏอยู่หลายครั้ง
ให้
เป็นคำว่า
ทิฐิ ทั้งหมด
จุด 2 ต้นฉบับเดิมเป็นข้อความว่า
ราคะ โทสะ โมหะ
แก้
เป็น
โลภะ โทสะ โมหะ
จุด 3 ต้นฉบับเดิมเป็นข้อความว่า
เมื่อได้ยินเสียงก็สงบ
ตกคำว่า
ไม่ จึงแก้เป็น
เมื่อได้ยินเสียงก็ไม่สงบ
จุด 4 ต้นฉบับเดิมเป็นข้อความว่า
รูปังอนิจังเวทนา
อนิจจา
สัญญา
อนิจจาสังขารา
อนิจจาวิญญาณังอนัง
แก้เป็น อนิจจารูปัง
อนิจจาเวทนา
อนิจจาสัญญา
อนิจจาสังขารา
อนิจจาวิญญาณัง
จุด 5 ต้นฉบับเดิมเป็นข้อความว่า
อยู่กับกายที่จิต
แก้เป็น
อยู่ที่กายกับจิต
จุด 6 เนื่องจากก่อนจะมาถึงจุดนี้
มีข้อความที่เป็นคำถาม
ค้างอยู่
ผู้อ่านก็จะพยายามอ่านให้เจอคำตอบ
แต่ยิ่งอ่านก็ยิ่งเจอแต่
คำถาม
จึงขอตัดข้อความบางส่วนออก
เพื่อให้กระชับขึ้น
คำตอบร่น
เข้ามาใกล้ขึ้น
เพื่อที่ผู้อ่านจะได้ไม่เมาคำถามเสียก่อน
โดยข้อความที่
ตัดออกนั้นเป็นดังต่อไปนี้
มีหลักเปรียบเทียบอยู่ว่า
เหมือนกับคนที่เขารู้จักตาช่างของ
นะ สำหรับคนซื้อและคนขายให้ตรงไปตรงมา
หนักทางนี้คนนี้ก็ไม่
ชอบ หนักมาทางนี้คนซื้อก็ไม่ชอบ
หนักมาทางนี้คนขายก็ไม่ชอบ
ถ้า
หากว่ามันตรงเสมอก็ชอบทุกคน
คนซื้อก็ชอบ
นี้เรียกว่าตรงไปตรงมา
นั้นเรียกว่าการ
กระทำที่ถูกต้อง
ธรรมะของพระพุทธเจ้าก็เหมือนกัน
ฉะนั้นอันนั้นเป็นเครื่องวัดจะมีปัญหาเกิดขึ้นมาว่าจะทำให้ถูกต้องนั้น
จะทำอย่างไร
ไม่รู้ เพราะเรายังไม่รู้ความที่มันถูกต้อง
เมื่อเราทำจิตให้
มันถูกต้อง
ก็ไม่รู้ว่าจะทำอย่างไรมันจึงจะถูกต้อง
มันก็เกิดความลังเล
สงสัยอยู่เสมอ
จิตใจของผู้ปฏิบัติมันจะต้องตรงไปตรงมา
ออกจากสิ่ง
ที่มันไม่ตรง
ถ้าเรารู้จักเช่นนั้นความถูกต้องมันก็เกิดขึ้นมาเดี๋ยวนั้น
เพราะธรรมะจะต้องมีหลักการเปรียบเทียบจึงจะรู้
ถ้าไม่เปรียบเทียบ
ก็ไม่รู้
ไม่รู้จักธรรมะ
เช่น
จุด 7 จุดนี้ก็ตัดข้อความบางส่วนทิ้งไป
ในทำนองเดียวกัน
โดยข้อความที่ตัดออกนั้น
เป็นดังต่อไปนี้
ถ้าทำสิ่งใดถูกต้องแล้ว
มันก็ไม่ผิด
ถ้าไม่ผิดแล้วมันก็ถูก
อัน
นั้นเรียกว่าทางที่ถูกต้อง
เปรียบเสมือนว่าช่างไม่ต้องการไม้สักเมตร
หนึ่ง
แต่เราไปตัดเอาเมตรยี่สิบ
หรือตัดมาเก้าสิบ
ไม่ถึงเมตร
หรือมัน
ยาวกว่าเมตรนั้น
เรียกว่ามันไม่ถูกต้อง
หากว่ามันพอดีเมตรหนึ่ง
นั้น
แหละเรียกว่าความถูกต้อง
การประพฤติปฏิบัติให้ถูกต้อง
ก็รู้ขึ้นทาง
จิตอย่างนั้น