เหนือเวทนา
ท่านพุทธบริษัททั้งหลายทั้งคฤหัสถ์และบรรพชิตโดยมากก็มี
ทายกทายิกาเฉพาะวัดหนองป่าพง
วันนี้ พวกเรามาต้อนรับท่าน
ประธานองคมนตรี
และองคมนตรี
ซึ่งท่านมีเจตนาจะมาเยี่ยม
บัดนี้
พุทธบริษัทเราก็ได้มากันพร้อมแล้ว
ต่อไปนี้ ซึ่งท่านประธาน
องคมนตรีได้ขอให้พูดธรรมะให้ฟัง
เพื่อเป็นประโยชน์แก่ตนเองและผู้
อื่น
เพราะฉะนั้น
ก็ถึงเวลาอันสมควรซึ่งพวกเราทั้งหลายจะมีโอกาส
ฟังธรรม
การฟังธรรมนั้น
ถ้าเรามีความสงบความระงับในขณะฟัง
ธรรม
มันก็จะเกิดประโยชน์
พระพุทธเจ้าท่านสรรเสริญบุคคลผู้ฟัง
ธรรมด้วยความสงบ
จิตนี้มันก็เหมือนกับเทป
เทปนี้ถ้ามีเสียงอะไร
มารบกวน
มีเสียงอะไรปะปนเข้ามามาก
เสียงก็ฟังไม่ชัดไม่ถนัด
ความรู้ก็ได้น้อย
ประโยชน์มันก็น้อย
ถ้าเทปอัดอยู่ในที่ที่มีความสงบ
ระงับ
มีแต่เสียงเทศน์เสียงธรรมะอย่างเดียว
คำพูดมันก็สะอาด
ฟัง
ง่าย
ไม่มีอะไรปะปน
จิตใจเราก็อย่างนั้นเหมือนกัน
กายกับจิตนี้มันพัวพันกัน
อย่างมันมีเจ็บ
มีปวด มีสุข
ทุกข
เวทนา
มันก็ทั่วถึงกันไปทั้งนั้น
ถึงแม้มันคนละอย่างก็ตาม
มันก็ไปถึง
กัน อันนี้ก็เหมือนกันฉันนั้น
ธรรมะซึ่งจะให้เป็นประโยชน์ต่อไปนี้
ก็เป็นธรรมะที่เกี่ยวเนื่อง
กับการประพฤติปฏิบัติ
ไม่ใช่ว่าเป็นธรรมะเพื่อการฟังอย่างเดียว
สมัย
นี้ การศึกษาของประชาชนพุทธบริษัทเราทั้งหลายมันมากขึ้น
ก็ต้อง
ฟังธรรมเพื่อให้ละชั่ว
ละชั่วแล้วก็ให้เกิดปัญญา
เกิดปัญญาแล้วก็ให้
ประพฤติปฏิบัติ
มันจึงจะเกิดประโยชน์
เมื่อสมัยโบราณ
สมัยบรรพบุรุษของเรา
โดยมากเป็นคนซื่อ
สัตย์
ถ้าฟังธรรมแล้วก็ดีใจ
ฟังเอาเสียง
ฟังเอาคำพูดเท่านั้น
ฟังให้ใจ
สบาย
คนโบราณชอบเป็นอย่างนั้น
ไม่ค่อยเข้าใจว่าท่านพูดอะไร
พูด
เรื่องอะไร
แต่ว่าจิตใจของคนสมัยนั้นเขาไม่วุ่นวายอยู่แล้ว
แล้วก็เป็น
คนซื่อสัตย์
การฟังธรรมของเขานั้นฟังเอาบุญ
ฟังในที่นั้นให้มันสงบ
แล้วก็เอาบุญเท่านั้น
พระท่านพูดไปถึงเรื่องอะไรก็ไม่ค่อยจะรู้เรื่องโดย
แยบคายอะไรหรอก
แต่ว่าใจของเขาดีอยู่แล้ว
ใจของเขามันสบาย
ใจ
ของเขามันเรียบง่าย
นั่นแหละในสมัยนั้น
ไปฟังธรรมเอาบุญกัน
ไม่มี
อะไรมาก
ก็เพราะเขาไม่วุ่นวาย
แต่ในปัจจุบันนี้
ความรู้มาก
การ
ศึกษามาก
มายาสาไถยมันก็มาก
มันมากขึ้นทุกอย่างนั่นแหละ
ดัง
นั้นต้องฟังธรรมเพื่อให้เกิดปัญญา
เพื่อเอาไปพินิจพิจารณามีเหตุผล
ธรรมะอันแท้จริงนั้น
ที่สุดของมันก็คือ
ไม่ให้ว่าอะไรมันมาก
มันน้อย
ที่ว่ามันมากมันน้อย
อะไรต่างๆเหล่านี้
มันเกิดจากความรู้สึก
นึกคิดของเราเอง
การประพฤติการปฏิบัตินี้
ในวงแคบก็คือ
กายกับใจ
เท่านั้น
มันจะนึกคิดไปถึงไหน
หรือความนึกคิดมันจะมาจากไหนก็
ตาม อันนั้นกายกับใจสองอย่างเท่านั้นเหละที่เอามันมา
แล้วสิ่งต่างๆ
ก็จะตามมา
ดังนั้นการประพฤติการปฏิบัติที่จะให้ถูกต้อง
ให้รู้จัก
ความผิดชอบต่างๆ
ก็คือการปฏิบัติกายกับใจ
กายกับใจนี้แหละที่พา
ให้สุข
พาให้ทุกข์
มันเกี่ยวเนื่องกันเป็นลูกโซ่ทีเดียว
ดังนั้นการปฏิบัติ
นี้มันเป็นสิ่งที่สำคัญอยู่เหลือเกิน
ทุกอย่างที่เราได้รู้มาเห็นมา
ถ้าไม่ได้
ปฏิบัติ
ก็เรียกว่าได้แต่เปลือกของมันเท่านั้น
อย่างเช่น เราได้ผลไม้มาผลหนึ่ง
มันจะเปรี้ยวหรือหวานก็
ช่างมันเถอะ
เมื่อได้มาแล้ว
ถ้ายังไม่รู้จักวิธีที่ปฏิบัติต่อมันแล้ว
เราก็
ไม่รู้ว่า
เปรี้ยวมันเป็นอย่างไร?
หวานมันเป็นอย่างไร?
ก็เพราะว่ามือ
ของเราอย่างเดียวนั้น
มันไปจับผลไม้
มันจะรู้จักเปรี้ยวไหม?
มันไม่รู้
มันรู้จักหวานไหม?
มันก็ไม่รู้จัก
ถึงแม้ว่าเราได้ผลไม้มาในมือของเรา
แล้ว
ถึงอย่างนั้นมันก็ยังไม่เป็นประโยชน์เท่าที่ควร
เพราะว่ามันเปรี้ยว
ก็ได้ยินแต่เขาว่ามันเปรี้ยว
หวานก็ได้ยินแต่เขาว่ามันหวาน
เราก็ได้แต่
เอามือกำผลไม้ไว้เท่านั้นแหละ
มันยังไม่เกิดประโยชน์อย่างเต็มที่
ทำไม?
เพราะเรายังไม่ได้ปฏิบัติ
คือ เรายังไม่ได้ทานผลไม้นั้นให้รู้รส
ชาติของมัน
ถ้าเราได้ทานผลไม้นั้นแล้ว
ผลไม้นั้นมันก็แสดงความ
เปรี้ยว
ความหวาน หรือความเอร็ดอร่อยออกมา
เราถึงจะรู้จักรสของ
มัน เมื่อเรารู้อย่างนี้
มันก็เป็นสิขีภูโต
คือ มันเป็นพยานในตัวเอง
ถ้า
เรายังไม่รู้อย่างนี้
เราก็มีแต่พยานภายนอก
พยานคือคนให้ผลไม้
ที่
เขาว่าเปรี้ยวเขาว่าหวานเท่านั้นแหละ
ไม่เป็นสิขีภูโต
ไม่เป็นตนของ
ตนเลย
อันนั้นเรียกว่ายังเชื่อคนอื่นอยู่
พระพุทธเจ้าบอกว่า
บุคคลที่เชื่อคนอื่นอยู่นั้น
ท่านไม่
สรรเสริญ
ท่านสรรเสริญบุคคลที่รู้เป็นปัจจัตตัง
คือรู้เฉพาะตนเอง
เปรียบอย่างผลไม้นั่นแหละ
ถ้าเราได้ลิ้มรสมันแล้ว
มันจะหวาน มัน
จะเปรี้ยวก็ไม่ต้องไปถามใคร
ปัญหามันก็หมดไป
ทำไมปัญหามันจึง
หมดไป?
เพราะเรารู้ตามความเป็นจริง
รู้อย่างความเป็นจริง
ปัญหา
มันก็หมด
ไม่มีความยุ่งยาก
มันก็จบแค่นั้น
ทำไมมันจึงจบ?
ก็เพราะ
มันรู้เท่า
มันรู้ทั่ว
รู้ถึงเสียแล้ว
มันก็จบความสงสัย
มันจะเปรี้ยวก็หมด
ความสงสัย
มันจะหวานก็หมดความสงสัย
นี้คือคนที่รู้ธรรมะแล้ว
ผู้ที่
บรรลุถึงธรรมะ
ก็เหมือนกับผู้ที่บรรลุถึงความเปรี้ยวหวานของผลไม้
ปัญหานั้นมันก็หมดไปอย่างนี้
มีหลักเปรียบเทียบอยู่อย่างนี้
ฟังธรรมะเพื่อที่จะให้เกิดความรู้เฉพาะตนเองนั้น
ถ้าหากจะ
บรรยายไปมาก
มันก็มาก ท่านก็ให้รู้สิ่งต่างๆเพียงสี่ประการเท่านั้น
คือให้รู้จักทุกข์
รู้จักเหตุเกิดของทุกข์
รู้จักความดับทุกข์
ให้รู้จักข้อ
ปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์
ที่เราดำเนินการประพฤติปฏิบัติมาทุก
อย่างนั้น
ก็ต้องการให้รู้สิ่งทั้งหลายเหล่านี้
ให้รู้จักทุกข์
รู้จักเหตุของทุกข์
รู้จักความดับทุกข์
รู้จักข้อ
ปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์
เมื่อรู้จักของสี่อย่างนี้แล้ว
มันก็หมด ทุกข์
เราก็รู้
เหตุของทุกข์เราก็รู้
ความดับทุกข์เราก็รู้
ข้อประพฤติปฏิบัติให้
ถึงความดับทุกข์นี้เราก็รู้
รู้ของสี่อย่างเหล่านี้
ก็เรียกว่าจบ
ปัญหามัน
ก็หมดไป
ของสี่อย่างนี้มันอยู่ที่ไหน?
มันเกิดอยู่ที่ของสองอย่าง
คือ
กายกับใจเท่านั้นแหละ
ไม่อยู่อื่นไกลหรอก
อย่างพวกพุทธบริษัทมา
วันนี้ก็เอากายกับใจมาครบสมบูรณ์บริบูรณ์
แล้วทำไมท่านจึงแยกแยะธรรมะออกให้กว้าง?
ก็เพราะเพื่อ
ทำสิ่งทั้งหลายเหล่านี้ให้ละเอียดเป็นอย่างๆออกไป
เพื่อให้เรากำหนด
พิจารณาดู
เช่น ร่างกายเรานี้ท่านบอกว่า
เกสา โลมา นขา
ทันตา
ตโจ ย่นย่อลงมาสารพัดอย่าง
แยกแยะร่างกายออกมา
คือจะทำให้
เห็นตามเป็นจริงของร่างกายอย่างชำนิชำนาญ
ให้มันรู้ยิ่งตามเป็น
จริงของสังขารอันนี้
ถ้าเราไม่รู้ยิ่งตามเป็นจริงแล้ว
เราก็จะไม่รู้จักทุกข์
ไม่รู้จักเหตุเกิดของทุกข์
ไม่รู้จักความดับทุกข์
ไม่รู้ข้อปฏิบัติให้ถึง
ความดับทุกข์
ดังนั้นฟังเทศน์หรือฟังธรรมในสมัยปัจจุบันนี้
ก็เพื่อให้รู้
จักสี่สิ่งเหล่านี้
สิ่งสี่อย่างเหล่านี้มันก็เกิดกับกายกับใจ
ดังนั้น พระพุทธเจ้าจึงว่า
ธรรมะนั้นมีอยู่ทุกที่
ไม่มีที่ไหนที่ไม่
มีธรรมะ
มันมีธรรมะอยู่ทุกสถานที่
จะเป็นรูปมันก็เป็นธรรมะ
จะเป็น
นามมันก็เป็นธรรมะ
เมื่อเป็นเช่นนี้
ก็เข้าใจเสียด้วยว่า
เรานั้นน่ะเกิด
อยู่กับธรรมะ
ใกล้ชิดธรรมะ
และก็ยังให้เข้าใจต่อไปอีกว่า
เราก็ไม่ห่าง
ไกลจากพระพุทธเจ้า
เราอยู่ใกล้ชิดพระพุทธเจ้าอยู่แล้ว
แต่ว่าทำไม
เราจึงยังไม่เห็นท่าน?
เพราะเรายังไม่ค่อยได้สนใจปฏิบัตินี่เอง
ก็
เพราะธรรมะนั้นคือพระพุทธเจ้า
พระพุทธเจ้านั้นก็คือธรรมะ
ดูก่อน
อานนท์
ให้ท่านทำให้มาก
เจริญให้มาก
ปฏิบัติให้มาก
ใครเห็นเรา
ก็
คนนั้นเห็นธรรม
ใครเห็นธรรม
ก็คนนั้นเห็นเรา
ถ้าพูดอย่างนี้ก็เรียก
ว่าเราไม่ห่างไกลจากพระพุทธเจ้า
ไม่ห่างไกลจากธรรมะ
ผู้ใดเห็น
ธรรมก็เห็นพระพุทธเจ้า
ผู้ใดเห็นพระพุทธเจ้าก็เห็นธรรมะ
เมื่อพูดถึง
ความใกล้ชิดกันเช่นนี้
พระพุทธเจ้าก็คือธรรมะ
ธรรมะก็คือพระพุทธ
เจ้า
สิทธัตถะราชกุมาร
เมื่อเกิดมาครั้งแรก
ยังไม่เป็นพระพุทธเจ้า
ก็เพราะท่านยังไม่รู้ธรรมะ
ก็ยังเป็นปุถุชนอยู่อย่างพวกเรานี่เองแหละ
ต่อเมื่อท่านรู้จักสิ่งที่ควรรู้
คือรู้จักสัจจธรรม
คือ รู้จักทุกข์
รู้จักเหตุเกิด
แห่งทุกข์
รู้จักความดับทุกข์
รู้จักข้อประพฤติปฏิบัติให้ถึงความดับ
ทุกข์แล้ว
ท่านจึงได้มีการประพฤติปฏิบัติขึ้นมา
แล้วท่านก็บรรลุซึ่ง
ธรรมะ
จึงได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ดังนั้นเมื่อเราเข้าถึงธรรม
เราจะนั่งอยู่ที่ไหนเราก็รู้ธรรมะ
เมื่อ
เรารู้ธรรมะ
เราก็เหมือนได้ฟังเทศน์ของพระพุทธเจ้า
เราอยู่ที่ไหนเราก็
ได้ฟังธรรมะอยู่ที่นั่น
เมื่อเราเข้าใจธรรมะ
พระพุทธเจ้าก็อยู่ที่ใจเรา
พระธรรมก็อยู่ที่ใจเรา
ข้อประพฤติปฏิบัติให้เกิดความเฉลียวฉลาดก็
อยู่ที่ใจเรา
เราก็เป็นผู้ปฏิบัติพร้อมด้วย
กาย วาจา ใจ เมื่อพระพุทธ
เจ้าอยู่ที่ใจ
พระธรรมอยู่ที่ใจ
พระสงฆ์อยู่ที่ใจของเรา
เราเชื่อแน่นอน
ทั้งหมดแล้วว่า
จะทำอะไรที่ไหนก็ช่างเถอะ
การกระทำของเรานั้นมัน
ก็จะถูกต้อง
ความถูกต้องนั้นก็คือ
เราเห็นมันถูกต้องตามสัจธรรม
ซึ่ง
พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า
นั่นมันเป็นความจริง
ท่านจึงทิ้งโลก
คือทิ้งสรรเสริญ
ทิ้งนินทา ใครจะนินทาท่านก็
รับว่ามันเป็นอย่างนั้น
ใครจะสรรเสริญท่านก็รับว่ามันเป็นอย่างนั้น
สองอย่างนี้มันเป็นเรื่องของโลกทั้งนั้น
จิตใจของท่านก็ไม่หวั่นไหว
เพราะอะไร?
ก็เพราะท่านรู้จักทุกข์
ก็สิ่งทั้งสองนี้ทำให้ท่านเกิดทุกข์
หากท่านไปเชื่อเข้า
มันก็เกิดทุกข์เท่านั้นแหละ
ทุกข์มันก็เป็นอย่างนั้น
เกิดมาแล้วมันก็กระสับกระส่าย
ไม่สบายอก ไม่สบายใจ
เมื่อจิตวุ่น
วาย จะยืน
จะเดิน จะนั่ง
จะนอน ก็กระสับกระส่าย
นั่นคือความทุกข์
เพราะอะไรเป็นเหตุให้ทุกข์มันเกิด?
ก็เพราะเราไม่รู้ตามเป็น
จริง ทุกข์นี้มันก็เกิด
อันนั้นมันเป็นเหตุ
เมื่อเป็นเหตุ
ทุกข์มันก็เกิด
เมื่อทุกข์เกิดมาแล้ว
จะดับอย่างไรก็ไม่รู้จักอีก
ยิ่งจะหาหนทางให้มัน
ดับทุกข์
ก็ยิ่งว่า อย่ามาว่าฉันเลย
อย่ามาอิจฉาฉันเลย
นี่ทุกข์มัน
ก็เลยยิ่งเกิดขึ้นมาไม่หยุด
อย่ามาว่าฉันเลย
ทุกข์มันก็ยิ่งเกิดขึ้นมา
ทีนี้ท่านว่า
การรู้จักข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์
ก็คือน้อม
ธรรมะเข้ามาในใจของเรา
แล้วก็จะเห็นว่ามันเป็นสัจธรรม
เรื่องนั้นมัน
เป็นของข้างนอก
ไม่ใช่ของใน
ความเป็นจริงที่เราทำนั้น
ที่เราพูดนั้น
ที่เราตั้งใจนั้น
ไม่มีใครรู้
มันรู้อยู่ที่จิตของเรา
ดังนั้นถ้าใครเห็นว่าเรารู้
จัก สิขีภูโต
เอาตนเองเป็นพยานของตนแล้ว
พระพุทธเจ้าท่าน
สรรเสริญ
ใครจะว่าดีท่านก็ไม่หลง
ใครจะว่าชั่วท่านก็ไม่ลืม
เป็นอิสระ
อยู่อย่างนั้น
เพราะที่ดีหรือชั่วนั้นมันเป็นเรื่องของโลก
เมื่อเป็นเรื่อง
ของโลก
มันก็เป็นอารมณ์
ถ้าหวั่นไหวไปตามอารมณ์
ใจเรามันก็เป็น
โลก เราก็คลำไปอยู่ตลอดเวลา
ก็เรียกว่าไม่รู้จักทางปฏิบัติให้ถึงความ
ดับทุกข์
ทุกข์มันก็กำเริบขึ้นมาเท่านั้น
ดังนั้น เมื่อเราเข้าใจเช่นนี้แล้ว
ก็รู้ว่าเรายังไม่ชนะใจตัวเอง
ถ้าเรายังคิดจะเอาชนะอย่างอื่น
มันก็แพ้ตัวเองก่อนเท่านั้น
ถ้าเราเอา
ชนะตัวเองมันก็ชนะทั้งตัวเอง
แล้วก็ชนะทั้งอย่างอื่น
ชนะทั้งอารมณ์
ชนะทั้งรูป
ทั้งเสียง ทั้งกลิ่น
ทั้งรส ทั้งโผฏฐัพพะ
เป็นอย่างนั้น
อันนี้
พูดถึงเรื่องภายนอก
มันเป็นอย่างนั้น
เรื่องภายนอกมันก็ทำให้มาเป็นเรื่องภายในด้วยนะ
บางคน
ก็รู้แต่ภายนอกไม่รู้ภายใน
เช่นท่านพูดคำหนึ่งว่า
ให้เห็นกายในกาย
ให้รู้กายแล้วยังไม่พอ
ให้รู้กายในกายอีก
ให้พิจารณากาย
แล้วก็ให้
พิจารณากายในกาย
แล้วก็ให้พิจารณาจิต
และพิจารณาจิตในจิตอีก
ถ้าเราเป็นผู้ห่างเหินจากการภาวนา
ก็จะเก้อเขินแล้ว
คำว่ากายนี่พอ
จะรู้
แต่ไอ้คำว่ากายในกายมันคืออะไร?
แล้วที่ให้รู้จิต
จิตนี้มันคือ
อะไร?
ของในจิตนั้นมันคืออะไร?
กายอันนั้นเป็นของภายนอกคือรูป
ทีนี้ เวทนา
สัญญา
สังขาร
เป็นของภายใน
อย่างเช่นร่างกายของเรานี้
ร่างกายที่เราเอา
มานั่งประชุมรวมกันอยู่นี้
มองเห็นด้วยตา
ถ้าเห็นแต่รูปร่างกายเช่นนี้
อยู่เท่านี้
มันจะทำให้ไม่สามารถระงับความทุกข์
ทำให้ไม่ระงับเหตุ
เกิดของทุกข์ได้เลย
ทำไม? ก็เพราะว่ากายอย่างนี้เรายังไม่เห็นข้างใน
เราเห็นกันแต่ข้างนอก
มันก็เห็นแต่ว่าเป็นของสะสวย
เป็นแก่นสารไป
หมดทุกอย่าง
พระพุทธเจ้าท่านบอกว่าเห็นแค่นี้ไม่พอ
ที่เห็นข้างนอก
ไอ้ตาเนื้อเราก็รู้จัก
เด็กๆมันก็เห็นได้
สัตว์ทั้งหลายมันก็เห็นได้
มันไม่
ยาก กายนอกของเรานี้
เห็นเพียงนั้นเห็นได้
แต่เห็นแล้วมันติด
เห็น
แล้วมันไม่รู้
เห็นแล้วมันตะครุบ
ตะครุบแล้วมันก็กัดเราเท่านั้นเหละ
มันเป็นเสียอย่างนี้
เพราะฉะนั้นจึงให้เห็นว่า
ให้พิจารณากายไปในกาย
อะไรที่มี
ในกาย
ก็ค้นคว้าหาดูซิว่ามีอะไรในกาย
มีปัญหาที่ได้ความอยู่ว่า
ของ
ในกายเรานี้มีอะไรอยู่บ้าง?
ที่เราเห็นกายภายนอกนั้นมันไม่ชัดเจน
เห็นผม
เห็นขน เห็นเล็บ
อะไรทั้งหลาย
มีแต่ของสะสวยไปทั้งนั้น
มัน
เป็นเครื่องย้อมใจเรา
เพราะฉะนั้น
ท่านจึงว่าเห็นไม่ชัด
เห็นกายไม่ชัด
ท่านจึงให้มองข้างใน
ให้เห็นกายในกาย
ต้องมองเข้าไปอีกว่า
กายอยู่
ในกายนี้มีอะไรอยู่บ้าง
ที่กายเนื้อกายหนังมันมีอยู่อย่างนี้
ในกายนั้น
มีอะไรบ้าง?
พิจารณาดูให้แยบคายเข้าไปเถอะ
เราก็จะเห็นว่าในกายนี้มัน
มีอะไรหลายๆสารพัด
คนเข้าไปดูแล้วก็แปลกใจทั้งนั้นแหละ
เพราะ
แม้แต่ของที่อยู่ในตัวของเรา
เราก็ไม่เคยเห็นเลย
แต่เราเดินเราก็อุ้ม
มันไป
นั่งรถก็อุ้มมันไปทั้งนั้นแหละ
แต่เรายังไม่รู้จักมันเลยว่ามันเป็น
อะไร?
อย่างไร? เหมือนเรารับของฝากเขามา
เราไปเยี่ยมญาติที่บ้าน
เขา เขาเอาห่ออะไรให้เรา
เราก็ไม่รู้
จับได้ก็ยัดใส่ตะกร้าแล้วก็ไปเลย
ไม่ได้เปิดไม่ได้ไขดู
เมื่อไปเปิดห่อดูแล้ว
เห็นแต่อสรพิษทั้งนั้น
กายเรา
นี้ก็เหมือนกันฉันนั้น
เราเห็นแต่เปลือกนอกเราก็ว่าสวยว่างาม
อะไร
สารพัดอย่าง
จนลืมตัว ลืมตน
ลืมอนิจจัง ลืมทุกขัง
ลืมอนัตตา ลืม
อะไรๆทั้งนั้น
ถ้าเรามองเข้าไปข้างในนั้น
มันไม่น่าดูนะ
กายของเรานี้
มันสกปรก
เอาของที่สะอาดมาใส่
มันก็สกปรก
นี้เรื่องภายนอกก็
สกปรกภายนอก
ส่วนเรื่องภายในก็สกปรกภายในเหมือนกัน
เรื่อง
ภายในมันยิ่งน่าดูกว่านั้นอีก
ดูเข้าไปข้างในสิร่างกายของเรามีอะไร
บ้าง?
ถ้าเราดูตามเป็นจริง
ดูตามสัจธรรมแล้วนะ
ถ้าเราไม่เข้าข้าง
ตัวเองแล้ว
มันจะเป็นสิ่งที่น่าสลด
น่าสังเวช น่าอะไรๆหลายๆอย่าง
มันน่าจะเกิดนิพพิทา
ความเบื่อหน่าย
คำว่าเบื่อหน่ายไม่ใช่ไปเกลียด
ไปโกรธมันนะ
แต่เป็นความกระจ่างของจิตเรา
เป็นความปล่อยวาง
เห็นว่าอันนี้ไม่มีสาระประโยชน์
ไม่เป็นแก่น
ไม่เป็นสารอะไรเลย
เรา
เห็นสิ่งทั้งหลายเหล่านี้เป็นธรรมชาติ
เป็นธรรมดา
เป็นเรื่องของมัน
มันก็ตั้งของมันอยู่อย่างนั้น
ใครจะให้มันเป็นอย่างไร
มันก็เป็นของมัน
อยู่อย่างนั้นเอง
เราจะร้องให้ก็ดี
เราจะหัวเราะก็ตามเถอะ
สังขารมัน
ก็เป็นอยู่อย่างนั้น
สิ่งที่ไม่เที่ยงมันก็ไม่เที่ยง
สิ่งที่ไม่สวยมันก็ไม่สวย
มันเป็นอยู่อย่างนั้นแหละ
ไม่ว่าคนจะรู้หรือคนจะไม่รู้
มันก็เป็นของมัน
อยู่อย่างนั้น
ดังนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าของเราท่านจึงว่า
เมื่อเราเห็นรูป
เสียง
กลิ่น รส โผสัพพะ
ธรรมารมณ์เกิดขึ้นมาแล้ว
ควรปล่อยมันไป
เสีย
เมื่อหูได้ยินเสียงก็ปล่อยมันไปเสีย
เมื่อจมูกได้กลิ่น
ก็ปล่อยมัน
ไปเสีย
ปล่อยมันเอาไว้แค่จมูกของเรานะ
เมื่อรสมันเกิดขึ้นกับลิ้นของ
เรา ก็ปล่อยมันไปเสีย
เมื่อโผฏฐัพพะที่ถูกต้องด้วยกายเกิดขึ้นมา
ชอบใจไม่ชอบใจก็ปล่อยมันไปเสีย
ให้กลับไปที่เดิมของมันเสีย
เรื่อง
ธรรมารมณ์ที่เกิดขึ้นกับใจของเรานี้
มันไม่ต้องการอาศัยอะไร
ไม่
ต้องการสัมผัสอะไร
มันสัมผัสขึ้นที่ใจของมันเอง
เรียกว่า ธรรมารมณ์
หรือ
ธรรมะกับอารมณ์
เป็นส่วนดีก็เรียกว่า
กุศล เป็นส่วนชั่วก็เรียก
ว่า อกุศล
สิ่งทั้งหลายเหล่านี้
ก็ปล่อยไปตามเรื่องของมันเสีย
เรียกว่า
เรารู้จักมันอย่างนี้
สุขก็ดี ทุกข์ก็ดี
สารพัดอย่างอยู่ในรูปอันเดียวนี้
นี้เรียกว่าการภาวนา
การภาวนาคือการทำให้สงบ
เมื่อสงบ
แล้ว
ก็ทำให้รู้
การทำให้สงบหรือทำให้รู้นี้
ต้องลงมือปฏิบัติ
กายกับ
จิต สองอย่างนี้เองไม่ใช่อื่น
ความเป็นจริงที่กล่าวนี้
มันเป็นสิ่งละสิ่ง
เช่น
รูปก็เป็นส่วนหนึ่ง
เสียงก็เป็นส่วนหนึ่ง
กลิ่นก็เป็นส่วนหนึ่ง
รสก็
เป็นส่วนหนึ่ง
โผฏัพพะก็เป็นส่วนหนึ่ง
ธรรมารมณ์ก็เป็นส่วนหนึ่ง
แต่
ละอย่างนี้ก็เป็นคนละส่วนๆอยู่
แต่ท่านก็ให้เรารู้จักมันเสีย
แยกสิ่งทั้ง
หลายเหล่านี้ออกสรุป
เป็นสุขบ้าง
เป็นทุกข์บ้าง
สุขเกิดขึ้นมาก็เป็น
สุขเวทนา
ทุกข์มันเกิดขึ้นมาก็เรียกว่าทุกขเวทนา
เรื่องสุขกับทุกข์ท่าน
ก็จัดไว้เพื่อให้แยกมันออกจากจิต
จิตก็คือ ผู้รับรู้
เวทนานั้นคือ
อาการที่มันสุขหรือทุกข์
ชอบใจ
หรือไม่ชอบใจเป็นต้น
เมื่อจิตของเราเข้าไปเสวยในอาการเหล่านั้น
เรียกว่าจิตของเราเข้าไปยึด
หรือหมายมั่น
หรือสำคัญมั่นหมายใน
ความสุขนั้น
ในความทุกข์นั้นนั่นเอง
ไอ้การที่เราเข้าไปหมายมั่นมัน
นั้น
ก็คือเรื่องของจิต
อาการที่มันสุขหรือมันทุกข์นั้นคือ
อาการเวทนา
สิ่งที่เป็นผู้รับรู้นั้นเรียกว่าจิตของเรา
ที่ชื่อว่าสุขหรือทุกข์นั้นมันเป็น
เวทนา
ถ้ามันสุขก็เรียกว่าสุขเวทนา
ถ้ามันทุกข์ก็เรียกว่าทุกขเวทนา
ที่ว่าจิตกับเวทนานั้น
ท่านให้เรารู้จักแยกมันออกจากกัน
คำที่
ว่าแยกออก
ใช่ว่าเอาไปทิ้งไว้คนละทาง
คนละที่ แต่ว่าเราจะแยกโดย
วิธีทำจิตเราให้สงบ
เช่นว่าคนที่ทำสมาธิจนถึงที่
ก็จะรู้จักว่า
เมื่อจิต
สงบแล้ว
ก็แยกมันเสีย
เพราะความสงบนั้นล้นเหลือ
สุขนี้มันก็เข้าไป
ไม่ได้
เข้าไปไม่ถึง
ทุกข์นี้ก็เข้าไปไม่ถึง
นี่คือที่ว่าเวทนามันแยกออก
อย่างที่ว่าเรานั่งสมาธิ
ถ้าความสงบมันเข้ามาก่อน
เวทนาเข้ามาที
หลัง เวทนามันก็เดินเข้าไม่ถึง
จิตก็ไม่รับรู้
เวทนามันแยกกันอยู่ในตัว
ของมันเองกับกายนั้น
ต้องให้รู้ว่าจิตที่เห็นเวทนานั้น
เราเข้าไปยึดไหม
สุขเวทนาที่เกิด
ทุกขเวทนาที่เกิดขึ้นมานั้น
เราเข้าไปยึดไหม
เราก็จะรู้
ว่าจิตของเรามันจะเป็นอย่างนี้
จะรู้ว่าสุขมันเป็นอย่างนี้
ทุกข์มันเป็น
อย่างนี้
เวทนามันเป็นอย่างนี้
มันเป็นคนละเรื่องกันอยู่
จะเปรียบก็คล้ายๆกับว่า
น้ำมันกับน้ำท่า
มันปนอยู่ในขวด
เดียวกัน
ก็ปนกันได้
แต่แยกกันอยู่
มันจะอยู่ร่วมขวดกันก็ได้
แต่มัน
ไม่ซึมซาบเข้าด้วยกัน
แม้จะปะปนกันอยู่
น้ำมันก็เป็นน้ำมัน
น้ำท่าก็
เป็นน้ำท่า
ทำไมมันถึงได้เป็นเช่นนั้น
เพราะว่ามันมีน้ำหนักต่างกัน
มันจึงแยกกันอยู่อย่างนั้น
นี่ก็เหมือนกันฉันนั้น
ถ้าอยู่ปกติ
จิตเรามัน
ก็ไม่สุข
ไม่ทุกข์ เมื่อเกิดเวทนาเข้ามา
ก็เกิดสุข เกิดทุกข์อย่างนี้
ถ้าเรา
มีสติอยู่ก็
เออ อันนี้เรียกว่าสุข
ที่เป็นสุขนั้นมันก็เป็นสุขอยู่
แต่ไอ้จิตที่
มันรู้ว่าสุขนั้นไม่เที่ยง
มันก็ไม่หยิบเอาสุขอันนั้น
สุขนั้นมันมีอยู่ไหม?
มีอยู่
แต่มันอยู่นอกจิต
ไม่มีฝังอยู่ในดวงจิต
แต่ก็รู้ได้ชัดเจน
เมื่อทุกข์
มันเกิดขึ้นมาก็เหมือนกันนะ
ถ้ามันแยกเวทนาได้แล้ว
มันไม่รู้จักทุกข์
หรือ?
มันก็รู้จักทุกข์แหละ
แต่ว่าจิตมันก็เป็นจิต
เวทนามันก็เป็น
เวทนา
จิตนั้นมันไม่ไปยึดทุกข์มาแบกไว้
ว่าทุกข์ ว่านี้มันเป็นทุกข์
ท่านรู้จักเปรี้ยว
แต่ท่านไม่เปรี้ยวหรอก
มันใกล้ชิดกันเหลือ
เกิน
ท่านไม่ไปยึดให้มีความสำคัญ
ไม่ไปมั่นหมายมัน
ถ้าคนไม่รู้ก็ไป
สำคัญมั่นหมายมันว่า
อันนั้นเป็นตัว
อันนั้นเป็นตน
อันนั้นเป็นเรา
อัน
นั้นเป็นเขา
สารพัดอย่างเป็นอุปาทาน
พระพุทธเจ้าท่านแยกด้วยความรู้
ท่านมีทุกข์ไหม?
อาการ
ของทุกข์นั้นท่านรู้มัน
แต่ท่านไม่ไปสำคัญมั่นหมายมัน
ท่านรู้อย่างนี้
ก็เรียกว่าท่านแยกทุกข์ออก
แยกเวทนาออก
ความสุขก็เหมือนกัน
ไอ้ความสุขตามธรรมชาติ
ความสุขนั้นมี
แต่ว่าท่านรู้ว่าสุขนั้น
มันจะ
เป็นพิษถ้าเราไม่รู้จักมัน
ท่านก็ไม่ไปสำคัญมั่นหมายสุขนั้น
ว่าเป็นตัว
เป็นตน
สุขนั้นมีอยู่
มันมีอยู่ด้วยความรู้
แต่ไม่มีอยู่ในจิตของท่าน
เช่น
นี้ก็เรียกได้ว่า
ท่านแยกสุขแยกทุกข์ออกจากจิตของท่าน
แยกเวทนา
ออกจากจิตของท่าน
ทั้งๆที่มีอยู่ด้วยกันนั่นแหละ
ก็เหมือนกับคำที่ว่า
พระพุทธเจ้า
พระอริยะเจ้าของเราตัด
กิเลสนะ
ท่านฆ่ากิเลสนั้นน่ะ
นี้ไม่ใช่ว่าท่านไปฆ่ากิเลสหรอก
ถ้าท่าน
ฆ่ากิเลสหมดแล้ว
เราก็คงไม่มีกิเลสน่ะสิ
เพราะท่านฆ่าไปหมดแล้ว
ท่านไม่ได้ไปฆ่ามัน
แต่ท่านรู้แล้ว
ท่านก็ปล่อยมันไปตามเรื่องของมัน
ใครโง่
กิเลสมันก็ไปจับเอาคนนั้นแหละ
ไม่ใช่ว่าท่านฆ่ากิเลสนะ
ท่าน
รู้มันเฉพาะในใจของท่านว่า
ไอ้สิ่งทั้งหลายเหล่านี้มันเป็นพิษ
ท่านก็
เขี่ยมันออก
เขี่ยออกไปๆ
สิ่งที่ทำให้ท่านเกิดทุกข์ท่านก็เขี่ยมันออกไป
ไม่ได้ฆ่ามันหรอก
ไอ้คนที่ไม่รู้ว่าท่านเขี่ยมันออก
เห็นว่าดีก็ไปตะครุบ
เอา เอออันนี้ดีนี่
ก็ตะครุบเอา
ความจริงพระพุทธเจ้าท่านทิ้ง
อย่าง
สุขนี้
ท่านก็เขี่ยออก
เราก็เห็นว่าดี
ก็ตะครุบเอาเลย
จับใส่ย่ามไปเลย
ว่าของดีของเรา
ความจริงท่านรู้เท่ามัน
เมื่อสุขมันเกิดขึ้นมา
ท่านก็รู้
ว่ามันเป็นสุข
แต่ว่าท่านไม่มีสุข
ท่านก็รู้อยู่ว่าอันนั้นมันเป็นสุข
แต่
ท่านไม่ไปสำคัญหมายมั่นว่ามันเป็นตัวเป็นตน
ว่าเป็นเรา
ว่าเป็นของ
เราทั้งนั้น
อย่างนี้ท่านก็ปล่อยมันไป
ทุกอย่างก็เหมือนกัน
ทุกข์นั้น ท่านก็เรียกว่าทุกขเวทนา
สุขเกิดขึ้นมา
ท่านก็รู้ว่า
อันนี้มันตัวสุขเวทนา
แต่เราเมื่อมีเวทนาเราก็ไปเสวยมันอยู่
คือจิตนี้
ไปแบกเอาสุขนั้นไว้
แบกทุกข์นั้นไว้
ความเป็นจริงสุขเวทนา
ทุกข
เวทนา
กับจิตของเรานั้น
มันเป็นคนละอย่างกัน
อย่างเราเดี๋ยวนี้
นั่ง
อยู่นี่มันก็สบายนะ
ถ้ามีไม้สักท่อนหนึ่งที่เราอยากได้
เราไปแบกมัน
มันก็หนักนะ
ไอ้ไม้ท่อนนี้มันคือเวทนาแหละ
ไอ้ตัวความอยากได้ท่อน
ไม้ ก็คือจิตของเรา
ที่เข้าไปแบกท่อนไม้มันก็หนัก
ใช่ไหม? มันหนัก
ถ้าคนมีปัญญา
ถ้าแม้หนักเขาก็ไม่ทุกข์
รู้จักปล่อยความทุกข์
เพราะ
ท่อนไม้นั้นมันมีประโยชน์
จะเอาไปใช้ประโยชน์
หากรู้อย่างนั้นมันก็
ค่อยยังชั่ว
ไม้มันจะได้ไม่ทับตาย
อย่างนี้ จิตนี้ก็เหมือนกันฉันนั้น
อาการของจิตคือ
สุขเวทนา ทุกขเวทนา
สารพัดอย่างนั้น
มัน
เป็นอารมณ์
มันเป็นส่วนโลก
ถ้าจิตรู้แล้ว
งานที่เป็นสุขท่านก็ทำได้
งานที่เป็นทุกข์ท่านก็ทำได้
เพราะอะไร? ก็เพราะท่านรู้จักสุข
รู้จักทุกข์
ตามที่เป็นจริง
ถ้าคนที่ไม่รู้จักสุข
ไม่รู้จักทุกข์นั้น
ก็จะเห็นว่าสุขกับ
ทุกข์นั้นมันคนละระดับคนละราคากัน
ท่านผู้รู้ทั้งหลายจะเห็นว่าสุข
เวทนากับทุกขเวทนามันมีราคาเท่าๆกัน
ถ้าไปยึดในสุข
นั่นก็คือบ่อ
เกิดแห่งทุกข์
ทุกข์มันก็จะเกิดขึ้นมา
เพราะอะไร? นี้เพราะว่าสุขมันก็
ไม่เที่ยง
มันแปรไปมาซะ
เมื่อสุขนี้หายไปทุกข์มันก็เกิดขึ้นมา
ดังนี้
เป็นต้น
พระพุทธเจ้าท่านจึงรู้ว่าสุขทุกข์นี้มันเป็นโทษ
สุขทุกข์จึงมี
ราคาเท่ากัน
ดังนั้น เมื่อสุขทุกข์เกิดขึ้นมา
ท่านจึงปล่อยวางไป
สิ่งทั้ง
หลายเหล่านี้มันมีราคาเสมอกันทั้งนั้น
เพราะฉะนั้น
จิตใจของท่านจึง
เป็นสัมมาปฏิปทา
เห็นสิ่งทั้งสองนี้มีโทษเสมอกัน
มีคุณประโยชน์
เสมอกันทั้งนั้น
และสิ่งทั้งสองนี้ก็เป็นสิ่งที่ไม่แน่นอน
ตกอยู่ใน
ลักษณะของธรรมว่า
ไม่เที่ยง เกิดแล้วก็จะต้องดับไป
ทั้งหมดเป็น
อย่างนี้
เมื่อท่านเห็นเช่นนี้
สัมมาทิฏฐิก็เกิดขึ้นมา
เป็นสัมมามรรค
จะ
ยืน จะเดิน
จะนั่ง จะนอนก็ตาม
ความรู้สึกนึกคิดทางจิตนั้นมันจะเกิด
ขึ้นมาก็ตาม
ท่านก็รู้ว่าอันนี้มันสุข
อันนี้มันทุกข์
เสมอเลยทีเดียว
ท่านไม่ให้ยึด
อย่างที่พระบรมศาสดาของเราตรัสรู้มาใหม่ๆ
ท่านเทศน์ กาม
สุขัลลิกานุโยโค
อัตตกิลมถานุโยโค
ภิกษุทั้งหลาย
กามสุขัลลิกานุโย
โคนั้นมันทางหย่อน
อัตตกิลมถานุโยโคนั้นมันตึง
อันนี้ที่มันเล่นงาน
ท่านมาตลอดทางจนถึงวันที่ท่านตรัสรู้ธรรม
เพราะทีแรกท่านยังไม่ได้
ปล่อยมันนะ
เมื่อท่านจับหลักตรงนี้ได้
ท่านก็ปล่อยวาง
แล้วจึงได้
แสดงปฐมเทศนาให้สาวกฟังเลยว่า
กามสุขัลลิกานุโยโค
สมณะอย่า
พึงไปเดิน
อันนั้นไม่ใช่ทางของสมณะ
คือใครไปติด
ไปยึด ไปสำคัญ
มั่นหมายอยู่ในกามนี้
มันก็วุ่นวาย
ความสงบไม่มีในที่นั้น
สมณะเกิด
ขึ้นไม่ได้
ท่านว่าทางนี้อย่าเดิน
ส่วนอัตตกิลมถานุโยโค
ทางนี้มัน
เหี้ยมโหดรุนแรง
ทางนี้ก็อย่าไปเดิน
สมณะไม่อยู่ที่นี่
ความสงบไม่มี
อยู่ที่นี่
สมณะไม่เกิดในทางนี้
ความสงบไม่อยู่ในทางนี้
คือสุขและ
ทุกข์นี่น่ะสมณะอย่าเดินไป
สุขก็อย่าลืมตัว
ทุกข์ก็อย่าเดินไป
ให้รู้จักทุกข์
มันจะเกิดทุกข์ก็ให้รู้
เมื่อรู้จักทุกข์
ก็รู้เหตุที่จะทำ
ให้เกิดทุกข์
ถ้ามันจะเกิดทุกข์
ก็ให้รู้จักความดับทุกข์
หรือข้อปฏิบัติ
ให้ถึงความดับทุกข์
และข้อปฏิบัตินี้คือการภาวนานี่เอง
พูดง่ายๆก็
เรียกว่าเราต้องเป็นผู้มีสติ
สตินี้คือความรู้
ความระลึกอยู่เสมอ
รู้อยู่ที่
นี่ว่าเดี่ยวนี้เราคิดอะไรอยู่?
เราทำอะไรอยู่?
เรามีอะไรอยู่เดี๋ยวนี้
เราดู
อย่างนี้
มีสติอยู่เสมอว่า
เราอยู่ยังไง?
เรารู้ตัวอยู่ว่าขณะนี้เรามีอะไร
อยู่?
กำลังคิดอะไร?
กำลังสุขหรือกำลังทุกข์?
ผิดหรือถูกอยู่เดี๋ยวนี้?
เรามีสิ่งทั้งหลายปรารภอยู่อย่างนี้
ปัญญามันก็เกิดขึ้นมาแล้ว
นั่นน่ะ ระลึกได้อยู่
รู้ได้อยู่
มันก็วิ่งไปหาปัญญา
ปัญญามันก็
เกิดขึ้นมา
เราก็วิพากษ์วิจารณ์พิจารณา
เราจะยืน จะเดิน
จะนั่ง จะ
นอนอยู่ก็ตามทีเถอะ
มีความรู้อยู่อย่างนั้น
มันก็รู้จัก
มันก็รู้จักผิด
รู้จัก
ถูก รู้จักพอดี
รู้จักไม่พอดี
เมื่ออารมณ์ที่พอใจเกิดอยู่นี้เราก็รู้จัก
เราไม่
ไปสำคัญมั่นหมายมัน
สักแต่ว่าสุข
เมื่อทุกข์เกิดขึ้นมา
มันเป็นอัตตกิ
ลมถานุโยโค
เราก็รู้ว่า
เออ อันนี้ไม่ใช่ทางของสมณะ
เรียกว่า สักว่า
สุข สักว่าทุกข์
เป็นของสักว่าเท่านั้น
อย่างนี้เป็นต้น
ก็เรียกว่าเราแยก
คือแยกจิตกับเวทนาออกจากกันได้แล้ว
ลักษณะอันนี้เป็นจิต
อาการที่สุขมันเกิดขึ้นมานั้น
ถ้าเราไปยึด
เวทนา
มันก็เกิด
แล้วเมื่อสุขหมด
ก็เป็นทุกข์เท่านั้นแหละ
ถ้าจิตเราฉลาด
เรา
ก็ไม่ไปยึด
วาง เป็นผู้รู้เฉยๆ
รู้เท่าแล้วก็ปล่อยไปตามสภาวะอันนั้น
อย่างนี้ก็เหมือนกันกับ
น้ำมันกับน้ำท่า
มันปะปนอยู่ในขวดอันเดียว
กัน แต่มันก็ไม่ซึมซาบไปหากัน
มันจะอยู่ในขวดเดียวกันก็ได้
ลักษณะของจิตกับเวทนาทั้งหลาย
ก็เป็นอย่างนี้
ถึงแม้ว่าเรา
เจ็บป่วยขึ้นมา
เราก็ยังรู้สึกว่า
เวทนามันก็เป็นเวทนา
จิตมันเป็นจิต
เป็นคนละอย่างอยู่
รู้จักเจ็บไหม?
รู้จัก รู้จักสบายไหม?
รู้จัก แต่เราไม่
อยู่ในความสบาย
เราไม่อยู่ในความไม่สบาย
อยู่แต่ในความสงบ
สงบ
อย่างไร?
สงบจากความสบายนั้น
สงบจากความสุขนั้น
สงบจาก
ความทุกข์นั้น
อันนี้ชี้ให้เห็นอย่างนี้
เพราะมันไม่มีตัวตน
จะดูอย่างไร
ก็ไม่ได้
มันต้องดูอย่างนี้แหละ
คือหมายความว่าท่านไม่มีสุข
ไม่มี
ทุกข์
แต่ท่านรู้
สุขท่านก็รู้
แต่ท่านไม่เป็นสุข
ท่านรู้ว่ามันสุขมันทุกข์อยู่
เหมือนกัน
แต่ท่านไม่แบกมันไว้
เวทนานั้นมันก็ไม่เข้ามา
อย่างนี้ถ้าหากว่าปุถุชนเราก็จะเห็นเป็นเรื่องแปลก
มันจะเป็น
ปุถุชนก็ช่างมันเถอะ
เรามุ่งตรงไปที่ตรงนั้นเลยทีเดียว
จิตกับเวทนามันเป็นอย่างนั้น
จิตมันก็เป็นส่วนจิตอยู่อย่างนี้
เราพบสุขทุกข์
ก็เห็นว่ามันเป็นส่วนสุขทุกข์อยู่อย่างนั้น
ไม่มีอะไรกับ
มัน มันแยกกันอยู่
ไม่ใช่ว่ามันปนกันอยู่
ถ้ามันปนกันเราก็รู้ไม่ทั่วถึง
มันเท่านั้นแหละ
ไอ้ความเป็นจริงลักษณะอันนี้มันแยกกัน
แม้ว่ามัน
จะอยู่ที่เดียวกันอย่างนี้ก็ตาม
นี่คือเรื่องของกายกับจิต
อย่างว่าบ้านของเรา
กับเราที่อยู่ในบ้าน
มันก็เนื่องกันอยู่นั่น
แหละ ถ้าบ้านของเรามีอันเป็นไป
เราก็เป็นทุกข์
ก็เพราะเราเป็นผู้คุ้ม
ครองรักษา
เราไปยึดมั่นมัน
ถ้าเราไม่ยึดมั่นมัน
หากว่าไฟมันเกิด
มาใหม้บ้านเรา
เราวิ่งออกจากมันก็ได้
ทุกขเวทนาก็เหมือนกัน
เราวิ่ง
ออกมาก็ได้
เหมือนเราเป็นเจ้าของบ้าน
รู้ตามความจริงว่าไฟ
ใหม้บ้าน
เราก็วิ่งออกมาก็ได้
ก็มันคนละคนกันนี่
อันหนึ่งมันเจ้าของ
บ้าน
อันหนึ่งมันบ้าน
มันเป็นอยู่อย่างนั้นของมันเอง
มันเป็นปกติอยู่
อย่างนั้น
ดังนั้น จิตก็ดี
เวทนาก็ดี ถึงเราจะแยกมันออกอย่างนี้ก็ตาม
แต่มันก็แยกของมันอยู่แล้ว
คือ เพียงแต่เรารู้ตามความจริงของมัน
ซะเท่านั้น
มันก็รู้จักแยกของมันเอง
มันเป็นธรรมชาติของมันอยู่แล้ว
ที่ว่ามันไม่แยกก็เพราะเราไปยึดมั่นถือมั่น
ด้วยความไม่รู้ตามเป็นจริง
มันก็คุมกันอยู่อย่างนั้นแหละ
ก็เหมือนช้อนที่เราชดแกงนะแหละ
แกง
มันก็เป็นอย่างหนึ่ง
ช้อนมันก็เป็นอย่างหนึ่ง
ถ้าคนรู้จักว่าอันนี้แกง
อันนี้ช้อน
มันก็สบายนะ
เอาซดน้ำแกงแล้วก็เอามันวางไว้
มันก็สบาย
ถ้าเราไปแบกช้อนอยู่มันก็ลำบากสิ
ไม่เห็นช้อนเป็นช้อน
ไม่เห็นแกง
เป็นแกง
ไม่เห็นเวทนาเป็นเวทนา
ไม่เห็นจิตเป็นจิต
มันก็ยุ่งเท่านั้น
แหละ ถ้าเราคิดได้เช่นนี้
จะยืนมันก็แยกกันอยู่
จะเดิน จะนั่ง
จะนอน
มันก็แยกกันอยู่
มันมีสุข มีทุกข์
สลับซับซ้อนกันอยู่ทุกเวลานั่นเอง
แต่
มันก็อยู่ส่วนมัน
จิตก็อยู่ส่วนจิต
ดังนั้น พระพุทธเจ้าท่านจึงให้เราภาวนา
การปฏิบัติภาวนานี้
เป็นของสำคัญนะ
ถ้ารู้เฉยๆยังไม่พอหรอก
รู้จากที่เราเรียนมา
กับ รู้ที่
เกิดจากการปฏิบัติที่จิตสงบนั้น
มันไกลกันอยู่มากที่เดียวนะ
มันไกล
กันมาก
รู้ในการศึกษาเล่าเรียนนั้นมันไม่ใช่จิตของเรา
รู้แล้วมันเก็บไว้
เก็บไว้ก็ไม่ได้ประโยชน์อะไร
ถ้าเรารู้จากการปฏิบัติ
รู้แล้วก็มีการ
ปล่อยวาง
รู้ว่ามันเป็นอยู่อย่างนั้น
เราก็ไม่ลืมตัวเรานะ
เมื่อถึงคราว
ทุกข์
เจ็บไข้มา เราก็ไม่หลง
บางคนคิดว่า
เออ ปีนี้ฉันเป็นไข้ตลอดปีนะ
ไม่ได้ภาวนาเลย
นี่คือคำพูดของคนที่โง่ที่สุดเลย
คนเป็นไข้ คนจะตายนี้มันควรจะรีบ
ภาวนาเข้าละมั้ง
อันนี้ก็ยิ่งไปพูดว่าเราไม่มีเวลาภาวนาเสียแล้ว
ความ
เจ็บมันก็เกิดขึ้นมา
ความทุกข์มันก็เกิดขึ้นมา
ความไม่ไว้วางใจใน
สังขารเหล่านั้นมันก็มีมา
แล้วก็ยังเข้าใจว่าเราไม่สามารถจะภาวนา
พระพุทธองค์ท่านไม่ตรัสอย่างนั้น
ท่านตรัสว่านั่นแหละมันกำลังถูกที่
ที่เราจะได้ปฏิบัติละ
จวนจะเจ็บจะไข้จะตาย
ยิ่งเห็นสัจธรรม
มันเกิด
เดี๋ยวนั้นแหละ
ถ้าเราไปคิดผิดเช่นนั้น
มันก็ลำบากนะ
บางคนคิดว่าไม่มีโอกาส
มีแต่การงานทั้งนั้นน่ะ
ไม่มีโอกาส
ได้ภาวนา
เคยมีอาจารย์ทั้งหลายมาที่นี่
อาตมาถามว่าทำอะไร
เขา
ตอบว่า
สอนเด็ก มีงานมากสารพัดอย่าง
วุ่น ไม่มีเวลาจะภาวนา
อาตมาสอนว่า
เมื่อสอนเด็กนักเรียนนะคุณมีเวลาหายใจไหม?
มี
ครับ
อ้าวทำไมมีเวลาหายใจล่ะ?
สอนเด็กอยู่งานมันยุ่ง
นี่คุณคิด
ห่างเกินไป
ไกลเกินไป ความเป็นจริงเรื่องปฏิบัตินี้มันเป็นเรื่องของจิต
เรื่องของความรู้สึก
ไม่ใช่เรื่องที่จะต้องไปวิ่งเต้นอะไรมากมาย
เป็น
เรื่องความรู้สึกเท่านั้น
ลมหายใจนั้นเราทำงานอยู่เราก็หายใจไปเรื่อย
ร่างกายมันยังรู้กว่าเรา
คือมันรักษาตัวของมันอยู่
เราพยายามแต่
เพียงให้มีสติ
ให้รู้อยู่เท่านั้นน่ะ
พยายามเรื่อยๆเข้าไป
ให้เห็นชัดเข้า
ไป การภาวนาก็เหมือนกันฉันนั้น
ถ้าเรามีความรู้สึกอยู่อย่างนี้
จะ
ทำงานอะไรอยู่ก็ตามเถอะ
มันยิ่งทำให้การทำงานเหล่านั้นให้รู้ผิด
ชอบเสมอแหละ
นี่ให้คุณเข้าใจเสียใหม่
อาตมาบอกเขาอย่างนี้
เวลาที่จะภาวนานั้นมันเยอะ
คุณเข้าใจไม่ถึงเฉยๆหรอก
นอนอยู่ก็
หายใจได้
ทานอาหารอยู่ก็หายใจได้
ใช่ไหม? อยู่ที่ไหนก็หายใจได้
ทำไมมันจึงมีเวลาล่ะ
ถ้าคุณคิดอย่างนี้
ชีวิตคุณก็มีค่าเท่ากับลม
หายใจแล้ว
มันจะอยู่ที่ไหนมันก็มีเวลา
ไอ้ความรู้สึกนึกคิดมันเป็น
เรื่องของนามธรรม
ไม่ใช่เรื่องของรูปธรรม
ดังนั้น เพียงแต่ให้มีสติ
อย่างเดียวเท่านั้น
ก็จะรู้จักความผิดชอบอยู่ตลอดกาล
ทั้งการยืนเดิน
นั่งนอนเหล่านี้
เวลามันแยอะไป
เราไม่ฉลาดในเรื่องของเราเอง
อันนี้
ให้คุณเอาไปพิจารณาดู
มันเป็นอย่างนี้
เรื่องของเวทนานี้
เราจะหนีมันไปไหนไม่ได้
เราต้องรู้ว่ามัน
เวทนา
ก็สักแต่ว่าเวทนา
สุขก็สักแต่ว่าสุข
ทุกข์ก็สักแต่ว่าทุกข์
มัน
เป็นของสักว่าเท่านั้นแหละ
แล้วเราจะไปยึดมั่นถือมั่นมันทำไม
ถ้าจิต
เราฉลาดแล้ว
เพียงคิดเท่านี้
มันก็แยกเวทนาออกไปจากจิตได้
เวทนา
นี้สักว่าเวทนา
มันก็เห็นสักว่าเท่านั้น
ทุกข์มันก็สักว่าทุกข์
สุขมันก็สัก
ว่าสุข
มันก็แยกกันเท่านั้นแหละ
แล้วมันมีอยู่ไหม
มี แต่มันมีอยู่นอก
ใจ มันมีด้วยความไม่ยึดมั่นถือมั่น
ไม่ได้ไปทำความสำคัญมั่นหมาย
กับมัน
มีแล้วมันก็คล้ายๆกับว่ามันไม่มีเท่านั้นเองแหละ
นี่เรียกว่าการแยกเวทนาออกจากจิต
เพราะรู้ว่าจิตมันเป็น
อย่างไร
เวทนามันเป็นอย่างไร
จิตมันก็คือความที่เข้าไปรู้ในสุข
เป็น
ตัวที่ละเอียดเข้าไป
แล้วตามเข้าไปว่าสุขนั้นมันแน่หรือเปล่า
ทุกข์มัน
แน่หรือเปล่า
เมื่อเราตามเข้าไปเช่นนี้
ปัญญามันก็เกิดขึ้นที่จิต
มันก็
แยกสุขทุกข์ออก
สุขมันก็กลายเป็นสักว่า
ทุกข์มันก็กลายเป็นสักว่า
ไม่เห็นมีอะไร
อะไรมันก็เป็นของสักว่าเท่านั้น
เรามีความรู้อย่างนี้
ตลอดต้นจนปลายเท่านั้น
จิตของเรามันก็ปล่อยวาง
แต่ไม่ใช่วางด้วย
ความโง่
ไม่ใช่วางเพราะไม่อยากไห้มันเป็นอย่างนั้น
คือวางเพราะรู้
เห็นตามเป็นจริงว่ามันเป็นของมันอยู่อย่างนั้น
นี่เรียกว่า
เห็นตาม
ธรรมชาติ
เห็นตามธรรมดา
เมื่อเรารู้เช่นนี้แล้วเราก็เป็นผู้ชำนาญในจิต
รู้จักตามรักษาจิต
ฉลาดในจิตของตน
ฉลาดในการรักษาจิตของตน
เพราะฉะนั้นเมื่อ
ฉลาดในจิตก็ฉลาดในอารมณ์
เมื่อฉลาดในอารมณ์ก็ย่อมฉลาดใน
โลก อย่างนี้เป็นต้น
นี้เป็นโลกวิทู
พระพุทธเจ้าเป็นผู้รู้แจ้งโลก
อยู่ใน
สิ่งที่มันยุ่งยาก
ท่านให้รู้ในสิ่งที่มันยุ่ง
และให้รู้ว่าสิ่งที่มันไม่ยุ่งก็อยู่ใน
นั้นแหละ
โลกนี้เป็นของวุ่นวาย
ทำไมพระพุทธเจ้าจึงรู้แจ้งโลกได้?
ก็
ให้เราเข้าใจว่า
ธรรมะที่พระพุทธเจ้าบัญญัติไว้
ไม่มีอะไรที่จะเหนือ
ความสามารถของพวกเราทั้งหลาย
เพราะฉะนั้น
ถ้าเรารู้จิตเป็นจิต
เวทนาเป็นเวทนา
เท่านี้มันก็
แยกกันออกเป็นคนละอย่าง
คนละตอน จิตมันก็พ้นได้
สบาย
อารมณ์มันก็เป็นอย่างนั้นของมันเอง
เกิดแล้วก็ดับไปเท่านั้น
มันเกิด
แล้วก็ดับ
ดับแล้วก็เกิด
แล้วก็ดับอีก
มันเป็นอยู่เท่านั้น
เรารู้แล้ว
เราก็
ปล่อยให้มันเป็นไปตามเรื่องของมันอยู่อย่างนั้น
อย่างนี้เรียกว่าเป็นผู้
ที่รู้เห็นตามที่เป็นจริง
อันนี้ปัญหามันก็จบลงตรงนี้
เพราะฉะนั้น
แม้เราจะยืน
จะเดิน จะนั่ง
จะนอน ก็ขอให้มี
การประพฤติปฏิบัติ
มีสติสัมปชัญญะอยู่ตลอดกาลเวลา
เรื่องที่ถึง
คราวนั่งสมาธิเราก็ทำไป
ให้เข้าใจว่าการทำสมาธิก็เพื่อให้เกิดความ
สงบ ความสงบนั้นมันจะเพาะกำลังให้เกิดเท่านั้นแหละ
ไม่ใช่นั่ง
สมาธิเพื่อจะตามไปเล่นอะไรมากมายหรอก
ดังนั้นการทำสมาธิก็ต้อง
ทำให้มันสม่ำเสมอ
การทำวิปัสสนาก็คือการทำสมาธินั่นเองแหละ
บางแห่งเขาก็
ว่า เราจะทำสมาธิ
บัดนี้เราทำสมถะ
ต่อไปเราจึงจะทำวิปัสสนา
อย่างนี้เป็นต้น
อย่าให้มันห่างกันอย่างนั้นสิ
สมถะนี้แหละคือบ่อเกิด
ของปัญญา
ปัญญานี้ก็คือผลของสมถะ
จะไปถือว่าบัดนี้เราทำสมถะ
ต่อไปเราจะทำวิปัสนาอย่างนั้น
มันแยกกันไม่ได้หรอก
มันแยกได้แต่
คำพูด
เหมือนมีดเล่มหนึ่งนะ
คมมันก็อยู่ข้างหนึ่ง
สันมันก็อยู่ข้างหนึ่ง
แหละ มันแยกกันไม่ได้หรอก
ถ้าเราจับด้ามมันขึ้นมาอันเดียวเท่านั้น
มันก็ติดมาทั้งคมทั้งสันแหละ
ความสงบนั้นมันก็ทำให้เกิดปัญญาใน
ที่ตรงนั้น
ให้เข้าใจว่ามันเป็นท่อนฟืนดุ้นเดียวกันนั่นแหละ
มันจะมีมาจากไหนละ
ธรรมะจะเกิดขึ้นที่ไหน
ศีลคือพ่อแม่
ของธรรมะ
นี้คือเบื้องแรก
มันจะต้องมีศีล
ศีลนี้คือความสงบ
หมาย
ความว่า
ความผิดทางกายทางใจมันไม่มี
เมื่อไม่มีมันก็เป็นศีล
และ
มันก็ไม่เดือดร้อน
เพราะมันไม่มีความผิด
ทีนี้เมื่อไม่เดือดร้อน
ความ
สงบระงับมันก็เกิดขึ้นมา
คือจิตนี้มันเกิดความสงบขึ้นมาแล้วในตัว
มันเอง
ท่านจึงว่า
ศีลก็ดี สมาธิก็ดี
ปัญญาก็ดี อันเป็นทางของพระ
อริยเจ้าจะดำเนินเข้าไปสู่นิพพานนั้น
มันเป็นอันเดียวกัน
ถ้าพูดให้สั้น
เข้ามา
ศีลก็ดี สมาธิก็ดี
ปัญญาก็ดี มันเป็นอันเดียวกัน
ศีลก็คือสมาธิ
สมาธิก็คือปัญญา
ก็เหมือนมะม่วงใบเดียวกันนั่นแหละ
เมื่อมันเป็น
ดอกขึ้นมามันก็ดอกมะม่วง
เมื่อเป็นลูกเล็กๆก็เรียกว่าผลมะม่วง
มัน
โตขึ้นไปอีกก็เป็นมะม่วงห่าม
เมื่อมันสุกก็คือมะม่วงสุก
มันก็มะม่วง
ลูกเดียวกันนั่นแหละ
มันเปลี่ยนๆๆๆไป
จะว่ามะม่วงคนละใบก็ได้
จะ
ว่าใบเดียวกันก็ถูก
ศีลก็ดี สมาธิก็ดี
ปัญญาก็ดี มันเกี่ยวเนื่องกันอยู่
อย่างนั้น
ผลที่สุดแล้วก็ต้องเป็นมรรค
เดินเข้าไปสู่กระแสของพระ
นิพพาน
มะม่วงตั้งแต่เป็นดอกมา
มันก็ดำเนินไปถึงที่มันสุกก็พอแล้ว
นี้ให้เราเห็นเช่นนี้
ถ้าเราเห็นเช่นนี้ก็ไม่ต้องไปสนใจชื่อมัน
เขาจะเรียก
ให้เป็นอะไรก็ช่างมัน
เมื่อมันเกิดมาแล้วมันก็จะแก่
จะเป็นอะไรก็ตาม
พิจารณาไป
เถอะ บางคนก็ไม่อยากแก่
แก่แล้วน้อยใจนะ
งั้นก็อย่ากินมะม่วงสุกสิ
หือ (หัวเราะ)
จะอยากให้มะม่วงสุกทำไมละ
เมื่อสุกไม่ทันเราก็เอามัน
ไปบ่มไม่ใช่หรือ
ถึงเราจะแก่ก็ไม่ต้องบ่นน้อยใจ
บางคนก็ร้องให้กลัว
ว่ามันจะแก่จะตาย
ยังงั้นมะม่วงสุกก็ไม่ต้องกินสิ
กินดอกมะม่วงดี
กว่านะ
นี้แหละถ้าเราคิดอย่างนี้เราก็เห็นธรรมะกระจ่างออกนะ
เราก็
สบายมีแต่จะตั้งหน้าตั้งตาประพฤติปฏิบัติไปเท่านั้นแหละ
อันนี้เป็นโอกาสที่ท่านประธานองค์มนตรี
และกุลบุตร
ลูก
หลาน มารวมกันวันนี้
อาตมาอธิบายธรรมะให้ฟังพอสมควรแก่เวลา
ที่เทศน์นี่
ให้แยกเอาออกไปพิจารณา
ยังไม่มีผิด
ไม่มีถูก มันจะผิด
จะถูก
ต้องเอาไปพิจารณานะ
เป็นส่วนของใครของมันเองทั้งนั้น
อันนี้
ถ้าอะไรมันพลาด
มันผิด หรือไม่ถูกอะไร
ก็ให้อภัยด้วยนะ
อย่างถ้า
มันจะผิดหรือจะถูกมันก็เป็นข้อปฏิบัติน่ะ
ผิดก็เอาไปทิ้งสิ
ถูกก็เอาไป
ปฏิบัติ
การปฏิบัติเราก็ปฏิบัติเพื่อละมัน
ละทั้งถูกทั้งผิดนั่นแหละ
ผล
สุดท้ายก็ต้องทิ้ง
ถูกก็ทิ้งมัน
ผิดก็ทิ้งมัน
ถ้าถูกเราก็ยึดว่าถูก
ผิดเรา
ยึดว่าผิด
มันก็ทะเลาะกันเดี๋ยวนั้นแหละ
ธรรมะคือที่ๆไม่มีอะไรหรอก
นะ ไม่มีอะไร
อาตมาเคยเห็นเรื่องของพวกเซน
ธงมันพัดอยู่
ลมมัน
พัดไปมามันก็แกว่ง
ไอ้คนหนึ่งว่า
เอ๊ะ ทำไมธงมันแกว่ง
มันเป็นเพราะ
ลม อีกคนว่าไม่ใช่
เป็นเพราะมีธง
ก็เถียงกันอยู่งั้นแหละ
อาจารย์ท่าน
ก็นั่งเฉย
หือ ไม่ใช่มันเป็นเพราะลมเพราะธง
มันผิดทั้งสองคนนั่น
แหละ ที่เห็นว่าธงมันแกว่งอยู่นั้นน่ะ
ธงมันก็ไม่มี
ลมมันก็ไม่มี
มันก็
หมดเท่านั้นแหละ
แน่ะ มันจบแค่นั้นนะ
(หัวเราะ) เอาละ
หลังจากจบการบรรยายแล้ว
ศจ. สัญญา
ได้ถามคำถามต่อ
ดังต่อไปนี้
(ศจ.สัญญา ถามว่า)
ที่ว่าให้เห็นกายในกาย
ให้เห็นจิตในจิต
มีคำอธิบายอย่างไรครับ?
(หลวงพ่อชา หัวเราะ
ศจ.สัญญา จึงพูดต่อ
ว่า) ขออีกนิดเดียว
คืออย่าให้เหนื่อยเลย
(หลวงพ่อชา ตอบว่า)
เหนื่อยก็ต้องพูด
ไม่เหนื่อยไม่ได้
มันเหนื่อยก็ต้องพูด
เดี๋ยวไม่เข้าใจ
เราต้องถามเสียก่อนว่า
อะไรคือจิต?
ต้องอย่างนี้เสียก่อน
เรา
จึงจะรู้ว่ามีอะไรอยู่ในจิตนั้น
คล้ายๆกับว่าอันนั้นมันเป็นกระโถนนะ
เราอยากจะรู้ว่าของในกระโถนนี้มีอะไรบ้าง
(หัวเราะ) เราก็ต้องยก
กระโถนขึ้นมาดูว่ามันคืออะไรก่อน
ทำไม? ก็เพราะว่าเราต้องรู้
กระโถนนี้ก่อนใช่ไหม
เราจะไปรู้ของในกระโถนก่อนไม่ได้หรอก
เรา
ต้องรู้ว่ากระโถนนี้มันเป็นอย่างนี้
จึงจะมองเห็นน้ำในกระโถนนี้
เห็น
ไหมปัญหามันเป็นอยู่อย่างนี้
เรื่องจิตนี้ก็ถ้าจะพูดไปแล้ว
มันก็ไม่มีตัวตน
จะว่าตรงไหน
เป็นจิตมันก็ไม่ใช่ทั้งนั้น
ถ้าพูดให้เข้าใจง่ายๆ
ความรู้สึกของเราทั้ง
หลายที่มีอยู่นั้น
ผู้ที่มันรับรู้สิ่งเหล่านี้
ก็คือ จิตของเรา
แต่มันไม่รู้ตัว
หรอกว่ามันเป็นจิตนะ
ทีนี้เมื่อถูกอารมณ์แล้วนะ
นั้นเรียกว่าจิตเรายึด
มาแล้ว
แล้วไอ้ภายในความที่จิตยึดอารมณ์มานั้น
มันมีอะไรในตรง
นั้นบ้างหรือเปล่า?
ภายในจิตที่จับมารมณ์มานั้น
มีอะไรหรือไม่?
ความรู้สึกที่มันเกิดขึ้นมานั้น
ที่มันรู้นั้นคือตัวจิต
แล้วทีนี้ไอ้ความรู้สึก
เข้าไปในความรู้สึกนั้น
มันมีอะไรอยู่ในนั้น
ตรงนั้นแหละเรียกว่า
ภาย
ในจิต
นี่จิตในจิต
ตัวจิตมันคือกระโถนนะ
จะกระจ่างได้ต้องอธิบายอย่างนี้
เพราะมันไม่มีรูปนะ
มันต้องอธิบายอย่างนี้
กระโถนก็รู้แล้ว
แล้วของ
ในกระโถนล่ะ?
ดูสิ และตัวจิตนี้เรียกว่าคือผู้รู้อารมณ์
ผู้รับอารมณ์เข้า
มา จิตนี้มันรู้ว่าไปน้อมอารมณ์มาปลงไว้
ตัวที่มันรับไว้นะ
มันมีอะไร
ไหม? มีผู้รู้สึกในนั้นไหม?
มีความยึดมั่น
หรือหมายมั่นผิดถูกต่างๆ
อะไรบ้าง?
เหมือนมือมันกำอะไรเอามานี่
ไม่รู้ว่ามันกำเอาอะไรมานะ
เมื่อเรามาวางลง
เออ มันมีอะไรในกำมือนี่
นี้คือของในกำมือ
นี่ก็
เหมือนกันฉันนั้น
ถ้าพูดอย่าธรรมดาก็ว่า
เมื่อน้อมอารมณ์เข้ามาไว้ในจิตของ
เรานั้นนะ
เมื่อเอาเข้ามาแล้ว
อารมณ์ที่มันยังอยู่ในจิตของเรานั้นมันมี
อะไรบ้างไหม?
มีความเห็นชอบไหม?
มีอะไรไหม? มีรู้เท่าตัวสุขตัว
อารมณ์อะไรไหมตรงนั้น?
ต้องรู้จักตรงนี้
มันจะเป็นทางหรือมิใช่ทาง
มันก็รู้อยู่ตรงนี้นะ
อันนี้มันเป็นของที่ออกจะพูดยากอยู่สักหน่อยหนึ่ง
(ศจ.สัญญา พูดว่า)
ผมเข้าใจแล้วครับ
(หลวงพ่อชา บอกว่า)
เอาเท่านี้ก็พอแล้วนะ
(ศจ.สัญญา ตอบว่า)
แล้วไปคิดต่อครับ
(หลวงพ่อชา เสริมว่า)
คืออันนี้มันไม่ตรัสรู้เพราะคนอื่นพูดให้
ฟังหรอก
ต้องเอาไปพิจารณาเอาเอง
พระพุทธเจ้าก็บอกแล้วว่า
อก
ขาตาโร
ตถาคตา ตถาคตเป็นแต่ผู้บอก
คือบอกให้คนว่ายน้ำ
แต่
ว่ายแทนไม่ได้
(มีเสียง ศจ.สัญญา
แทรกว่า ครับ)
ว่ายแทนมันก็จม
เท่านั้นแหละ
มันไม่ใช่วิสัย
มันต้องเป็นอย่างนี้
อย่างถามว่าพระนิพพานน่ะ
ทำไมพระพุทธเจ้าไม่ชี้แจงให้
แจ่มแจ้ง
ก็เพราะมันแจ้งไม่ได้
ชี้รูปให้คนตาบอดดูนะ
มันแจ้งไม่ได้
หรอก
มันจะแจ้งก็ต้องไปรักษาตาให้มันดีซะ
มันจึงจะแจ้งได้
มันเป็น
ทำนองนี้
พระพุทธเจ้านะท่านอยากจะให้รู้ให้เห็นเหลือเกิน
แต่มัน
เป็นธรรมะที่เป็นปัจจัตตัง
ท่านก็ช่วยได้แค่นี้
ท่างจึงบอกได้แต่ว่า
อก
ขาตาโร
ตถาคตา ตถาคตเป็นแต่ผู้บอก
ท่านบอกแล้วท่านก็กลับ
(หัวเราะ)
มันเป็นอย่างนั้น
ให้มันเริ่มแต่ไกลๆ
(มีเสียงจากเทปว่า
ครับผม) พยายามทำ
หน้าที่แต่ไกลๆ
เหมือนงูอสรพิษนั่นแหละถ้าเราเห็นแต่ไกลแล้ว
เราก็
ไม่กลัวมันเท่าไรหรอก
ถึงแม้มันมีพิษเราก็ไม่กลัวมัน
ถ้าเจอเข้าเลยสิ
มันไม่รู้จักคิดนี่
เวทนานี่ก็เหมือนกัน
ค่อยคิด ค่อยพิจารณา
ค่อย
ทำลายมัน
เริ่มแต่ไกลๆ
ทำไปเรื่อยๆ
(ศจ.สัญญา ถามว่า)
หมายความว่าเริ่มแต่ก่อนมีเวทนา
หรือ
มีเวทนาแล้ว
(หลวงพ่อชา ตอบว่า)
ไม่ๆ ก่อนมีเวทนา
(ศจ.สัญญา ถามว่า)
อ้อคล้ายๆกับมรณัสสติ
(มีเสียงผู้อื่น
ตอบแทนว่า)
มรณัสสติกับเวทนามันก็ไม่ตรงกันนัก
(ศจ.สัญญา พูด
ว่า) เอ้อใช่
ไม่ตรงกันนัก
มรณัสสตินั่นมันตายไปเลย
(หลวงพ่อชา
เสริมว่า)
อันนี้มันสู้
เวทนานี่มันสู้กระทันหัน
มันสู้เดี๋ยวนี้นะ
กำลังยิง
กัน นั่นมันตายแล้ว
(ศจ.สัญญา ถามว่า)
ถ้าหากว่ามีเวทนาแรงๆนี่
แล้วจิตเรา
ปรารถนา
อธิฐานให้มันหายๆๆๆ
ไอ้อย่างนี้ผิดหรือถูก
(หลวงพ่อชา
ตอบว่า)
ถูก (ศจ.สัญญา
ถามย้ำว่า)
ถูกหรือ (หลวงพ่อชา
ตอบว่า)
แต่ว่ามันไม่หายก็ต้องรู้มันนะ
มันหายก็ต้องรู้มัน
ดูมัน กำหนดอย่างนี้
(ศจ. สัญญา
ถามว่า) แต่ถ้าไม่หายก็แล้วไป
(หลวงพ่อชา ตอบว่า)
เออ อันนี้มันก็ไม่แน่หรอกนะ
หมายเหตุจากผู้จัดทำ
เรื่องนี้ผมได้ต้นฉบับมาสองชุด
คือจากหนังสือ
หลวงพ่อชา
เล่มสี่
ของสำนักพิมพ์ชมสมัย
และจากหนังสือ
นอกเหตุเหนือผล
ของสำนักพิมพ์ธรรมสภา
จากการเปรียบเทียบต้นฉบับทั้งสอง
พบว่า
มีความแตกต่างกัน
ในหนังสือ หลวงพ่อชา
เล่มสี่ มีความสมบูรณ์
ครบถ้วนกว่า
ในขณะที่ในหนังสือ
นอกเหตุเหนือผล
เป็นการเอามา
เรียบเรียงใหม่และมีการตัดเนื้อเรื่องบางส่วนออกไป
เนื่องจากต้นฉบับเดิมในหนังสือ
หลวงพ่อชา เล่มสี่
ค่อน
ข้างจะยาก
และเมื่อดูฉบับที่เรียบเรียงใหม่ในหนังสือ
นอกเหตุเหนือ
ผล แล้วก็พบว่าไม่ได้ดีขึ้น
มีการตัดข้อความส่วนที่ง่ายทิ้งไปมาก
ส่วนตรงที่ยากก็ไม่ได้มีการขัดเกลาอะไรมากนัก
ก็ยิ่งยากเข้าไปใหญ่
ผมจึงตัดสินใจนำเนื้อเรื่องจาก
หนังสือ หลวงพ่อชา
เล่มสี่
มาเรียบเรียงใหม่
โดยพยายามขัดเกลาคำพูดให้ลื่นขึ้น
อ่านง่ายขึ้น
แต่ยังคงความหมายเดิมไว้