Home

ยา

ผู้หญิง

เด็ก

เครื่องสำอางค์

ปฐมพยาบาล

โรคทั่วไป

สอบถามปัญหา

เพลีย - Fatigue

สาเหตุ
ความเพลียชนิดเรื้อรัง
Body Mass Index ดัชนีความอ้วน


ติชม หรือสอบถามได้ที่นี่ครับ

ชื่อ
email
ติชม เรื่องที่อยากสอบถาม

 


Body Mass Index
เป็นค่าที่ใช้วัดความอ้วนอย่างหนึ่ง โดยได้จากสูตรดังนี้

น้ำหนักเป็นกิโลกรัม / ความสูง

ค่าที่ได้ควรอยู่ระหว่าง 20-25 ค่ายิ่งมากหมายถึงยิ่งอ้วน

  • เพลีย , ไม่มีแรง เป็นคำบอกอาการที่ผมพบบ่อยมาก และก็หายาให้ลำบากมาก เพราะ มีความรุนแรงหลายระดับ ตั้งแต่ น้อยมาก จนกระทั่งไปไม่มีแรงทำงาน รบกวนต่อชีวิตประจำวัน
  • มีสาเหตุให้คิดถึงมากมาย การให้คำปรึกษาจึงต้องใช้เวลานาน และหลายๆครั้งก็หาสาเหตุไม่ได้ เนื่องจากต้องทำการตรวจร่างกายอย่างละเอียด
  •  ในแง่ความรุนแรงนั้นแบ่งได้เป็น 3 ระดับ
  1. มีอาการไม่เกิน 1 เดือน โดยมากเกิดจากชีวิตที่เร่งรีบ ไม่มีเวลาพักผ่อน เมื่อมีเวลาพักผ่อนนอนหลับเต็มที่ก็มักจะหายได้เอง
  2. 1 เดือนขึ้นไป ไม่เกิน 6 เดือน เรียกว่า Prolonged Fatigue
  3. 6 เดือนขึ้นไป เรียกว่า Chronic Fatigue
  • ในทางการแพทย์ เพลีย ถือเป็นอาการแสดงออก ( Symptom ) เท่านั้น ไม่ใช่โรค เนื่องจากเป็นอาการแสดงออกของหลายๆโรค

สาเหตุ

โลหิตจาง

เนื่องจากเลือดมีหน้าที่นำอาหาร ออกซิเจน ไปหล่อเลี้ยงส่วนต่างๆทั่วร่างกาย เมื่อโลหิตจาง การทำหน้าที่ด้อยลง ทำให้การส่งอาหาร ออกซิเจนบกพร่อง โดยเฉพาะเวลาที่ต้องการพลังงานอย่างมาก เช่น การเดิน วิ่ง ขึ้นบันได เป็นต้น

คาเฟอีน

การใช้เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนประจำ ถึงแม้คาเฟอีนจะมีฤทธิ์กระตุ้นประสาทให้คึกคัก แต่ในคนบางคน การใช้ติดต่อกันนานๆเป็นสาเหตุให้เพลียได้เช่นกัน หรือหยุดดื่มหลังจากดื่มมาเป็นเวลานานก็เพลียได้เช่นกัน

อาหาร

ทานอาหารไม่เพียงพอ ไม่ครบหมู่ น้ำตาลในเลือดต่ำ 

สภาพของปอด

ปอดมีหน้าที่แลกเปลี่ยนฟอกอากาศ การทำหน้าที่บกพร่องไป ทำให้การฟอกอากาศไม่สมบูรณ์ ได้แก่ การติดเชื้อในหลอดลม ปอด ถุงลมโป่งพอง อื่นๆ

สภาพของหัวใจ

ไม่ว่าจะเป็นโรคเส้นเลือดหัวใจตีบ เส้นเลือดแข็งตัว โรคหัวใจโต ความดันโลหิตสูง ทำให้เพลียได้ทั้งนั้น

การติดเชื้อ

เมื่อร่างกายติดเชื้อ จะเกิดปฏิกิริยาในระบบภูมิคุ้มกัน ทำให้เกิดไข้ ปวดเมื่อยตัว ปวดหัว เป็นสัญญาณให้ร่างกายพักผ่อน ในโรคติดเชื้อบางชนิด ก็ทำให้เกิดอาการเพลียต่อเนื่องอีกยาวนานได้ หรือแม้กระทั่งรบกวนการหลับนอน และเกิดการเปลี่ยนแปลงของต่อมไร้ท่อ

ยา

ทีพบได้บ่อย คือ ยาลดน้ำมูก แก้หวัด ยาลดความดันโลหิตสูง ความอ้วน ความเครียด

สภาพทางจิตใจ

 

มะเร็ง

 

ความอ้วน

โดยเฉพาะผู้ที่มี Body Mass Index มากกว่า 45

ความเพลียชนิดเรื้อรัง

Chronic Fatigue Syndrome (CFS) ได้มีการศึกษาอย่างมากในช่วงหลังตั้งแต่ปี 1994 มานี้เอง ซึ่งก็ยังไม่มีวิธีรักษาโดยเฉพาะเจาะจงเลย ได้มีการทดลองยาต่างๆมากมาย ได้แก่ 

  • การฉีด Hydrogen Peroxide
  • ใช้ยา Methotrexate
  • Azathioprine
  • Cyclophosphamide
  • Vitamin , Mineral Supplements

แต่ผลออกมายังไม่เป็นที่น่าพอใจ จึงได้แต่เพียงการรักษาตามอาการ ด้วยยาทั่วไป เช่น

  • ยาแก้ปวด บรรเทาอาการปวดเมื่อย ปวดหัว
  • Cyclobenzaprine บรรเทาอาการกล้ามเนื้อเกร็ง
  • ยานอนหลับ คลายประสาท เพื่อให้การนอนหลับดีขึ้น คลายอาการทางจิตใจ
  • Antidepressant เช่น Bupropion , Venlafaxine, Fluoxetine, Sertraline, Paroxetine คลายอาการซึมเศร้า
  • ยาเพิ่มการไหลเวียนเลือดในสมอง ได้แก่ Nimodipine, Nicardipine, Pentoxifylline

 

ปรับปรุงล่าสุด 21/11/42 เภสัชกร วิเชียร อัศวดากร