แผนภูมิการแบ่งส่วนราชการ
ของ
สำนักงานพลังงานปรมาณูเพื่อสันติ


แผนภูมิการแบ่งส่วนราชการของสำนักงานพลังงานปรมาณูเพื่อสันติ
สำนักงานพลังงานปรมาณูเพื่อสันติ
	สำนักงานพลังงานปรมาณูเพื่อสันติ จัดตั้งขึ้นตามความในพระราชบัญญัติพลังงานปรมาณูเพื่อ
สันติ พ.ศ. 2504 มีหน้าที่ปฏิบัติครอบคลุมกิจกรรมหลัก 3 ประการ คือ
	1. เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติพลังงานปรมาณูเพื่อสันติ
	2. เป็นหน่วยงานกลางติดต่อประสานงานระหว่างหน่วยงานทั้งในและนอกประเทศเกี่ยวกับกิจกรรม
พลังงานปรมาณูเพื่อสันติ
	3. เป็นหน่วยงานศึกษา วิจัย พัฒนาทางวิชาการนิวเคลียร์เทคโนโลยีต่าง ๆ รวมทั้งการเดินเครื่อง
ปฏิกรณ์ปรมาณูเพื่อการวิจัยและพัฒนาของชาติ ตลอดจนเผยแพร่และส่งเสริมการใช้ประโยชน์เกี่ยวกับพลัง
งานนิวเคลียร์
สำนักงานพลังงานปรมาณูเพื่อสันติ แบ่งส่วนราชการเป็น 11 กอง คือ 1. สำนักงานเลขานุการกรม มีหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับงานสารบรรณ งานคลัง งานพัสดุ งานบริหารบุคคล ดำเนินงาน ห้องสมุด งานวิเทศสัมพันธ์และการประชุมทางวิชาการ งานเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ งานแผนงาน งานฝึก อบรม งานอาคารสถานที่และรักษาความปลอดภัย ตลอดจนงานอื่น ๆ ที่ไม่ได้กำหนดให้เป็นหน้าที่ของกองใด กองหนึ่งโดยเฉพาะ
2. กองสุขภาพ มีหน้าที่ความรับผิดชอบในการดำเนินการเกี่ยวกับใบอนุญาต ตามพระราชบัญญัติพลังงานปรมาณู เพื่อสันติ การกำหนดระเบียบและแนวปฏิบัติทางรังสี การดำเนินการป้องกันอันตรายจากรังสีแก่ผู้ปฏิบัติงาน ภายในสำนักงานพลังงานปรมาณูเพื่อสันติและหน่วยงานภายนอก ได้แก่ การควบคุมอันตรายจากรังสีภายใน อาคารและห้องปฏิบัติการทางรังสีของสำนักงานฯ การตรวจสอบการป้องกันอันตรายทางรังสีสำหรับหน่วยงาน ภายนอก การวิเคราะห์ความปลอดภัยในการปฏิบัติงานทางรังสี การระงับเหตุฉุกเฉินทางรังสี การควบคุมการ ขนส่งวัสดุกัมมันตรังสี เป็นต้น และปฏิบัติงานเกี่ยวกับการประเมินค่าและการตรวจวัดปริมาณการได้รับรังสีของ ผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับรังสี รวมทั้งการรวบรวมข้อมูลการใช้ประโยชน์จากรังสีในด้านต่าง ๆ ข้อมูลเพื่อความ ปลอดภัยทางรังสีและข้อมูลวิชาการเกี่ยวกับฟิสิกส์สุขภาพ
3. กองการวัดกัมมันตภาพรังสี มีหน้าที่ความรับผิดชอบในการสำรวจ และประเมินค่ากัมมันตภาพรังสีในสิ่งแวดล้อม ทั้งสภาวะ ปกติและสภาวะฉุกเฉิน การวัดปริมาณรังสีจากเครื่องบันทึกรังสีประจำตัวบุคคล และตรวจวัดรังสีในสิ่งแวด- ล้อมเพื่อความปลอดภัยสำหรับประชาชนทั่วไป การวัดปริมาณรังสีสำหรับการควบคุมคุณภาพการฉายรังสี การตรวจสอบความถูกต้องของเครื่องวัดรังสีและวัดกัมมันตภาพรังสีมาตรฐานให้แก่หน่วยงานต่าง ๆ เพื่อให้มี ความถูกต้องและปลอดภัยในการใช้ประโยชน์จากสารกัมมันตรังสี รวมทั้งการวิจัยและพัฒนาเพื่อสนับสนุนการ วัดรังสี การประยุกต์ใช้เทคนิคการวัดรังสีเพื่อสนับสนุนการวัดรังสี การประยุกต์ใช้เทคนิคการวัดรังสีเพื่อส่งเสริม และสนับสนุนแก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนการวิเคราะห์และรับรองปริมาณกัมมันตภาพรังสีในตัวอย่าง สินค้าและอื่น ๆ เพื่อความปลอดภัยแก่ผู้บริโภค
4. กองขจัดกากกัมมันตรังสี มีหน้าที่ความรับผิดชอบในการบริหารงาน การวิจัยและพัฒนา และการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับ การจัดเก็บรวบรวม ขนส่ง คัดแยก บำบัด แปรสภาพ เก็บรักษา และทิ้งกากกัมมันตรังสี รวมทั้งการประเมินผล การจัดการกากกัมมันตรังสี และการศึกษาการนำกลับมาใช้ประโยชน์ของต้นกำเนิดรังสี ซึ่งได้มาจากการจัดการ กากกัมมันตรังสี
5. กองผลิตไอโซโทป มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการผลิตสารไอโซโทปที่ใช้ในกิจการต่าง ๆ เช่น การแพทย์ การเกษตร และการศึกษาวิจัย ฯลฯ ควบคุมคุณภาพสารไอโซโทปที่ผลิตขึ้นให้ได้มาตรฐาน ผลิตและทดสอบสารประกอบ ที่ใช้ในงานวิเคราะห์ทางเรดิโออิมมิวโนแอสเสย์ วิจัยและพัฒนากรรมวิธีการผลิตสารไอโซโทปและสารประกอบ ที่ใช้ในทางเวชศาสตร์นิวเคลียร์ รวมทั้งส่งเสริมและบริการการใช้สารไอโซโทป
6. กองปฏิกรณ์ปฏิบัติ มีหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับการทดสอบคุณลักษณะ วางแผนการเปลี่ยนแปลงลักษณะ และ ออกแบบสร้างหรือดัดแปลงอุปกรณ์ วางแผนการเดินเครื่องปฏิกรณ์ จัดเจ้าหน้าที่เดินเครื่องและบันทึกข้อมูล ต่าง ๆ จัดทำสถิติในการเดินเครื่องปฏิกรณ์ เสนอแนะการจัดหาเชื้อเพลิงนิวเคลียร์เพื่อการทดแทน จัดทำทะ- เบียนประวัติเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ ซ่อมบำรุงระบบเครื่องปฏิกรณ์และอุปกรณ์ประกอบงานฝึกอบรมการเดินเครื่อง ปฏิกรณ์และงานบริการเรดิโอกราฟฟี
7. กองอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ มีหน้าที่ความรับผิดชอบในการพัฒนา สร้างประกอบ และซ่อมบำรุงอุปกรณ์นิวเคลียร์อิเล็กทรอนิกส์ พัฒนาระบบเครื่องคอมพิวเตอร์ ระบบสื่อสารข้อมูล เชื่อมโยงระบบคอมพิวเตอร์ ให้บริการและฝึกอบรมการใช้ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ ซ่อมบำรุงระบบเครื่องคอมพิวเตอร์ จัดหาวัสดุไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์กลเพื่อพัฒนาการ สร้างประกอบและซ่อมบำรุง เขียนแบบและสร้างต้นแบบทางวิศวกรรม สร้างแผ่นวงจรพิมพ์ ติดตั้งและซ่อม บำรุงระบบไฟฟ้า โทรศัพท์ และระบบควบคุมอุณหภูมิ พัฒนา สร้าง ติดตั้งและซ่อมบำรุงอุปกรณ์กล อุปกรณ์ วิจัยทางนิวเคลียร์ ระบบน้ำและเครื่องยนต์ ผลิตน้ำบริสุทธิ์และไนโตรเจนเหลว ตลอดจนการพัฒนา และให้ บริการการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีนิวเคลียร์ในภาคอุตสาหกรรม
8. กองวิทยาศาสตร์ชีวภาพ มีหน้าที่ความรับผิดชอบในการศึกษาวิจัยและพัฒนาการใช้ประโยชน์จากรังสีกับแมลง อาหารและ ผลิตผลการเกษตร การปรับปรุงพันธุ์พืช ศึกษาการแก้ไขสภาวะแวดล้อมทางชีววิทยา การพัฒนาสาธารณสุข และวัสดุผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ รวมทั้งการศึกษาผลของรังสีทางชีววิทยา การวิจัยและพัฒนาด้านจุลชีว วิทยารังสี เพื่อประโยชน์ในกิจการอุตสาหกรรม ตลอดจนการให้บริการฉายรังสีในงานวิจัยและพัฒนาทั้งระดับ กึ่งอุตสาหกรรมและอุตสาหกรรม
9. กองฟิสิกส์ มีหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับการวิจัยทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติทางนิวเคลียร์ฟิสิกส์ วิจัยและ คำนวณเพื่อให้ได้ข้อมูลด้านฟิสิกส์ของเครื่องปฏิกรณ์พารามิเตอร์ของเครื่องปฏิกรณ์ ข้อมูลนิวเคลียร์ ฯลฯ เพื่อ สนับสนุนการใช้ประโยชน์จากเครื่องปฏิกรณ์ ศึกษาวิจัยลักษณะกายภาพและตรวจสอบคุณสมบัติทางแม่เหล็ก ของวัสดุด้วยรังสีเอ็กซ์และนิวตรอน ตลอดจนการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพทางฟิสิกส์ของวัสดุด้วยเทคโนโลยี นิวเคลียร์
10. กองเคมี มีหน้าที่วิจัยและพัฒนากรรมวิธีทางเคมีเพื่อสนับสนุนกิจการต่าง ๆ ของสำนักงานฯ ให้บริการ วิเคราะห์แก่หน่วยงานอื่น ๆ ศึกษาวิจัยประเมินค่า พัฒนาวิธีวิเคราะห์ปริมาณธาตุในสารตัวอย่างเพื่อประเมิน ผลและประเมินคุณภาพโดยเทคนิคเชิงนิวเคลียร์และเทคนิคอื่น ๆ การสกัดธาตุหายาก ศึกษาพัฒนาด้านวิศว- กรรมที่ใช้ในกระบวนการแยกธาตุจากแร่ ศึกษาการใช้ประโยชน์จากธาตุหายาก และสารประกอบเคมีที่ได้จาก การแปรสภาพแร่ ศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติและการเกิดปฏิกิริยาทางเคมีของสารกัมมันต- รังสี เพื่อสนับสนุนงานพัฒนาและส่งเสริมการใช้ประโยชน์ของสารกัมมันตรังสีในกิจการต่าง ๆ วิจัยเกี่ยวกับ การเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติของวัตถุ หรือสารเคมีเมื่อได้รับรังสี การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการเพิ่มมูลค่า แร่วัสดุนิวเคลียร์ในระดับกึ่งอุตสาหกรรม ตลอดจนวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการนำธาตุหายากและธาตุ วัสดุนิวเคลียร์ไปใช้ประโยชน์ในกิจการต่าง ๆ
11. ศูนย์กำกับความปลอดภัยโรงงานนิวเคลียร์ มีหน้าที่ความรับผิดชอบในการประเมินและตรวจสอบความปลอดภัยของโรงงานนิวเคลียร์ และ การพิทักษ์ความปลอดภัยของวัสดุนิวเคลียร์ให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล ดำเนินการเกี่ยวกับการขออนุญาต จัดตั้งและดำเนินการโรงงานนิวเคลียร์ การประเมินความปลอดภัยและการตรวจสอบความปลอดภัยในการ ดำเนินงานการศึกษาตามข้อมูลความก้าวหน้าเกี่ยวกับแนวปฏิบัติในการดำเนินงานโรงงานนิวเคลียร์ รวมทั้ง ข้อมูลด้านความปลอดภัยของโรงงานนิวเคลียร์ ตลอดจนสถานการณ์การพัฒนาเทคโนโลยีเกี่ยวกับโรงงาน นิวเคลียร์ในต่างประเทศ