ความเป็นไปได้ในการสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ขึ้นในประเทศไทย
บทคัดย่อ ความเป็นไปได้ในการใช้พลังงานนิวเคลียร์เพื่อผลิตไฟฟ้าในประเทศไทยนั้น ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลาย- อย่าง อาทิเช่น ความพร้อมในการใช้เทคโนโลยีขั้นสูงและการพัฒนาบุคลากรที่เกี่ยวข้อง การกำหนดนโยบาย และการตัดสินใจ การออกกฏระเบียบและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง การออกใบอนุญาตและควบคุมดูแล ความเป็น ไปได้ในการขจัดหรือจัดการกากเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ภายในประเทศ ความพร้อมทางด้านเศรษฐกิจและการลงทุน การยอมรับจากประชาชน ฯลฯ บทความนี้กล่าวถึงบางประเด็นที่เกี่ยวข้องกับปัจจัยเหล่านี้
บทนำ ในปัจจุบัน (พ.ศ. 2540) ประเทศไทยมีความต้องการใช้ไฟฟ้าประมาณวันละ 250 ล้านกิโลวัตต์ ชั่วโมง และความต้องการกำลังไฟฟ้าสูงสุดประมาณ 14,000 เมกะวัตต์ ถึงแม้ว่าการเติบโตทางเศรษฐกิจ จะชะลอตัวไปบ้างแต่อัตราการเพิ่มของความต้องการไฟฟ้ายังคงมีสูง คือ เฉลี่ยประมาณปีละ 10 เปอร์เซ็นต์ คือ ต้องจัดหากำลังไฟฟ้าเพิ่มเติมปีละประมาณ 1,300 เมกะวัตต์โดยเฉลี่ย ในช่วงที่ผ่านมาการจัดหาพลังงานต้นเพื่อนำมาผลิตไฟฟ้า ใช้แหล่งเชื้อเพลิงในประเทศเป็นส่วน- ใหญ่ เช่น พลังน้ำ ถ่านลิกไนต์ และก๊าซธรรมชาติ ในระยะนี้แหล่งพลังงานในประเทศเริ่มร่อยหรอลง ทำให้ การนำเข้าพลังงาน เช่น นำเข้าพลังงานไฟฟ้าจากประเทศเพื่อนบ้าน นำเข้าก๊าซธรรมชาติ หรือถ่านหินเริ่มจะมี มากขึ้น และในอนาคตข้างหน้าคงจะเหลือทางเลือกอยู่ 2 ทางหลักที่ต้องตัดสินใจ คือ นำเข้าถ่านหิน หรือนำ เข้าเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ หรือทั้งสองอย่าง เมื่อดูเผิน ๆ การเลือกใช้ถ่านหินอาจจะดูง่ายกว่าการเลือกใช้พลังงานนิวเคลียร์เพราะดูไม่น่ากลัวเท่า แต่ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและภาระที่ตามมานั้นมีมากจึงจำเป็นต้องคิดให้ดีก่อนนำมาใช้เพิ่มในปริมาณมาก ๆ ถ่านหินนั้นเมื่อเผาไหม้แล้วจะก่อให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งจะไปทำให้เกิดภาวะเรือนกระจก มีผลทำให้ บรรยากาศของโลกร้อนขึ้น เป็นผลกระทบในระดับทั่วโลก และอาจมีผลทำให้เกิดอุทกภัย คือ น้ำทะเลท่วมสูง บริเวณชายฝั่ง พืชและสัตว์หลายชนิดอาจสูญพันธุ์ ดังนั้น ประเทศต่าง ๆ รวมทั้งประเทศไทยจึงได้ตกลงกันที่ เมืองริโอเดจาเนโร ประเทศบราซิล เมื่อปี พ.ศ. 2535 ว่าจะไม่เพิ่มปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศ และจะพยายามลดให้น้อยลงหากเป็นไปได้ ดังนั้น การมีโรงไฟฟ้าที่ปล่อยก๊าซชนิดนี้มาก ๆ จะทำให้การจัดการ เพื่อให้เป็นไปตามข้อตกลงนั้นยากขึ้น หรือเป็นไปไม่ได้เลย นอกจากนั้นโรงไฟฟ้าชนิดนี้ยังปล่อยก๊าซที่ทำให้เพิ่ม สภาพความเป็นกรดในสิ่งแวดล้อม คือ ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ไนโตรเจนออกไซด์ โลหะหนัก ขึ้เถ้าและฝุ่นละออง อีกมากมาย ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของคนและสัตว์ อีกทั้งยังมีผลเสียต่อพืชด้วย จึงต้องกำจัด และปล่อยออกจากโรงไฟฟ้าให้น้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ ส่วนโรงไฟฟ้านิวเคลียร์นั้น ดูน่ากลัวกว่าโรงไฟฟ้าถ่านหินมาก เพราะมีโอกาสเกิดอุบัติเหตุรุนแรงที่มี ผลกระทบสูงได้ เช่น อุบัติเหตุที่โรงไฟฟ้าเชอร์โนบิล (ประเทศยูเครน) ถึงแม้ว่าอุบัติเหตุระดับนั้นเกือบไม่มีโอกาส เกิดขึ้นเลยกับโรงไฟฟ้ารุ่นที่ใช้ในโลกตะวันตกในปัจจุบันก็ตาม แต่ประชาชนโดยทั่วไปยังโยงความคิดระหว่าง โรงไฟฟ้านิวเคลียร์และอุบัติเหตุเชอร์โนบิลหรือระเบิดประมาณูเมื่อสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง ทำให้บดบังข้อดี ของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในส่วนที่ทำให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมต่ำ และทำให้การควบคุมก๊าซคาร์บอนได- ออกไซด์ทำได้ง่ายขึ้นออกไป ประเด็นเรื่องความเข้าใจและการยอมรับของประชาชนนี้เป็นประเด็นที่สำคัญที่สุด ส่วนประเด็นอื่น ๆ ที่สำคัญ ได้แก่ นโยบายและการออกกฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ความ พร้อมที่จะใช้เทคโนโลยีนิวเคลียร์ ความเป็นไปได้ในการจัดการกากกัมมันตรังสีภายในประเทศ การพัฒนาบุค- ลากรที่เกี่ยวข้อง ความพร้อมทางด้านเศรษฐกิจ และการลงทุน ฯลฯ
นโยบายการออกกฎหมาย กฎระเบียบ ใบอนุญาต และการควบคุมดูแล ในแง่ของประเทศ การกำหนดนโยบายเกี่ยวกับการพัฒนา และการใช้พลังงานเป็นเรื่องที่สำคัญ เช่น ถ้านโยบายชี้ชัดว่าประเทศจะต้องใช้พลังงานนิวเคลียร์แน่ถึงแม้จะเป็นอีก 20 ปีข้างหน้าก็แล้วแต่ การเตรียมตัว ของฝ่ายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องคงจะดีกว่า และเป็นขั้นเป็นตอนมากกว่านี้ ไม่ว่าจะทางฝ่ายผู้ออกกฎระเบียบและ ควบคุม ฝ่ายผลิตไฟฟ้าและดำเนินการ ฝ่ายอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง ฝ่ายการศึกษาและผลิตบุคลากร ฝ่ายกิจ- การสาธารณะ และประชาสัมพันธ์ เป็นต้น แต่ถ้านโยบายชี้ชัดว่าไม่ใช้พลังงานนิวเคลียร์แน่ การเตรียมตัวคงจะ เป็นอีกแบบหนึ่ง คือ เป็นแบบที่ไม่มุ่งเน้นการใช้พลังงานนิวเคลียร์ในการผลิตไฟฟ้า บุคลากรที่มีอยู่ปัจจุบันจะได้ หันไปทำงานทางด้านอื่น และไม่จำเป็นต้องจัดหาหรือผลิตบุคลากรอื่นมาทดแทนหรือเสริมให้มากขึ้นเพื่อเป็น การใช้ทรัพยากรมนุษย์ที่มีน้อยอยู่แล้วให้คุ้มค่าขึ้น แต่การใช้พลังงานนิวเคลียร์ทางด้านอื่น เช่น การแพทย์ การ เกษตร อุตสาหกรรม วิทยาศาสตร์พื้นฐาน จะยังคงต้องมีอยู่ แต่การใช้นโยบายที่เป็บแบบรอดูท่าทีไปก่อนเรื่อย ๆ เช่นปัจจุบันทำให้ต่างฝ่ายต่างหยุดคุมเชิงอยู่แต่ไม่มีการพัฒนาใด ๆ ที่มีความหมายเกิดขึ้นอย่างจริงจัง การกำหนดนโยบายที่ชัดเจนเป็นเรื่องยาก ต้องอาศัยความรู้ การมองการณ์ไกล เหตุผลที่แท้จริง และ ความกล้าหาญ เมื่อตัดสินใจอย่างหนึ่งอย่างใดลงไปแล้วต้องมีความมั่นคง และพร้อมที่จะอธิบายรวมทั้งยืนยัน ในสิ่งนั้นได้ ประเทศเราไม่สู้จะมีความสามารถในเรื่องนี้มากนัก จึงทำให้เกิดปัญหาขึ้นมากมาย ต้องตามแก้ปัญ- หาย้อนหลังกันอยู่ตลอดเวลา ทำให้เกิดความเสียหาย และสิ้นเปลืองเงินทองเกินความจำเป็น ดังจะเห็นได้จาก ระบบสาธารณะ และสาธารณูปโภคต่าง ๆ เช่น ระบบขนส่งมวลชนประปา เขื่อน สนามบิน ท่าเรือ การคมนาคม สื่อสาร การป้องกันน้ำท่วม การป้องกันอัคคีภัย และการบรรเทาสาธารณภัย ฯลฯ การออกกฎระเบียบและกฎหมายที่รองรับและควบคุมการใช้พลังงานนิวเคลียร์ในขณะนี้ยังไม่พร้อม เพียงพอ เนื่องจากยังไม่มีนโยบายที่แน่ชัด จึงทำให้เกิดความรู้สึกว่ายังไม่รีบด่วน แต่หากไม่ทำและรอให้เกิด โครงการโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ขึ้นก่อนอาจจะมีปัญหาตามมาอีกหลายประการ และไม่ก่อให้เกิดความมั่นใจแก่ ประชาชนโดยทั่วไปได้
ความพร้อมในการใช้เทคโนโลยีขั้นสูง สืบเนื่องมาจากการพัฒนาเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมอย่างต่อเนื่องเป็นเวลากว่าสิบปี ทำให้มีการ พัฒนาเทคโนโลยีสูงขึ้นมาโดยลำดับ จากอุตสาหกรรมที่ประกอบผลิตภัณฑ์เพียงอย่างเดียวไปเป็นอุตสาหกรรม ที่ต้องมีการผลิตชิ้นส่วน และทดสอบคุณภาพมากขึ้น หลายอุตสาหกรรมเป็นอุตสาหกรรมที่ได้มาตรฐานระดับ สากล และหลายอุตสาหกรรมก็กำลังก้าวไปสู่จุดนั้น จึงอาจกล่าวได้ว่าประเทศไทยมีความพร้อมในการใช้เทค- โนโลยีขั้นสูงมากขึ้นพอสมควร บุคลากรจำนวนไม่น้อยมีคุณภาพดีขึ้น ถึงแม้ว่าจะมีความขาดแคลนอย่างหนัก หากมีการใช้เทคโนโลยีนิวเคลียร์เพื่อผลิตพลังงานไฟฟ้าขึ้นในประเทศ จะเกิดความต้องการใช้เทคโนโลยีขั้นสูง เพิ่มขึ้นอีกมาก ไม่ว่าจะเป็นการก่อสร้างที่ต้องมีคุณภาพสูง การทดสอบแบบไม่ทำลาย เทคโนโลยีเพื่อป้องกัน การกัดกร่อน การประกันคุณภาพเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และเทคโนโลยีสารสนเทศ ฯลฯ ดังนั้น การสร้างโรง ไฟฟ้านิวเคลียร์ขึ้นจะเป็นการกระตุ้นให้มีการพัฒนาเทคโนโลยีขั้นสูงในหลายสาขา เพราะโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ต้องใช้เทคโนโลยีที่มีคุณภาพสูง ซึ่งจะเป็นการยกระดับเทคโนโลยีให้สูงขึ้นโดยรวม และจะเป็นประโยชน์ต่ออุต- สาหกรรมอื่นโดยปริยาย การใช้เทคโนโลยีขั้นสูงนี้จะต้องมีการพัฒนาบุคลากรที่เหมาะสม แต่ก็จะเป็นประโยชน์ ต่ออุตสาหกรรมอื่น ๆ ด้วย
การขจัด หรือ จัดการกากกัมมันตรังสี ในการดำเนินการตามปกติโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เป็นโรงไฟฟ้าที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อย ที่สุดเมื่อเทียบกับโรงไฟฟ้าพลังความร้อนแบบอื่น ๆ เพราะไม่มีการปล่อยของเสียออกขณะเดินเครื่อง กากที่เกิด ขึ้นจะอยู่ในแท่งเชื้อเพลิงจนกว่าจะเอาออก แต่ตามความเข้าใจของคนทั่วไปนั้นมักจะเข้าใจไปว่าโรงไฟฟ้านิว- เคลียร์ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมสูง เพราะไปเข้าใจว่ากากเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ก่อให้เกิดผลกระทบต่อ สิ่งแวดล้อมสูง เพราะไปเข้าใจว่ากากเชื้อเพลิงนิวเคลียร์เป็นสารกัมมันตรังสี ซึ่งมีอายุยืนยาวและจะกระจายไป ทั่ว ทำให้เกิดกัมมันตรังสีและอาจมีอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตได้จึงต้องมีการจัดการที่เหมาะสม โดยความรู้และเทคโนโลยีปัจจุบัน การจัดการกากกัมมันตรังสีมักจะทำเป็นหลาย ๆ ระยะเพื่อความ สะดวก ปลอดภัย และประหยัด กล่าวคือ กากที่อยู่ในเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ในระยะแรกมักปล่อยให้อยู่ในแท่งเชื้อ เพลิงและเก็บแท่งเชื้อเพลิงที่ใช้แล้วนี้ไว้ในบ่อน้ำ ซึ่งอยู่ภายในตัวโรงไฟฟ้าเอง เพื่อให้สารกัมมันต-รังสีส่วนใหญ่ สลายตัว หรือที่เรียกตามภาษาสามัญว่าปล่อยให้เย็นลง ขั้นตอนนี้เป็นการเก็บกากกัมมันตรังสีไว้ภายใต้การดูแล ที่เข้มงวดภายในโรงไฟฟ้าเอง ในระยะนี้สารกัมมันตรังสีจะสลายตัวลงอย่างรวดเร็ว หลังจากเก็บไว้ 3 เดือน กัมมันตรังสีจะลดลงไปแล้วครึ่งหนึ่ง พอถึง 1 ปี กัมมันตรังสีจะลดลงไปถึง 80 เปอร์เซ็นต์และถ้าปล่อยทิ้งไว้ 10 ปีจะสลายตัวไปแล้วถึง 90 เปอร์เซ็นต์ แต่ที่เหลือ 10 เปอร์เซ็นต์ นั้นมีอายุยืนยาวเป็นพันปีจึงจะต้องมีการ เก็บอย่างถาวรด้วย เพื่อไม่ให้มีโอกาสเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตได้ การเก็บกากกัมมันตรังสีอย่างถาวรนั้นจนถึง บัดนี้ยังไม่มีผู้ใดปฏิบัติเนื่องจากยังไม่ถึงเวลาอันควร แต่ได้มีการศึกษาออกแบบ และทดสอบกันมานานพอสม- ควรแล้วจนสรุปว่า วิธีการที่แน่นอนที่สุด คือ การเก็บไว้ใต้ดินในที่ซึ่งสภาพทางธรณีวิทยามีความคงตัวสูง และ ในแต่ละประเทศที่มีการใช้พลังงานนิวเคลียร์ก็มักมีการพิจารณาเลือกสถานที่ในเบื้องต้นไว้แล้วเป็นส่วนใหญ่ ในโลกปัจจุบันนี้เป็นที่ยอมรับว่าใครเป็นผู้ทำให้เกิดขยะหรือของเสีย ผู้นั้นจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบ ไม่ว่าจะเป็นขยะจากครัวเรือน หรือสารเคมีที่มีพิษ หรือกากกัมมันตรังสีหรืออื่น ๆ จะยกไปให้ประเทศอื่นรับผิด ชอบไม่ได้ ยกเว้นว่าเขาจะรับทำเป็นอาชีพ ดังนั้น ถ้าประเทศไทยจะเลือกใช้พลังงานนิวเคลียร์เพื่อผลิตไฟฟ้า ในอนาคต ก็ควรที่จะเริ่มดูในเรื่องของสถานที่เก็บกากถาวรภายในประเทศด้วยว่ามีความเป็นไปได้มากน้อย เพียงไร และควรจะเตรียมตัวทำอะไรบ้าง เพื่อให้ประชาชนอุ่นใจว่าถ้าจะมีกากกัมมันตรังสีจากโรงไฟฟ้าเกิดขึ้น แล้วจะมีที่เก็บที่ปลอดภัย และประชาชนยอมรับได้ภายในประเทศ โดยปกติแล้วสถานที่ที่ประเทศต่าง ๆ เลือก ไว้มักจะมีสภาพธรณีวิทยาเป็นชั้นหินแกรนิตหรือเป็นเหมืองเกลือ สำหรับในประเทศไทยเราอาจเลือกเป็นชั้นดิน เหนียว หรือดินดาน หรือหินแบบอื่นก็ได้ แต่อาจจะต้องมีการศึกษาวิจัยเพิ่มเติมจากที่เคยมีการทำมาแล้วใน ประเทศอื่น
การพัฒนาบุคลากร ประเด็นสำคัญประการหนึ่งที่จะทำให้การใช้พลังงานนิวเคลียร์มีความปลอดภัย คือ ต้องมีบุคลากร ที่มีความรู้ ความสามารถสูงในเรื่องต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องตั้งแต่การออกกฎหมาย การตรวจสอบ ควบคุม และออก ใบอนุญาตต่าง ๆ การก่อสร้าง เดินเครื่อง ซ่อมบำรุงอุปกรณ์ และระบบบุคลากรทางด้านความปลอดภัยทางรัง- สี การวัดรังสี สิ่งแวดล้อม การศึกษาออกแบบ ดูแลระบบจัดการกาก ความพร้อมในการบรรเทาสาธารณภัย รวม ทั้งการป้องกันบำบัดรักษาพยาธิสภาพที่เนื่องมาจากรังสี การวิจัยที่เกี่ยวข้อง และอื่น ๆ อันที่จริงน่าจะได้เริ่มเตรียมความพร้อมของบุคลากรเหล่านี้แต่เนิ่น ๆ บางส่วน เช่น บุคลากรที่เกี่ยว ข้องกับการออกกฎ ระเบียบ ใบอนุญาต วิเคราะห์ความเป็นไปได้ของโครงการ การจัดการกากกัมมันตรังสี ฯลฯ อาจจะต้องลงทุนเตรียมพร้อมไว้ให้มีจำนวนมากพอที่จะสามารถทำงานได้ผลดีกว่าที่จะรอให้โครงการเริ่มแล้ว จึงเริ่มเตรียม ซึ่งจะไม่ทัน จะต้องฟังความเห็นของบริษัทวิศวกรที่ปรึกษาจากต่างประเทศเพียงอย่างเดียว แต่ถ้า โครงการนี้ไม่เกิด บุคลากรคุณภาพสูงเหล่านี้ก็น่าจะทำประโยชน์ให้กับสังคมได้ในเรื่องอื่น ๆ สำหรับบุคลากรที่จะทำงานเกี่ยวกับการเดินเครื่อง การบำรุงรักษาโรงไฟฟ้านิวเคลียร์นั้น อาจจะยังมี เวลาพอ และรอให้โครงการมีความแน่นอนก่อนจึงจะเริ่มพัฒนา
ความพร้อมทางด้านเศรษฐกิจ และการลงทุน โครงการสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เป็นโครงการที่ต้องใช้เงินลงทุนสูงมาก และต้องลงทุนล่วงหน้าเป็น เวลานานกว่าจะเริ่มมีรายได้จากการขายไฟฟ้า แต่โดยที่ประเทศได้พัฒนาไปมากและมีฐานเศรษฐกิจที่ดีพอสม- ควรความพร้อมในแง่การลงทุนจึงไม่น่ามีปัญหา เพียงแต่ว่านโยบายการใช้พลังงานนิวเคลียร์ และการตัดสินใจ ใช้พลังงานในรูปนี้จะต้องมีความแน่นอนมาก จึงจะทำให้การลงทุนมีอัตราเสี่ยงต่ำ เพราะถ้าลงทุนไปแล้วเกิดมี การเปลี่ยนใจเปลี่ยนนโยบาย และยกเลิกไม่ใช้พลังงานนิวเคลียร์ ดังเช่นในบางประเทศการลงทุนนั้นจะเป็นการ ลงทุนที่สูญเปล่าทันที
การยอมรับจากประชาชน ในขณะนี้ยังไม่แน่ชัดว่าประชาชนคนไทยจะยอมรับการใช้พลังงานนิวเคลียร์เพื่อผลิตไฟฟ้าหรือไม่ แต่การหยั่งเสียงทันทีทันใดคงจะไม่เกิดประโยชน์ เพราะก่อนที่จะมีการลงความเห็นใด ๆ ของชนหมู่มากนั้น ควรที่ทุกฝ่ายจะได้ให้ความรู้ ข้อมูล เหตุผล และผลที่จะเกิดขึ้นจากการตัดสินใจนั้น ๆ อย่างถ่องแท้และชัดเจน เสียก่อน โดยเฉพาะในกรณีนี้ การตัดสินใจเลือกใช้ก็จะมีผลที่ตามมาทั้งในทางดีและไม่ดี แต่การตัดสินใจไม่ใช้ ก็จะมีผลที่ตามมาทั้งในทางดีและไม่ดีเช่นกัน จึงน่าที่ทุกคนจะได้ใส่ใจในข้อนี้ และพยายามทำให้สังคมของเรา มีความรู้ และมีความรับผิดชอบที่จะก้าวไปข้างหน้าได้อย่างมั่นคง
สรุป การสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ขึ้นในประเทศไทยนั้นมีปัจจัยเกื้อหนุนหลายประการ แต่จะเป็นไปได้มาก น้อยหรือรวดเร็วเพียงใดนั้น ขึ้นอยู่กับว่ารัฐบาลเรามีความพร้อมแค่ไหนในการกำหนดนโยบายระยะยาว การตัด- สินใจและดำเนินการตามขั้นตอนที่เหมาะสม การให้ความรู้แก่ประชาชนทั้งในส่วนดี และส่วนไม่ดี ที่สามารถทำ ให้เข้าใจผลที่จะตามมาจากการใช้ หรือไม่ใช้พลังงานนิวเคลียร์ ปัจจัยเรื่องการยอมรับจากประชาชนนี้เป็นปัจจัย ที่สำคัญที่สุด คือ จะต้องได้รับการยอมรับจากประชาชนถึงระดับหนึ่งแล้วเท่านั้นจึงจะสามารถดำเนินโครงการ ให้สำเร็จได้