..........................welcome to lopburi to see lotus riverland .......................ยินดีต้อนรับสู่ วังบัว องค์การบริหารส่วนตำบลทะเลวังวัด อ.ท่าหลวง จ.ลพบุรี โทรศัพท์ 01-3532611................................

ปลัดสุดารัตน์ เมธยานันท์
องค์การบริหารส่วนตำบลทะเลวังวัด
อ.ท่าหลวง จ.ลพบุรี
ยินดีต้อนรับทุกท่าน

สู่........

วังบัว
lotus riverland



ชมภาพที่นี่
กระดานข่าว


องค์การบริหารส่วนตำบล
และชาวตำบลทะเลวังวัด อ.ท่าหลวง จ.ลพบุรี
ยินดีต้อนรับผู้มีเกียรติทุกท่าน
สัมผัสแหล่งท่องเที่ยวไทยแห่งใหม่
โครงการ วังบัว (lotus riverland)
ล่องเรือชมธรรมชาติสองฟากฝั่งเขื่อนป่าสักอันสวยงาม
ท่ามกลางบรรยากาศแบบไทย ๆ
พร้อมชมบัวพันธุ์ไทย และพันธุ์ต่าง ๆ ทั่วโลก
ซึ่งหาชมได้ยากยิ่ง...

 

สาระน่ารู้เกี่ยวกับจังหวัดลพบุรี
wat.jpg (20459 bytes)

  • ลพบุรี เป็นเมืองสำคัญเก่าแก่เมืองหนึ่งตั้งแต่สมัยทวาราวดี (พุทธศตวรรษที่ 11-16) เคยอยู่ใต้อำนาจ มอญและขอมจนกระทั่งในตอนต้นของพุทธศตวรรษที่ 19 คนไทยจึงเริ่มมีอำนาจขึ้นในดินแดนแถบนี้ ในรัชสมัยของพระเจ้าอู่ทอง ปฐมกษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา ลพบุรีมีฐานะเป็นเมืองลูกหลวง กล่าวคือ พระเจ้าอู่ทองได้โปรดให้พระราเมศวร ราชโอรสองค์ใหญ่เสด็จมาครองเมืองลพบุรี เมื่อ พ.ศ. 1893 พระราเมศวรโปรดให้สร้างป้อม ขุดคู และสร้างกำแพงเมืองอย่างมั่นคง เมื่อพระเจ้าอู่ทองสวรรคตใน พ.ศ. 1912 พระราเมศวรต้องถวายราชบัลลังก์ให้แก่พระปิตุลาของพระองค์ ซึ่งได้ขึ้นครองราชย์พระนามว่า พระบรมราชาธิราชที่ 1 ส่วนพระราเมศวรครองเมืองลพบุรีสืบต่อไป จนถึง พ.ศ. 1931 สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 สวรรคต พระราเมศวรจึงเสด็จขึ้นครองราชย์ ณ กรุงศรีอยุธยาเป็นครั้งที่สอง

  • หลังจากนั้นมาเมืองลพบุรีได้ลดความสำคัญลงไป จนกระทั่งมาถึงสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (พ.ศ. 2199-2231) ลพบุรีได้รับการทำนุบำรุงครั้งใหญ่ สืบเนื่องมาจากการคุกคามของชนชาติฮอลันดา ที่ติดต่อค้าขายกับไทย ทำให้สมเด็จพระนารายณ์ทรงเห็นว่า กรุงศรีอยุธยานั้นไม่สู้ปลอดภัยจากการ ปิดล้อมระดมยิงของข้าศึกหากเกิดสงคราม จึงได้สร้างเมืองลพบุรีเป็นราชธานีที่สองขึ้น เพราะลพบุรี มีลักษณะทางยุทธศาสตร์เหมาะสม ในการสร้างลพบุรีขึ้นใหม่ สมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงได้รับ ความช่วยเหลือ จากช่างชาวฝรั่งเศสและอิตาเลียน และได้สร้างพระราชวังและป้อมปราการเป็นแนวป้องกัน อย่างแข็งแรง สมเด็จพระนารายณ์มหาราชได้ประทับอยู่ที่ลพบุรีเป็นส่วนใหญ่ สิ้นรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์ฯ แล้ว ลพบุรีก็หมดความสำคัญลง สมเด็จพระเพทราชาได้ทรงย้าย หน่วยราชการทั้งหมดกลับกรุงศรีอายุธยา ในรัชกาลต่อๆ มา ก็ไม่ได้เสด็จมาประทับที่เมืองนี้อีก จนกระทั่งถึงรัชกาลที่ 4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ใน พ.ศ. 2406 โปรดฯ ให้บูรณะเมืองลพบุรี ซ่อมกำแพง ป้อม และ ประตูพระราชวังที่ชำรุดทรุดโทรม และสร้างพระที่นั่งพิมานมงกุฎขึ้นใน พระราชวังเป็นที่ประทับ และพระราชทานนามว่า "พระนารายณ์ราชนิเวศน์" ลพบุรีจึงแปรสภาพเป็นเมืองสำคัญ อีกวาระหนึ่ง

  • ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ลพบุรีได้รับการทำนุบำรุงอีกครั้งหนึ่งในสมัยรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม ซึ่งได้สร้างเมืองลพบุรีใหม่อันเป็นเมืองทหารอยู่ทางด้านทิศตะวันออกของทางรถไฟ มีอาณาเขตกว้างขวาง ส่วนเมืองเก่านั้นอยู่ทางด้านทิศตะวันตกของทางรถไฟ เมืองลพบุรีจึงเป็นศูนย์กลางสำคัญ ทางยุทธศาสตร์เมืองหนึ่งในปัจจุบันนี้ลพบุรีอยู่ห่างจากกรุงเทพฯ 153 กม. มีเนื้อที่ทั้งหมด 6,199.753 ตารางกิโลเมตร

  • คำขวัญประจำจังหวัดลพบุรี
    วังนารายณ์คู่บ้าน ศาลพระกาฬคู่เมือง ปรางค์สามยอดลือเลื่อง เมืองแห่งดินสอพอง เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์เกริกก้อง แผ่นดินทองสมเด็จพระนารายณ์
  • ตราประจำจังหวัดลพบุรี
    เป็นรูป พระนารายณ์ประทับบนพระปรางค์สามยอด หมายถึง การระลึกถึงสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ผู้สร้างเมืองลพบุรีขึ้นใหม่เมื่อ พ.ศ. 2208 และสร้างความเจริญให้กับแผ่นดินลพบุรีนับเอนกอนันต์ ส่วนพระปรางค์สามยอดเป็นโบราณสถาน ที่เป็นสัญลักษณ์ของเมืองลพบุรี
  • จังหวัดลพบุรี ใช้อักษรย่อว่า " ลบ "
  • ดอกไม้ประจำจังหวัดลพบุรี
    ชื่อดอกไม้ " ดอกพิกุล "
  • ไม้มงคลประจำจังหวัดลพบุรี
    ชื่อพรรณไม้ " พิกุล " ชื่อวิทยาศาสตร์ " Mimusops elengi "
    สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ได้พระราชทานพันธุ์ไม้ "พิกุล" เพื่อปลุกเป็นไม้มงคลประจำจังหวัดลพบุรี เนื่องจากในจังหวัดลพบุรีมีต้นพิกุลโบราณอายุเก่าแก่ของจังหวัดอยู่บริเวณวัดไลย์ ตำบลเขาสมอคอน อำเภอท่าวุ้ง จังหวัดลพบุรี นอกจากนั้น ยังสามารถพบเห็นต้นพิกุลขนาดใหญ่ในบริเวณวัดต่าง ๆ ในท้องที่ที่ได้ตั้งมานานแล้วเช่นเดียวกัน
  • แหล่งท่องเที่ยวในจังหวัดลพบุรี

1.พระนารายณ์ราชนิเวศน์ หรือที่ชาวลพบุรีเรียกว่า"วังนารายณ์" สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2209 ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช โดยทรงสร้างเมืองลพบุรีให้สวยงาม มั่นคงแข็งแรง เสมือนราชธานีแห่งที่สอง พระองค์ทรงโปรดพระราชวังแห่งนี้มาก ตามประวัติศาสตร์บันทึกไว้ว่าในปีหนึ่ง ๆ พระองค์เสด็จมาประทับอยู่ที่เมืองลพบุรีถึง 8-9 เดือน ปัจจุบันนี้ พระนารายราชนิเวศน์ไดเหลือร่องรอยความงดงามของอาคารไว้ให้คนรุ่นหลังได้ชม โดยภายในเขตพระราชฐานแบ่งออกเป็น 3 ส่วน มีอาคารและสิ่งก่อสร้างที่สำคัญ ดังนี้

1.1 พระที่นั่งสุทธาสวรรค์ เป็นเขตพระราชฐานชั้นใน เป็นสถานที่ซึ่งสมเด็จพระนารายณ์มหาราชเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2231 ปัจจุบันเหลือร่องรอยน้อยกว่าพระที่นั่งอื่น ๆ เพราะในสมัยต้นรัตนโกสินทร์มีการรื้อพระที่นั่งองค์นี้เพื่อเอาอิฐไปสร้างวัดสระเกศ

1.2 พระที่นั่งจันทรพิศาล เป็นสถานที่ซึ่งสมเด็จพระนารายณ์มหาราชใช้ในการออกว่าราชการ แต่หลังรัชสมัยของพระองค์ พระที่นั่งแห่งนี้ได้ถูกทอดทิ้งจนชำรุดปรักหักพัง ส่วนอาคารที่เห็นในปัจจุบันเป็นอาคารที่ได้มีการซ่อมแซมบูรณะขึ้นใหม่ในสมัยสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในปี 2399

1.3 พระที่นั่งดุสิตสวรรค์ธัญมหาปราสาท เป็นพระที่นั่งท้องพระโรงสำหรับสมเด็จพระนารายณ์มหาราชเสด็จออกต้อนรับคณะทูตานุทูตจากต่างประเทศ องค์พระที่นั่งนี้แบ่งออกเป็นสองส่วน คือ ส่วนหน้าเป็นมุขยื่นออกมาใช้เป็นท้องพระโรง ชาวฝรั่งเศสได้บันทึกถึงความโอ่อ่าของท้องพระโรงนี้ว่าฝาผนังประดับด้วยกระจกเงาซื้อมาจากฝรั่งเศส ส่วนเพดานนั้นประดับด้วยไม้แกะสลักปิดทองประดับกระจก และส่วนหลังของพระที่นั่งเป็นห้องสี่เหลี่ยม ซึ่งแต่เดิมมีหลังคาทรงมณฑปยกพื้นสูง 2 ชั้น เจาะผนังด้านหน้าให้เป็นสีหบัญชรเพื่อให้สมเด็จพระนารายณ์มหาราชปรากฏพระองค์ต่อผูคอยเฝ้าอยู่ในท้องพระโรง

1.4 หมู่พระที่นั่งพิมานมงกุฎ สร้างในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นลักษณะคล้ายหมู่พระมณเฑียร คือมีพื้นที่ใช้สอยประโยชน์ทุกอย่างอยู่ภายใน คือ ห้องบรรทม ท้องพระโรง ห้องเสวยพระกระยาหาร ห้องทรงพระอักษร ห้องเก็บอาวุธ แบบของสถาปัตยกรรมของหมู่พระที่นั่งองค์นี้เป็นแบบตะวันตก แต่หลังคามุงกระเบื้องกาบูแบบจีน

1.5 ตึกพระประเทียบ เป็นอีกตึกหนึ่งที่สร้างในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีทั้งหมดแปดหลัง เรียงเป็นสองแถวหลังหมู่พระที่นั่งพิมานมงกุฎ เป็นเขตพระราชฐานชั้นในของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ใช้เป็นที่พักของข้าราชการฝ่ายในผู้ตามเสด็จ

1.6 ตึกสิบสองท้องพระคลัง เป็นอาคารลักษณะคล้ายโรงเก็บของ คือมีหน้าต่างน้อยและเป็นตึกแถวยาวสร้างเรียงชิดติดกันมีถนนแล่นกลาง รวมทั้งหมดมี 12 หลัง คงใช้เป็นสถานที่เก็บสินค้า

1.7 ตึกพระเจ้าเหา เป็นหอพระประจำพระราชวัง และชื่อพระเจ้าเหาคงเป็นชื่อพระพุทธรูปสำคัญที่ประดิษฐานบนฐานชุกชี รอบตึกมีกำแพงแก้วเตี้ยกันอาณาเขตให้เป็นสัดส่วนและเจาะช่องโค้งเล็ก ๆ ไว้เป็นที่วางตะเกียง ในปลายรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช พระเพทราชาได้ใช้ตึกนี้เป็นที่ว่าราชการยึดอำนาจ

1.8 ตึกเลี้ยงรับแขกเมือง ตั้งอยู่กลางอุทยาน รอบตึกมีสระน้ำล้อมรอบสามด้าน ในสระน้ำเดิมมีน้ำพุพุ่งยี่สิบจุด สมเด็จพระนารายณ์มหาราชพระราชทานอาหารเพื่อเลี้ยงรับแขกเมือง ณ อาคารหลังนี้

1.9 โรงช้างหลวง ตั้งเรียงเป็นแถวชิดกำแพง ที่เหลือร่องรอยให้เห็นมี 10 โรง ช้างในโรงช้างนี้คงเป็นช้างหลวงหรือช้างสำคัญที่ได้รับการคัดเลือกให้เป็นช้างทรงของสมเด็จพระนารายณ์มหาราชหรือเจ้านายและขุนนางสำคัญ

1.10 ถังเก็บน้ำประปา เป็นที่เก็บกักน้ำ ตรงพื้นจะมีท่อน้ำดินเผาฝังอยู่เป็นจำนวนมาก เพื่อจ่ายน้ำไปทั่วเขตพระราชฐาน น้ำที่นำมาเก็บกักไว้ในอ่างเก็บน้ำนี้ เป็นน้ำซึ่งไหลมาตามท่อดินเผาจากอ่างซับเหล็ก

2. วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ตั้งอยู่ตรงข้ามสถานีรถไฟจังหวัดลพบุรี เป็นวัดเก่าแก่ในสมัยโบราณและได้รับการบูรณะปฏิสังขรณ์สืบมาหลายยุคหลายสมัย ศิลปกรรมที่ปรากฏจึงมีความแตกต่างกัน แต่สิ่งหนึ่งซึ่งมีความสวยงามอลังการณ์มากคือ พระปรางค์ประธาน โดยองค์ปรางค์ก่อด้วยศิลาแลงโบกปูน มีเครื่องประดับเป็นพระพุทธรูปและพุทธประวัติ อายุประมาณ พ.ศ. 1800

3. บ้านหลวงรับราชทูตหรือบ้านวิชาเยนทร์ ตั้งอยู่บนถนนวิชาเยนทร์ เป็นบ้านที่สมเด็จพระนารายณ์มหาราชใช้รับรองราชทูตต่างประเทศที่มาเข้าเฝ้า และต่อมามีชาวกรีกชื่อ คอนสแตนติน ฟอลคอน ได้เข้ามารับราชการและได้รับความดีความชอบ ทรงแต่งตั้งเป็น "เจ้าพระยาวิชาเยนทร์" และได้พระราชทานที่พักให้ทางด้านทิศตะวันตกของบ้านหลวงรับราชทูต ลักษณะของสถาปัตยกรรมบ้านหลวงรับราชทูตบางหลังเป็นยุโรปอย่างแท้จริง โดยเป็นสถาปัตยกรรมแบบเรอเนสซองส์ซึ่งแพร่หลายในสมัยนั้น นอกจากนั้นในส่วนของอาคารบางหลังยังเป็นการผสมผสานกันของสถาปัตยกรรมแบบไทยและสถาปัตยกรรมแบบตะวันตก ซึ่งมีความสวยงามมาก

4. เทวสถานปรางค์แขก เป็นโบราณสถานที่มีอายุเก่าแก่ที่สุดของลพบุรี ตั้งอยู่ใกล้กับพระนารายณ์ราชนิเวศน์ เป็นปรางค์ก่อด้วยอิฐ 3 องค์ ไม่มีฉนวนเชื่อมต่อกัน เป็นศิลปเขมรแบบพะโค อายุราวพุทธศตวรรษที่ 15 (พ.ศ. 1425-1536)

5. พระปรางค์สามยอด ตั้งอยู่ด้านทิศตะวันตกของทางรถไฟใกล้กับศาลพระกาฬ ลักษณะเป็นปรางค์เรียงต่อกัน 3 องค์ มีฉนวนทางเดินเชื่อมต่อกัน ปรางค์องค์กลางสูงประมาณ 21.5 เมตร เป็นศิลปะเขมรแบบบายน มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 18 ก่อด้วยศิลาแลงและตกแต่งลวดลายปูนปั้นที่สวยงามพระปรางค์สามยอดนี้เดิมคงเป็นเทวสถานของขอมในพุทธศาสนาลัทธิมหายาน ต่อมาได้ดัดแปลงเป็นเทวสถานโดยมีฐานศิวลึงค์ปรากฎอยู่ในองค์ปรางทั้ง 3 องค์ จนกระทั่งถึงรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ได้บูรณะปฏิสังขรณ์ให้เป็นวัดในพระพุทธศาสนา แล้วสร้างพระวิหารก่อด้วยอิฐ ลักษณะสถาปัตยกรรมแบบอยุธยาผสมแบบยุโรปในส่วนของประตูและหน้าต่าง ภายในวิหารประดิษฐานพระพุทธรูปหินทรายปางมารวิชัยศิลปะแบบอยุธยาตอนต้น

6. ศาลพระกาฬ ตั้งอยู่ริมทางรถไฟด้านทิศตะวันออก เดิมเรียกว่า "ศาลสูง" เป็นเทวสถานเก่าของขอมสร้างด้วยศิลาแลงเรียงซ้อนกันเป็นฐานสูง มีลักษณะเป็นปรางค์เดี่ยวขนาดใหญ่ ผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมจตุรัสมีมุขยื่นด้านหน้า มีบันไดขึ้นลง 4 ด้าน เรือนธาตุหรืองค์ปรางค์พังหมดแล้ว อายุประมาณต้นพุทธศตวรรษที่ 16 มีทับหลังสลักรูปพระนารายณ์บรรทมสินธุ์ ทำด้วยศิลาทราย 1 แผ่น อายุราวพุทธศตวรรษที่ 17 วางอยู่ติดฝาผนังวิหารหลังเล็กชั้นบน และยังพบหลักศิลาจารึกแปดเหลี่ยมจารึกอักษรมอญโบราณด้วย ด้านหน้าเป็นศาลาที่สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2494 โดยสร้างทับบนรากฐานเดิมในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ภายในวิหารประดิษฐานพระรูปประติมากรรมลอยตัว 4 กร ไม่มีเศียร อาจจะเป็นเทวรูปพระนารายณ์ศิลปะแบบลพบุรี หรือรูปพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร ภายหลังมีผู้นำเศียรพระพุทธรูปศิลาทรายสมัยกรุงศรีอยุธยามาสวมต่อไว้ให้เป็นที่เคารพสักการะของประชาชนทั่วไป นอกจากนี้แล้ว ที่ศาลพระกาฬยังมีสิ่งที่น่าสนใจอีกอย่างหนึ่ง คือฝูงลิงซึ่งมีอยู่มากกว่า 300 ตัว กล่าวกันว่าเดิมบริเวณโดยรอบศาลพระกาฬร่มรื่น เต็มไปด้วยต้นกร่างขนาดใหญ่ มีฝูงลิงอาศัยมากมาย

7. วัดเสาธงทอง ตั้งอยู่บนถนนฝรั่งเศส ซึ่งตัดเชื่อมระหว่างพระนารายณ์ราชนิเวศน์กับบ้านหลวงรับราชทูต มีโบราณสถานที่น่านสนใจคือ พระวิหาร ซึ่งเดิมเป็นที่ประกอบพิธีทางศาสนาอิสลามของชาวเปอร์เซีย นอกจากนั้นยังมีตึกปิจู ตึกคชสารหรือตึกโคระส่าน เป็นตึกเก่าสันนิษฐานว่าใช้เป็นที่พำนักแขกเมืองและราชทูตต่างประเทศชาวเปอร์เซีย ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช

8. ศาลหลักเมืองหรือศาลลูกศร ตั้งอยู่บนถนนสายริมน้ำหลังวัดปืนใหญ่ ใกล้กับบ้านวิชาเยนทร์ ตัวศาลาเป็นตึกเล็ก ๆ มีเนื้อที่ประมาณ 12 ตารางเมตร มีแท่งหินแท่งหนึ่งโผล่เหนือระดับพื้นดินขึ้นมาสูงประมาณ 1 เมตร เป็นศาลเจ้าหลักเมืองโบราณที่เรียกว่า ศาลลูกศร

9. วัดนครโกษา ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของสถานีรถไฟลพบุรีด้านทิศตะวันออก ใกล้กับศาลพระกาฬ ลักษณะเป็นเจดีย์องค์ใหญ่สมัยทวารวดี พระปรางค์สมัยลพบุรี อายุราวพุทธศตวรรษที่ 17 อยู่ด้านหน้า คำว่า "นครโกษา" มีผู้สันนิษฐานว่า เจ้าพระยาโกษาธิบดี (เหล็ก) ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เป็นผู้บูรณะ จึงเรียกชื่อวัดว่า "วัดนครโกษา" ตามราชทินนาม

10. วัดสันเปาโล ตั้งอยู่บนถนนร่วมมิตร สร้างขึ้นในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เป็นวัดของบาทหลวงเยซูอิต มีหอดูดาวแปดเหลี่ยม สูง 3 ชั้น สร้างแบบเดียวกับหอดูดาวที่ประเทศฝรั่งเศส ใช้เป็นที่สังเกตปรากฎการณ์ทางดาราศาสตร์ กล่าวได้ว่า เป็นหอดูดาวแห่งแรกของประเทศไทย และเป็นหอดูดาวที่ทันสมัยแห่งแรกของทวีปเอเซีย คำว่า "สันเปาโล" คงเพี้ยนมาจากคำว่า "เซ็นตปอล" หรือ "เซ็นทเปาโล" ชาวบ้านมักเรียกว่า ตึกสันเปาหล่อ

11. วัดมณีขลขัณฑ์ ตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันตกของตลาดท่าโพธิ์ สร้างขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สิ่งที่น่าสนใจ คือ พระเจดีย์ทรงแปลก ก่อเป็นเหลี่ยมสูงชะลูดขึ้นไป คล้ายกับเจดีย์เหลี่ยมสมัยเชียงแสน (ล้านนา) แต่ตรงมุมมีการย่อมุมไม้สิบสอง ทำเป็น 3 ขั้น มีซุ้มประตูยอดแหลมด้านข้างทั้ง 4 ด้านทุกชั้น นอกจากนี้ภายในวัดยังมีต้นโพธิ์ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเพาะเมล็ดและนำมาปลูกไว้

12. วัดตองปุ ตั้งอยู่ด้านหลังโรงเรียนพิบูลวิทยาลัย ในอดีตเป็นที่ชุมนุมกองทัพไทย ในวัดตองปุมีโบราณสถานและโบราณวัตถุที่น่าสนใจหลายอย่าง เช่น พระอุโบสถทรงไทยที่มีฐานอ่อนโค้ง วิหารมีลักษณะเป็นสถาปัตยกรรมแบบสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช คือ หน้าต่อและประตูเป็นช่องโค้งแหลม นอกจากนี้ยังมีเจดีย์ลักษณะคล้ายกับเจดีย์หลวงพ่อแสงวัดมณีชลขัณฑ์ แต่มีขนาดเล็กกว่า และยังเป็นโบราณวัตถุที่สำคัญเหลืออยู่เพียงชิ้นเดียวในเมืองไทย คือ ที่สรงน้ำพระโบราณ หรือที่เรียกกันว่า น้ำพุสรงน้ำพระเก็บรักษาไว้ที่วัดแห่งนี้

13. สวนสัตว์ลพบุรี ตั้งอยู่หลัง "โรงภาพยนตร์ทหารบก" สร้างเมื่อปี พ.ศ. 2483 สมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม มีบริเวณร่มรื่นกว้างขวาง มีสัตว์ต่าง ๆ มากมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นที่อยู่ของลิงอุรังอุตังชื่อดัง "ไมค์" และ "ซูซู" เหมาะแก่การพักผ่อนหย่อนใจ เปิดทุกวันตั้งแต่เวลา 08.00 น. - 17.30 น. ค่าเข้าชม ผู้ใหญ่ 10 บาท เด็ก 5 บาท

14. วัดชีป่าสิตาราม ตั้งอยู่ริมถนนนารายณ์มหาราช ตำบลทะเลชุบศร ไม่ปรากฎว่าสร้างในสมัยใด ภายในวัดมีเจดีย์ทรงระฆังศิลปะสมัยอยุธยา และมีการรักษาโรคด้วยการอบสมุนไพร และนวดแผนโบราณ โดยชมรมสมุนไพร โทร. (036) 612900 เปิดบริการระหว่างเวลา 08.00 น. - 16.00 น.

15. พระที่นั่งไกรสรสีหราช (พระที่นั่งเย็นหรือตำหนักทะเลชุบศร) ตั้งอยู่ที่ตำบลทะเลชุบศร ห่างจากตัวเมืองประมาณ 4 กม. พระที่นั่งแห่งนี้เป็นที่ประทับในฤดูร้อนของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ณ เมืองลพบุรี องค์พระที่นั่งตั้งอยู่บนเกาะกลางทะเลชุบศร มีเขื่อนหินถือปูนล้อมรอบ ลักษณะทางสถาปัตยกรรมเป็นพระที่นั่งชั้นเดียว ก่ออิฐถือปูน สภาพปัจจุบันคงเหลือกำแพงและผนัง ส่วนทะเลชุบศรในสมัยโบราณนั้นเป็นที่ลุ่มมีน้ำขังอยู่ตลอด สมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ทำทำนบใหญ่กั้นน้ำไว้เพื่อชักน้ำจากทะเลชุบศรผ่านท่อน้ำดินเผาไปยังเมืองลพบุรี ปัจจุบันยังเห็นเป็นสันดินปรากฏอยู่ นอกจากนั้น พระที่นั่งเย็นยังเป็นสถานที่มีความสำคัญทางดาราศาสตร์ สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ทรงใช้เป็นที่สำรวจจันทรุปราคา เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2228 และทอดพระเนตรสุริยุปราคา เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2231 ร่วมกับคณะทูตและบาทหลวงจากประเทศฝรั่งเศสที่พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ส่งมาเจริญสัมพันธไมตรี

16. พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ตั้งอยู่บนถนนนารายณ์มหาราช ที่กลางวงเวียนเทพสตรีมีพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนารายณ์มหาราช เป็นรูปปั้นในท่าประทับยืน ผินพระพักตร์ไปทางทิศตะวันออก พระหัตถ์ขวาทรงพระแสงดาบ ทอดพระบาทซ้าออกมาข้างหน้าเล็กน้อย ที่ฐานพระบรมราชานุสรณ์ได้จารึกพระเกียรติคุณของพระองค์ไว้

17. วัดยาง ณ รังสี ตั้งอยู่ตำบลตะลุง ริมฝั่งแม่น้ำลพบุรี ด้านทิศตะวันออก ด้านหน้าติดทางหลวงสายลพบุรี - บางปะหัน อยู่ห่างจากตัวเมืองไปทางทิศใต้ประมาณ 9 กม. เดิมเรียกว่า วัดพญายาง เนื่องจากภายในบริเวณวัดมีต้นยางยักษ์ใหญ่ตระหง่านเป็นสัญลักษณ์ท่ามกลางดงต้นยางสันนิษฐานว่าเดิมเป็นวัดโบราณอยู่กลางป่า น่าจะอายุตั้งแต่สมัยละโว้ เพราะมีประติมากรรมหินทรายประดิษฐานอยู่ภายในอุโบสถของวัด คือ พระพุทธรูปปางนาคปรก 2 องค์ พระพุทธรูปปางมารวิชัย 1 องค์ และพระพุทธรูปปางสมาธิ 1 องค์ เป็นเนื้อหินทราย และหนุมาน (หินสีเขียว) รูปทรงเป็นแบบสมัยของเรืองอำนาจ ต่อมาในสมัยกรุงศรีอยุธยา ได้มีการบูรณะปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่ และเปลี่ยนชื่อใหม่ถึง 2 ครั้ง เป็นวัดยางศรีสุธรรมาราม แล้วเป็นวัดยาง ณ รังสี จนถึงปัจจุบันนี้

18. พิพิภัณฑ์เรือพื้นบ้าน ตั้งอยู่ที่ศาลาการเปรียญหลังเก่าภายในวัดยาง ณ รังสี เป็นศาลาการเปรียญไม้ สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2470 ตั้งอยู่ริมแม่น้ำลพบุรี ศาลาหลังนี้ได้รับรางวัลอนุรักษ์สถาปัตยกรรมดีเด่น ในปี พ.ศ. 2536 ลักษณะเป็นสถาปัตยกรรมแบบศาลาวัดในชนบทของภาคกลางในประเทศไทย ทั้งนี้ผู้สร้างจำลองแบบมาจากภาพศาลาที่อยู่ด้านหลังธนบัตรใบละ 1 บาท ที่พิมพ์ในสมัยรัชกาลที่ 8 ซึ่งนับวันจะหาดูได้ยาก ต่อมาได้มีการบูรณะซ่อมแซมแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2531 โครงการพิพิธภัณฑ์เรือพื้นบ้านจึงได้เกิดขี้นและนับเป็นพิพิธภัณฑ์เรือพื้นบ้านแห่งแรกของประเทศไทย การเดินทาง ใช้เส้นทางสายลพบุรี - บางปะหัน (ถนนเลียบคลองชลประทาน) จนถึง กม.ที่ 9 วัดจะอยู่ด้านขวามือ มีรถโดยสารประจำทางสายลพบุรี-บ้านแพรก ออกจากสถานีขนส่ง ระหว่างเวลา 05.30 - 17.30 น.

19. วัดเขาพระงาม หรือ วัดสิริจันทรนิมิต ตั้งอยู่ในเขตตำบลเขาพระงาม เดิมเป็นวัดร้าง สร้างมาแต่สมัยใดไม่ปรากฎ ต่อมาปี พ.ศ. 2455 เจ้าอาวาสวัดบรมนิวาสพระนคร กับพระสงฆ์ 2 รูป ได้ธุดงค์มาพักที่วัดนี้แล้วเห็นว่ามีภูมิประเทศดี จึงสร้างพระพุทธรูปขึ้นที่ไหล่เขา ขนาดหน้าตักกว้าง 11 วา สูงจากหน้าตักถึงยอดพระเศียร 18 วา เส้นพระศกทำด้วยไหกระเทียมและถวาพระนามว่า "พระพุทธนฤมิตรมัธยมพุทธกาล" จนถึงทุกวันนี้ การเดินทางใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 1 (ลพบุรี - โคกสำโรง) ระยะทางประมาณ 12 กม. จากศาลากลางจังหวัดลพบุรี เมื่อเดินทางเข้าใกล้บริเวณวัด จะแลเห็นพระพุทธรูปสีขาว เด่นตระหง่านอยู่บนเชิงเขา มีรถโดยสารประจำทางสายลพบุรี-เขาพระงาม-ศูนย์การบิน ผ่านหน้าวัด บริการระหว่างเวลา 06.00 - 20.30 น. ต้นทางอยู่ที่วัดพรหมมาสตร์

20. หอไตรวัดท่าแค อยู่ภายในวัดท่าแค เป็นหอไตรที่เก็บพระธรรมของชุมชน "ลาวหล่ม" ซึ่งโดยปกติจะสร้างบนเสาสูงในสระน้ำ แต่หอไตรที่วัดท่าแคนี้ มีลักษณะแปลกกว่าที่อื่น คือ สร้างเป็นเรือนไม้ ตั้งอยู่นนเสาสูง ทรงจตุรมุข มีหลังคาชั้นทรงจตุรมุข และหลังคารูปหอคอยอยู่กึ่งกลาง เลียนแบบหลังคาทรวงปราสาท ตกแต่งหลังคาและซุ้มระเบียงแผ่นไม้แกะสลักแบบตะวันตก ฝาผนังเป็นฝาไม้พับได้แบบจีน เรียกว่า ฝาเฟี้ยม แกะสลักลวดลายแบบตะวันตก บางส่วนติดกระจกสี หอไตรหลังนี้จึงมีลักษณะสถาปัตยกรรมผสมผสานกันระหว่างไทยและตะวันตก การเดินทางใช้เส้นทางเลียบคลองชลประทาน (สะพาน 6 - อำเภอบ้านหมี่) จนถึงสถานีรถไฟท่าแคเลี้ยวขวาข้ามสะพานประมาณ 1 กม. วัดท่าแคอยู่ทางด้านซ้ายมือ นอกจากนี้ยังมีรถโดยสารประจำทางสายลพบุรี - วัดท่าแค บริการระหว่างเวลา 06.00 - 18.00 น.

21. อ่างเก็บน้ำซับเหล็ก อยู่ในเขตตำบลโคกตูม เป็นอ่างเก็บน้ำธรรมชาติ มีมาแต่โบราณ ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ชาวฝรั่งเศสและอิตาเลี่ยน เป็นผู้วางท่อส่งน้ำดินเผาจากอ่างซับเหล็กเข้าไปในเขตพระราชฐาน และในสมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม มีการสร้างเขื่อนดินกักน้ำเพื่อเก็บไว้ใช้ในการเกษตร ต่อมามีการสร้างถนนรอบอ่างเก็บน้ำ มีศาลาชมทิวทัศน์ สามารถมองเห็นเขาจีนแล ทัศนียภาพสวยงามมาก

22. วัดถ้ำพระธาตุ ตั้งอยู่บริเวณเชิงเขาเก้าชั้น ซอย 3 ตำบลโคกตูม มีเนื้อที่ประมาณ 18 ไร่ เมื่อปี พ.ศ. 2497 มีพระธุดงค์รูปหนึ่งมาอาศัยอยู่ภายในถ้ำ ซึ่งมีหินงอกหินย้อยงดงามมาก สภาพภายในถ้ำมีก้อนหินขนาดต่าง ๆ เต็มพื้นถ้ำ เมื่อนำมาทุบให้แตกจะพบแร่ธาตุขนาดเท่าเมล็ดข้าวสาร จึงทดลองนำไปใส่ในน้ำส้มสายชู เกิดฟองฟู่ ท่านจึงตั้งชื่อถ้ำนี้ว่า ถ้ำพระธาตุ นอกจากนี้ยังพบเขี้ยวเสือ กระดูกสะโพกช้าง ภายในถ้ำด้วย ต่อมาเมื่อมีการสร้างวัด ได้ก่อสร้างบันไดสำหรับขึ้นไปยังถ้ำ 236 ขั้น

23. เขาเก้าชั้น อยู่ด้านหลังวัดถ้ำพระธาตุ มีเนื้อที่ประมาณ 10 ตารางกิโลเมตร จากคำบอกเล่าของพรานเก่า สันนิษฐานว่า ตั้งชื่อตามหมู่บ้านเก้าชั้น ซึ่งเป็นหมู่บ้านที่อพยพมาจากอำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี สภาพป่าเขาเก้าชั้นยังคงเป็นป่าทึบ ประกอบด้วยต้นประดู่ มะค่าโมง ตะแบก งิ้ว เป็นส่วนใหญ่ มีหนองน้ำใหญ่ 3 แห่ง มีสัตว์ป่าที่ชาวบ้านเคยพบเห็น คือ ลิงก้นแดง เสือปลา เม่น หมูป่า เก้ง กระจง อีเห็น และนกนานาชนิด

สถานที่ท่องเที่ยวในเขตอำเภอท่าวุ้ง

1. วัดไลย์ อยู่ริมน้ำบางขาม ตำบลเขาสมอคอน ที่วัดไลย์นี้ มีรูปพระศรีอาริย์ ซึ่งเป็นของสำคัญที่มีผู้คนนับถือกันมาแต่โบราณ นอกจากนี้ยังมีสิ่งที่น่าสนใจอีกหลายอย่าง เช่น ศาลาริมน้ำซึ่งรัชกาลที่ 5 เสด็จประพาสวัดไลย์ทางน้ำ วิหารเก้าห้อง สถาปัตยกรรมแบบอยุธยาตอนต้น คือ มีลักษณะเจาะช่องผนังแทนหน้าต่าง ภายในมีพระประธานขนาดใหญ่ปางมารวิชัย ลงรักปิดทอง มีซุ้มเรือนแก้วแบบพระพุทธชินราช จังหวัดพิษณุโลก ที่ด้านหน้าและด้านหลังของพระวิหาร มีภาพปูนปั้นเรื่องทศชาติ และเรื่องปฐมสมโพธิ ซึ่งนับได้ว่าเป็นภาพประติมากรรมฝาผนังขนาดใหญ่ที่มีความสำคัญยิ่งชิ้นหนึ่งของชาติ การเดินทาง ใช้เส้นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 311 (ลพบุรี-สิงห์บุรี) แล้วเลี้ยวขวาเข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 3028 ตรงสี่แยกไฟแดง (กม.ที่ 18) เข้าไปอีกระยะทางประมาณ 6 กม. มีรถโดยสารประจำทางผ่านหลายสาย คือ สายลพบุรี-ท่าโขลง, สายโคกสำโรง-บ้านหมี่ และสายสิงห์บุรี-บ้านหมี่

2. เขาสมอคอน ตั้งอยูเขตตำบลเขาสมอคอน เป็นเทือกเขาที่มีความสำคัญด้านประวัติศาสตร์ มีตำนานเก่าแก่เกี่ยวกับเขาสมอคอนอยู่หลายเรื่องที่น่าสนใจ จากหนังสืออักขรานุกรมภูมิศาสตร์ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน กล่าวไว้ว่า "เขาสมอคอน เป็นที่อยู่ของสุกกทันตฤาษี อาจารย์ของพระเจ้ารามคำแหงมหาราช และพระยางำเมือง กษัตริย์เมืองพะเยา ซึ่งน่าจะเป็นราชวงศ์หนองแส โยนก เชียงแสน ทั้ง 2 พระองค์ เพราะเมื่อทรงพระเยาว์ ได้เสด็จมาศึกษาศิลปวิทยาที่เขาสมอคอนนี้ ซึ่งสมัยนั้นเป็นกษัตริย์เมืองลพบุรีก็เป็นราชวงศ์เดียวกัน..."

วัดที่สำคัญบนเทือกเขานี้ 4 วัดด้วยกัน คือ วัดบันไดสามแสน มีโบราณสถานคือ วิหารอยู่หน้าถ้ำและพระอุโบสถเก่า สถาปัตยกรรมสมัยอยุธยา วัดถ้ำตะโกพุทธโสภา มีพระอุโบสถสร้างเมื่อปี พ.ศ. 2457 ภายในมีจิตรกรรมฝาผนังเรื่องพุทธประวัติ ที่วิหารมีจิตรกรรมฝาผนัง ศิลปะแบบพม่า และเจดีย์ทรงเรือสำเภา วัดถ้ำช้างเผือก บริเวณเชิงเขามีทำนบดินและอ่างเก็บน้ำโบราณ ประมาณว่าสร้างในพุทธศตวรรษที่ 18 ร่วมสมัยกับอ่างเก็บน้ำและทำนบดินที่ตำบลทะเลชุบศร วัดเขาสมอคอน มีเจดีย์ย่อมุมไม้สิบสอง ที่ทำบัวกลุ่มรองรับองค์ระฆังเป็นเจดีย์แบบนิยมของสมัยอยุธยา จนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ และใต้เจดีย์มีถ้ำเล็ก ๆ เรียกว่า ถ้ำพระนอน ภายในมีพระพุทธไสยาสน์ประดิษฐานอยู่ รัชกาลที่ 5 เคยเสด็จประพาสเมื่อปี พ.ศ. 2448 การเดินทาง ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 311 (สายลพบุรี-สิงห์บุรี) ถึง กม.ที่ 18 เลี้ยวขวาเข้าสู่เส้นทางหลวงหมายเลข 3028 ตรงสี่แยกไฟแดงเข้าไปอีกประมาณ 12 กม. มีรถโดยสารประจำทางผ่าน ทางเข้าเขาสมอคอนบริเวณตลาดท่าโขลงหลายสาย คือ สายลพบุรี-ท่าโขลง สายโคกสำโรง-บ้านหมี่ และสายสิงห์บุรี-บ้านหมี่ หลังจากนั้นต้องเหมารถสองแถวหรือรถมอเตอร์ไซด์รับจ้างเข้าไปจากปากทาง

สถานที่ท่องเที่ยวในเขตอำเภอบ้านหมี่

1. วัดธรรมมิการาม หรือ วัดค้างคาว เป็นวัดเก่าแก่ตั้งอยู่ริมน้ำบางขามด้านฝั่งตะวันตกของอำเภอบ้านหมี่ ใกล้ทางเข้าวัดไลย์ (อำเภอท่าวุ้ง) เดิมมีค้างคาวอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก สิ่งที่น่าสนใจ คือ ภาพเขียนที่ผนังโบสถ์เรื่องพุทธประวัติ ทั้ง 4 ด้าน มีลักษณะการเขียนภาพแบบตะวันตกเข้ามาปะปนอยู่บ้าง เช่น การแรเงาต้นไม้ เป็นภาพเขียนในสมัยรัชการที่ 4 ฝีมือช่างพื้นบ้านที่งดงามมาก การเดินทางใช้เส้นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 311 (สายลพบุรี-สิงห์บุรี) แล้วเลี้ยวขวาเข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 3028 ตรง กม.ที่ 18 (เส้นทางเดียวกับทางเข้าวัดไลย์)

2. วัดเขาวงกต ตั้งอยู่ที่เชิงเขาสนามแจง ห่างจากตัวอำเภอบ้านหมี่ ประมาณ 4 กม. สถานที่น่าชมของวัดนี้ คือ ถ้ำค้างคาว ซึ่งอยู่บนไหล่เขาด้านเหนืออุโบสถ เป็นถ้ำค้างคาวที่ใหญ่ที่สุดในลพบุรี ภายในถ้ำมีค้างคาวนับล้าน ๆ ตัว แต่ละปีมูลค้างคาวทำรายได้ให้วัดเป็นจำนวนมาก ช่วงเวลา 18.00 น. ค้างคาวจะพากันบินกรูออกจากปากถ้ำอย่างมืดฟ้ามัวดิน เพื่อออกหากิน และเห็นเป็นสายยาวคล้ายกับควันที่พุ่งออกมาจากปล่องโรงสีไฟ เป็นเวลานานประมาณ 1-2 ชม. จึงจะหมด การเดินทาง ใช้เส้นทางหมายเลข 311 (ลพบุรี-สิงห์บุรี) เช่นเดียวกับวัดท้องคุ้ง จะถึงก่อนเข้าตัวอำเภอบ้านหมี่ ประมาณ 4 กม. มีบริการรถโดยสารประจำทางสายลพบุรี-บ้านหมี่ ลงรถที่สถานีขนส่งบ้านหมี่ แล้วเหมารถรับจ้างจากตลาดบ้านหมี่เข้าไปยังวัดอีกครั้ง

สถานที่ท่องเที่ยวในเขตอำเภอโคกสำโรง

เขาวงพระจันทร์ ตั้งอยู่ในเขตตำบลห้วยโป่ง ห่างจากตัวเมืองลพบุรีประมาณ 28 กม. ตามเส้นทางพหลโยธิน ตรงหลักกิโลเมตรที่ 178 มีทางแยกเลี้ยวขวาอีก 5 กม. จะถึงเขาวงพระจันทร์บริเวณเชิงเขาเป็นที่ตั้งของวัดเขาวงพระจันทร์ มีทางบันไดขึ้นสู่ยอดเขาประมาณ 3,890 ขั้น ยอดเขานี้สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางประมาณ 650 เมตร ได้ชื่อว่าเป็นภูเขาที่สูงที่สุดในลพบุรี ช่วงเทศกาลเดือน 3 ประชาชนทั้งใกล้และไกลจะหลั่งไหลกันมานมัสการรอยพระพุทธบาท และพระพุทธรูปบนยอดเขานี้อย่างเนืองแน่น การเดินทางไปยังเขาวงพระจันทร์ สามารถเดินทางโดยรถโดยสารประจำทางจากสถานีขนส่งลพบุรี สายลพบุรี-โคกสำโรง ผ่านทางหน้าวัดและเหมารถรับจ้างจากปากทางเข้าวัดเข้าไปอีกประมาณ 5 กม.

สถานที่ท่องเที่ยวในเขตอำเภอพัฒนานิคม

1.ทุ่งทานตะวัน อยู่ในเขตอำเภอเมืองลพบุรี ชัยบาดาลและอำเภอพัฒนานิคม โดยมีพื้นที่ปลูกประมาณ 200,000-300,000 ไร่ โดยบริเวณที่ปลูกมากได้แก่ บริเวณเขาจีนแล ใกล้วัดเวฬุวัน ตำบลโคกตูม อำเภอเมืองลพบุรี การเดินทางใช้เส้นทางถนนพหลโยธิน (ลพบุรี-สระบุรี) ถึงกิโลเมตรที่ 4 เลี้ยวซ้ายไปตามทางหลวงหมายเลข 3017 (ทางไปตำบลโคกตูม) ระยะทางประมาณ 8 กม. จะถึงทางเข้าวัดเวฬุวัน (ด้านซ้ายมือ) เลี้ยวเข้าไปอีกประมาณ 2 กม. ท่านจะได้สัมผัสกับทุ่งทานตะวันเหลืองอร่ามสุดลูกหูลูกตา นอกจากนั้นตามเส้นทางที่จะไปอำเภอพัฒนานิคมจะมีการปลูกทานตะวันตลอดเส้นทาง

2.เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ เป็นโครงการพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ตั้งอยู่ที่ตำบลหนองบัว อำเภอพัฒนานิคม เป็นเขื่อนดินที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย มีทัศนียภาพอันสวยงาม และยังเป็นที่ตั้งของ พิพิธภัณฑ์ลุ่มน้ำป่าสัก ซึ่งจัดแสดงเนื้อหาความรู้ด้านธรรมชาติและวัฒนธรรมในบริเวณพื้นที่อ่างเก็บน้ำ นอกจากนี้ ยังมีเส้นทางรถไฟตัดผ่านบริเวณอ่างเก็บน้ำเหนือเขื่อนหลายช่วง ทำให้นักท่องเที่ยวสามารถนั่งรถไฟชมทัศนียภาพอันสวยงามได้ด้วย

สถานที่ท่องเที่ยวในเขตอำเภอชัยบาดาล

1.สวนรุกขชาติน้ำตกวังก้านเหลือง ตั้งอยู่ที่หมู่ 4 ตำบลท่าดินดำ การเดินทางจากตัวเมืองลพบุรีใช้เส้นทางสายลพบุรี-โคกสำโรง (ทางหลวงหมายเลข 1) -ชัยบาดาล (ทางหลวงหมายเลข 205) ถึงบริเวณที่บรรจบกับทางหลวงหมายเลข 21 แล้วต่อเข้าทางหลวงหมายเลข 21 แล้วต่อเข้าทางหลวงหมายเลข 2089 ไปอำเภอท่าหลวงประมาณ 12 กม. เลี้ยวซ้ายเข้าตัวน้ำตกอีกประมาณ 7 กม. น้ำตกวังก้านเหลืองนี้ มีน้ำไหลตลอดทั้งปี เนื่องจากมีต้นน้ำเกิดจากตาน้ำใต้ดินขนาดใหญ่ ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออก ห่างจากบริเวณน้ำตกประมาณ 1.5 กม.

2.เขตห้ามล่าพันธุ์สัตว์ป่าเขาสมโภชน์ ตั้งอยู่ในท้องที่บางส่วนของตำบล 4 ตำบล คือ ตำบลซับตะเคียน ตำบลหนองยายโต๊ะ ตำบลบัวชุม และตำบลนาโสม มีเนื้อที่ประมาณ 13.504 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 8,440 ไร่ ได้รับการประกาศเป็นเขตห้ามล่าพันธุ์สัตว์ป่าเขาสมโภชน์ เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2538 เขตห้ามล่าพันธุ์สัตว์ป่าเขาสมโภชน์ เป็นเทือกเขาหินปูน มีลักษณะสูงชันยาวทอดตัวไปตามแนวทิศตะวันตกเฉียงใต้ มีถ้ำและหน้าผาเป็นจำนวนมาก มีที่ราบในหุบเขา 2 แห่ง และที่ราบบนเขา 1 แห่ง มีแหล่งน้ำซับกระจาย จึงเป็นป่าซับน้ำ ป่าต้นน้ำที่มีความสำคัญมาก นอกจากนี้ภายในบริเวณเขตห้ามล่าพันธุ์สัตว์ป่าเขาสมโภชน์ มีการค้นพบหลักฐานทางโบราณคดี กระจัดกระจายอยู่ทั่วไป โดยเฉพาะที่วัดถ้ำพรหมโลก ค้นพบขวานหินขัด ยุคสมัยหินตอนปลาย อายุราว 3,000 ปี ใบหอกสำริด ภาชนะดินเผาในยุคโลหะ อายุประมาณ 2,500 ปี พระพุทธรูปสลักด้วยไม้สมัยอยุธยาตอนปลาย หรือ สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น อายุราวพุทธศตวรรษที่ 23-24 เขตห้ามล่าพันธุ์สัตว์ป่าเขาสมโภชน์ มีสภาพป่าไม้และสัตว์ป่าที่สมบูรณื มีบริการการจัดเส้นทางการศึกษาธรรมชาติ อาทิ พรรณพืชชนิดต่าง ๆ นิเวศวิทยา ตลอดจนซากฟอสซิล อายุประมาณ 280 ล้านปี ซึ่งเป็นหลักฐานทางธรณีวิทยาสำคัญ ที่แสดงว่าบริเวณเทือกเขานี้ เคยเป็นไหล่ทวีป อยู่ใต้น้ำมาก่อน นอกจากนี้ยังมีสถานที่สำหรับปฏิบัติธรรมที่วัดเขาสมโภชน์ วัดถ้ำพรหมโลก และบริเวณใกล้วัดถ้ำพรหมโลกมีลานยุคหินผุดที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติให้ชมอีกด้วย

สถานที่ท่องเที่ยวในเขตอำเภอลำสนธิ

1.เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าซับลังกา ตั้งอยู่ในท้องที่ตำบลลำสนธิ ล้อมด้วยเทือกเขาเป็นรูปก้ามปู ด้านทิศตะวันออกถูกกั้นด้วยเทือกเขาพังเหย ทิศตะวันตกเป็นเขารวก สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 140-846 เมตร ความสำคัญของพื้นที่ คือ ป่าซับลังกามีสภาพสมบูรณ์ เป็นป่าต้นน้ำของแม่น้ำลำสนธิ และแหล่งอาหารของสัตว์ป่า ปัจจุบันยังมีเลียงผา ซึ่งเป็นสัตว์ป่าสงวนอาศัยอยู่

  • ของดีของฝากจากลพบุรี

1.ศูนย์รวมผ้ามัดหมี่
ผ้ามัดหมี่และสินค้าพื้นเมืองทุกชนิด
อาคารเฉลิมพระเกียรติ ถ.นารายณ์มหาราช บริเวณศาลากลางจังหวัดลพบุรี

2.ร้านดารณีไหมไทย
ผ้ามัดหมี่
201 - 203 ถ.สุระสงคราม อ.เมือง โทร.(036) 411736, 411262

3.ร้านธนกิจ
ผ้ามัดหมี่
162 หมู่ 6 ต.บ้านกล้วย อ.บ้านหมี่ โทร. (036) 471358, 471911

4.ศูนย์ศิลปาชีพประชาสุขสันต์
ผ้ามัดหมี่
84 หมู่ 4 ต.บ้านกล้วย อ.บ้านหมี่ โทร. (036) 471847

5.กลุ่มทอผ้าบ้านหมี่ (คุณวัฒนา มีมั่งคั่ง)
ผ้ามัดหมี่
80 หมู่ 1 ต.บ้านกล้วย อ.บ้านหมี่ โทร. (036) 471904

6.กลุ่มทอผ้าบ้านหมี่ (คุณณรงค์ ตางาม)
ผ้ามัดหมี่
36/1 หมู่ 1 (สระโบสถ์) ต.บ้านกล้วย อ.บ้านหมี่ โทร. (036) 471476

  • ศูนย์ผลิตภัณฑ์และจำหน่าย

1.อาหารพื้นเมือง "ประกอบจิตร์"
ปลาส้มฟัก หมูส้ม และของฝากจากลพบุรี
105 หมู่ 5 ต.บ้านกล้วย อ.บ้านหมี่ โทร. (036) 471545, 628825

2.แม่ลาปลาส้มฟัก
ปลาส้มฟักและของฝากจากลพบุรี
28/1 หมู่ 4 ต.บ้านกล้วย อ.บ้านหมี่ โทร. (036) 628667

3.แม่พลอย (คำพัน)
ปลาส้มฟัก หมูส้ม แหนมซี่โครงหมู
32 หมู่ 4 ต.บ้านทราย อ.บ้านหมี่ โทร. (036)628530

4.แม่น้อย
ปลาส้มฟัก
37/5 บ้านโพนทอง อ.บ้านหมี่ โทร. (036) 471902

5.ส้มฟักแม่พร
ปลาส้มฟัก
33/11 ตลาดบนเมือง อ.เมือง โทร. (036) 420457, 618605

6.ชมรมแม่บ้านพัน ปจว.
ไข่เค็มดินสอพอง
กองพันปฏิบัติการจิตวิทยา ศูนย์สงครามพิเศษ
ถ.นารายณ์มหาราช อ.เมือง โทร. (036) 611099

7.โรงงานน้ำพริกแม่ศรีรัตน์
น้ำพริกนานาชนิด
36/32 หมู่ 1 ตลาดชาญชัย ต.ลำนารายณ์
อ.ชัยบาดาล โทร. (036) 461743, 630157

8.โรงงานวรชัย
วุ้นน้ำมะพร้าว น้ำพริกเผาไข่เค็ม ดินสอพอง ของฝากจากลพบุรี
131 หมู่ 8 ต.ป่าตาล อ.เมือง โทร. (036) 413087, 420925

9.บ้านขนมถ้วยฟู (คุณบุญส่ง เกาเทียน)
ขนมถ้วยฟูน้ำตาลสด
27 หมู่ 5 ต.ท่าวุ้ง อ.ท่าวุ้ง โทร. (036) 481202

10.กลุ่มทำน้ำพริกหัวสำโรง (คุณเจริญ งามสม)
น้ำพริกเผา น้ำพริกปลาร้าสับ ฯลฯ
หมู่ 10 ต.หัวสำโรง อ.ท่าวุ้ง โทร. (036) 655096

11.ชมรมทองเหลืองบ้านท่ากระยาง
เครื่องทองเหลือง
168 หมู่ 1 ต.ทะเลชุบศร อ.เมือง (หลังวัดตองปุ) โทร. (036) 421469

12.ริมถนนพหลโยธิน สายลพบุรี - สระบุรี
ไข่เค็มดินสอพอง วุ้นน้ำมะพร้าว
บริเวณบ้านดงจำปา อำเภอเมือง

13.ริมถนนหมายเลข 311สายลพบุรี - สิงห์บุรี
ไข่เค็มดินสอพอง วุ้นน้ำมะพร้าว
บริเวณบ้านบางขันหมาก อ.ท่าวุ้ง

14. ฟาร์มเห็ดขจรวิทย์
เห็ดนานาชนิด ทั้งเห็ดสดและแปรรูป
71/1 หมู่ 1 ต.นิคมสร้างตนเอง อ.เมือง โทร. (036) 652442


เรียนเชิญท่องเที่ยวจังหวัดลพบุรี

hh.gif (6414 bytes)

รหัสไปรษณีย์

เมืองลพบุรี 15000
ยกเว้น
- ต.เขาพระงาม โคกกะเทียม ท่าแค หมู่ที่ 9
บางขันหมาก หมู่ที่ 11 15160
- ต.โคกตูม 15210
- ต.โก่งธนู 13240
โคกเจริญ 15250
โคกสำโรง 15120
ชัยบาดาล 15130
ยกเว้น
- ต.นาโสม 15190
- ต.ชัยบาดาล ม่วงค่อม มะกอกหวาน 15230
ท่าวุ้ง 15150
ยกเว้น
- ต.เขาสมอคอน 15180
ท่าหลวง 15230
บ้านหมี่ 15110
ยกเว้น
- ต.บ้านชี บางขาม บางพึ่ง หมู่ที่ 4-9 15180
พัฒนานิคม 15140
ยกเว้น
- ต.ห้วยขุนราม 18220
- ต.ช่องสาริกา ดีลัง 15220
ลำสนธิ 15190
ยกเว้น
- ต.เขาน้อย ซับสมบูรณ์ หมู่ที่ 4 15130
สระโบถส์ 15240
ยกเว้น
" - ต.มหาโพธิ หมู่ที่ 4, 7, 13 " 15250
หนองม่วง 15170

สถานที่น่าสนใจ

ข้อมูลแหล่งท่องเที่ยว

หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ (รหัสทางไกล 036)

ที่ว่าการอำเภอเมืองลพบุรี 411004
เทศบาลเมืองลพบุรี 411047
โรงพยาบาล ถนนพหลโยธิน 411250,411267
โรงพยาบาลอานันทมหิดล ถนนลพบุรี - บ้านแพรก 486011 - 5
โรงพยาบาลเบญจรมย์ ถนนลพบุรี - บ้านแพรก 412160
สถานีรถไฟ ตำบลทะเลชุบศร 411022
สำนักงานจังหวัดลพบุรี ถนนนารายณ์มหาราช 411500,420310
สถานีขนส่งลพบุรี 411888
สถานีตำรวจอำเภอเมืองลพบุรี 411013,191

 

ท่องเรือซีทราน เที่ยวพัทยา เที่ยวภูเก็ต
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย กรมป่าไม้ กรมประมง
กรมส่งเสริมสภาพแวดล้อม สถานที่ท่องเที่ยวไทย
อุทยานแห่งชาติ ท่องเที่ยวทั่วไทย เดินป่า
แนะนำสถานที่ท่องเที่ยว ท่องเที่ยวไทย แนะนำเที่ยวไทย
จองที่เที่ยว สำหรับนักท่องเที่ยว รวมเส้นทางสายรถเมล์
ตารางเดินรถไฟ แผนผังการเส้นทางเดินรถ รถไฟฟ้าบีทีเอส

 

  ดัชนีแหล่งท่องเที่ยวทั่วโลก แนะนำที่เที่ยวทั่วโลก
ที่เที่ยวต่าง ๆ ทั่วโลก ท่องเที่ยวทวีปเอเชีย
เดินทางท่องเที่ยวทั่วโลก ทัวร์สิงคโปร์ ศูนย์แนะนำเที่ยวทั่วโลก
แนะนำเที่ยวทั่วโลก ไทยสิริทัวร์ เจซีที ทราเวลแอนด์ทัวร์
เชียงใหม่ ทราเวล เซ็นเตอร์ ซีคานู เซ้าส์ อีส เอเชีย ไลวีบอร์ดส์
ดีทแฮล์ม ทราเวล เดอะซินเนอร์จีเน็ต ลานนาเอ็นเตอร์ไพร์ส
ลูโปทัวร์ สยามเอ็กซ์คลูซีพทัวร์ เอเชียทราเวล


ปลัดสุดารัตน์ย้ายไปปฏิบัติหน้าที่
ณ อบต.ห้วยขุนราม อ.พัฒนานิคม จ.ลพบุรี แล้ว

webmaster
songkran2000@chaiyo.com
[ กวีไทย ] [ ดอกสารภี ] [ บ้านกลอนรจนา ] [ กุหลาบเวียงพิงค์ ]

ยินดีต้อนรับเข้าสู่เครือข่ายกวีไทย