logo1.gif (5457 bytes)

วัดพระเชตุพน (วัดโพธิ์ท่าเตียน)

๒  ถนนสนามไชย  แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร   กรุงเทพมหานคร ๑๐๒๐๐  โทร. ๐-๒๒๒๕-๙๕๙๕ 

[Home]

ภูมิสถาปัตย์วัดโพธิ์ : แม่แบบศิลปะการก่อสร้างแบบไม้สิบสองของไทย

wpe7.gif (382575 bytes)        

               ในการสถาปนาวัดพระเชตุพน ขึ้นเป็นพระอารามหลวง
คู่พระบรมมหาราชวังนั้น   พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า
จุฬาโลกมหาราช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ใซ้ช่างฝีมือ
มาก่อสร้าง เพื่อรวบรวมงานศิลปแบบไม้สิบสองไว้โดยเฉพาะ
เรียกว่าเป็นผลงานระดับฝีมือครูจริง ๆ
               โดยเริ่มตั้งแต่กำแพงเขตพุทธาวาสเข้ามา ถึงสิ่งก่อ
สร้างต่าง ๆ ภายในเขตพุทธาวาส ไม่ว่าจะเป็นเจดีย์หมู่ เจดีย์
ราย จนกระทั่งพระระเบียงวิหารคต ล้วนแต่สร้างด้วยศิลปแบบ
ไม้สิบสองทั้งสิน
               ยกตัวอย่างเช่น ระเบียงพระวิหารคต ถือว่าเป็น
ศิลปกรรมชั้นครูอย่างแท้จริง เพราะแฝงกลเม็ดพิเศษ ในการ
วางแบบแปลนการก่อสร้างเอาไว้ คือถ้าเรามองจากภายนอก
ระเบียงเข้าไป จะเห็นเป็นมุมไม้สิบสอง ทั้งยังซ้อนกันอยู่
สองชั้นอีกด้วย
แต่ถ้ามองจากลานพระอุโบสถออกมา จะเห็น
เป็นรูปสี่เหลี่ยม ตามลักษณะลานพระอุโบสถ ไม่มีการย่อมุม
             พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ก็เคยมี
กระแสพระราชวิจารณ์   ถึงภูมิสถาปัตย์ของวัดพระเชตุพน
ด้วยควมชื่นชมโสมนัส ไว้ในหนังสือพระราชวิจารณ์ ว่าด้วย
ด้วยจดหมายความทรงจำ   ของพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวง
นรินทรเทวีว่า

           ... ที่แท้พระระเบียงวัดพระเชตุพนนี้ หาได้เป็นสองชั้น
รอบไม่ เพราะเหตุที่ลานพระอุโบสถข้างในเป็นสี่เหลี่ยม
ระเบียง จึงต้องเป็นสี่เหลี่ยมมีพระวิหารทิศกลางย่าน
พระระเบียงทั้งสี่ทิศ พระระเบียงที่ว่าเป็นสองชั้น พระระเบียง
ชั้นนอกหรือชั้นที่สองนั้น ไม่ได้หักมุมหุ้มพระระเบียงชั้นใน
แต่ย่อเข้ามาทั้งสองข้างชน พระวิหารทิศ  เพราะฉะนั้น
เมื่อดูภายนอกรอบพระระเบียงจึงเห็น
ป็นไม้สิบสอง
เป็นการช่างอย่างดี ซึ่งข้าพเจ้าพอใจเป็นอันมากได้ดูอยู่
เป็นนิจ  ไม่มีแห่งใดเหมือนเลย ...

              คำว่า”ไม้สิบสอง” เป็นชื่อเรียกงาน
สถาปัตยกรรมและศิลปกรรมในกระบวน
การช่างไทยชนิดหนึ่ง
            พจนานุกรมราชบัณฑิตยสถาน
ฉบับ พ.ศ. ๒๕๒๕ ให้ความหมายว่า ไม้ว่าสิบสองลักษณะของสถาปัตยกรรม
และศิลปกรรมไทย ที่ย่อมุม ถ้าย่อมุม
ละ ๒ เรียกว่าไม้แปด ย่อ
มุมละสาม เรียกว่าไม้สิบสอง เป็นต้น
           นังสืออ่านภาษาไทยสำรับรายวิชา
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๕ ของกระทรวงศึกษา
ธิการ ให้คำอธิบายพึ่มเติมว่า ไม้สิบสอง ชื่อแบบสถาปัตยกรรม ของไทย ซึ่งมีวิธี ย่อมุมไม้ มุมละ
หยัก สี่ ๔ มุม รวมเป็น ๑๒ หยัก และ เรียกชื่อสิ่งของตามวิธีนี้ เช่นเจดีย์ไม้ ๑๒ แต่ถ้าย่อมุมละ ๕ หยัก ก็เรียกว่าไม้ ยี่สิบ
           ศิลปไม้สิบสองเกือบจะเรีบกได้ว่า

เป็นแม่แบบของ สถาปัตยกรรมและ
ศิลปกรรม การย่อมุมไม้ของไทย
เท่าที่
ผู้เขียนเคยคลุกคลีกับงาน
ศิลปกรรมย่อ
มุมไม้มา
ตั้งแต่ สมัยอยู่เมืองเพชรบุรี  สังเกตพบว่าไม่ว่าจะเป็นการสร้างโกษฐ์
ไม้ หรือเจดีย์ก็ตามโดยมากช่างพื้นบ้าน จะนิยมสร้างแบบไม้สิบสองมากกว่า ไม้แปดหรือยี่สิบเพราะมุมมองไม่เฉียบ คมเท่าไม้สิบสอง
     
    สถาปัตยกรรมย่อมุมไม้สิบสองอีก
แห่งหนึ่ง ที่งามโดดเด่นคู่มากับวัดพระ
เชตุพน ก็เห็นจะได้แก่พระปรางค์วัด
อรุณนั่นเอง

              wpe1.gif (131639 bytes)
          ภาพกำแพงเขตพุทธาวาสและซุ้มประตู ูทรงมงกุฎ มีจำนวนทั้งหมด ๑๖ ซุ้ม ซึ่งเป็น หนึ่งในศิลปย่อไม้สิบสองของวัดโพธิ์


                        (กลับหน้าแรก)



ขอขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมชม หากท่านประสงค์จะเยี่ยมชม web site อื่น ๆ ต่อไป เชิญได้ตามนี้ Chat ดังเมืองไทย Pantip.Com แหล่งรวม download
โปรแกรมฟรี Sanook.Com  แหล่งรวม links ทั่วโลก
Hunsa.Com เวบดังติดอันดับ Mthai.Com เวบชวัญใจวัยรุ่น Narak.Com & Headmaker.Com

 Last edited  13-10-2544 Copyrigh (C) 2001 Srimuang  home. All rights reserved