logo1.gif (5457 bytes)

วัดพระเชตุพน (วัดโพธิ์ท่าเตียน)

๒  ถนนสนามไชย  แขวงพระบรมมหาราชวัง    เขตพระนคร   กรุงเทพมหานคร ๑๐๒๐๐  โทร. ๐-๒๒๒๕-๙๕๙๕ 

Home ] ประวัติวัดโพธิ์ ] ภูมิศาสตร์ ] เขตพุทธาวาส ] [ เขตสังฆาวาส ] จารึกวัดโพธื์ ] สมุดเยี่ยม ] ภูมิสถาปัตย์ ]

เ ข ต สั ง ฆ า ว า ส (เขตกุฏิที่พักสงฆ์)

                   wat03.gif (61926 bytes)
ก. ภาพภูมิทัศน์จากที่สูง มุมมองจากด้านทิศใต้ (ด้านกระทรวง
     พาณิชย์) ลักษณะพื้นที่เป็นสี่เหลี่ยมคางหมู ด้านหัวหมู เป็น

     หมู่กุฎิคณะเหนือ   ด้านคางหมูเป็นหมู่กุฏิคณะใต้ จะเห็นแนว
     ทางเดินระหว่างคณะเหนือ - กลาง - ใต้ อย่างชัดเจน
    

                    wpe2B.gif (97413 bytes)
ข. ภาพถ่ายทางอากาศ   มุมมองจากด้านตะวันออกเฉียงเหนือ
     ที่เห็นสูงเด่นเป็นสง่าอยู่ด้านบนภาพ คือตำหนักวาสุกรี ที่เห็น
     ในภาพส่วนใหญ่ เป็นหมู่กุฎิคณะเหนิอ ด้านมุมซ้ายบนเห็นแนว
     กุฏิคณะกลางเล็กน้อย ส่วนคณะใต้ ไม่ปรากฎในภาพ แนว
     ถนนกลางภาพแบ่งกลางเขตพุทธาวาส กับเขตสังฆาวาส

               เขตสังฆาวาส   ซึ่งเป็นเขตกุฏิที่พักอาศัย
ของพระสงฆ์นี้   ตั้งอยู่ด้านทิศใต้ของเขตพุทธาวาส
มีกำแพงล้อมรอบ แยกเป็นคน
ละสัดส่วนกับเขต
พุทธาวาส โดยมีถนนรถยนต์เชตุพนคั่นกลาง
มีเนื้อที่ประมาณ ๒๐ ไร่ ปลูกกุฏิสงฆ์เต็มพื้นที่ 
               แนวกุฏิสร้างเป็น ๓ แนวยาวตามตะวันเป็นพื้น
มีบางส่วนที่เป็นแนวสกัดขวางตะวัน โดยเฉพาะที่มี
กุฎิหมู่ สำหรับพระราชาคณะปกครอง   ทั้งหมดแบ่งเป็น
๓ คณะใหญ่ ดังนี้
              คณะเหนือ ใช้อักษรย่อประจำคณะว่า
น. มี  ๒๓ กุฎี
              คณะกลาง ใช้อักษรย่อประจำคณะว่า
ก. มี  ๓๘ กุฎี
              คณะใต้   ใช้อักษรย่อประจำคณะว่า
ต. มี  ๓๔ กุฎี
             กุฎิเกือบทั้งหมดสร้างแบบชั้นเดียว แต่ยก
พื้นสูง ผนังก่ออิฐถือปูน หลังคากระเบื้อง รูปทรงคล้าย
กับกุฎิสงฆ์ที่สร้างในสมัยรัชการที่ ๓ โดยทั่วไป
              สำหรับกุฏิสงฆ์วัดพระเชตุพน มีสิ่งที่น่าสนใจ
ต่างจากวัดอื่น   คือกุฏิที่อยู่ตรง ๔ ทิศ ออก ตก เหนือ ใต้
จะเป็นหมู่กุฏิใหญ่ ที่มีหอสวดมนต์ หอฉัน  และหอไตร
ประจำคณะ เหมือนกับมีวัดเล็ก ๆ สี่วัด มารวมอยู่ใน
กำแพงเดียวกัน
            เมื่อครั้งที่ล้นเกล้ารัชกาลที่ ๓ โปรดฯ ให้
ปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพนเป็นการใหญ่นั้น    มีปรากฎ
ในจารึกว่าได้ปฏิสงขรณ์กุฎี จำนวน ๒๓๗ หลัง เมื่อ
เสร็จบริบูรณ์แล้ว มีพระสงฆ์จำพรรษาทั้งสิ้น ๔๔๕ รูป

พระตำหนักวาสุกรี

            สิ่งสำคัญที่สุด  ที่จะต้องกล่าวถึง ในเขต
สังฆาวาสนี้คือ ตำหนักวาสุกรี  ซึ่งเป็นตำหนักที่ประทับ
ของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิต
ชิโนรส   รัตนกวีแห่งกรุงรัตนโกสินทร์
            ตำหนักวาสุกรี   ตั้งอยู่บริเวณ น. ๑๖ (คณะ
เหนือ) ในปัจจุบัน
ล้นเกล้ารัชกาลที่ ๓ โปรดฯ ให้สร้าง
ถวายเมื่อคราวปฏิสังขรณ์ ใหญ่วัดพระเชตุพน   เพื่อให้
เป็นพระตำหนักที่ประทับ   เมื่อครั้งยังทรงพระชนม์ชีพ
อยู่ 
              ปัจจุบันเป็นที่ตั้งบุษบกประดิษฐานพระอัฐิ
และพระรูปหล่อ และใช้เป็นสถานที่ จัดงานวันกวี
ทุกวันที่ ๑๑ ธันวาคม ของทุกปี   ซึ่งตรงกับวันคล้าย
วันประสูติของพระองค์
            งานวันกวี   เป็นการจัดงานร่วมกันระหว่าง
สำนักราชวัง วัดพระเชตุพน คณะอักษรศาสตร์จุฬาฯ
และสมาคมนักกลอนแห่งประเทศ   ซึ่งในอดีตผู้เขียน
ได้เคยร่วมจัดงานนี้อยู่หลายครั้ง
               ทั้งนี้เพื่อบำเพ็ญกุศลอุทิศถวายและจัดนิทรรศ   การเทิดพระเกียรติ ผลงานด้านกวีนิพนธ์ของพระองค์
ในการนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงโปรดเกล้าฯ
ให้พระบรมวงศานุวงศ์ เสด็จแทนพระองค์ในการบำ
เพ็ญพระราชกุศลอุทิศถวาย
                ในวันดังกล่าวนี้ ทางวัดได้เปิดพระตำหนัก
ให้ประชาชนทั่วไปเข้าชมด้วย   ซึ่งขณะนี้กรมศิลปากร
ได้ขึ้นทะเบียนพระตำหนักวาสุกรี เป็นพิพิธภัณฑสถาน
ประเภทอนุสรณ์สถาน สำหรับผู้เขียนแล้วถือว่านี่คือ
บ้านกวี (Poetic Home) แห่งแรกของไทยที่ยังคง
ความสมบูรณ์มากที่สุด
           
                    pic02.jpg (4820 bytes)
                          (หมู่พระตำหนักวาสุกรี)
                รายละเอียดเกี่ยวกับพระตำหนัก   ลักษณะ
โดยทั่วไปเป็นตำหนักคู่ทรงไทย ๒ หลังติดกัน หลังคา
ประดับช่อฟ้าใบระกา ภายในพระตำหนัก เป็นห้องโถง
พื้นราบ ด้านซ้ายมือประตูทางเข้ากั้นห้อง ยกพื้นสูง
เป็นห้องพระบรรทม   ถัดจากห้องพระบรรทม  ยกพื้น
สูงขึ้นไปอีกระดับหนึ่ง  เป็นห้องสรงน้ำและห้อง
ทรงพระอักษร
                      (หน้าแรก)

   wpeE.gif (91039 bytes)
                          ( แผนผังบริเวณตำหนักวาสุกรี)
            องค์ตำหนักหันหน้าไปทางทิศใต้  ด้านหลัง
ติดกำแพงเขตสังฆาวาส ด้านหน้ามีเก๋งจีนรับเสด็จ
แนวกลางมีหอพระไตรปิฎก หอประชุมสงฆ์ กุฏิสงฆ์
ถัดไปด้านตะวันออก มีกุฏิสงฆ์   กุฏิเจ้าอาวาส และ
หอสวดมนต์   ติดกำแพงบริเวณตำหนักด้านตะวัน
ออก มีหอระฆังอยู่ระหว่าง ประตูทางเข้า ๒ ประตู
           เป็นที่น่าสังเกตว่า พระตำหนักวาสุกรีนั้น
มีกำแพงล้อมทั้ง ๔ ด้านมีประตูทางเข้าถึง ๖ ประตูมี
องค์ประกอบของสิ่งก่อสร้างายในกำแพงเหมือน
เป็นวัดอีกวัดหนึ่งทีเดียว

pic03.gif (34929 bytes)

                        ( พระตำหนักวาสุกรด้านตะวันตก )

               ภาพที่เห็นคือทัศนียภาพ  องค์พระตำหนักด้าน
ทิศตะวันตก ห้องเล็กหน้าสุดเป็นห้องสรง ส่วนหลังใน
สุดเป็นพระตำหนักโถงองค์ใน     
            สำหรับองค์กลาง ที่มองเห็นหน้าต่าง ๒ บานนั้น
คือห้องทรงพระอักษร นัยว่าสมัยอดีตเมื่อยังไม่มีตลาด
ท่าเตียนเกิดขึ้น สามารถมองเห็นทัศนียภาพแม่น้ำ
เจ้าพระยา และท่าน้ำวัดอรุณ ได้ตลอดเวลา
            ณ สถานที่นี้เอง ในอดีตเปลวประทีปได้
โชติช่วงอยู่ตลอดราตรีกาล    ซึ่งองค์สมเด็จพระ
มหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส ได้ทรง
ผลิตวรรณกรรมอันล้ำค่า ตกทอดเป็นมรดกแก่ลูก
หลานไทย มาตราบเท่าทุกวันนี้ ซึ่งเป็นสิ่งเตือนใจให้
รำลึกถึงพระองค์ท่านไปตราบนานเท่านาน

                  pic06.gif (28690 bytes)
                               (ทัศนียภาพภายในพระตำหนัก)
                                                 
         ปัจจุบันห้องโถงพระตำหนักหลังใน ใช้เป็น
ที่ประดิษฐานบุษบกบรรจุพระอัฐิ และพระรูปหล่อ ของ
พระองค์ท่าน ตัวพระตำหนักได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์
มาโดยตลอด จึงยังคงสภาพสมบูรณ์สวยงามจนผู้เขียน
มั่นใจว่านี่คือบ้านกวี
(Poetic Home)  ที่มีความ
สมบูรณ์ที่สุดแห่งหนึ่ง ที่รัฐบาลควรให้ความสนใจ ทำ
การประชาสัมพันธ์ เพื่อเป็นจุดขาย สำหรับนักท่อง
เทียวชั้นสูงต่อไป

     wpeF.gif (473627 bytes)

                                                               ( ของใช้ในห้องทรงพระอักษร )

ขอขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมชม หากท่านประสงค์จะเยี่ยมชม web site อื่น ๆ ต่อไป เชิญได้ตามนี้ Chat ดังเมืองไทย Pantip.Com แหล่งรวม download
โปรแกรมฟรี
Sanook.Com  แหล่งรวม links ทั่วโลก Hunsa.Com เวบดังติดอันดับ Mthai.Com เวบชวัญใจวัยรุ่น Narak.Com & Headmaker.Com

 Last edited  11-11-2001 Copyrigh (C) 2001 Srimuang  home. All rights reserved