มวลแรงกฏการเคลื่อนที่

มวล

คือปริมาณเนื้อสารที่มีอยู่ในวัตถุ เป็นสมบัติประจำตัวในการด้านการเปลี่ยนแปลงการเคลื่อนที่ มีหน่วยเป็นกิโลกรัมเป็นปริมาณสเกลาร์
นำหนัก
เป็นแรงโน้มถ่วงที่กระทำบนวัตถุ W = mg เป็นปริมาณเวกเตอร์ โดยที่ m = มวล g = ความเร่งเนื่องจากแรงโน้มถ่วงของโลก นำหนักมีหน่วยเป็นนิวตัน (N
แรงคืออะไร
เป็นอำนาจที่จะทำให้วัตถุเปลี่ยนสภาพการเคลื่อนที่ แรงเป็นปริมาณเวกเตอร์ การรวมแรงและแตกแรงจึงใช้วิธีทางเวกเตอร์ แรงมีหน่วยเป็น นิวตัน(N)
การแตกแรง
แรง Rอาจแตกเป็นแรงย่อยกี่แรงก็ได้ แต่ที่สำคัญจะแตกเป็นแรงย่อย 2 แรง แรง P และ Qมี 2 แบบคือ
(ก) เมื่อ P และQ ไม่ตั้งฉากกันใช้กฏ Law of sine Pและ Q
(ข) เมื่อ Pและ Q ตั้งฉากกัน วิธีนี้สำคัญมากและนำไปใช้ประโยชน์ได้มาก ใช้กฏ Law of sine หรือความรู้ทางด้านตรีโกณมิติ
กฏการเคลื่อนที่ นิวตัน
ใช้ได้กับผู้สังเกตที่อยู่นิ่งกับที่ หรือไม่ก็เคลื่อนที่ด้วยความเร็วคงที่เท่านั้น ถ้าผู้สังเกตมีความเร่งใช้ไม่ได้ กฏนี้มี 3 ข้อดังนี้
1. เมื่อไม่มีแรงกระทำต่อวัตถุหรือแรงลัพธ์เป็น ศูนย์ วัตถุจะอยู่นิ่งกับที่หรือไม่ก็มีความเร็วคงที่เคลื่อนที่เป็นเส้นตรง
2. ถ้ามีแรงลัพธ์กระทำต่อวัตถุ วัตถุจะมีความเร่ง
3. เมื่อมีแรงกระทำบนวัตถุหนึ่งวัตถุนั้นจะออกแรงตอบโต้ แรงกระทำนี้เรียกว่า แรงกิริยา (action) แรงตอบโต้เรียกว่า แรงปฏิกิริยา( reaction) โดยแรงทั้ง 2 มีขนาดเท่ากันอยู่ในแนวเส้นตรงเดียวกัน แต่ทิศทางตรงกันข้ามกัน
แรงเสียดทาน
เป็นแรงที่เกิดขึ้นระหว่างผิวสัมผัสของวัตถุแบ่งได้ 2 ชนิด คือ
(ก) แรงเสียดทานสถิต (Static friction) เป็นแรงเสียดทานขณะวัตถุเริ่มจะเคลื่อนที่
(ข) แรงเสียดทานจลน์ (Kinetic friction) เป็นแรงเสียดทานขณะวัตถุกำลังเคลื่อนที่
กฏของแรงเสียดทาน
แรงเสียดทานมีทิศทางตรงข้ามกับทิศทางที่วัตถุเคลื่อนที่
ขนาดของแรงเสียดทานขึ้นอยู่กับชนิดของผิวสัมผัสแต่ละคู่ไม่ขึ้นอยู่กับพื้นที่ผิวสัมผัสและขึ้นกับแรงที่กดตั้งฉากกับผิวสัมผัส
ขนาดของแรงเสียดทานจะลดลง
ขนาดของแรงเสียดทาน
f = µ N
f คือ ขนาดของแรงเสียดทาน
N คือ แรงปฏิกิริยาที่ตั้งฉากกับจุดสัมผัส
µ คือ สัมประสิทธิ์ของความเสียดทาน
หน้าต่อไป