หน้าหลัก เกี่ยวกับวัด ประมวลภาพ สาระน่ารู้เกี่ยวกับพุทธ บทสวดมนต ลิงค ติดต่อวัด Deutsch
 การบริหารคณะสงฆ์
 การจัดการศึกษาพระปริยัติธรรม
 กฎหมายสงฆ์ของไทย
 พระไตรปิฎก
 พุทธประวัติ
 วันสำคัญทางพุทธศาสนา

    

  
   การเผยแผ่พระพุทธศาสนาสู่ประเทศไทย

         ในยุคแรก   เมื่อปี พ.ศ.๓๐๓   ดังกล่าวแล้ว เป็นการเผยแผ่พระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาท
          ยุคที่สอง   เมื่อปี พ.ศ.๗๖๐   พุทธศาสนาฝ่ายมหายาน จากแคว้นกัสมิระ ได้เผยแพร่มาทางดินแดนทางใต้ของสุวรรณภูมิคือ เกาะ สุมาตรา ชวา และกัมพูชา ล่วงมาถึงประมาณปี พ.ศ.๑๓๐๐ ก็ได้แพร่ขยายขึ้นมาถึงปัตตานี   สุราษฎร์    ธานี ที่ไชยา
          ยุคที่สาม   เมื่อประมาณปี พ.ศ.๑๖๐๐   พุทธศาสนาแบบพุกาม ได้แพร่เข้ามาถึงอาณาจักรลานนา และอาณาจักรทวาราวดี
          ยุคที่สี่   เมื่อประมาณปี พ.ศ.๑๙๐๐   พระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาทได้แผ่จากลังกาเข้ามาทางภาคใต้ของไทย คือที่ นครศรีธรรม ราช เรียกว่า ลัทธิลังกาวงศ

   การศึกษาประปริยัติธรรมสมัยสุโขทัย

          พ่อขุนรามคำแหงมหาราช ได้ทรงฟื้นฟูพระพุทธศาสนาขึ้นที่กรุงสุโขทัยได้ทรงอาราธนาพระเถระ ผู้เชี่ยวชาญและ แตกฉานในพระ ไตรปิฎก ฝ่ายเถรวาทลัทธิลังกาวงศ์มาสถิตที่กรุงสุโขทัย ทรงส่งเสริมให้มีการศึกษาพระปริยัติธรรมอย่างกว้างขวาง ได้จัดให้มีการศึกษา เล่าเรียนพระปริยัติธรรมแก่พระสงฆ์ในพระราชวัง ในรัชสมัยพระมหาธรรมราชาลิไท พระ องค์ได้ทรงศึกษาพระปริยัติธรรมจากผู้เชี่ยวชาญใน พระไตรปิฎกหลายท่าน ทั้งที่เป็นบรรพชิตและฆราวาสจนแตกฉาน จนสามารถรจนาเตภูมิกถา หรือที่เรียกกันว่า ไตรภูมิพระร่วง   มีชื่อเสียง ตราบจนถึงทุกวันนี้

   การศึกษาพระปริยัติธรรมในสมัยอยุธยา

          พระมหากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา ได้ทรงส่งเสริมการศึกษาพระปริยัติธรรม ด้วยการยกย่องพระสงฆ์ ที่ทรงความรู้ในพระไตรปิฎก ให้มีสมณศักดิ์ ผู้ที่มีความรู้ภาษามคธดี เคยบวชเรียนมาแล้วก็โปรดเกล้า ฯ ให้รับราชการในตำแหน่งราชบัณฑิต มีการบอกหนังสือพระใน พระบรมมหาราชวัง
          ในสมัยอยุธยา อาณาจักรลานนาซึ่งอยู่ทางภาคเหนือของไทย มีเชียงใหม่ ลำพูน และลำปาง เป็นต้น ได้มีการสังคายนาพระไตร ปิฎกในสมัยพระเจ้าดิลกราช แห่งเมืองเชียงใหม่ เมื่อปี พ.ศ.๒๐๒๐ ตรงกับรัชสมัยของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ แห่งกรุงศรีอยุธยา นับ เป็นการสังคายนาครั้งแรกในประเทศไทย การศึกษาพระไตรปิฎกในยุคนี้นับว่าสูงส่งมาก มีพระเถระหลายรูปของเชียงใหม่และลำพูน ได้รจนา คัมภีร์พระพุทธศาสนาหลายคัมภีร์ด้วยกัน เช่น พระสิริมังคลาจารย์ ได้รจนามังคลทีปนี พระญาณกิตติ ได้รจนาโยชนาพระวินัย   พระสูตร พระอภิธรรม และสัททาวิเสส
          ได้จัดให้มีการสอบไล่พระปริยัติธรรมเป็นทางการ โดยใช้วิธีแปลพระไตรปิฎกด้วยปากเปล่า ผู้ที่สอบได้ พระมหากษัตริย์ทรงยก ย่องให้เป็นบาเรียน และให้มีสมณศักดิ์เป็นพระมหา นำหน้าชื่อ บาเรียนดังกล่าวมีอยู่หลายขั้นด้วยกันคือ  บาเรียนตรี บาเรียนโท และบา เรียนเอก โดยผู้ที่แปลได้พระสูตรตามที่กำหนดเป็น บาเรียนตรี ผู้ที่แปลได้พระสูตรและพระ    วินัยเป็น บาเรียนโท ผู้ที่แปลได้ทั้งพระสูตร พระวินัย และพระปรมัตถ์ เป็นบาเรียนเอก
          การศึกษาพระปริยัติธรรมในสมัยนี้มีการบอกหนังสือ ทั้งในวัดและในวัง สำหรับการไล่หนังสือ ก็จัดให้มีเป็นครั้งคราว ตามแต่พระ มหากษัตริย์จะโปรดเกล้า ฯ ให้มีการสอบ พระสงฆ์ผู้เล่าเรียนจนมีความรู้ ก็จะเป็นอาจารย์ บอกหนังสือต่อ ๆ กันไป โดยไม่จำเป็นต้อง มุ่งเข้าไปสอบ

   การศึกษาพระปริยัติธรรมในสมัยกรุงธนบุร

          หลังจากเสียกรุงศรีอยุธยา บ้านเมืองอยู่ในสภาพบ้านแตกสาแหรกขาด ผู้คนต่างหนีเอาตัวรอด เมื่อพระเจ้าตากสินฯ ได้รวบรวมกำลัง กู้เอกราชของชาติกลับคืนมาได้จนเป็นปึกแผ่นแล้ว ในปีเดียวกันนั้นคือปี พ.ศ.๒๓๑๐ ก็ได้ทรงมีพระราชดำริที่จะทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา ให้เจริญรุ่งเรืองเป็นปกติสุขเช่นที่เคยเป็นมาก่อน จึงได้โปรดเกล้า ฯ ให้พระศรีภูริปรีชา ให้สืบเสาะหาพระเถระผู้รู้อรรถรู้ธรรมให้มาประชุมกัน ที่วัดบางหว้าใหญ่ (วัดระฆังโฆษิตาราม) พระเจ้าตากสิน ฯ ได้ทรงตั้งพระอาจารย์ดี วัดประดู่กรุงเก่า ซึ่งเป็นผู้ที่มีความรู้สูงและมีอายุพรรษา มากด้วย ขึ้นเป็นพระสังฆราช และตั้งพระพระเถระอื่นๆ ขึ้นเป็นพระราชาคณะฐานานุกรมน้อยใหญ่ เหมือนครั้งกรุงศรีอยุธยาให้สถิตอยู่ในพระ อารามต่าง ๆ ในกรุงธนบุรี ให้สั่งสอนคันถธุระและวิปัสสนาธุระ แก่ภิกษุสามเณรโดยทั่วไป
          เมื่อครั้งเสียกรุงศรีอยุธยา นอกจากบ้านเมือง ปราสาทราชวัง วัดวาอาราม จะถูกเผาพลาญโดยสิ้นเชิงแล้ว บรรดาคัมภีร์พระไตร ปิฎกก็พลอยถูกเผาสูญหายหมดสิ้นไปด้วย พระองค์จึงได้โปรดเกล้า ฯ ให้สืบหารวบรวมคัมภีร์พระไตรปิฎกที่หลงเหลืออยู่ตามหัวเมืองต่าง ๆ ตลอดไปจนถึงกรุงกัมพูชา แล้วเอามาคัดลอกสร้างเป็น พระไตรปิฎกฉบับหลวงไว้ แต่ยัง    ไม่เสร็จสมบูรณ์ก็สิ้นรัชกาลเสียก่อน

   >>>กลับไปหน้าแรก

ที่มา : หอมรดกไทย

                        
 
 
Copyright (c) 2005 All rights reserved, Sponsored by Siam Focus   
Wat Yarnsangvorn Vienna, Kohlgasse 41, 1050 Vienna, Austria, Tel./Fax: +43-(0)1-5488078
Contact Wat, Contact Webmaster