บทที่3 กฎของโอห์ม

กฎของโอห์ม แอมแปร์ โวลต์

กฎของโอห์ม

            คือ  กฎที่กล่าวถึงความสัมพันธ์ระหว่างกระแสไฟฟ้า(I)  แรงดันไฟฟ้า  (E)  และความต้านทานในวงจรไฟฟ้า  (R)  ผู้ค้นพบความสัมพันธ์นี้คือ  จอร์จ  ไซมอน  โอห์ม  นักฟิสิกส์ชาวเยอรมัน  เขาพบว่าถ้าให้ความต้านทานไฟฟ้าคงที่และเพิ่มแหล่งจ่ายไฟฟ้าให้กับวงจร  กระแสไฟฟ้าที่ไหลในวงจรนี้จะเพิ่มขึ้น  การเปลี่ยนแปลงของกระแสไฟฟ้า  เมื่อแรงดันไฟฟ้าเพิ่มขึ้นแสดงดังรูป 3.1

การทดลองของโอห์ม

รูป 3.1 แสดงวงจรการทดลองเรื่องกฏของโอห์มและค่ากระแสไฟฟ้าที่วัดได้ในวงจรและกราฟแสดงความสัมพันธ์ระหว่าง  E  และ  I

            จากรูป 3.1  เป็นวงจรไฟฟ้าประกอบด้วยแหล่งจ่ายไฟฟ้าปรับค่าได้  0-12V  ต่ออนุกรมกับแอมป์มิเตอร์และอนุกรมกับความต้านทาน  RL  ค่า  2โอห์ม  เมื่อปรับแหล่งจ่าย  E=0V  ค่ากระแสที่แอมป์มิเตอร์อ่านได้เท่ากับ  0  A  เมื่อปรับ  E=2V  ปรากฏว่าแอมป์มิเตอร์อ่านกระแสได้  =1A  และเมื่อปรับ  E = 4 V   จะอ่านค่ากระแสได้  2  A  จนกระทั่งปรับ  E =  12 V ปรากฏว่ากระแสเท่ากับ 6 A

      เมื่อสังเกตดูจะพบว่าค่าของกระแส (I)  เท่ากับอัตราส่วนระหว่างแรงดัน (E)กับค่าความต้านทาน (R)  เช่น เมื่อ  E = 0 V และ  R = 2 

            แอมแปร์  (AMPERE)

            แอมแปร์  เป็นหน่วยวัดกระไฟฟ้า ใช้ตัวอักษรย่อว่า (A) และตัวอักษรของกระแสไฟฟ้า  (ELECTRIC  CUURENT) ใช้ย่อว่า (I)  ความหมายของกระไฟฟ้าขนาด 1 แอมแปร์ คือประจุไฟฟ้า  1  คูลอมบ์เคลื่อนที่ผ่านจุดๆหนึ่งภายในเวลา  1  นาทีเราสามารถเขียนสมการ ได้สมการ

                                                                  I  = Q / T

                 เมื่อ     I   คือ    กระแสไฟฟ้า     มีหน่วยเป็น    แอมแปร์    (A)

                           Q  คือ    ประจุไฟฟ้า       มีหน่วยเป็น  (COULOMBS)

                            T  คือ    เวลา                 มีหน่วยเป็น    วินาที    (SECONDS  ย่อว่า Sec)    

โวลต์  (Volts)

            คือหน่วยของการวัดค่าความต่างศักย์ระหว่างจุดสองจุด  ได้มาจากชื่อของท่าน  โวลต์ตา  (ผู้ค้นพบหลักการของเซลล์ไฟฟ้า  ซึ่งต่อมาก็มีการสร้างแหล่งจ่ายแรงดันไฟฟ้าชนิดต่างๆออกมา)ความต่างศักย์ระหว่างจุดสองจุดก็เช่น  ระหว่างขั้วบวกและลบของถ่านไฟฉาย  1 ก้อน  ขนาด 1.5 โวลต์หรือขนาด  9  โวลต์หรือ แบตเตอรี่รถยนต์ขนาด  12  โวลต์เป็นต้น    อักษรย่อของหน่วยวัดแรงดันไฟฟ้า  นี่คือ  (V)

          แหล่งจ่ายแรงดันไฟฟ้าชนิดต่างๆนั้น  มีหน้าที่เป็นตัวดันให้กระแสไฟฟ้าเคลื่อนที่ผ่านตัวนำไฟฟ้าเข้าสู่อุปกรณ์ต่างๆในวงจรไฟฟ้า  ถ้าไม่มีแหล่งจ่ายไฟฟ้า (ก็คือ  ไม่มีความต่างศักย์  ระหว่างจุดต้นและปลายของวงจรไฟฟ้า )   กระแสไฟฟ้าก็ไม่สามารถเคลื่อนที่ไปในวงจรไฟฟ้าได้ 

         ถ้าจะกล่าวถึงประจุไฟฟ้าก็สามารถบอกได้ว่า   ประจุไฟฟ้าจำนวน  1  คูลอมบ์ที่มีพลังงาน 1  จูล(Joule)  หมายถึง  ว่าประจุไฟฟ้านั้นมีแรงดันไฟฟ้า  1 โวลต์ เขียนเป็นสามารถได้ว่า

                                                            1  โวลต์  =     1   Joule                      

1        Coulomb

             ความต่างคักดาไฟฟ้าระห่างจุด  2  จุด

            สมมุติว่ามีประจุไฟฟ้า   2 ตัว คือ  Q1 และ Q2  ซึ่ง Q1  มีแรงไฟฟ้า  -17  V   และ  Q2  มีแรงดันไฟฟ้า  +17  V    ดังรูป 3.2

                                  V1  =  -17  volts                      V2  =+17 volts

ประจุไฟฟ้า

รูป 3.2 แสดงแรงดันไฟฟ้าของประจุไฟฟ้า  Q1  และ  Q2

กำลังไฟฟ้าและการสูญเสีย

กำลังไฟฟ้า Electric power

            ความมากน้อยของงานที่ทำได้จะมีความสำคัญ เท่ากับความรวดเร็วในการทำงานดังนั้นทั้งจำนวนและความเร็วของการทำงาน จึงเป็นสิ่งจำเป็นในการพิจารณาหาขนาดของเครื่องกล ชนิดของวงจรไฟฟ้า และอุปกรณ์ที่ต้องการ อัตราของการทำงานหรือจำนวนของงานที่ได้ต่อหน่วยเวลานั้นหมายถึงกำลัง

            เนื่องจากกำลัง หมายถึง อัตราของการทำงาน ซึ่งปริมาณของมันสามารถพิจารณาหาค่าได้โดยเอาเวลาไปหาร จำนวนของงานที่ได้ นั่นคือ

                       

เมื่อ W คืองานที่ได้เป็นจูล t เวลาเป็นวินาที ดังนั้น P กำลังจึงมีหน่วยเป็นจูลต่อวินาที ซึ่งทางไฟฟ้าเรียกว่าวัตต์ (Watt) (วัตต์ = จูล / วินาที) นอกจากหน่วยที่ใช้ในระบบ MKSA ตามที่กล่าวมานี้ ระบบอังกฤษก็มีใช้เหมือนกันซึ่งหน่วยกำลังก็จะได้ออกมาดังนี้

            ในระบบอังกฤษนั้นหน่วยเบื้องต้นของกำลังที่มีจำนวนน้อยๆ จะใช้ฟุต – ปอนด์ต่อวินาที และถ้าเป็นจำนวนมากแล้ว จะใช้หน่วยแรงม้า (Horse Power) ซึ่ง 1 แรงม้าจะมีค่าเท่ากับ 550 ฟุต – ปอนด์ต่อวินาที

            ดังนั้นเมื่อคิด  กำลัง (P) เป็นแรงม้าแล้วจะได้

                                   

 

และเมื่อคิดหาค่ากำลังที่ได้จากการหมุนของเพลาโดยอาศัยสมการ ก็จะได้

n/t นั้น หมายถึงความเร็วรอบ ซึ่งวัดเป็นรอบต่อวินาที และเมื่อใช้ แทนค่าของมันในสมการก็จะได้

 

            ตามที่ได้อธิบายมาแล้วเกี่ยวกับความต่างศักย์ไฟฟ้าหรือแรงเคลื่อนไฟฟ้านั้น จะเห็นว่าหน่วยมูลฐานมาจากหน่วยของพลังงาน (จูล) ต่อหน่วยของประจุไฟฟ้า (คูลอมบ์) นั้นคือ

 

 และในทำนองเดียวกันก็ได้แสดงให้เห็นว่ากระแสไฟฟ้านั้นหมายถึงประจุไฟฟ้า (คูลอมบ์)ที่ไหลต่อหน่วย เวลา (วินาที) นั่นคือ

 

            ดังนั้นเมื่อนำแรงเคลื่อนไฟฟ้าคูณกระแสไฟฟ้าก็จะได้

 

            ตามที่ได้อธิบายมาแล้วจะเห็นว่า จำนวนพลังงานต่อหน่วยเวลา หมายถึงกำลังฉะนั้นกำลังไฟฟ้าที่มีหน่วยเป็นวัตต์ (Watt) จึงสามารถหาได้จากสมการ

P   = EI

 

การสูญเสีย

            กำลังไฟฟ้าที่ใช้ในวงจรไฟฟ้าบอกให้เรารู้ว่างานจะต้องถูกทำในวงจรเท่าไร  งานมีทั้งแบบนำไปใช้ประโยชน์และสูญเปล่า กำลังงานที่ใช้แล้วก่อให้เกิดงานที่สูญเปล่า เราเรียกว่ากำลังงานสูญเปล่า ถ้ามองในรูปของแหล่งจ่ายกำลังงานๆ ที่สูญเปล่าไม่ได้นำไปใช้ทำงานที่เป็นประโยชน์ขึ้นมา ยกตัวอย่าง เช่น ในการผลิตกระแสไฟฟ้าส่งจ่ายให้กับตามบ้านเรือนถ้าหากมีกำลังงานสูญเสียอาจจะเกิดในการผลิตการส่ง และการใช้งานมากเราถือว่าไม่ประหยัด ฉะนั้นในการทำงานจริงๆ เกี่ยวกับทางด้านไฟฟ้าจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องหาวิธีการต่างๆ เพื่อลดกำลังงานสูญเสียให้น้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้

            กำลังงานสูญเสียในวงจรไฟฟ้าที่เห็นกันมากที่สุดจะเป็นในรูปความร้อน ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อมีกระแสไหลผ่านตัวต้านทาน ความสัมพันธ์ระหว่างความร้อนที่เกิดขึ้นกับกระแสเราเขียนได้ด้วยสมการดังนี้

                                                            P     =     I2R

            เมื่อ  P เป็นกำลังงานในรูปความร้อนที่เกิดขึ้น จะสังเกตจากสมการได้ว่าการที่จะลดความร้อนที่เกิดขึ้นได้จะต้องลดกระแสหรือความต้านทานให้น้อยลงหรือทั้งสองอย่าง

            กำลังงานที่สูญเสียเป็นความร้อน บางครั้งเราเรียกว่า ความร้อนไอกำลังสองอาร์  นอกจากเราจะได้พบกับที่เกิดขึ้นกับตัวต้านทานยังเกิดกับลวดสายไฟฟ้าในวงจรซึ่งปกติเกิดขึ้นน้อยมากทั้งนี้เป็นเพราะชนิดของสารที่ใช้และขนาดของขดลวดให้ค่าความต้านทานต่ำ ในกรณีของตัวต้านทานก็เช่นกัน ความร้อน I2R จะเกิดขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ตราบเท่าที่เราไม่สามารถเปลี่ยนแปลงค่ากระแสในวงจรและค่าความต้านทานของตัวต้านทานโดยไม่มีผลต่อการทำงานของวงจรได้เลย

 

การเปรียบเทียบพลังงาน

รูป 3.3 เปรียบเทียบการแบ่งประเภทของกำลังงาน

             แต่ในอุปกรณ์ไฟฟ้าบางชนิด เช่น เตาปิ้ง (Toaster) และเตารีด ความร้อน I2R แทนที่จะคิดว่าสูญเปล่ากลับถือว่าเป็นสิ่งที่ต้องการเอาไปใช้ประโยชน์ ฉะนั้นจึงสรุปได้ว่ากำลังงานจะถือว่าเป็นประโยชน์หรือสูญไปเปล่าขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ในการใช้งาน