ลาสิกขา

กลับหน้าแรก  
   
ประวัติสมเด็จสุก  ไก่เถื่อน  

         กาลเวลาผ่านไป พระองค์ท่านก็สามารถอ่านเขียน ภาษาไทยได้ จนจบตามหลักของ คัมภีร์จินดามณี และอักขระขอม พระอาจารย์ของ พระองค์ท่าน ก็สอนให้พระองค์ท่าน เมื่อทรงมีชนมายุย่างเข้า ๑๖ - ๑๘ ปีนี่เอง

       หลายปีต่อมาที่บ้านของพระองค์ท่าน พี่น้องได้ออกเรือนไป(แต่งงาน) ท่านมีความสงสารมารดาบิดา(เข้าใจว่าพระบิดา ลาออกจากราชการแล้ว) เนื่องจากท่านแก่ชราลงแล้ว ยังต้องมาดูแลกิจการเลือกสวนไร่นาอีก พระองค์ท่านจึงมีความดำริที่จะขอลาบรรพชา ออกมาจากสามเณร มาช่วยมารดาบิดาของพระองค์ท่าน ดูแลกิจการเลือกสวน ไร่นา คนงาน ข้าทาสบริวาร เพื่อตอบแทนพระคุณมารดา-บิดา ไม่อยากเห็นท่านลำบากกาย ลำบากใจ

         ถึงปีพระพุทธศักราช ๒๒๙๔ พระองค์ท่านมีพระชนมายุได้ ๑๘ พรรษา พระองค์ท่านจึงไปขออนุญาต ท่านขรัวตาทอง องค์พระอุปัชฌาย์ ขอลาบรรพชา จากสามเณร เพื่อออกไปช่วย มารดาบิดา ดูแลกิจการ สวน ไร่ นา ควบคุมข้าทาสบริวาร พระอุปัชฌาย์เห็นว่าพระองค์ท่าน มีความกตัญญูต่อมารดาบิดา ก็อนุญาตให้ พระองค์ท่านลาบรรพชาไป

       เมื่อพระองค์ลาบรรพชาไปนั้น เมื่อว่างจากกิจการงาน พระองค์ท่านมักหลบไปเจริญสมาธิในป่าหลังบ้านเสมอๆ บางครั้งก็ไปวัดท่าหอยนั่งเจริญสมาธิบ่อยครั้ง และทรงเข้าหาพระอาจารย์ ท่านขรัวตาทอง เพื่อสอบอารมณ์ จนพระองค์ท่านสามารถเห็นรูปทิพย์ได้ ฟังเสียงทิพย์ได้ เรียกว่า ทรงเจริญกัมมัฎฐานสองส่วนได้ เห็นรูปทิพย์ และฟังเสียงทิพย์ ต่อมาพระองค์ท่านทรงสามารถกระทบจิตได้อีกด้วย

         พระองค์ท่าน ทรงลาบรรพชาไปช่วยมารดา-บิดาดูแลกิจการได้ประมาณ ๒ ปีเศษ ท่านขรัวตาทอง วัดท่าข่อย(ท่าหอย) ก็ถึงแก่มรณะภาพอย่างสงบ ลงด้วยโรคชรา

      เมื่อครบร้อยวันการทำบุญสรีระสังขารของท่านขรัวตาทอง พระองค์ท่าน และมารดาบิดา ของพระองค์ท่าน ก็ไปช่วยงานปลงศพ ท่านขรัวตาทอง ณ ที่วัดท่าหอย

         เสร็จงานปลงศพ ท่านขรัวตาทอง วัดท่าหอยแล้ว ชาวบ้านทั้งหลายในวัดท่าหอย ได้ยกให้ พระอาจารย์แย้ม วัดท่าหอย ศิษย์ท่านขรัวตาทอง ขึ้นเป็นพระอธิการ วัดท่าหอย เป็นองค์ต่อมา

 

พระประวัติโดยสังเขป
อุบัติคู่พระบารมี
 
 

อุปสมบท

       ถึงปีพระพุทธศักราช ๒๒๙๗ มารดาบิดาของพระองค์ท่าน ชราภาพลงมากแล้ว พวกลูกๆ ต่างก็พากันมาคอยปรนนิบัติรับใช้มารดา-บิดา และช่วยดู แลกิจการ การทำสวน ไร่ นา ควบคุมข้าทาสบริวาร เป็นการแสดงความกตัญญู อันเป็นคุณธรรมที่บุตรพึงมีแก่ มารดาบิดา

      ครั้งนั้นมารดาบิดาของพระองค์ท่าน ต้องการที่จะให้พระองค์ท่านอุปสมบท บวชเรียนในพระพุทธศาสนา ตัวพระองค์ท่านเองก็มีความประสงค์ที่จะอุปสมบท บวชเรียน เพื่อทดแทนบุญคุณ มารดา-บิดาด้วย ซึ่งเวลานั้นมารดาบิดาของท่านก็มีความสุขสบายดีมากขึ้นกว่าแต่ก่อน จากการได้พักผ่อน จากการทำมาหาเลี้ยงชีพ เนื่องจากมีพวกลูกๆมาคอยดูแล ปรนนิบัติรับใช้ และช่วยดูแลกิจการต่างๆ

          ครั้น เวลาใกล้เข้าพรรษาในปีนั้นประมาณต้นเดือนแปด มารดาบิดาของพระองค์ท่าน ได้นำพระองค์ท่านไปฝากตัวเป็นศิษย์บวชเรียนกับ ท่านพระครูเถรผู้เฒ่า วัดโรงช้าง ซึ่งเป็นวัดใหญ่ อยู่นอกกำแพงเมือง ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำแนวเดียวกันกับ วัดพุทไธศวรรย์ ห่างไปทางทิศตะวันออกประมาณ ๓-๔ เส้น ฝังตรงข้ามกับ วัดโรงช้าง เลยคูเมืองไปทางทิศใต้เป็น ประตูเมือง ชั้นนอก วัดโรงช้าง เป็นวัดใหญ่ เคยเป็นที่เลี้ยงช้างหลวง มาแต่โบราณกาล ท่านพระครูเถรผู้เฒ่า วัดโรงช้าง ท่านเคยเป็นอุปัชฌาย์-อาจารย์ ของคุณทวด และพระบิดา ของพระองค์ท่านมาแต่กาลก่อน

         ท่านพระครูเถรผู้เฒ่า ท่านมีนามเดิมว่า สี ชาวบ้านเรียกขานนามท่านว่า หลวงปู่สี เป็นพระครูฝ่ายวิปัสสนาธุระ ในราชทินนามที่ พระครูรักขิตญาณ สถิตวัดโรงช้าง พระครูรักขิตญาณ(สี)ท่านศึกษาพระกัมมัฏฐานมัชฌิมา แบบลำดับ สืบต่อมาจาก พระครูวินัยธรรมจ้อย วัดท่าเกวียน อยุธยา พระครูวินัยธรรม(จ้อย) เป็นศิษย์พระพนรัต(แปร) วัดป่าแก้ว ในรัชสมัยพระเจ้าเสือ ท่านพระครูรักขิตญาณ(สี) ท่านเป็นพระอานาคามีบุคคล พระอริยบุคคลในพระพุทธศาสนา กล่าวว่า พุทธกาลล่วงเข้า ๓๐๐๐ ปี มีแต่อานาคามีบุคคล

    พระครูรักขิตญาณ(สี) ท่านเป็นพระอุปัชฌาย์ บรรพชาอุปสมบท พระอาจารย์สุก และเป็นพระอาจารย์ บอกพระกัมมัฏฐานมัชฌิมา แบบลำดับ เบื้องต้น องค์ที่สอง(เป็นการทบทวน) และสอนบาลี คัมภีร์พระบาลีมูลกัจจายน์เบื้องต้น ให้กับพระอาจารย์สุก เมื่ออุปสมบท บวชเรียนในพรรษาต้นๆ ณ. วัดโรงช้าง

        วันที่พระอาจารย์สุก บรรพชา-อุปสมบทที่วัดโรงช้างนั้น เมื่อพระสงฆ์ทำยัตติกรรมเสร็จลง ก็บังเกิดอัศจรรย์ ปรากฎมีแสงสว่าง เหลืองอร่ามพุ่งออกมาทางช่องประตู พระอุโบสถที่เจาะช่องไว้ พร้อมกันนั้นก็มีเสียงไก่ป่า ไก่บ้าน ไก่วัด ร้องกันระงมเซงแซ่ไปหมด คล้ายเสียงอนุโมทนา สาธุการบุญกุศล ผู้คนที่มาในงานบรรพชา-อุปสมบท เห็นอัศจรรย์ดังนั้น ก็ยกมือขึ้นอนุโมทนา สาธุการ กันทั่วหน้าทุกตัวตน ด้วยความปีติใจ

            กล่าวว่าแสงสว่างนั้น เป็นแสงของ เทวดา และพรหมทั้งหลาย มาแสดงอนุโมทนายินดี ที่พระอาจารย์สุก ได้บรรพชา-อุปสมบทในครั้งนั้น

         พระอาจารย์สุก บรรพชาอุปสมบทแล้ว ทรงได้รับพระฉายานามทางพระพุทธศาสนาว่า พระปุณณะปัญญา (ตามหลักพระบาลีมูลกัจจายน์ ของเก่า ซึ่งมีความละเอียดลึกซึ้งมากกว่าปัจจุบัน) อุปสมบทแล้วในพรรษานั้นพระองค์ท่านได้ศึกษาการอ่าน เขียน อักขระขอมไทย เพื่อเป็นการทบทวน และเตรียมพระองค์ ในการเล่าเรียนพระปริยัติธรรม และศึกษา พระคัมภีร์บาลีมูลกัจจายน์ ซึ่งจารึกพระคัมภีร์ด้วยอักขระขอม ไทย

            การศึกษาภาษาบาลี คัมภีร์มูลกัจจายน์ ในสมัยกรุงศรีอยุธยาแต่โบราณกาลนั้น กุลบุตรผู้บวชเรียน มีความประสงค์ที่จะศึกษา พระธรรม หรือพระบาลีคัมภีร์มูลกัจจายน์ ต้องเริ่มต้นด้วยการหัดเขียน หัดอ่าน อักษร ขอม ก่อน เพราะพระคัมภีร์พระธรรม และคัมภีร์บาลีจารไว้ด้วยอักษร ขอม กุลบุตรผู้บวชเรียน จะศึกษาพระคัมภีร์มูลกัจจายน์ หรือคัมภีร์พระบาลีใหญ่ ต้องท่องจำหลักไวยากรณ์ รากศัพท์อันเป็นสูตรมูล ทั้งภาคมคธ และภาคไทย ล้วนจารึกด้วยอักษรขอมทั้งนั้น