กลยุทธพื้นฐาน

การกัก (2)

โดย วินัย  ลิ้มดำรงค์ชิต

การกัก (1) การกัก (3)

 
4. 1 ฮอส 1 เบี้ย  กับ 3 เบี้ย   แนวทางการกักของฝ่ายมีฮอสคือ ค้องไม่ให้ฝ่ายเบี้ยล้วนเข้าฮอสได้ หรือหากเข้าได้ก็ต้องถูกฆ่า  เบี้ยของฝ่ายฮอสจึงมีความสำคัญมากที่จะช่วยในการกัก  โดยมีการกักได้ใน 3 ลักษณะ
       4.1 การแยกกัก   โดยการใช้เบี้ยกักเบี้ย  และฮอสกัก 2 เบี้ย  ดูตัวอย่างรูปที่ 30 และ 31


รูปที่ 30



รูปที่ 31


	ตัวอย่างการเดินกักลักษณะนี้ (รูปที่ 32 และ 33)


รูปที่ 32

	       ขาว			   แดง
	1. 19 - 10		17 - 21
	2. 10 - 19		11 - 16
	3. 19 - 10		16 - 20
	4. 10 - 15		12 - 16
	5. 15 - 28



รูปที่ 33

	        ขาว			   แดง
	1. 22 - 31		24 - 28
	2. 31 - 22  ยึดสายกลาง
       4.2 การกักรวม   การกักลักษณะนี้  ฮอสกับเบี้ยจะมีส่วนสัมพันธ์ช่วยในการกัก  โดยกักเบี้ยอีกฝ่ายหนึ่งทั้ง 3 ตัว ให้รวมอยู่เฉพาะด้านใดด้านหนึ่ง ดูตัวอย่างรูปที่ 34, 35, 36 และ 37


รูปที่ 34



รูปที่ 35



รูปที่ 36



รูปที่ 37
        การกักรวมนี้  หากเบี้ยของฝ่ายมีฮอสขึ้นสูงไปถึง ตา 12 (กรณีของฝ่ายขาว) จะมีรูปที่น่าสนใจอยู่ 2 ลักษณะ คือ เบี้ยแดงอยู่ด้านซ้ายทั้งหมด  และอีกลักษณะคืออยู่ด้านขวาทั้งหมด


รูปที่ 38

รูปที่ 38 จะเสมอกันได้ ดังนี้

	       ขาว			  แดง
	1.   4 - 8			  7 - 10
	2. 18 - 22		10 - 14
	3. 22 - 11		14 - 17
	4. 11 - 25		17 - 21
	5. 25 - 22		   2 - 7
	6. 22 - 18		  7 - 10
	7. 18 - 22		10 - 14
	8. 22 - 15		14 - 17
	9. 15 - 29		   3 - 7
	10. 12 - 8		   7 - 11
	11.  8 - 4			11 - 15
	12.  4 x 18		17 - 22
	13. 18 x 25		21 x 30


	กรณีที่เบี้ยทั้ง 3 ตัวอยู่ด้านขวาทั้งหมด (ดูรูปที่ 39)


รูปที่ 39
 
        หากขาวปล่อยให้เบี้ยแดงเดินขึ้นมาเรื่อย ๆ จะตกเป็นฝ่ายแพ้  เพระไม่สามารถยึดแนว 1_28 ได้ตลอด  เพราะฝ่ายแดงจะฆ่าฮอสได้  หากขาวจะเดินไปกักที่ตา 32 ก็จะถูกบีบให้ต้องเดินออกมา เปิดทางให้ฝ่ายแดงเข้าฮอสได้  ดังนั้น  จึงต้องพยายามกักเบี้ยก่อนที่จะขึ้นสูงจนเป็นอันตราย
จากรูปที่ 39 ขาวเป็นฝ่ายชนะได้  ดังนี้
	       ขาว			  แดง
	1.   1 - 10		  2 - 7
	2. 10 - 1			11 - 16
	3.   1 - 6			  7 - 11 
	(หากแดง 3. ...... 16 - 20     ขาวเดิน 4. 6 - 15)
	4.   6 - 2			16 - 20
	5. 2 x 16			20 - 24
	6. 16 - 23		24 - 28
	7. 23 - 32

        ลักษณะคล้ายกันนี้  บางรูป ฝ่าย 3 เบี้ยสามาระตีเสมอได้ (ดูรูปที่ 40)


รูปที่ 40

	       ขาว			   แดง
	1.   1 - 6			11 - 16
	2.   6 - 24		  7 - 11 
	(ถ้า 2. .......     16 - 20 จะแพ้โดย   3. 24 - 15)
	3. 24 - 20		16 - 19
	4. 20 x 7			  3 x 10
	5. 12 - 8			19 - 23
	6.   8 - 3			23 - 26
	7.   3 x 14	เสมอกัน

	โปรดเปรียบเทียบการเดินระหว่างรูปที่ 40 กันรูปที่ 39 เพื่อให้เข้าใจจังหวะและวิธีเดินให้ดียิ่งขึ้น

	4.3 การกักแบบผสม  เป็นการกักลักษณะอื่นนอกเหนือจาก 2 ลักษณะที่กล่าวมา  ดูตัวอย่าง
รูปที่ 41 และ 42


รูปที่ 41



รูปที่ 42

แบบทดสอบที่ 2
จากรูปต่อไปนี้  กำหนดให้ขาวเป็นฝ่ายเดินก่อน  ให้หาทางเดินที่ดีที่สุดของทั้ง 2 ฝ่าย  และสรุปผลของการเดินนั้น


รูปที่ 43



รูปที่ 44



รูปที่ 45



การกัก (1) <<  >>การกัก (3)