กลยุทธพื้นฐาน

การกัก (2)

โดย วินัย  ลิ้มดำรงค์ชิต

การกัก (1) การกัก (2)

 
5. 1 ฮอส 1 เบี้ย  กับ 1ฮอส 1 เบี้ย ปกติการเดินที่ทั้ง 2 ฝ่ายมีกำลังเท่ากัน  ผลการเล่นควรจบลงด้วยการเสมอกัน  แต่ก็ขึ้นอยู่กับตำแหน่งของเบี้ยด้วยว่าทำให้ได้เปรียบหรือเสียเปรียบ  ปกติการขึ้นสูงใกล้เข้าจะดีกว่า  เว้นแต่จะไปเข้าลักษณะที่บีบตัวเองมากเกินไป  ก็อาจตกเป็นฝ่ายแพ้ได้ ดูตัวอย่างรูปที่ 46


รูปที่ 46
        เบี้ยแดงอยู่สูงน่าจะได้เปรียบ  และผลควรจะเสมอกัน   เพราะฝ่ายขาวจับกินแลกกันฝ่ายละ 1 ตัวได้  แต่ขาวสามารถชนะได้โดยการทำให้อีกฝ่ายเดินไม่ได้ ดังนี้
	       ขาว			  แดง
	1. 20 - 16		25 - 29
	2. 26 - 22		18 x 25
	3. 16 - 30   กักตายฝ่ายแดง  ขาวชนะ
       หากเบี้ยที่ขึ้นไปอยู่สูง  ถูกเบี้ยของอีกฝ่ายหนึ่งกักไว้ไม่ให้เดินได้  ผลจะเสมอกัน  โดยฝ่ายที่เบี้ยอยู่ต่ำไม่ต้องขยับเบี้ย  แต่จะเดินแต่ฮอส   ดูตัวอย่างรูปที่ 47 และ 48


รูปที่ 47


รูปที่ 48


บางรูปต้องใช้ฮอสในการกัก  ก็จะเสมอเช่นกัน  ดูตัวอย่างรูปที่ 49 และ 50



รูปที่ 49

ฝ่ายขาวต้องระวังไม่ให้ฮอสถูกฆ่า  และยึดแนว 4_29



รูปที่ 50
        ฮอสขาวต้องยึดแนว 5_32 ตลอด  เมื่อฮอสแดงมาที่ตา 20  ฮอสขาวต้องไปตา 32  และหากฮอสแดงอยู่ตา 31 ฮอสขาวจะเดินอยู่ในช่วงตา 5_18

        มีหลายลักษณะ  ที่แม้ฝ่ายที่เบี้ยอยู่ต่ำกว่าไม่สามารถใช้เบี้ยไปกักเบี้ยของอีกฝ่ายหนึ่งโดยตรง  แต่ก็ยังสามารถตีเสมอได้


รูปที่ 51

เบี้ยขาวอยู่ต่ำกว่า  จึงเสียเปรียบ  แต่เนื่องจากฮอสดำออยู่ในตำแหน่งกักตัวเอง  จึงพอหาเสมอได้  ดังนี้

	       ขาว			   แดง
	1. 11-15			24 - 28 (หากแดงเดิน 32 - 28 จะแพ้)
	2. 15 - 1			32 - 25
	3. 31 - 27		  5 x 32
	4.   1 - 5  ฝ่ายแดงต้องยอมเสียฮอส  แล้วเข้าฮอสใหม่



รูปที่ 52
        รูปที่ 52  แม้ฝ่ายขาวจะเข้าฮอสได้ก่อน  แต่ฝ่ายแดงดูดีกว่าที่เบี้ยทั้ง 2 ตัวอยู่สูง  มีโอกาสเข้าฮอสได้ทั้ง 2 ตัว ขาวจะตีเสมอได้  ดังนี้
	        ขาว			   แดง
	1.    8 - 3			22 - 26
	2. 30 - 25		23 - 27  (ถ้าแดง 2. ........... 26 - 30   ขาวเดิน 3 - 12)
	3.    3 - 17		27 - 31  (ถ้าแดง 3. ........... 26 - 30   ขาวเดิน 17 - 31)
	4. 17 - 13		26 - 30
	5. 25 - 22		31 X 17
	6. 13 x 22  เสมอกัน



รูปที่ 53
คล้ายกับรูปที่ 52  แต่ตำแหน่งของเบี้ยขาวที่จะเข้าฮอสเปลี่ยนไป   รูปนี้แม้ฝ่ายแดงจะมีเบี้ยสูงกว่า  แต่เป็นฝ่ายเสียเปรียบ  ต้องเดินถูกวิธีจึงจะเสมอ  คือ
	        ขาว			  แดง
	1.    6 - 1			22 - 26
	2.    1 - 28		26 - 31
	3.  28 - 32		31 - 27
	4. 30 - 25		27 - 31
	5. 32 x 18		31 - 22
	6. 18 - 32		22 x 29   เสมอกัน



รูปที่ 54
ฝ่ายแดงดูจะเป็นต่อมาก  เพราะเบี้ยจะสามารถเข้าฮอสได้โดยที่อีกฝ่ายไม่สามารถหยุดยั้งได้  อย่างไรก็ดี  ขาวมีช่องทางตีเสมอได้  ดังนี้
	        ขาว			  แดง
	1.   1 - 5			23 - 27   ( หากแดงเดิน 1. ............  32 - 27  2. 30 - 26)
	2. 30 - 26		27 - 31
	3. 26 - 23		32 x 18
	4.  1 x 32    (เสมอกัน)



รูปที่ 55
        เบี้ยทั้ง 2 ฝ่ายต่างอยู่สูง  แต่ฝ่ายแดงได้เปรียบที่จะเข้าฮอสได้จากการที่ฮอสฝ่ายขาวจะต้องขยับ ฝ่ายขาวมีเบี้ยลอยอยู่กลางกระดาน  หากไม่รู้วิธีเดินที่ถูกต้องจะตกเป็นฝ่ายแพ้  การตีเสมอจะทำได้ ดังนี้
	       ขาว			  แดง
	1. 32 - 29		.................
	 (ฮอสขาวอาจเดินไปตาอื่นก็ได้ยกเว้น 32 - 5 เพราะจะแพ้)
	1. .............		28 - 32
	2.   9 - 5			32 - 28
	3.   5 - 1   เสมอกัน

        หากแดงต่อฮอส เบี้ยขาวก้าวไปเข้าฮอสได้  และหากแดงเดิน 28 - 32  ฮอสขาวจะเดิน 1 - 5  ล้อตาเดินกัน



รูปที่ 56
        ฝ่ายขาวได้เปรียบมาก  จากการที่เบี้ยขึ้นไปสูง  ขณะที่เบี้ยแดงยังอยู่แถวแรก และติดมุม  ฮอสแดงจะพยายามรักษาแนว3 _ 21 ไว้ หากขาวไม่รู้วิธีเดินจะไม่สามารถเอาชนะได้  ขาวจะต้องแย่งแนว3 _ 21 ให้ได้  ในลักษณะคล้ายการแก้ทีในหมากรุก
	        ขาว			   แดง
	1. 12 - 19		  3 - 14
	2. 19 - 15		14 - 21
	3. 15 - 18		21 - 10
	4. 18 - 29		10 - 21
	5. 29 - 15		21 - 14
	6. 15 - 25		14 - 21
	7. 25 - 30		21 - 3
	8. 30 - 21		  3 - 12
	9. 11 - 7   ขาวชนะ
        ลองเดินดูหลาย ๆ ครั้ง  จะช่วยให้เข้าใจจังหวะการเดินและวิธีการแก้ที  อย่างไรก็ตาม  ฝ่ายขาวต้องระวังไม่ให้เบี้ยถูกคล่อมจับกินฟรี  ตัวอย่าง  เช่น  (จากรูปที่ 56)
	1. 12 - 16		  3 - 8
	2. 11 - 7			  8 - 11   ขาวแพ้

			หรือ

	1. 12 - 23		   3 - 10
	2. 23 - 18		10 - 15  ขาวแพ้  เป็นต้น
6. 1 ฮอส 2 เบี้ย กับ 1ฮอส 1 เบี้ย    โดยทั่วไปฝ่ายที่มี 3 ตัวได้เปรียบ  และเป็นฝ่ายชนะ  ในที่นี้จะแสดงการชนะในรูปแบบต่างๆ


รูปที่ 57
        ฝ่ายขาวมีทางเลือกเดินเอาชนะได้หลายวิธี  หลักสำคัญคือต้องหาทางเดินเบี้ยตัวล่างขึ้นไปเพื่อเข้าฮอสหรือฆ่าฮอส  หรือยอมให้กินฟรีเพื่อให้เบี้ยอีกตัวหนึ่งเข้าฮอส  เช่น
	       ขาว			  แดง
	1. 23 - 14		11 - 15
	2. 14 - 17		15 - 11
	3. 17 - 21		11 - 15
	4. 20 - 16		15 - 4
	5. 21 - 10		  4 - 18
	6. 16 - 11		18 x 8
	7. 10 - 7			  3 x 10
	8. 12 x 3   ขาวชนะ

		หรือ

	1. 23 - 30		11 - 7
	2. 30 - 25		 7 - 10
	3. 25 - 11		10 - 6
	4. 11 - 2 			 6 - 13
	5. 20 - 16		13 - 17
	6. 16 - 11		17 - 22
	7. 11 - 7 			 3 x 10
	8.  2 - 11			22 x 8
	9. 12 x 3   ขาวชนะ  เป็นต้น



รูปที่ 58
แม้เบี้ยแดงจะลอยอยู่กลางกระดาน  แต่ฝ่ายขาวไม่สามารถจับกินได้  เพราะฮอสจะตายและกลับเป็นฝ่ายแพ้  และหากเลือกเดินเบี้ยขึ้นไป  ก็จะกลับเป็นรอง  เพราะเบี้ยแดงจะเข้าฮอสได้สบาย  ขาวเลือกเดินชนะได้หลายแนวทาง เช่น
	       ขาว			  แดง
	1.   4 - 15		31 - 20
	2. 15 - 22		20 - 31
	3. 22 - 13		31 - 24
	4. 13 - 31		24 - 15
	5. 31 - 20		15 - 22
	6. 30 - 25		22 x 29
	7. 20 - 16   ขาวชนะ

		หรือ

	1.  4 - 15			31 - 20
	2. 15 - 22		20 - 31
	3. 22 - 13		31 - 24
	4. 13 - 31		24 - 15
	5. 31 - 22		15 x 25
	6. 30 x 21		23 - 26
	7. 21 - 17		26 -31
	8. 17- 14			31 -24
	9. 14 - 9 			24 - 28
	10. 9 - 5 			28 - 1
	11.32 -28   ขาวชนะ  เป็นต้น



รูปที่ 59
        ฝ่ายขาวต้องเดินเบี้ยขึ้นไปเพื่อเข้าฮอส  หรือเดินเบี้ยขึ้นไปให้เบี้ยตา1 กิน  แล้วเข้าฮอสอีกตัวบีบเอาชนะ  ที่สำคัญคือ  ต้องไม่ขึ้นเบี้ยไปตาที่ 13  เพราะจะทำให้เสมอกัน (ดูรูปที่ 60)
 จากรูปที่ 59
	     ขาว			  แดง
	1. 21 - 17		 2 - 7
	2. 30 - 21		 7 - 2
	3. 17 - 14		 2 - 6
	4. 21 - 30		 6 - 2
	5. 14 - 10		 2 - 11
	6. 30 - 26		11- 2
	7. 26 - 31		 2 - 20
	8. 10 -  6			 1x 10
	9.   5 -  1			10 - 14
	10.1 - 5	ขาวชนะ



รูปที่ 60
        แม้ฝ่ายขาวจะมีมากกว่า  แต่จะไม่สามารถเอาชนะฝ่ายดำได้  โดยฮอสแดงจะเดินอยู่ 2 ตา คือ 6 และ 2  หากฮอสขาวเข้าแย่งตา 2  ฮอสแดงจะเดินอยู่แนว 10 - 28  ถ้าเบี้ยขาวออกมาจะถูกจับกินฟรี  เมื่อฮอสขาวออกจากตา 9 และ 2 แล้ว  ฮอสแดงจะเข้าแทนที่  และเดินแต่ตา 6 และ 2 ดังเดิม  เช่น
	       ขาว			    แดง
	1. 21 - 17		   2 - 6
	2. 17 - 13		   6 - 2
	3. 31 - 20		   2 - 6
	4. 20 -  2		 	  6 - 15
	5.   2 -  9			15 - 19
	6.   9 - 14 		19 - 16  
			  ฯลฯ

	หลักสำคัญคือต้องกันไม่ให้ฝ่ายขาวเดินเบี้ยได้

	บางครั้ง  อาจไปเข้ารูปการกักและการกินผสมกัน  ดังตัวอย่างรูปที่ 61 และ 62


รูปที่ 61
       แม้ฝ่ายแดงจะมีหมากมากกว่า  และอยู่ในตำแหน่งที่สูง  แต่ฝ่ายขาวสามารถบังคับเอาเสมอได้ไม่ยาก  ดังนี้
	       ขาว			   แดง
	1. 26 - 22		18 x 25
	2. 12 - 30		13 - 17
	3. 30 x 21, 14  เสมอกัน


รูปที่ 62
        เบี้ยขาวอยู่สูง  ใกล้จะเข้าฮอส  จึงทำให้ไม่เป็นรอง  แม้จะมีจำนวนหมากน้อยกว่า  ฮอสขาวจะเดินอยู่ 2 ตา  คือ 20 และ 24  เบี้ยดำตา7 จะเดินไม่ได้ เพราะฮอสจะถูกฆ่าและต้องเสียสองต่อ เบี้ยดำตา 5 หากออกมา  ฮอสขาวจะเดินไปตา20ไล่เบี้ยดำตา 7  และพร้อมกลับมาจับกินฟรี หนึ่งตัว  ดูตัวอย่างการเดิน
	        ขาว			   แดง
	1. 24 - 20		  4 -  11
	2. 20 - 24		11 - 4
	3. 24 - 20		  4 - 11
		        ฯลฯ

6. 2 ฮอส  กับ 1ฮอส 1 เบี้ย   ฝ่ายมีเบี้ยเป็นรอง  เว้นแต่จะขึ้นสูง  และอยู่ในรูปที่จะตีเสมอได้ 
ดูตัวอย่างรูปที่ 63 และ 64


รูปที่ 63
        เบี้ยแดงขึ้นมาถึงตา21  หากฝ่าวขาวต่อฮอส  เบี้ยแดงจะเข้าฮอสได้ใหม่และเสมอ  ฝ่ายแดงจะต้องระวังไม่ให้ตกจังหวะที่ต่อฮอสแล้ว  ฮอสขาวกักอยู่ในแนว 4_29 หรือ ตา 30


รูปที่ 64
        รูปนี้เสมออย่างแน่นอน  เพราะเบี้ยแดงพร้อมที่จะเข้าฮอส  หากฮอสขาวตาที่32 ขยับออกจากที่ตั้ง  แต่ฝ่ายแดงต้องระวังลูกหลอกของฝ่ายขาว  ซึ่งหากเดินพลาดไปก็อาจทำให้แพ้ได้  เช่น
	       ขาว			  แดง
	1. 31 - 24		 2 -  20
	2. 32 - 25		20 x 27
	3.  5 x 32    ขาวชนะ

			หรือ

	1. 31 - 20		 2 - 6
	2. 20 - 24		 6 - 1
	3. 32 - 5			28 - 32
	4. 24 - 28    ขาวชนะ   เป็นต้น



รูปที่ 65

	แม้เบี้ยแดงจะขึ้นสูง  แต่ฝ่ายขาวยังสามารถบีบเอาชนะได้  ดังนี้

	       ขาว			  แดง
	1. 13 - 31		19 -  24
	2. 14 -  5			24 - 28
	3. 31 - 24		20 x 27
	4.  5 x 32  กักตาย  ขาวชนะ


รูปที่ 66
ดูอย่างผิวเผินแล้วน่าจะเสมอกัน  เพราะฝ่ายแดงเข้าฮอสได้อย่างแน่นอน 1 ตัว  ส่วนอีกตัวก็อยู่สูงจ่อจะเข้าฮอส  แต่ฝ่ายขาวสามารถเดินเอาชนะได้  ดังนี้
	        ขาว			  แดง
	1.   8 -  4	 		25 - 30  
	(หากแดงเดิน 1. .......    17 - 22 จะถูกจับกินฟรี  
		     หรือ 1. .......   25 - 29 จะถูกต่อสอง)
	2. 20 - 31		17 - 21
	3.   4 - 18	 	30 - 12
	4. 18 - 23		12 x 26
	5. 31 x 22   ขาวชนะ



รูปที่ 67

        แม้เบี้ยแดงจะขึ้นได้สูง  และดูอิสระ  แต่ยังต้องตกเป็นฝ่ายแพ้  ดังนี้

	       ขาว			  แดง
	1.   2 -  7	 		21 - 30
	(หากแดงเดินฮอส 21 - 25 หรือเดินเบี้ย  จะถูกต่อสอง)
	2.   7 - 20		30 - 21
	3. 20 - 31		21 - 25
	4.   3 - 14		25 - 18
	5. 14 - 9	ขาวชนะ



รูปที่ 68
        รูปที่ 68 มีที่มาจากรูป 69  (ที่คล้ายรูปที่ 52  แต่กลับด้านกัน  ฝ่ายแดงเดินไปแล้ว 1 ครั้ง  ถึงจังหวะของฝ่ายขาวเดิน)


รูปที่ 69

	       ขาว			  แดง
	1. 11 - 7	 		  3 - 8
	2. 10 -  6			  8 - 11  ผิดทำให้แพ้
	(หากแดงเดิน 2. ............      30 - 16 จะเสมอดูการเดินรูปที่ 52)
	3.   7 -  3			11 - 15   (เข้ารูป 68)
       จากรูปที่ 68 ดูไม่น่าจะมีอะไรและส่วนเดิมส่วนใหญ่จะเข้าใจว่าเสมอกัน  เพราะไม่สามารถกันเบี้ยที่ขึ้นสูงเรื่อย ๆ และเข้าฮอสได้ในที่สุด  แต่ฝ่ายขาวยังมีทางเอาชนะได้  ดังนี้

การกัก (1) <<การกัก (2) <<