วัดพระศรีสรรเพชญ์
วัดนี้เดิมเป็นพระราชวังหลวง
ซึ่งเป็นที่ประทับของสมเด็จพระรามาธิปดี ที่ ๑ (พระเจ้าอู่ทอง)
ที่พระองค์ สร้างขึ้นเมื่อ ปี พ.ศ. ๑๘๙๓ เดิมพระราชวังนี้ สร้างด้วยเครื่องไม้
มีปราสาท ๓ องค์ คือ
-พระที่นั่งไพชยนต์มหาปราสาท
-พระที่นั่งไพฑูรย์มหาปราสาท
-พระที่นั่งไอศวรรย์มหาปราสาท
ต่อมาในปี พ.ศ.
๑๙๙๑ สมเด็จพระบรมไตรโลกนารท (รัชกาลที่ ๘ ของกรุงศรีอยุธยา) เสด็จขึ้นเสวยราชสมบัติ
พระองค์ทรงอุทิศที่ตั้งปราสาทเดิม สร้างเป็นวัดขึ้น ใช้สำหรับ ประกอบพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา
และเป็นที่เสด็จ ออกทรงบำเพ็ญ พระราชกุศล ส่วน พระองค์ แล้วทรงย้ายพระราชวังไปสร้างใหม่ด้านริมแม่น้ำลพบุรี
ซึ่งต่อมาตื้นเขิน และแคบ ลงทุกที จนเรียก กันใหม่ว่า คลองคูเมือง
ภาพซ้ายแผนที่ในพระบรมมหาราชวัง
พระนครศรีอยุธยา
ลักษณะของวัดพระศรีสรรเพชญ์
นั้นเป็น วัดใหญ่อยู่ใน พระบรมราชวัง ไม่มีพระภิกษุ สงฆ์จำพรรษา มีสิ่งก่อสร้างสำคัญ
ดัง
ต่อไปนี้
๑. เจดีย์ใหญ่สามองค์ ซึ่งตั้งอยู่ระหว่างวิหารหลวงกับมณฑปจตุรมุข
เจดีย์องค์แรก นับจาก ทิศตะวันออก สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ โปรดให้สร้างขึ้นในปี
พ.ศ.๒๐๓๕ เป็นที่บรรจุอัฐิ ของสมเด็จพระบรมไตรโลกนารท พระราชบิดา
องค์ที่สอง
เป็นที่บรรจุอัฐิของ สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๓ (พระเชษฐา) และองค์สุดท้าย ได้
ถูกสร้างขึ้นในอีก ๔๐ ปีต่อมา โดย สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๔ โปรด ให้สร้างขึ้นเพื่อเป็นที่
บรรจุ พระอัฐิของ สมเด็จพระ
รามาธิบดีที่ ๒
๒.มณฑปจตุรมุข หรือวิหารสี่หน้า สมเด็จพระนารายณ์มหาราช
โปรดให้สร้างขึ้น แบบ สถาปัตยกรรมตะวันตก ที่ฝรั่งนำเข้ามา โดยทำช่องหน้าต่างก่อด้วยอิฐตะแคงเป็นรูปโค้ง
เป็นที่ประดิษฐาน พระพุทธรูปสี่อริยาบท คือ พระพุทธรูปประทับนั่ง นอน ยืน เดิน
แต่ปัจจุบัน เหลือให้เห็นแต่พระพุทธรูปนั่ง ซึ่งประดิษฐานอยู่ในมุขด้านทิศตะวันออก
ตอนกลาง มณฑป เป็นเจดีย์ สำหรับ บรรจุอัฐิของกษัตริย์สมัยอยุธยาตอนปลาย
๓.วิหารหลวง(วิหารใหญ่องค์กลางทางทิศตะวันออกของเจดีย์ใหญ่สามองค์) มีชื่อว่า
วิหารพระศรีสรรเพชญ์ เป็นที่ประดิษฐาน
พระศรีสรรเพชญ์
ซึ่งเป็น พระพุทธรูปหล่อขนาดใหญ่ ประทับยืน สูงตั้งแต่ พระบาท ถึงยอดรัศมี ๘
วา พระพักต์ยาว ๔ ศอก พระอุระ กว้าง ๑๑ ศอก ใช้ทองคำหล่อหนักถึง ๕๘ ชั่ง และหุ้มด้วยทองคำหนัก
๒๘๖ ชั่ง ซึ่งคิดว่าไม่มีพระพุทธรูปองค์ใด ในโลกจะ ใหญ่โต งดงามเท่าเทียมได้
แต่เมื่อคราวเสียกรุงศรีอยุธยา ครั้งที่สอง แก่พม่าในปี พ.ศ. ๒๓๑๐ วัดพระศรีสรรเพชญ์
ถูกไฟไหม้ทั่วทั้งพระอาราม พระศรีสรรเพชญ์ ถูกพม่าใช้ไฟเผา รอกเอาทองคำไปหมด
องค์ พระก็ชำรุดไม่สามารถซ่อมแซมได้ พระบาทสมเด็จ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
จึงโปรดให้เอาแกนในที่เป็นสำริด ไปบรรจุไว่ในเจดีย์สรรเพชญ์ดายาณ ซึ่งโปรดให้สร้าง
ขึ้น ใน วัดพระเชตุพนวิมนมังคลาราม ในกรุงเทพฯ
๔. วิหารพระป่าเลไลย์ ตั้งอยู่ทางขวาของ วิหาร พระศรีสรรเพชญ์ เป็นที่ประดิษฐานของ
พระป่าเลไลย์
๕.วิหารพระไตรโลกนาถ ตั้งอยู่ทางซ้าย ของวิหาร พระศรีสรรเพชญ์ เป็นที่ประดิษฐานของพระไตรโลกนาถ
ภาพซ้าย พระเจดีย์ศรีสรรเพชญ์ดายาณ ในวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม
กรุงเทฑฯ
ภาพล่าง
พระไตรโลกนาถ ปัจจุบันประดิษฐานที่ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม
.วิหารสามหลังแฝด
ตั้งอยู่ทางด้านหน้าของ พระวิหาร พระไตรโลกนาถ มีชื่ออย่างหนึ่งว่า พระที่นั่งจอมทอง
๗.พระอุโบสถ อยู่ทางทิศตะวันออก ของวิหาร พระศรีสรรเพชญ์ หรือด้านหน้าของวิหารพระป่าเลไลย์
เป็นที่บำเพ็ญพระราชกุศล และประกอบพระราชพิธีต่างๆ เช่นเดียวกับ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม(วัดพระแก้ว)
ในกรุงเทพฯ
๘.เจดีย์ราย ที่อยู่รายรอบวัดพระศรีสรรเพชญ์ เป็นที่บรรจุ อัฐิของพระมหากษัตริย์
และพระบรมศานุวงค์ แห่ง กรุงศรีอยุธยา
๙.วิหารราย ตั้งอยู่คู่กับเจดีย์รายแต่ละองค์ สำหรับเป็นที่ทำบุญทักษิณานุปทาน
อุทิศส่วน กุศล ให้กับผู้ล่วงลับไปแล้ว
๑๐.ฐานของสิ่งก่อสร้าง อยู่ระหว่างเจดีย์ใหญ่ ๓ องค์ ซึ่งสันนิษฐานว่าอาจจะเป็นฐาน
ของ มณฑป แต่ด้วยเหตุที่ไม่ปรากฏ ในพงศาวดาร จึงไม่อาจจะยืนยันได้แน่นอน จะมีก็แต่เพียง
ฐาน ที่อยู่ใกล้กับเจดีย์ใหญ่องค์แรกเท่านั้น ที่มีหลักฐานว่า เคยเป็น ที่ประดิษฐาน
รอย พระพุทธบาทมาก่อน
วัดพระศรีสรรเพชญ์
ได้ทำการบูรณะ หลังจากเสีย กรุงศรีอยุธยา ครั้งที่ ๒ ในปี พ.ศ.๒๕๐๐ โดยจอมพล
ป.พิบูลย์สงคราม ซึ่งได้ทำ การบูรณะเจดีย์สามองค์ขึ้นมาใหม่ ซึ่งในปัจจุบันนี้
เราสามารถ มองเห็นได้ชัด จาก ลักษณะของเจดีย์ที่อยู่ในสภาพสมบูรณ์
ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๒๒ โครงการอุทยานประวัติศาสตร์ พระนครศรีอยุธยา ได้ทำการบูรณะ
ขึ้น โดยการบูรณะกำแพงรอบวัด พระศรีสรรเพชญ์ เจดีย์ราย วิหารราย และ วิหารใหญ่