โครงสร้างหลักสูตร

          
            โรงเรียนยางชุมวิทยาได้จัดการสอนตามหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนต้น และตอนปลาย พุทธศักราช 2521 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2533) ใช้ตามหลักเกณฑ์การใช้หลักสูตร คือมีวิชาบังคับแกน วิชาบังคับเลือก ซึ่งเปิดการเรียนการสอนตามแนวที่กระทรวง ศึกษาธิการกำหนด สำหรับวิชาเลือกเสรี โรงเรียนให้นักเรียนเลือกเรียนได้ตามความถนัดและความสนใจโดยโรงเรียนกำหนด
วิชาเรียน แบบหลากหลายเท่าที่ความสามารถครูผู้สอนสามารถทำการสอนได้ และนอกจากนี้ โรงเรียนยังเปิดทำการสอนโดย ใช้กิจกรรม การสอนแบบ School workshop ให้กับนักเรียนที่สนใจเรียน ปิดสอนแบบหลากหลายวิชา และเน้นกระบวนการ เรียนการสอนในภาคปฏิบัติเป็นส่วนใหญ่ นักเรียนจะลงมือปฏิบัติจริง นักเรียนสามารถเลือก workshop ได้ทั้งในและนอกสถานศึกษา

          สภาพการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน มอบหมายให้ครู – อาจารย์ผู้สอนเป็นรายวิชา ตามรายวิชาที่เปิดตามโครงสร้าง หลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการ มุ่งให้ครู –อาจารย์ผู้สอนใช้เทคนิควิธีการสอนแบบหลากหลายวิธีและเน้นกระบวนการเรียนการสอน แบบเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เน้นให้ผู้เรียนรู้จักวิเคราะห์เป็น คิดเป็น ทำเป็น และแก้ปัญหาได้ นักเรียนมีส่วนร่วมในการเรียนอย่างทั่วถึง

           สภาพการวัดผลประเมินผลการวัดผลประเมินผล โรงเรียนมอบหมายให้ครูผู้สอนเป็นผู้ประเมินผล ตามรายวิชา ที่ตนเองสอน โดยปฏิบัติตามระเบียบว่าด้วยการประเมินผลตามหลักสูตร เช่นอัตราคะแนนการประเมินผลระหว่างภาค / ปลายภาคเรียนเป็นดังนี้
             1. ระหว่างภาคเรียน คิดเป็นคะแนนร้อยละ 60 ต่อปลายภาคเรียน ร้อยละ 40
             2. ระหว่างภาคเรียน คิดเป็นคะแนนร้อยละ 70 ต่อปลายภาคเรียน ร้อยละ 30
             โดยเน้นรายวิชาที่เป็นภาคทฤษฎี หรือวิชาสามัญ จะใช้อัตราส่วนคะแนนที่ 60 / 40 และ สำหรับในรายวิชาชีพ ที่เน้นภาคปฏิบัติ จะใช้อัตราส่วนคะแนนที่ 70 : 30 หรือ 80 : 20 เป็นต้น ส่วนในรายวิชา workshop จะเน้นภาคปฏิบัติ ในอัตราคะแนนที่ 80 – 100 %
              สำหรับหลักสูตรสถานศึกษา ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2544 โรงเรียนได้จัดสัดส่วนสาระการเรียนรู้
ู้และเวลา ดังแสดงในตารางต่อไปนี้


            
                       * จำนวนชั่วโมงที่จัดให้นักเรียนเรียนทั้งปี เท่ากับ 1000 - 1200 ชั่วโมง
                       * แผนการเรียนรู้/ จุดเน้นการพัฒนาผู้เรียนที่ต้องการเน้นเป็นพิเศษ
      คือ เน้นการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง และลงมือปฏิบัติจริง สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันหรือเพื่อการศึกษาต่อได้

[ย้อนกลับ]