วัยทารกถึงวัยก่อนเข้าเรียน [1-3] เป็นช่วงที่เด็ก
จำเป็นต้องได้รับการดูแลเอาใจใส่เป็นพิเศษเปรียบเหมือนการปูพื้นฐานที่ดี
เพื่อให้เดืกมีสุขภาพแขืงแรงมีการพัฒนาที่สมบูรณ์โดยเฉพาะสุภาพของช่องปาก
และฟันคุณพ่อคุณแม่ควรหาความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพฟันของลูกเสียแต่เนิ่นๆ
ปกติเด็กแรกเกิดจะยังไม่มีฟันอาหารหลักที่ได้รับจะเป็นน้ำนมแม่
การดูแลทำความสะอาดในช่องปากของลูก ควรเริ่มตั้งแต่ฟันน้ำนมยังไม่ขึ้น ใช้สำลีที่สะอาดหรือผ้ากอซชุบน้ำหมาดๆ เช็ดเหงือกและลิ้นทุกครั้งหลังให้นม
ขณะทำความสะอาดแม่อาจจะอุ้มลูกไว้บนตักหรือวางบนโต๊ะ
เพื่อให้มองเห็นในปากของลูกได้ชัดเจน
ฟันของลูกจะขึ้นเมื่อไร
ฟันน้ำนม [primary teeth] มีทั้งหมด 20 ซี่
ซี่ที่จะขึ้นก่อนคือ ฟันล่างซี่กลางหน้า ขึ้นเมื่ออายุ 6- 10 เดือน
หลุดเมื่อ 6-7 ขวบ
เรียงตามลำดับด้วย ฟันบนซี่กลางขึ้นเมื่ออายุ 8-12 เดือน
หลุดเมื่อ 6-7 ขวบ
ฟันซี่ข้าง ขึ้นเมื่ออายุ 9-13 เดือน หลุดเมื่อ 7-8 ขวบ
ฟันกรามซี่แรก ขึ้นเมื่ออายุ 13 -20 เดือน หลุดเมื่อ 9 -11 ขวบ
ฟันซี่เขี้ยว ขึ้นเมื่ออายุ 16-22 เดือน หลุดเมื่อ 9-12 ขวบ
และฟันล่างจะขึ้นก่อนฟันบนเล็กน้อย
ขณะที่ฟันกำลังขึ้นพ้นเหงือก เหงือกจะระบมและบวมเล็กน้อย
เด็กอาจมีน้ำลายไหลมากกว่าปกติและหงุดหงิดทานอาหารน้อยลง
นอนไม่ค่อยหลับ วิธีที่จะช่วยให้เด็กรู้สึกสบายขึ้น ทำได้โดยการใช้ช้อนเล็กๆ
แช่น้ำเย็น มาคลึงบริเวณเหงือกหรือให้กัดยางนิ่มๆ ที่ทำสำหรับเด็กที่ฟันกำลังขึ้น หากมีอาการเจ็บมากควรพามาพบแพทย์ เพื่อสั่งยาทาเหงือกที่ผสมยาชาอ่อน
ช่วยระงับอาการเจ็บได้ เมื่อฟันขึ้นมาพ้นเหงือกแล้วอาการเหล่านี้จะหายไปเอง
เมื่อฟันน้ำนมซี่แรกขึ้นแล้ว ควรแปรงฟันให้ลูกทุกครั้ง
หลังป้อนอาหารและก่อนนอน เพื่อขจัคราบแบคทีเรียที่เป็นอันตรายต่อฟัน
เพราะฟันน้ำนมทั้ง 20 ซี่ มีความสำคัญต่อการเคี้ยวอาหาร
การพูดออกเสียงและบุคลิกภาพของลูก รวมทั้งยังทำหน้าที่รักษาพื้นที่ไว้
ให้ฟันแท้ที่จะขึ้นมาภายหลัง
การเลือกแปรงสีฟันสำหรับเด็ก ควรเลือกขนแปรงนิ่มหัวแปรงมน และมีขนาดเล็กปัจจุบันหาซื้อได้ง่ายถ้าสังเกตุเห็นว่า
ขนแปรงบานออกควรเปลี่ยนอันใหม่ประมาณทุก 3 - 4 เดือน
เด็กในวัย 1-3 ขวบ จำนวนมากติดนิสัยดูดนมขวดจนหลับไป เป็นสาเหตุให้เกิดฟันผุอย่างรุนแรงตั้งแต่เด็ก ในน้ำนมมีน้ำตาลธรรมชาติ
ที่เรียกว่า แล็กโทส [lactose] และน้ำผลไม้หรือของเหลวที่มีส่วนผสมของน้ำตาล
จะถูกแบคทีเรียในปากของเด็กย่อย และผลิตน้ำกรดออกมาทำลาย โดยเฉพาะที่เด็กนอนหลับน้ำลายจะช่วยเจือจางน้ำกรดจากแบคทีเรีย
จะมีปริมาณลดลง ลิ้นของเด็กจะกักให้ของเหลวหรือน้ำนม
สัมผัสกับฟันบนเท่ากับฟันถูกแช่อยู่ในน้ำเป็นเวลาหลายชั่วโมง ดังนั้นหากเด็กติดขวดนมก่อนนอนควรใส่น้ำเปล่าไว้ในขวดให้ดูด
วิธีป้องกันฟันผุ
ผลการทดลองเป็นเวลาหลายปียืนยัน ฟลูออไรด์ช่วยลดการเกิดฟันผุ
ได้ถึง 65% ขณะที่ฟันของเด็กกำลังพัฒนาได้รับฟลูออไรด์ ซึ่งซึมเข้าไปในผิวฟันและเป็นส่วนประกอบอยู่ในฟันไปตลอดชีวิต ในเมืองไทยยังไม่มีการเติมฟลูออไรด์ลงในน้ำดื่ม เด็กอาจได้รับฟลูออไรด์ไม่เพียงพอกับการเสริมสร้างฟันและป้องกันฟันผุ
ทันตแพทย์จึงแนะนำให้เด็กรับประทานฟลูออไรด์ชนิดเม็ดหรือน้ำ โดยแบ่งความเข้มข้นตามอายุยาสีฟันและน้ำยาบ้วนปาก
ที่มีส่วนผสมของฟลูออไรด์ก็จำเป็นสำหรับเด็ก โดยให้เริ่มบ้วนปาก
ด้วยน้ำยาผสมฟลูออไรด์ เมื่อเด็กอายุ 5 ขวบขึ้นไป
พ่อแม่ควรเริ่มสอนให้ลูกแปรงฟัน โดยให้จับแปรงสีฟันตอนอายุ 2 ขวบ ให้ลูกเลียนแบบพ่อแม่ พออายุ 4 - 5 ขวบ ก็สามารถแปรงฟันเองได้
แต่อาจไม่ค่อยสะอาด ดังนั้นพ่อแม่ควรตรวจและช่วยแปรงซ้ำให้
จนกระทั่งลูกอายุได้ 8 ขวบ ซึ่งจะสามารถแปรงได้สะอาด
ควรใช้ยาสีฟันครั้งละน้อยๆ ในเด็กอายุ 3 ขวบ ใช้ยาสีฟันเท่าเม็ดถั่วเขียวก็พอแล้ว
ช่วงเวลาที่เหมาะที่สุดในการพาลูกไปตรวจฟันครั้งแรกคือ ก่อนอายุ 2 ขวบซึ่งฟันน้ำนมยังขึ้นไม่ครบ 20 ซี่ ยิ่งเริ่มไปตรวจเร็วก็ยังมีประโยชน์
ในการช่วยป้องกันปัญหาสุขภาพในช่องปาก อย่ารอจนกระทั่งลูกมีอาการปวดฟัน
แล้วจึงพาไปหาทันตแพทย์ พ่อแม่และคนเลี้ยงควรพูดให้ลูกรู้สึกว่า
ทันตแพทย์เป็นหมอที่ใจดี และช่วยดูแลรักษาฟันของลูก
ให้แข็งแรงลูกจะมีฟันสวย
ครั้งแรกไปพบทันตแพทย์จะตรวจฟันและเริ่มทำความสะอาดฟัน หรือเคลือบฟลูออไรด์เป็นการเริ่มต้นง่ายๆ การเล่นสมมติ
ระหวางพ่อแม่และลูกว่า เป็นหมอฟันกับคนไข้ก็เป็นการเตรียมตัวที่ดีสำหรับลูก
ก่อนไปพบทันตแพทย์ครั้งแรก การนัดคนไข้เด็กส่วนใหญ่จะนัดในเวลาเช้า ซึ่งเด็กรู้สึกสดชื่นและมักให้ความร่วมมือดี
เด็กวัยก่อนเข้าเรียน ควรได้รับการดูแลสุขภาพฟัน
ตั้งแต่ฟันน้ำนมยังขึ้นไม่เต็มปาก หากสังเกตุเห็นความผิดปกติ
หรือสงสัยว่า ฟันจะผุ คุณพ่อคุณแม่ควรรีบพาลูกไปพบทันตแพทย์โดยเร็ว อย่าปล่อยให้ลูกมีอาการปวดฟันหรืออักเสบจนแก้มบวม
ไม่ยอมรับประทานอาหาร แล้วจึงไปพบหมอฟัน
เพราะจะทำให้เด็กมีประสบการณ์ที่ไม่ดี
ท.ญ.ดร.ชมพูนุท จิตรปฏิมา
|