มาที่นี่ที่เดียว ได้อ่านบทความทางด้านการแพทย์ ภาษาไทย จากเกือบทุกโฮมเพจที่มีใน INTERNET
http://www.oocities.org/Tokyo/Harbor/2093/
จำสั้นๆ i.am/thaidoc



เชื้อโรคที่อยู่ในบ้านเราแม้จะ ไม่ค่อยเป็นอันตรายก็ตามทั้งภูมิคุ้มกัน ของเราก็ออกแบบมาให้รับมือกับเชื้อ โรคได้อย่างพอฟัดพอเหวี่ยงแต่ก็มีบาง ตัวค่ะที่ฤทธิ์แรงเหลือร้ายทำให้เราไม่ สบายได้โดยเฉพาะพวกไข้หวัด ท้องร่วง อาหารเป็นพิษและตับอักเสบเอ
เจ้าเชื้อโรคเหล่านี้อาจติดมาจาก ที่อื่นเช่น ที่ทำงาน โรงเรียน บ้านเพื่อน หรือร้านขายของหรือเมื่อคนป่วยสัมผัสสิ่ง ของต่างๆในบ้านเชื้อโรคก็อาจติดอยู่และ ถ้าเราไปสัมผัสต่อแล้วมาขยี้ตาเข้าปาก หรือป้ายจมูกก็ทำให้ไม่สบายได้เหมือนกัน
อย่าปล่อยให้เชื้อโรคลอยนวล

เอ…เราก็ทำความสะอาดบ้าน เช็ดถูปัดฝุ่นดูดฝุ่นทุกวันอยู่แล้วก็น่าจะสกัดกั้นเจ้าเชื้อโรคเหล่านี้ได้นี่
หลายคนอาจคิดอย่างนี้ แต่ในความจริงเราจะนับการทำความสะอาดตามปกติ เป็นการกำจัดเชื้อโรคไม่ได้และจริงๆ แล้วการทำความสะอาดแบบนั้นกลับจะเป็นการ เพิ่มจำนวนเชื้อโรคด้วยซ้ำ บางทีไปเพิ่มนับล้านล้านตัวเชียวล่ะก็การทดลองชิ้นหนึ่งพบว่า ฟองน้ำที่เราใช้ในครัวสามารถสะสมแบคทีเรียได้ถึง 7 ล้านล้านตัวทีเดียว
แต่ก็ใช่ว่าจะไม่มีวิธีป้องกันเจ้าเชื้อโรคเหล่านี้… มีค่ะ แถมยังเป็นวิธีง่ายๆ ไม่ยุ่งยากเสียด้วย ตามมาเลยค่ะ…

อะไรอยู่ในครัว

นักจุลชีวะวิทยาบอกว่ามีเชื้อโรคในอาหารหลาย ชนิดเช่นsalmonella (แบคทีเรียท่อนกลม),อีโคไล, campylobacter, เชื้อตับอักเสบ เอ,และเชื้อที่ทำให้ เกิดหนองบนผิวหนัง (staphylococcus aureus) จะพบได้ในอาหารดิบๆเนื้อบางส่วนสัตว์ปีกและ อาหารทะเล
ซึ่งเมื่อเราปรุงอาหารอย่างไม่ถูกสุขลักษณะเชื้อ โรคดังกล่าวก็จะแพร่กระจายทำให้เกิดอาหารเป็น พิษได้บางชนิดทำให้เกิดอาการกับกระเพาะลำไส้ เช่น ท้องร่วง ตะคริวในท้องขณะที่ไวรัสตับอักเสบเอ ทำให้เกิดการอักเสบและมีอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่
นอกจากนี้เรายังอาจป่วยได้จากการสัมผัสเชื้อ โรคที่ปนเปื้อนอยู่ในอาหารภาชนะและอุปกรณ์ ที่ใช้บรรจุหรือเตรียมอาหารและเมื่อเราใช้มือ หยิบอาหารหรือขนมเข้าปากใช้มือถูจมูก หรือขยี้ตา กินอาหารที่สัมผัสกับพื้นผิวที่มีเชื้อโรค เช่น ตู้เย็น มีด อ่างล้างจาน เคาน์เตอร์ เขียง เตา หรือแม้กระทั่ง มือใครสักคนรวมทั้งอาจมาจากของที่ซื้อหาเข้าบ้าน ซึ่งอาจนำเอาเชื้อโรคที่ทำให้เกิดท้องร่วง และไวรัสตับอักเสบ เอ เข้ามาด้วย
ปัญหาเฉพาะเรื่องหนึ่งที่เกิดขึ้นในครัวก็คือ คนส่วนใหญ่ไม่ได้ทำความสะอาดครัวเหมือนกับ ทำความสะอาดห้องน้ำ แต่เป็นเพียงการเช็ดด้วยฟองน้ำ ซึ่งเป็นแหล่งเพาะเชื้อโรคชั้นดี ผ้าเช็ดจานก็เหมือนกัน

เคล็ดลับครัวสะอาด

  • ล้างมือก่อน ระหว่างและหลังปรุงอาหาร และทำความสะอาดครัว แล้วเช็ดด้วยกระดาษเช็ดมือ หรือผ้าเช็ดมือที่ทำความสะอาดใหม่ๆ ให้แห้ง
  • ไม่ควรใช้อ่างล้างจานเป็นที่ซักผ้าอ้อม ล้างกรงสัตว์เลี้ยง อาบน้ำทารก หรืออื่นๆ เพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อโรคปนเปื้อนอาหาร และจานชาม
  • ฆ่าเชื้อฟองน้ำทุกๆ 2 วัน หรือทันทีหลัง จากนำไปสัมผัสอาหารสด โดยขยี้น้ำยาล้างจานแล้วล้าง

อะไรอยู่ในห้องน้ำ

ห้องน้ำที่อุ่นและชื้นเป็นแหล่งเพาะเชื้อโรคชั้นยอด ทีเดียวสิ่งที่เราทำทุกวันก็ทำให้เชื้อโรคแพร่กระจายได้ โดยเฉพาะเมื่อมีคนป่วยในบ้านเช่นถ้าเราใช้ผ้าเช็ดพื้นๆ หรือราดน้ำในห้องน้ำหรือแปรงฟันเราก็สามารถรับหรือ แพร่เชื้อโรคได้แล้วเชื้อที่พบในห้องน้ำก็ได้แก่ โรตาไวรัส ซึ่งทำให้เกิดท้องร่วง,สเตร็ปค็อกคัส ซึ่งทำให้เจ็บคอ, ไวรัสตับอักเสบเอและแบคทีเรียท่อนกลม Salmonella ค่ะ ดังนั้นใครที่ใช้เครื่องใช้ในห้องน้ำแล้วเอาไปสัมผัสจมูก ปากและตาก็อาจติดเชื้อโรคได้

เคล็ดลับปราบเชื้อโรค

  • ล้างมือให้สะอาดหมดจดทุกครั้งที่ใช้ห้องน้ำ และสอนให้เด็กๆ ปฏิบัติด้วย
  • ใช้สบู่เหลวดีกว่าสบู่ก้อน แต่ถ้าต้องใช้สบู่ก้อน ให้ล้างสบู่ก่อนใช้ทุกครั้ง
  • ล้างห้องน้ำด้วยน้ำยาที่มีส่วนผสมของน้ำยา ฆ่าเชื้อโรคทุกอาทิตย์ ถ้ามีคนในบ้านไม่สบาย ก็ควรล้างทุกวัน
  • ทำความสะอาดอ่างล้างน้าและอ่างอาบน้ำ อย่างน้อยอาทิตย์ละครั้งแต่ควรทำทุกวัน ถ้ามีคนป่วยในบ้าน
  • ตากผ้าเช็ดตัวให้แห้งหลังใช้งานทุกครั้ง เพื่อไม่ให้เป็นที่หมักหมมของเชื้อโรค ที่รักความอับชื้นทั้งหลาย
  • ซักฟองน้ำถูตัวด้วยสบู่และน้ำร้อนทุกครั้ง หลังใช้และแขวนตากให้แห้งด้วย
  • ถูพื้นด้วยน้ำยาทำความสะอาดที่มีส่วนผสม ของน้ำยาฆ่าเชื้อโรคหรือผงซักฟอกทุกอาทิตย์ และทำความสะอาดเฉพาะจุดด้วยน้ำยา ทำความสะอาดชนิดเดียวกันทุกครั้ง ที่พื้นเปื้อนเลอะเทอะ
  • อย่าใช้แปรงสีฟันร่วมกับคนอื่นและเปลี่ยนแปรง ใหม่ทุก 4 เดือนหรือเมื่อขนแปรงบานแล้ว
    น้ำสะอาดจากนั้นนำไปตากแดดจนแห้งส่วน ผ้าล้างจาน/สก็อตไบรต์ ผ้าเช็ดจานและอื่นๆ ก็ต้มในน้ำร้อน(อุณหภูมิต่ำสุด 140 องศาฟา เรนไฮต์หรือ 90 องศาเซลเซียส)
  • แยกฟองน้ำที่ใช้ต่างงานและปิดป้ายให้ชัดเจน เช่นฟองน้ำเช็ดเคาน์เตอร์ และฟองน้ำล้างจาน เพื่อหลีกเลี่ยงการปนเปื้อนถึงกัน
  • เปลี่ยนฟองน้ำทุก 2 อาทิตย์และให้ใช้กระดาษ เช็ดมือกับงานที่สกปรกที่สุด
  • ทำความสะอาดพื้นผิวในครัว เช่นเคาน์เตอร์ ประกอบอาหารและพื้นโต๊ะ ให้บ่อยเท่าที่จะทำได้ เพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อโรคปนเปื้อนอาหารได้ จากนั้นก็ปล่อยให้แห้งหรือเช็ดด้วยกระดาษ เช็ดมือหรือผ้าสะอาด
  • ควรทำความสะอาดตู้เย็นด้านในสัปดาห์ละครั้ง แล้วเก็บเนื้อไว้ในกล่องปิดฝามิดชิดก่อนใส่ ช่องแช่แข็งเพื่อกันน้ำจากเนื้อไม่ให้หยดเปื้อน อาหารอื่นๆ
  • ใช้เขียงหั่นเนื้อและเขียงหั่นผักแยกกัน เพื่อหลีกเลี่ยงการปนเปื้อนถึงกัน
  • ล้างและฆ่าเชื้อโรคบนเขียงทุกครั้งที่สัมผัส อาหารดิบ ถ้าเป็นเขียงไม้สามารถทำได้อีก ทางหนึ่งคือเอาใส่ไมโครเวฟตั้งระดับความร้อน ที่high สัก 4 นาที หรือนำไปตากแดดจัด ส่วนเขียงพลาสติกล้างสะอาดแล้วนำไปตาก แดดจัดได้อย่างเดียวค่ะ
  • เปลี่ยนเขียงที่ใช้จนพรุนเป็นร่องเป็นรูและ ล้างยากมาใช้เขียงใหม่แทน
  • ลวกจาน ภาชนะ และเครื่องใช้ต่างๆ ด้วยน้ำร้อน แล้วปล่อยตากลมให้แห้งหรือเช็ดด้วยน้ำสะอาด เฉพาะกรณีที่ไม่ได้ตากแดดจัดแต่ถ้าแดดดี ล้างจานแล้วคว่ำตากได้เลยค่ะ

อะไรอยู่ใน ผ้า

การซักผ้าด้วยการปั่นที่ผสมน้ำยาฟอกขาวเป็นเวลา นานพอสมควรและใช้น้ำที่มีอุณหภูมิอย่างน้อย 140 องศาฟาเรนไฮด์จะสามารถฆ่าเชื้อโรคบางชนิดที่ ไม่สามารถกำจัดได้ด้วยวิธีธรรมดา เช่น แบคทีเรียตัวกลม (salmonella) และไวรัสตับอักเสบ เอ ได้
ถ้าเราทำความสะอาดผ้าผ่อนไม่ถูกวิธีเชื้อโรค เหล่านี้ก็ยังปนเปื้อนอยู่ในผ้านั้นหรือบนผิวของเครื่องซักผ้า ดังนั้นเราควรล้างมือให้สะอาดทุก ครั้งก่อนเอามือมาสัมผัส ตา จมูก และปาก มิฉะนั้นอาจป่วยได้ค่ะ

เคล็ดลับซักสะอาด

  • ล้างมือให้สะอาดทุกครั้งหลังนำผ้าใส่เครื่องซัก
  • แยกผ้าที่อาจปนเปื้อนแบคทีเรีย เช่น ผ้าเช็ดจานและชุดชั้นใน ออกต่างหาก และซักผ้าที่สกปรกมากที่สุดเป็นชุดสุดท้าย โดยใช้น้ำร้อนอุณหภูมิอย่างต่ำ 140 องศาฟาเรนไฮด์ ซึ่งจะสามารถฆ่าเชื้อโรคได้มากที่สุด ถ้าอุณหภูมิต่ำกว่านั้นก็ให้ใช้น้ำยาฟอกขาว หรือถ้าเป็นผ้าสีก็ใช้ผงซักฟอกซัก
  • อาจตั้งโปรแกรมปั่นเครื่องซักผ้าเปล่า โดยเติมน้ำและน้ำยาฟอกขาวหลังซักผ้าสกปรก และก่อนจะใช้เครื่องซักผ้ารวม เพื่อทำความสะอาดเครื่องก็ได้
  • อย่าใช้เครื่องซักผ้าเกินกำลังหรือใส่ผ้ามากเกินไป
  • ควรตั้งเวลานานที่สุดเพื่อปั่นแห้ง ก่อนนำไปตากกลางแดด
  • ทำความสะอาดด้านนอกของตัวเครื่องซักผ้า หรืออุปกรณ์ที่ใช้ซักผ้าเป็นประจำ


อะไรอยู่ใน ห้องเจ้าตัวเล็ก

เพราะเด็กทารกมักป่วยบ่อยๆ คุณพ่อคุณแม่จึงมีแนวโน้มจะป่วยตามไปด้วยบริเวณที่เป็นแหล่งแพร่เชื้อโรค ก็ได้แก่ บริเวณที่ใช้เปลี่ยนผ้าอ้อม เปลและของเล่นของเจ้าหนู ซึ่งเชื้อโรคเหล่านี้ประกอบด้วย เชื้อไวรัสที่ทำให้เกิดหวัด ไวรัสตับอักเสบเอ แบคทีเรียอี-โคไล เชื้อที่ทำให้เกิดอาการท้องร่วง และพยาธิในลำไส้ และถ้าเอามือที่สัมผัสเชื้อโรคเหล่านี้ไปถูจมูก ป้ายตาหรือปากก่อนล้างมือ ก็อาจติดเชื้อโรคได้

เคล็ดลับปราบเชื้อโรค

  • ล้างมือให้สะอาดหลังจัดการกับผ้าอ้อม ผ้าปูที่นอน ของเล่น หรือเสื้อผ้าลูกหรือตัวเจ้าหนูเอง
  • จัดที่เปลี่ยนผ้าอ้อมให้ลูกเป็นสัดเป็นส่วนเพื่อสะดวกในการฆ่าเชื้อ ทำความสะอาดอาจเป็นพื้นที่เรียบง่าย ต่อการทำความสะอาด เช่น ฟอร์ไมก้า แต่ถ้าจะใช้แผ่นปูแทนก็ต้องซัก ทำความสะอาดทุกอาทิตย์ และถ้าเจ้าตัวเล็กเกิดท้องเสียล่ะก็ ต้องซักฆ่าเชื้อโรคทุกครั้งที่เปลี่ยนผ้าอ้อมเลยค่ะ
  • เมื่อเปลี่ยนผ้าอ้อม ให้ทิ้งอุจจาระลงในโถส้วม และทิ้งผ้าอ้อมสำเร็จลงถังขยะ ถ้าเป็นผ้าอ้อมก็ใส่ลงถังซักผ้าอ้อม แล้วซักด้วยน้ำร้อนอุณหภูมิตั้งแต่ 140 องศาฟาเรนไฮต์ขึ้นไป ที่ละลายซักผงฟอกและสารฟอกขาวลงไป
  • ล้างทำความสะอาดถังซักผ้าอ้อมทุกวัน
  • ล้างทำความสะอาดพื้นผิวที่ลูกสัมผัสและของเล่นที่ลูกชอบเอาเข้าปากอย่างน้อยอาทิตย์ละครั้ง และถ้าเจ้าตัวเล็กเกิดไม่สบาย หรือของเล่นเปื้อนเปรอะก็ให้ทำความสะอาดโดยใส่ของเล่นที่เป็นผ้า ในเครื่องซักผ้าใช้น้ำร้อนและผงซักฟอกที่สามารถฆ่าเชื้อได้หรือไม่ก็ล้างของเล่นโดยเฉพาะ ของเล่นพลาสติก ไม้ ด้วยสบู่และน้ำ และน้ำยาฟอกขาวชนิดอ่อนก็ได้จากนั้นนำไปตากแดดจนแห้ง
  • ทำความสะอาดผ้าปูที่นอนและปลอกหมอนให้ปราศจากเชื้อโรคอย่างน้อยทุก 7-10 วัน ผ้าห่มต้องเปลี่ยนและซักอย่างน้อยเดือนละครั้ง แต่ถ้าผ้าเหล่านี้เปรอะเปื้อนก็ควรนำมาซักทันที
สำหรับพื้นไม้หรือพื้นกระเบื้องยาง คุณสามารถล้างทำความสะอาดได้เองโดยการถูบ้านทุกวันค่ะ


พื้นที่อื่นๆ

พื้นผิวที่ถูกสัมผัสเป็นประจำก็อาจมีเชื้อโรค เช่น ไวรัสหวัดและโรตาไวรัสได้ จากการศึกษาพบว่า เชื้อไวรัสสามารถมีชีวิตอยู่บนผิวได้ถึง 24 ชั่วโมง และอาจทำให้คุณป่วยได้ หากไปสัมผัสแล้วเข้าปาก ตา หรือจมูก ได้มากกว่าการไปยืนใกล้ๆคนที่ไอ หรือจามเสียอีกส่วนเจ้าโรตาไวรัสจะอยู่ได้นาน กว่าไวรัสหวัดอีกค่ะ

เคล็ดลับปราบเชื้อโรค

  • ใช้น้ำยาฆ่าเชื้อโรคเช็ดทำความสะอาด บริเวณพื้นผิวที่ต้องมีการสัมผัสบ่อยๆ เช่น ลูกบิดประตู ลิ้นชัก ลูกกรง ราวบันได สวิตช์ไฟ โทรศัพท์ หรือรีโมทคอนโทรล
  • ถ้าที่บ้านปูพรมก็ควรทำความสะอาด พรมเป็นประจำปีละ 2 ครั้ง แต่หากเกิดสกปรกเป็นจุดๆ ให้ใช้น้ำยาฆ่าเชื้อโรคปลอดภัยสำหรับเด็ก เช็ดทำความสะอาด แล้วใช้เครื่องเป่าผมเป่าให้แห้งค่ะ
แล้วทีนี้บ้านก็คือวิมานของเราที่ให้ทั้งความสุข และยังปลอดภัยจากเชื้อโรคร้ายด้วย
วิธีฆ่าเชื้อโรค

การทำความสะอาดด้วยสบู่และน้ำสามารถลด จำนวนเชื้อโรคได้บ้างแต่การใช้น้ำยาเคมีฆ่าเชื้อโรค จะให้ผลดีกว่าซึ่งจำเป็นมากเมื่อต้องทำความสะอาด วัตถุที่ปนเปื้อนสารที่เป็นอันตรายเช่นน้ำจากไก่ดิบๆ

ถ้าจะใช้ก็ดูที่ฉลากที่ระบุว่า disinfectant หรือฆ่าเชื้อโรค และทำตามคำแนะนำบนฉลาก แต่ถ้าใช้วิธีต้มกับน้ำผสมผงซักฟอกก็มีประสิทธิภาพ ไม่ต่างกันแล้วก็ถูกกว่ามากด้วย

และเพื่อให้ผลดีที่สุด ก็ต้องปรับความเข้มข้น ตามระดับความสกปรกด้วย สำหรับพื้นผิวที่สกปรกมากๆ อย่างเคาน์เตอร์ในครัวและถังซักผ้าอ้อมก็ต้องละลาย น้ำยาซักผ้าเด็กตามอัตราส่วนที่ระบุบนฉลากแต่ถ้าจะ ทำความสะอาดของเล่นลูกใช้น้ำยาผ้าเด็กดังกล่าวแค่ 1ช้อนโต๊ะต่อน้ำ 1แกลลอนก็พอและใช้ตามคำแนะนำ บนฉลากด้วยแล้วต้องล้างน้ำยานั้นออกให้หมดน้ำยา ที่เหลือก็เททิ้งในห้องน้ำซะ



[ที่มา.. นิตยสารดวงใจพ่อแม่  ปีที่ 5 ฉบับที่ 49 พฤศจิกายน 2542 ]

[ BACK TO LIST]
main พบแพทย์ คอมพิวเตอร์ เรื่องบ้าน เรื่องรถ เรื่องกฏหมาย เรื่องของผู้บริโภค เรื่องเบาๆ คลายเครียด

มีปัญหาสุขภาพ ที่นี่มีคำตอบ ห้องสมุดE-LIB[ hey.to/yimyam ][ i.am/thaidoc ]

Best view with [IE3.02][NETSCAPE 4.05][OPERA 3.21] resolution 800x600