มาที่นี่ที่เดียว ได้อ่านบทความทางด้านการแพทย์ ภาษาไทย จากเกือบทุกโฮมเพจที่มีใน INTERNET
http://www.oocities.org/Tokyo/Harbor/2093/
จำสั้นๆ i.am/thaidoc



ทารกจากไข่แช่แข็ง



ครจะไปโง่ไปเชื่อเรื่องราวใน
ภาพยนต์ ที่มีการแช่แข็ง "คน" จาก
ศตวรรษหนึ่งแล้วนำมาละลายให้มี
ชีวิตใหม่ในอีกศตวรรษหนึ่งความคิด
และจินตนาการของผู้สร้างภาพยนต์
คงเชื่อว่า การแช่งแข็งที่กล่าวขานกัน
ในวงการวิทยาศาสตร์น่าจะนำมา
ประยุกต์ใช้กับมนุษย์ร่างใหญ่ๆ ได้แท้
ที่จริงการแช่งแข็งที่ว่านี้ใช้ได้เฉพาะกับ
เซลล์เล็กๆ ที่มีขนาดเพียงเซลล์เดียว
หรือไม่กี่เซลล์เท่านั้นตัวอย่างเช่น การ
แช่แข็ง"อสุจิ" "ตัวอ่อน"และ"ไข่"เป็นต้น


การแช่งแข็ง "อสุจิ" มีวิวัฒนาการมานานพอสมควร เริ่มตั้งแต่ค.ศ.1866(พ.ศ.2409)Mantagazzaได้ตั้งข้อสังเกต ว่าน่าจะมีการแช่แข็ง "อสุจิ" ของสัตว์เพศผู้เพื่อนำมาใช้ ในกรณีที่ลูกของมันเสียชีวิตไปด้วยเหตุอันใดก็ตามเป็นเวลา 1 ปี แล้วสัตว์เพศเมียไม่สามารถตั้งครรภ์ใหม่ได้ตามธรรมชาติ

ค.ศ.1897 (พ.ศ. 2440) Davenport ได้รายงานว่า "อสุจิ" ของมนุษย์สามารถมีชีวิตอยู่ได้ขณะถูกแช่แข็งที่ อุณหภูมิ –17 องศาเซลเซียส

ค.ศ.1938 (พ.ศ.2481) Jahnel พบว่า "อสุจิ" ของมนุษย์จำนวนหนึ่งสามารถกลับมาดำรงชีวิตเหมือนเดิมได้ เมื่อละลายตัวออกมาภายหลังถูกแช่แข็งที่อุณหภูมิ –79 องศาเซลเซียสเป็นเวลา 40 วัน

การแช่แข็ง"อสุจิ"ก้าวหน้ามากขึ้นตามลำดับจนกระทั่ง มีการค้นพบคุณสมบัติในการป้องกัน "ตัวอ่อน" หรือ "อสุจิ" ไม่ให้เป็นอันตรายจากผลึกน้ำแข็งภายในเซลล์ของสาร กลีเซอรอลโดย Polge และคณะในปี ค.ศ.1949(พ.ศ.2492) นี่เอง ทำให้การแช่งแข็ง "อสุจิ" กลายเป็นเรื่องง่ายดายไปเลย

มีคำถามว่า "อสุจิ" ที่ละลายออกมาสามารถปฏิสนธิกับ "ไข่" ได้จริงหรือ ? สมมติว่าสามารถปฏิสนธิสำเร็จ กระบวนการแช่แข็งข้างต้นนี้จะมีผลต่อพัฒนาการของ "ตัวอ่อน" มนุษย์หรือไม่ ? เพราะสมัยนั้น "อสุจิ" ที่จะละลายตัวออกมาเคลื่อนไหวได้มีน้อยมาก แต่ด้วยการพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้งของนักวิทยาศ่าสตร์การแพทย์ ทำให้ "อสุจิ" ที่ละลายตัวออกมาสามารถเคลื่อนไหวได้ดีขึ้น และมีจำนวนมากขึ้นตามลำดับ

คำถามดังกล่าวได้รับคำตอบโดยปริยายเมื่อ ค.ศ.1954 (พ.ศ.2497) Bunge และSherman ประสบความสำเร็จ ทำให้คนไข้สตรีตั้งครรภ์จากเชื้ออสุจิแช่งแข็ง 3 ราย บุตรที่ได้ 3 คนแข็งแรงสมบูรณ์ไม่มีความพิการแต่กำเนิด

ค.ศ.1963 (พ.ศ.2506) Sherman ค้นพบเทคนิคการใช้ไนโตรเจนเหลวในการแช่แข็ง "อสุจิ" ที่อุณหภูมิ –196 องศาเซลเซียส ซึ่งเทคนิคนี้ให้ผลดีและได้ใช้กันมาจนถึงปัจจุบัน ทารกที่เกิดจากเชื้ออสุจิแช่แข็งในทุกวันนี้จึงมีมากมายนับไม่ถ้วน แต่ละคนล้วนปกติเหมือนทารกทั่วๆ ไป

Sherman ได้ทำการีค้นคว้า วิจัย ทดลอง จนสรุปได้ว่า อัตราการตั้งครรภ์ผิดปกติมีเพียงร้อยละ 1 เท่านั้น และอัตราการแท้งบุตรเองอยู่ในราวร้อยละ 13 พอๆ กับที่พบตามธรรมชาติ

ธนาคารอสุจิ (Sperm Bank) เป็นแหล่งเก็บเชื้ออสุจิแช่แข็งของผู้คนต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นสามี, หนุ่มโสด, หรือผู้บริจาค การเก็บข้อมูลของธนาคารอสุจิ เป็นไปอย่างมีระบบโดยแบ่งเป็นหมวดหมู่อย่างมีระเบียบ เช่น ข้อมูลเกี่ยวกับประวัติทั่วๆ ไป, ประวัติการเจ็บป่วย, ผลเลือดต่างๆ จำพวก เอดส์, ซิฟิลิส, ตับอักเสบ และข้อมูลอื่นๆ ที่จำเป็นต้องรู้อีกมากมาย เพื่อความปลอดภัยของสตรีผู้ได้รับ "เชื้ออสุจิแช่แข็ง" และเพื่อเป็นประโยชน์ในอนาคต

สำหรับระยะเวลาที่สามารถเก็บ "เชื้ออสุจิแช่แข็ง" ไว้ได้ จะอยู่ในช่วงประมาณ 10 ปี หลังจากนั้นอัตราการรอดชีวิตของ "อสุจิ" ภายหลังละลายตัวจะต่ำมากๆ

  • อัตราการรอดชีวิตของ "เชื้ออสุจิแช่แข็ง"

โดยปกติ "อสุจิ" ที่จะนำมาแช่แข็ง ควรจะมีความเข้มข้นอย่างน้อย 80 ล้านตัวต่อมิลลิลิตร และการเคลื่อนไหวไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 จึงจะได้ผลดี แต่หากจำเป็นไม่ว่า "อสุจิ" นั้นจะมีความเข้มข้นเท่าใด เคลื่อนไหวได้หรือไม่เช่น "อสุจิ" ที่สกัดจาอัณฑะในรายที่ไม่มี "อสุจิ" ในน้ำเชื้อก็สามารถทำได้ และมีประสิทธิผลดีพอสมควร
สำหรับอัตราการรอดชีวิตของ "อสุจิ" ภายหลังละลายตัวออกมาโดยมาตรฐานจะมากกว่า 50% ของที่มีอยู่เดิมซึ่งสามารถเคลื่อนไหวได้ดี

  • "ตัวอ่อน" แช่แข็ง

กระบวนการแช่แข็ง "ตัวอ่อน" มีความละเอียดอ่อนกว่า การแช่แข็ง "อสุจิ" อย่างมากเพราะ "ตัวอ่อน" มีความทนทานน้อยและตายง่ายกว่า "อสุจิ" ดังนั้น จึงต้องอาศัยเครื่องมือที่มีคุณภาพสูง ซึ่งได้รับการควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์อย่างมีระบบ เพื่อให้มีความผิดพลาดน้อยที่สุด กระบวนการแช่แข็งใช้เวลานานถึง 2 ชั่วโมง จึงจะทำให้ "ตัวอ่อน" เย็นจัดถึงจุดเยือกแข็ง ที่อุณหภูมิ –196 องศาเซนติเกรด
นอกจากนั้นยังต้องพิถีพิถันในการใช้สารป้องกัน "ตัวอ่อน" ไม่ให้เป็นอันตรายจากผลึกน้ำแข็ง] ภายในเซลล์ซึ่งการเลือกใช้สารชนิดใดต้องขึ้นอยู่กับระยะของ "ตัวอ่อน" ที่จะเก็บแช่แข็ง

  • การเก็บรักษาและอัตราการรอดชีวิตของ "ตัวอ่อน" แช่แข็ง

"ตัวอ่อน" ที่เก็บแช่แข็งไว้ ส่วนใหญ่กว่าร้อยละ 70 ถูกนำกลับมาใช้ภายในระยะเวลา 6 เดือน มีเพียงร้อยละ 10 เท่านั้น ที่ไม่ถูกนำกลับมาใช้หลังจาก 2 ปีไปแล้ว
"ตัวอ่อน" แช่แข็งสามารถมีชีวิตอยู่ได้อย่างน้อย 5 ปีโดยไม่มีปัญหาเรื่องการละลายตัว และรอดชีวิตกลับมาแต่หลังจาก 4 ปี ของการแช่แข็งเป็นต้นไป จะมีอัตราการรอดชีวิตกลับมาลดลง
จากการศึกษาพบว่า การตั้งครรภ์จำนวน 50 ครรภ์ อันเกิดขึ้นจาก "ตัวอ่อน" ที่แช่แข็งไว้นานถึง 2 ปี มีอัตราการแท้งพอๆ กับการตั้งครรภ์ที่เกิดจาก "ตัวอ่อน" ใหม่ๆ และทารกที่เกิดมาแล้วส่วนใหญ่ (30 ราย) สุขภาพแข็งแรงดี มีทารกเพียงรายเดียวที่พิการแต่กำเนิดอย่างรุนแรง นอกนั้นยังอยู่ในระหว่างตั้งครรภ์
การรอดชีวิต "ตัวอ่อน" แช่แข็งจะขึ้นอยู่กับลักษณะโครงสร้างของ "ตัวอ่อน" ซึ่งก็คือ ขึ้นอยู่กับระยะการเจริญเติบโตของ "ตัวอ่อน" นั่นเอง
โดยปกติ "ตัวอ่อน" ที่เพิ่งปฏิสนธิจะแข็งแรงและทนทานต่อการแช่แข็งมากที่สุด รองลงมาคือ "ตัวอ่อน" ระยะ 4-8 เซลล์ ส่วน "ตัวอ่อน"ที่แก่กว่านี้จะทนทานต่อการแช่แข็งน้อยลงไปอีก
สำหรับอัตราการตั้งครรภ์ที่เกิดจาก "ตัวอ่อน" แช่แข็งนั้นพบได้ตั้งแต่ร้อยละ 18 (เมื่อใช้ "ตัวอ่อน" เพียงตัวเดียว) จนถึงประมาณร้อยละ 30 (จาก 3 ตัวอ่อน) และอัตราครรภ์แฝดพบร้อยละ 20 ซึ่งไม่แตกต่างจากอัตราการตั้งครรภ์ และครรภ์แฝดที่เกิดจาก "ตัวอ่อน" ใหม่ๆ เลย

  • "ไข่" แช่แข็ง

เป็นสิ่งที่มีประโยชน์มากในทางปฏิบัติ ซึ่งบางประเทศได้รับการยอมรับในแง่จริยธรรมมากกว่า การแช่แข็ง "ตัวอ่อน" ซะด้วยซ้ำ
การแช่แข็ง "ไข่" มีประโยชน์สำหรับหญิงสาวที่มีโอกาสเสี่ยงต่อภาวะรังไข่ล้มเหลวอันเนื่องมาจาก ได้รับสารพวกเคมีบำบัด, ถูกบำบัดหรือเป็นโรคในอุ้งเชิงกรานบางชนิด
นักวิทยาศาสตร์การแพทย์บางท่านเชื่อว่า "ไข่" ที่จะนำมาแช่แข็งควรจะอยู่ในระยะที่กำลังตกไข่พอดี จึงจะเป็นระยะเหมาะสมที่สุด แต่ระยะการเจริญเติบโตอื่นๆ ของ "ไข่" ก็สามารถนำมาแช่แข็งได้เช่นเดียวกัน แม้แต่เนื้อเยื่อรังไข่ที่ยังไม่ได้รับการกระตุ้นใดๆปัจจุบันมีผู้ศึกษาเรื่องนี้มากมายและมีความก้าวหน้า มากขึ้นตามลำดับ
ถึงแม้จะมีรายงานผลสำเร็จจากการตั้งครรภ์ที่เกิดจาก "ไข่" แช่แข็งออกมาเป็นระยะๆ แต่ความสำเร็จที่แท้จริงยังจัดอยู่ในอัตราที่ต่ำมาก เหตุผลน่าจะเนื่องมาจาก กระบวนการแช่แข็งก่อให้ เกิดความเสียหายต่อโครงสร้างภายใน "ไข่" หลายส่วน
นอกจากนี้ "ไข่" แช่แข็งเมื่อปล่อยให้ละลายตัวออกมามักจะมีปัญหาเรื่องการปฏิสนธิ แต่ปัญหาเรื่องนี้สามารถแก้ไขได้ง่ายด้วยการทำ "อิ๊กซี่"
คุณผู้หญิงรายแรกที่ตั้งครรภ์สำเร็จจาก "ไข่" แช่แข็งอายุ 29 ปีมีบุตรยากเนื่องจากปัญหาโรค ภายในอุ้งเชิงกรานเธอได้รับการทำ "เด็กหลอดแก้ว" โดยเจาะไข่ทางหน้าท้องได้ "ไข่" 6 ใบ และแช่แข็งไว้ภายหลังเลี้ยงในน้ำยา 5 ชั่วโมง ต่อมา "ไข่" แช่แข็ง 3 ใบ ถูกนำมาละลาย และผสมกับ "อสุจิ" ในอีก 4 ชั่วโมงถัดมา ปรากฏว่า "ไข่" มีการปฏิสนธิทุกใบและถูกนำกลับ เข้าไปใส่ไว้ในโพรงมดลูก ในวันที่ 16 ของรอบเดือน 13 วันถัดมาตรวจผลเลือดพบว่า "ตั้งครรภ์" หลังจากนั้นอีก 20 วัน ตรวจอัตราซาวนด์ทางช่องคลอดพบว่า "ตั้งครรภ์แฝด"
เธอได้รับการผ่าตัดคลอดในวันที่ 4 กรกฎาคม ค.ศ.1986 (พ.ศ.2529) ขณะอายุครรภ์ 38 สัปดาห์ได้ทารกเพศชาย และหญิงอย่างละคน แข็งแรงดี ไม่มีความผิดปกติใดๆ น้ำหนักแรกคลอดของแต่ละคนเท่ากับ 3.5 กิโลกรัม ถือว่าดีทีเดียวครับ
คุณผู้หญิงรายที่ 2 อายุ 37 ปี ตั้งครรภ์ด้วยเทคนิควิธีการเดียวกัน "ไข่" แช่แข็งถูกนำกลับมาใช้ เมื่อเวลาผ่านไป 4 เดือน โดยนำมาผสมกับ "อสุจิ" และใส่เข้าในโพรงมดลูกของรอบเดือนปกติ ทารกที่ได้เป็นเพศหญิง คลอดโดยการผ่าตัดทางหน้าท้องเมื่อครบกำหนดสุขภาพแข็งแรงดี ไม่มีความผิดปกติแต่กำเนิดใดๆ
สำหรับอัตราเสี่ยงต่อภาวะทารกพิการแต่กำเนิดจาก "ไข่" แช่แข็งนั้นยังไม่มีสถิติที่แน่นอนครับ

ผมเชื่อว่าในชีวิตของคนเราอะไรจะมีค่าเท่า "ชีวิตในวันนี้" การกระทำความดีอย่างเดียว ไม่อาจให้ความสุขแก่ชีวิตคู่และครอบครัวได้มากเท่ากับการมี "ลูก" สืบสกุลหรอกครับ

พ.ต.ท.น.พ.เสรี ธีรพงษ์



[ ที่มา... นิตยสารแม่และเด็ก   ปีที่ 23 ฉบับที่ 338 เมษายน 2543 ]

[ BACK TO LIST]
main พบแพทย์ คอมพิวเตอร์ เรื่องบ้าน เรื่องรถ เรื่องกฏหมาย เรื่องของผู้บริโภค เรื่องเบาๆ คลายเครียด

มีปัญหาสุขภาพ ที่นี่มีคำตอบ ห้องสมุดE-LIB[ hey.to/yimyam ][ i.am/thaidoc ]

Best view with [IE3.02][NETSCAPE 4.05][OPERA 3.21] resolution 800x600