 |
|
ถึงแม้จะเสี่ยงถึงแม้จะมีโรคแทรกซ้อนและถึงแม้จะเสีย
ชีวิต ยังมีผู้หญิงอีกหลายคนยินดีแบกรับภาระนี้เอาไว้
เพื่อรอวันเป็นแม่ แม้จะเพียงแค่ 'ความเป็นไปได้
จีรพันธ์ แม่บ้านวัย 36 ปี ผู้หญิงอีกคนหนึ่งที่มีฝัน
ร่วมกับผู้หญิงอีกหลายๆ คน ในฐานะของความเป็นแม่ |
" รักษามา 2-3 ปี เปลี่ยนมาแล้ว 2 ที่ยังไม่สำเร็จ หมดเงินไปร่วมๆ แปดแสนบาทแล้ว
ทั้งค่ายา ค่าผ่าตัด คิวพบหมอยาวมาก บางทีรอถึงเที่ยงคืน เพื่อได้คุยกับหมอแค่ไม่กี่คำ " จีรพันธ์ กล่าว
แม่บ้านวัย 36 ปีกล่าวถึงเหตุผลที่มารับการรักษาเพราะว่า ปีกมดลูกข้างที่ผลิตไข่ตัน
รักษาเรื่อยมาจนหยุดไปได้ประมาณ 9 เดือน เพราะไม่สำเร็จเสียที
" รู้สึกเสียใจ เพราะหมอให้ความหวังมาตลอด บอกว่ามีได้ๆ ทุกครั้ง เราก็คาดหวังและมั่นใจในหมอ
เลยฮึดมาตลอด แต่สุดท้ายก็ไม่ได้ จึงต้องถอดใจ มันเหมือนล่องลอย ทำทุกอย่างตามที่หมอบอกแล้ว
ก็ไม่ได้สักที " คำแสดงความรู้สึกของจีรพันธ์
ด้วยความจำเป็นและความผิดปกติของร่างกายทำให้วิธีนี้เป็นที่นิยมในบรรดาผู้มีบุตรยากทั้งหลาย
แต่อย่างไรก็ตามจากการพูดคุย จีรพันธ์บอกว่า จากเท่าที่ได้คุยกับพ่อแม่บางคน เหตุผลที่มา
เพราะอยากเลือกเพศบ้าง อยากได้แฝดบ้าง และจำนวนของพ่อแม่ประเภทนี้ดูเหมือนจะมีมากขึ้นเรื่อยๆ
จนอาจจะกลายเป็นแฟชั่นสำหรับคนรวย โดยเหตุผลถึงความจำเป็นหรือไม่จำเป็นในการทำนั้น
ถือเป็นอีกเรื่องที่ไม่เกี่ยวข้อง
นับว่าโชคดียังดีจากข้อมูลของแพทย์และจีรพันธ์บ่งบอกเป็นเสียงเดียวว่า
กว่าครึ่งหนึ่งของจำนวนของผู้มารับการรักษายังเป็นผู้ที่มีปัญหาเรื่องการมีบุตรจริงๆ
ในประเด็นเรื่องความเสี่ยง จีรพันธ์เล่าผ่านประสบการณ์ตนเองว่า ก่อนเริ่มต้นรักษาแพทย์
จะพูดคุยเกี่ยวกับความเป็นไปได้เรื่องการตั้งครรภ์ก่อน แต่ไม่มีการคุยเรื่องความเสี่ยง
และโรคแทรกซ้อนแต่อย่างใด เรื่องค่ารักษาพยาบาล รายละเอียดขั้นตอนการรักษาต่างๆ
ส่วนใหญ่จะคุยกับนางพยาบาล จะได้คุยกับหมอน้อยมาก
ก่อนจบการสนทนา ความรู้สึกสุดท้ายของจีรพันธ์แสดงออกมาผ่านทางคำพูดว่า
" ถ้าถามลึกๆ แล้ว เราก็ยังอยากมีอยู่ เราเหงา เห็นคนอื่นอุ้มลูก เราก็อยากอุ้มบ้าง "
|