|คำขวัญอำเภอหนองเรือ ...หนองเรือตระการ ...จักสานไม้ไผ่ ...ไก่ย่างทางพาด ...ตลาดกะหล่ำ ...เลิศล้ำพลอยเจียรไน ...พระใหญ่ภูเม็งทอง
    
 

แนะนำอำเภอหนองเรือ

อำเภอหนองเรือ
แผนที่อำเภอหนองเรือ
แหล่งท่องเที่ยวหนองเรือ
  หาดหินกองหนองเรือ
ล่องแพ

แนะนำ กศน.หนองเรือ

ผู้บริหารศูนย์ฯกศน.หนองเรือ
แนะนำ ครู กศน.
โครงการศูนย์การเรียนชุมชน
  โครงการศูนย์อินเตอร์เน็ตชุมชน
โครงการกลุ่มพัฒนาอาชีพ
โครงการบ้านหวาง
กศน.กับงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น
กศน.กับเกษตรธรรมชาติ
กศน.กับท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์
 

เว็บไซต์ในอำเภอหนองเรือ

ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ต.บ้านผือ
หนองเรือของเรา
สนง.ประถมศึกษา อ.หนองเรือ
  โรงเรียนหนองเรือวิทยา
  โรงเรียนจระเข้วิทยายน
สถานีตำรวจภูธร อ.หนองเรือ
     
 

เบ็ดเตล็ดทั่วไป

เรื่องควรรู้สำหรับครู กศน.
บทความที่น่าสนใจ
   
     
     


 

    "คิดเป็น" (KIDPEN)
      ปรัชญาพื้นฐานของ กศน.
    
"คิดเป็น"
ปรัชญาพื้นฐานของ กศน.

ดร.โกวิท วรพิพัฒน์
เป็นผู้นำความคิดนี้และเผยแพร่จน ได้รับการยอมรับทั้งในประเทศและต่างประเทศ


คิดเป็น มีความเชื่อว่า มนุษย์ทุกคนต้องการความสุข แต่ความสุขของแต่ละคนแตกต่างกัน เนื่องจากมนุษย์มีความแตกต่างกันในด้านต่างๆ เช่น เพศ วัย สภาพสังคมสิ่งแวดล้อม วิถีชีวิต ซึ่งทำให้ความต้องการและความสุขของแต่ละคนไม่เหมือนกัน

หลักการของการคิดเป็น
1.คิดเป็น เชื่อว่า สังคมเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ก่อให้เกิดปัญหา ซึ่งปัญหานั้นสามารถแก้ไขได้
2.คนเราจะแก้ไขปัญหาต่างๆได้อย่างเหมาะสมที่สุด โดยใช้ข้อมูลมาประกอบการตัดสินใจอย่างน้อย 3 ประการ คือ ข้อมูลเกี่ยวกับตนเอง สังคม และวิชาการ
3.เมื่อได้ตัดสินใจแก้ไขปัญหาด้วยการไตร่ตรองรอบคอบทั้ง 3 ด้านแล้ว ย่อมก่อให้เกิดความพอใจในการตัดสินใจนั้นและควรรับผิดชอบต่อการตัดสินใจนั้น
4.แต่สังคมเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา การคิดตัดสินใจอาจจะต้องเปลี่ยนแปลงปรับปรุงใหม่ให้เหมาะสมกับสภาพและสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป

ลักษณะของคนคิดเป็น มี 8 ประการ
1.มีความเชื่อว่าปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นสิ่งธรรมดา สามารถแก้ไขได้
2.การคิดที่ดีต้องให้ข้อมูลหลายๆด้าน (ตนเอง สังคม วิชาการ)
3.รู้ว่าข้อมูลเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ
4.สนใจที่จะวิเคราะห์ข้อมูลอยู่เสมอ
5.รู้ว่าการกระทำของตนมีผลต่อสังคม
6.ทำแล้ว ตัดสินใจแล้ว สบายใจ และเต็มใจรับผิดชอบ
7.แก้ปัญหาชีวิตประจำวันอย่างมีระบบ
8.รู้จักชั่งน้ำหนักคุณค่า
สมรรถภาพของคนคิดเป็น
1.เผชิญปัญหาในชีวิตประจำวันอย่างมีระบบ
2.สามารถที่จะแสวงหาและใช้ข้อมูลหลายๆด้าน ในการคิดแก้ไขปัญหา
3.รู้จักชั่งน้ำหนัก คุณค่า และตัดสินใจหาทางเลือกให้สอดคล้องกับค่านิยม ความสามารถและสถานการณ์หรือเงื่อนไขส่วนตัวและระดับความเป็นไปได้ของทางเลือกต่างๆ

กระบวนการไปสู่
การคิดเป็น มีดังนี้

 

(1) ขั้นสำรวจปัญหา เมื่อเกิดปัญหา ย่อมต้องเกิดกระบวนการคิดแก้ปัญหา
(2) ขั้นหาสาเหตุของปัญหา เป็นการหาข้อมูลมาวิเคราะห์ว่าปัญหาที่เกิดขึ้นนั้น เกิดขึ้นได้อย่างไร มีอะไรเป็นองค์ประกอบของปัญหาบ้าง
- สาเหตุจากตนเอง พื้นฐานของชีวิต ครอบครัว อาชีพ การปฏิบัติตน คุณธรรม ฯลฯ
- สาเหตุจากสังคม บุคคลที่อยู่แวดล้อม ตลอดจนความเชื่อ ประเพณี ฯลฯ
- สาเหตุจากขาดวิชาการความรู้ต่างๆที่เกี่ยวข้องกับปัญหา

(3) ขั้นวิเคราะห์ หาทางแก้ปัญหา เป็นการวิเคราะห์ทางเลือกในการแก้ปัญหา โดยใช้ข้อมูลด้านตนเอง สังคม วิชาการ มาประกอบในการวิเคราะห์
(4) ขั้นตัดสินใจ เมื่อได้ทางเลือกแล้วจึงตัดสินใจเลือกแก้ปัญหาในทางที่มีข้อมูลต่างๆ พร้อมสมบูรณ์ที่สุด
(5) ขั้นตัดสินใจไปสู่การปฏิบัต เมื่อตัดสินใจเลือกทางใดแล้ว ต้องยอมรับว่าเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดในข้อมูลเท่าที่มีขณะนั้น ในกาละนั้นและในเทศะนั้น
(6) ขั้นปฏิบัติในการแก้ปัญหา ในขั้นนี้เป็นการประเมินผลพร้อมกันไปด้วย ถ้าผลเป็นที่
- พอใจ ก็จะถือว่าพบความสุข เรียกว่า คิดเป็น
- ไม่พอใจ หรือผลออกมาไม่ได้เป็นไปตามที่คิดไว้ หรือข้อมูลเปลี่ยน ต้องเริ่มต้นกระบวนการคิดแก้ปัญหาใหม่
  

 
ข้อมูล 27/06/2545
 
 

 

 
  ศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอหนองเรือ โทร.043294291, 043294856
สังกัด ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดขอนแก่น กรมการศึกษานอกโรงเรียน

จัดทำโดย..ทีมงาน กศน.หนองเรือ ...ติดต่อ surin1@thai.com และ surin111@thaimail.com