|คำขวัญอำเภอหนองเรือ ...หนองเรือตระการ ...จักสานไม้ไผ่ ...ไก่ย่างทางพาด ...ตลาดกะหล่ำ ...เลิศล้ำพลอยเจียรไน ...พระใหญ่ภูเม็งทอง
    
 

แนะนำอำเภอหนองเรือ

อำเภอหนองเรือ
แผนที่อำเภอหนองเรือ
แหล่งท่องเที่ยวหนองเรือ
  หาดหินกองหนองเรือ
ล่องแพ

แนะนำ กศน.หนองเรือ

ผู้บริหารศูนย์ฯกศน.หนองเรือ
แนะนำ ครู กศน.
โครงการศูนย์การเรียนชุมชน
  โครงการศูนย์อินเตอร์เน็ตชุมชน
โครงการกลุ่มพัฒนาอาชีพ
โครงการบ้านหวาง
กศน.กับงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น
กศน.กับเกษตรธรรมชาติ
กศน.กับท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์
 

เว็บไซต์ในอำเภอหนองเรือ

ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ต.บ้านผือ
หนองเรือของเรา
สนง.ประถมศึกษา อ.หนองเรือ
  โรงเรียนหนองเรือวิทยา
  โรงเรียนจระเข้วิทยายน
สถานีตำรวจภูธร อ.หนองเรือ
     
 

เบ็ดเตล็ดทั่วไป

เรื่องควรรู้สำหรับครู กศน.
บทความที่น่าสนใจ
   
     
     


    เศรษฐกิจแบบพอเพียง
    
เศรษฐกิจแบบพอเพียง
เศรษฐกิจแบบพอเพียง คือ การดำรงชีวิตในความพอดีมีชีวิตใหม่ คือ หวนกลับมาใช้วิถีชีวิตไทย เป็นการสร้างรากฐานหรือพื้นฐานของระบบเศรษฐกิจทั้งหมด

ดังที่ได้มีพระราชกระแสตอนหนึ่งว่า
"…อาคารบ้านเรือนตั้งอยู่ได้อย่างมั่นคง ก็เพราะความแข็งแรงของรากฐานหรือเสาเข็ม ซึ่งเรามองไม่เห็น และมักจะลืมไปว่าเราอยู่บนฐานรากอะไร…"
"…คำว่า พอเพียง มีความหมายกว้างออกไปอีก ไม่ได้หมายถึงการมีพอใช้สำหรับใช้ของตัวเอง มีความหมายว่าพอมีพอกิน…พอมีพอกินนี้ ก็แปลว่า เศรษฐกิจพอเพียงนั่นเอง…"
"…ให้ พอเพียง นี้ก็หมายความว่า มีกินมีอยู่ไม่ฟุ่มเฟือย ไม่หรูหราก็ได้ แต่ว่าพอ แม้บางอย่างอาจจะดูฟุ่มเฟือย แต่ก็ทำให้มีความสุข ถ้าทำได้ก็สมควรที่จะทำ สมควรที่จะปฏิบัติ…"
"… Self - sufficiency นั้นหมายความว่า ผลิตอะไร มีพอที่จะใช้ ไม่ต้องไปขอยืมคนอื่น อยู่ได้ด้วยตนเอง…"
"…คนเราถ้าพอในความต้องการ มันก็มีความโลภน้อย เมื่อมีความโลภน้อย ก็เบียดเบียนคนอื่นน้อย ถ้าประเทศใดมีความคิดอันนี้ มีความคิดว่าทำอะไรพอเพียง หมายความว่า พอประมาณซื่อตรง ไม่โลภอย่างมาก คนเราก็อยู่เป็นสุข…"
หากเรายึดแนวทางปฏิบัติเช่นนี้ ก็จะทำให้ชาติบ้านเมืองและตัวเราหลุดพ้นจากความทุกข์และมีความสุขในที่สุด

แนวคิดระบบเศรษฐกิจพอเพียงสำหรับเกษตรกรตามแนวพระราชดำร
ิตั้งอยู่บนพื้นฐานของหลักการ"ทฤษฎีใหม่"ซึ่งมี 3 ขั้น ประกอบด้วย


1.มีความพอเพียง เป็นระบบเศรษฐกิจที่ยึดถือหลักการ "ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน" โดยมุ่งเน้นการผลิตพืชผลให้เพียงพอกับความต้องการบริโภคในครัวเรือนเป็นอันดับแรก เมื่อเหลือพอจากการบริโภคแล้วจึงคำนึงถึงการผลิตเพื่อการค้า และหลักใหญ่สำคัญยิ่งคือ การลดค่าใช้จ่ายโดยการสร้างสิ่งอุปโภคบริโภคในที่ดินของตนเอง

2.รวมพลังกันในรูปกลุ่ม เศรษฐกิจพอเพียงให้ความสำคัญกับการรวมกลุ่มของชาวบ้าน ทั้งนี้ กลุ่มหรือองค์กรชาวบ้านจะทำหน้าที่เป็นผู้ดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจต่างๆให้หลากหลาย เมื่อองค์กรชาวบ้านเหล่านี้ได้รับการพัฒนาให้เข้มแข็งและมีเครือข่ายที่กว้างขวางมากขึ้นแล้ว เกษตรกรทั้งหมดในชุมชนก็จะได้รับการดูแลให้มีรายได้เพิ่มขึ้น รวมทั้งได้รับการแก้ไขปัญหาในทุกๆด้าน

3.การสร้างเครือข่าย เศรษฐกิจพอเพียงตั้งอยู่บนพื้นฐานของความเมตตา ความเอื้ออาทร และความสามัคค
ีของสมาชิกในชุมชน ในการร่วมแรงร่วมใจเพื่อประกอบอาชีพต่างๆ ให้บรรลุผลสำเร็จประโยชน์ที่เกิดขึ้น จึงมิได้หมายถึงรายได้แต่เพียงมิติเดียว หากแต่ยังรวมถึงประโยชน์ในมิติอื่นๆด้วย


"…ทฤษฎีใหม่นี้ มีไว้ป้องกันความขาดแคลน ในยามปกติก็จะทำให้ร่ำรวยมากขึ้น ในยามที่มีอุทกภัยก็
สามารถที่จะฟื้นตัวได้เร็ว โดยไม่ต้องให้ทางราชการไปช่วยมากเกินไป ทำให้ประชาชนพึ่งตนเองได้อย่างดี ฉะนั้นจึงได้สับสนุนให้มีการปฏิบัติตามทฤษฎีใหม่…"

ประมวลและเรียบเรียงจากเอกสารของมูลนิธิชัยพัฒนา :

 


     
 

 
ข้อมูล 27/06/2545
 
 

 

 

 
  ศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอหนองเรือ โทร.043294291, 043294856
สังกัด ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดขอนแก่น กรมการศึกษานอกโรงเรียน

จัดทำโดย..ทีมงาน กศน.หนองเรือ ...ติดต่อ surin1@thai.com และ surin111@thaimail.com