สำนักงาน ผู้บังคับทหารอากาศดอนเมือง
ประวัติ , ผังการจัด
กองบังคับการ
แผนกการเงิน
กองบริการ
กองควบคุมและรักษาความปลอดภัย
กองปฏิบัติการดับเพลิงและกู้ภัย
กรมทหารสารวัตรทหารอากาศ
แผนกวิทยาการ
เรือนจำทหารอากาศ
ทำไม? จึงเข้มงวดเรื่องทำบัตรผ่าน
การขอบัตรผ่านเข้า-ออก เขต ทอ.
การขับขี่ยานพาหนะในเขต ทอ.
มาร์ชสี่เหล่า และเพลงปลุกใจ
ข่าวสารในกิจการ สน.ผบ.ดม.
กฎ ระเบียบ แบบธรรมเนียมทหาร
การตรวจเยี่ยมสายวิทยาการเหล่า สห.
โครงการ สขว.ทอ. (สน.ผบ.ดม.)
โทรศัพท์ฉุกเฉิน ทอ.
แจ้งเหตุด่วน, เหตุร้าย 191
เพลิงไหม้ 192
รถพยาบาลฉุกเฉิน 194
อากาศยานอุบัติเหตุ 196
พัน.สห.ทอ. 2-2197 - 9
ศูนย์รวมข่าวดับเพลิง 2-2126,7
ศูนย์รับแจ้งเหตุ ทอ.ทุ่งสีกัน 3-0065
สถานีดับเพลิงย่อยทุ่งสีกัน 2-2129, 3-0083
ศูนย์โทรศัพท์กลาง ทอ. 523-6151, 523-6161
|
 ประมวลกฎหมายอาญาทหาร -------------------------
ศุภมัสดุ พระพุทธศาสนกาล เปนอดีตภาคล่วงแล้ว ๒๔๕๔ พรรษา ปัตยุบันกาล จันทรคตินิยม ศุภกรสังวัจฉร มาฆมาศ กัณหะปักษ์ ฉดิถีชีวะวาร สุริยคติกาล รัตนโกสินทรศก ๑๓๐
กุมภาพันธ์มาส อัฐมาศาหคุณพิเศษ บริเฉทกาลกำหนด
พระบาทสมเด็จพระปรเมนทีมหาวชิราวุธ เอกอรรคมหาบุรุษบรมนราธิราช พินิตประชานารถ-
มหาสมมตวงษ์ อติศัยพงษวิมลรัตน์ วรขัตติยราชนิกโรดม จาตุรัตนบรมมหาจักรพรรดิราชสังกาศ
อุภโตสุชาตสังสุทธเคราะหณี จักรีบรมนารถจุฬาลงกรณราชวรางกูร บรมมกุฎนเรนทร์สูรสันตติวงษวิสิฐ
สุสาธิตบุรพาธิการ อดุลยกฤษฎาภินิหารอติเรกบุญฤทธิ ธัญลักษณวิจิตรโสภาคยสรรพสงค์ มหาชโนตตะ-
มางคประณตบาทบงกชยุคล ประสิทธิสรรพศุภผลอุดมบรมสุขุมาลย์ทิพยเทพาวตารไพศาล เกีรยติคุณอดุลย-
พิเศษ เสนางคนิกรรัตนอัศวโกศล ประพนธปรีชามัทวสมาจาร บริบูรณคุณสารสยามาทินครวรุตเมกราชดิลก
มหาปริวารนายกอนันต มหันตวรฤทธิเดชสรรพวิเศษศิรินธร บรมชนกาดิศรสมมต ประสิทธิวรยศมโหดม-
บรมราชสมบัติ นพปฎลเสวตฉัตราดิฉัตร ศิริรัตโนปลักษณมหาบรมราชภิเศกาภิสิต สรรพทศทิศวิชิตไชย
สกลมไหสวริยมหาสวามินทร์มเหศวรมหินทรมหารามาธิราชวโรดม บรมนารถชาติอาชาวไศรย พุทธาทิไตร-
รัตนสรณารักษ์อดุลยศักดิ์อรรคนเรศรามาธิบดี เมตตากรุณาสีตลหฤไทย อโนปไมยบุญการ สกลไพศาล-
มหารัษฎาธิเบนทร์ ปรเมนทรธรรมิกมหาราชาธิราช บรมนารถบพิตร พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
ทรงพระราชดำริห์ว่า พระธรรมนูญศาลทหารบกแลพระธรรมนูญศาลทหารเรือ ซึ่งโปรดเกล้าฯ
ให้ตราเปนพระราชบัญญัติขึ้นไว้เมื่อรัตนโกสินทรศก ๑๒๖ แล ๑๒๗ นั้น เปนแต่พระราชกำหนดสำหรับ
จัดการแลกำหนดน่าที่ แลอำนาจศาลทหารบกแลศาลทหารเรือ แลประมวลกฎหมายอาญา ซึ่งโปรดเกล้าฯ
ให้ตราเปนพระราชบัญญัติขึ้นไว้เมื่อรัตนโกสินทรศก ๑๒๗ นั้น ก็บัญญัติแต่เฉภาะลักษณโทษแห่งความผิด ล่วงเลมิดต่อพระราชกำหนดกฎหมายสามัญ
บัดนี้สมควรจะมีพระราชบัญญัติ กำหนดโทษแห่งความผิดต่าง ๆ อันเปนฐานล่วงเลมิดต่อกฎหมาย
แลหน้าที่ฝ่ายทหาร ขึ้นไว้เปนหลักฐาน แต่ทรงพระราชปรารภว่า การกระทำผิดต่อกฎหมายแล หน้าที่ฝ่าย
ทหาร นั้น แม้เปนการซึ่งเกิดจากความประพฤติของบุคคลที่เปนทหารเสียเปนพื้นก็จริง แต่บางอย่างที่อาจ
เกิดขึ้นจากความประพฤติของบุคคลสามัญก็ได้ ในพระราชบัญญัติเช่นนี้ควรมีบทกฎหมายบางอย่าง ให้ใช้
ได้ตลอดทั้งบุคคลที่เปนทหารแลบุคคลสามัญแลใช่แต่เท่านั้น บุคคลที่เปนทหารย่อมตั้งอยู่ในใต้บังคับวินัย ทหาร
เมื่อกระทำผิดขึ้นต่อพระราชกำหนดกฎหมายอย่างคนสามัญ ความผิดนั้นย่อมมีลักษณะการละเว้น
ความควรประพฤติในฝ่ายทหารเจือไปด้วย สมควรมีโทษหนักยิ่งกว่าผู้กระทำผิดเช่นเดียวกันซึ่งเปนคนสามัญ
เพราะฉะนั้นทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราเปนพระราชบัญญัติสืบไปดังนี้
ประมวลกฎหมายอาญาทหาร -------------------------
ภาค ๑ ว่าด้วยข้อบังคับต่าง ๆ -------------------------
มาตรา ๑ ให้เรียกพระราชบัญญัตินี้ว่า ประมวลกฎหมายอาญาทหาร
มาตรา ๒ ให้พระราชบัญญัตินี้เป็นกฎหมาย ตั้งแต่วันที่ ๑ เมษยน รัตนโกสิทรศก ๑๓๑ เป็นต้นไป
มาตรา ๓ ตั้งแต่วันที่ใช้กฎหมายนี้สืบไป ให้ยกเลิก
๑) กฎหมายลักษณะขบถศึก
๒) ข้อความในพระราชกำหนดกฎหมาย และกฎข้อบังคับอื่น ๆ ซึ่งเกี่ยวกับบรรดาความผิด ที่ กฎหมายนี้บัญญัติว่าต้องมีความผิด
มาตรา ๔ ในกฎหมายนี้ คำว่า "ทหาร" หมายความว่า บุคคลที่อยู่ในอำนาจกฎหมายฝ่ายทหาร
คำว่า "เจ้าพนักงาน" ที่ใช้ในประมวลกฎหมายลักษณอาญานั้น ท่านหมายความตลอดถึงบรรดา
นายทหารบกนายทหารเรือ ชั้นสัญญาบัตรและชั้นประทวนที่อยู่ในกองประจำการนั้นด้วย
คำว่า "ราชศัตรู" นั้น ท่านหมายความตลอดถึงบรรดาคนมีอาวุธที่แสดงความขัดแข็งต่ออำนาจผู้ใหญ่ หรือที่เป็นขบถหรือเป็นโจรสลัดหรือที่ก่อการจลาจล
คำว่า "ต่อหน้าราชศัตรู" นั้น ท่านหมายความตลอดถึงที่อยู่ในเขตซึ่งกองทัพได้กระทำสงคราม นั้นด้วย
คำว่า "คำสั่ง" นั้น ท่านหมายความว่า บรรดาข้อความที่ผู้ซึ่งบังคับบัญชาทหาร ผู้ถืออำนาจอันสมควร
เป็นผู้สั่งไปโดยสมควรแก่กาลสมัยและชอบด้วยพระราชกำหนดกฎหมาย คำสั่งเช่นนี้ท่านว่าเมื่อผู้รับคำสั่งนั้น ได้กระทำตามแล้ว ก็เป็นอันหมดเขตของการที่สั่งนั้น
คำว่า "ข้อบังคับ" นั้น ท่านหมายความว่า บรรดาข้อบังคับและกฎต่าง ๆ ที่ให้ใช้อยู่เสมอ ซึ่งผู้ซึ่ง
บังคับบัญชาทหาร ผู้ถืออำนาจอันสมควรได้ออกไว้โดยสมควรแก่กาลสมัยและชอบด้วยพระราชกำหนด กฎหมาย
มาตรา ๕ ทหารคนใดกระทำความผิดอย่างใด ๆ นอกจากที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญา
ทหารนี้ ท่านว่ามันควรรับอาญาตามลักษณะพระราชกำหนดกฎหมาย ถ้ากฎหมายนี้มิได้บัญญัติไว้เป็น อย่างอื่น
มาตรา ๕ ทวิ บุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหารตามกฎหมายว่าด้วยธรรมนูญศาลทหาร ผู้ใดกระทำ
ความผิดตามประมวลกฎหมายนี้หรือกฎหมายอื่นนอกราชอาณาจักรจะต้องรับโทษในราชอาณาจักร
ในกรณีที่มิใช่ความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักรตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๑๐๗ ถึง
มาตรา ๑๒๙ แห่งประมวลกฎหมายอาญา ถ้าได้มีคำพิพากษาของศาลในต่างประเทศอันถึงที่สุดให้ปล่อยตัว
ผู้นั้น หรือศาลในต่างประเทศพิพากษาให้ลงโทษและผู้นั้นได้พ้นโทษแล้ว ห้ามมิให้ลงโทษผู้นั้นใน
ราชอาณาจักรเพราะการกระทำนั้นอีก แต่ถ้าผู้นั้นยังไม่พ้นโทษ ศาลจะลงโทษน้อยกว่าที่กฎหมายกำนดไว้ หรือจะไม่ลงโทษเลยก็ได้
มาตรา ๖ ผู้ใดต้องคำพิพากษาศาลทหารให้ลงอาญาประหารชีวิต ท่านให้เอาไปยิงเสียให้ตาย
มาตรา ๗ ผู้มีอำนาจบังคับบัญชาตามกฎหมายว่าด้วยวินัยทหาร มีอำนาจลงทัณฑ์แก่ทหารผู้กระทำ
ความผิดต่อวินัยทหารตามกฎหมายว่าด้วยวินัยทหาร ไม่ว่าเป็นการกระทำความผิดในหรือนอกราชอาณาจักร
มาตรา ๘ การกระทำความผิดอย่างใด ๆ ที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๒๑ มาตรา ๒๓ มาตรา ๒๔
มาตรา ๒๗ มาตรา ๒๘ มาตรา ๒๙ มาตรา ๓๐ มาตรา ๓๑ มาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ มาตรา ๓๔ มาตรา ๓๕
มาตรา ๓๖ มาตรา ๓๗ มาตรา ๓๙ มาตรา ๔๑ มาตรา ๔๒ มาตรา ๔๓ มาตรา ๔๔ มาตรา ๔๖ และ
มาตรา ๔๗ แห่งประมวลกฎหมายนี้ ถ้าผู้มีอำนาจบังคับบัญชาตามกฎหมายว่าด้วยวินัยทหาร พิจารณาเห็นว่า
เป็นการเล็กน้อยไม่สำคัญให้ถือว่าเป็นความผิดต่อวินัยทหาร และให้มีอำนาจลงทัณฑ์ตามมาตรา ๗ เว้นแต่
ผู้มีอำนาจแต่งตั้งตุลาการตามกฎหมายว่าด้วยธรรมนูญศาลทหารจะสั่งให้ส่งตัวผู้กระทำความผิดไปดำเนินคดี
ในศาลทหาร หรือจะมีการดำเนินคดีในศาลพลเรือนตามกฎหมายว่าด้วยธรรมนูญศาลทหาร จึงให้เป็นไป ตามนั้น
มาตรา ๙ ความที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๘ ให้ใช้ตลอดถึงความผิดลหุโทษ และความผิดที่เปรียบเทียบได้ ตามกฎหมาย
มาตรา ๑๐ บรรดาบทในพระราชกำหนดกฎหมาย ที่ท่ากำหนดแต่โทษปรับสถานเดียว ถ้าจำเลยเป็น
ทหารซึ่งไม่ใช่ชั้นสัญญาบัตรหรือชั้นประทวน ท่านว่าถ้าศาลวินิจฉัยเห็นสมควรจะให้จำเลยรับโทษจำคุกแทน ค่าปรับตามลักษณะที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๑๘ แห่งประมวลกฎหมายลักษณะอาญานั้นก็ได้
มาตรา ๑๑ ความผิดฐานลหุโทษก็ดี ความผิดอันต้องด้วยโทษจำคุกไม่เกินเดือนหนึ่ง หรือปรับ
ไม่เกินกว่าร้อยบาท หรือทั้งจำทั้งปรับเช่นนั้นเป็นโทษที่หนักก็ดี ถ้าจำเลยเป็นทหาร ท่านให้ศาลวินิจฉัย ตามเหตุการณ์ ถ้าเห็นสมควรจะเปลี่ยนให้เป็นโทษขังไม่เกินกว่าสามเดือนก็ได้
มาตรา ๑๒ เมื่อศาลทหารพิพากษาเด็ดขาดให้ลงโทษแก่ทหารคนใด ท่านว่าให้ ผู้ซึ่งบังคับบัญชา
ทหาร ผู้มีอำนาจสั่งให้ลงโทษตามคำพิพากษานั้นวินิฉัยตามเหตุการณ์ ถ้าเห็นสมควรจะสั่งให้อ่านคำพิพากษา ให้จำเลยฟังต่อหน้าประชุมทหารหมู่หนึ่งหมู่ใดตามที่เห็นสมควรก็ได้
ภาค ๒ ว่าด้วยลักษณะความผิดโดยเฉพาะ -------------------------
มาตรา ๑๓ เชลยศึกคนใดท่านปล่อยตัวไปโดยมันให้คำสัตย์ไว้ว่าจะไม่กระทำการรบพุ่งต่อท่านอีก
จนตลอดเวลาสงครามคราวนั้น ถ้าและมันเสียสัตย์นั้นไซร้ ท่านจับตัวมาได้ ท่านให้ประหารชีวิตมันเสีย หรือ จำคุกมันไว้จนตลอดชีวิต หรือมิฉะนั้นให้จำคุกมันไว้ตั้งแต่ห้าปีขึ้นไป
จนถึงยี่สิบปี
มาตรา ๑๔ ผู้ใดเป็นราชศัตรู และมันปลอมตัวล่วงเข้าไปในป้อม ค่าย เรือรบ หรือ
สถานที่ใด ๆ อันเป็นของสำหรับทหาร หรือมีทหารของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวตั้งอยู่ไซร้ ท่านว่า
มันเป็นผู้ลักลอบสอดแนม ให้เอาตัวมันไปประหารชีวิตเสีย หรือมิฉะนั้นให้จำคุกมันไว้จนตลอดชีวิต
มาตรา ๑๕ ผู้ใดปิดปังซ่อนเร้น หรือช่วยราชศัตรูที่กระทำเช่นว่ามาในมาตรา ๑๔ โดยที่มันรู้ชัดว่า
เป็นราชศัตรูก็ดี มันปิดปังซ่อนเร้นหรือช่วยผู้ลักลอบสอดแนมโดยที่รู้ชัดแล้วก็ดี ท่านว่าโทษมันถึงต้อง ประหารชีวิต หรือมิฉะนั้นให้จำคุกมันไว้จนตลอดชีวิต
มาตรา ๑๖ ผู้ใดเป็นทหาร และมันบังอาจเกลี้ยกล่อมคนให้ไปเข้าเป็นพวกราชศัตรู ท่านว่าโทษมัน
ถึงต้องประหารชีวิต หรือมิฉะนั้นให้จำคุกมันไว้จนตลอดชีวิต
มาตรา ๑๗ ผู้ใดท่านใช้ให้เป็นนายทหาร บังคับกองทหารใหญ่น้อย ป้อม ค่าย เรือรบ หรือสถานที่
อย่างใด ๆ ของทหารของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ถ้ายังมิทันสิ้นกำลังและสามารถที่มันจะป้องกันและต่อสู้ข้าศึก
มันยอมแพ้ยกกองทหาร ป้อม ค่าย เรือรบ หรือสถานที่นั้น ๆ ให้แก่ราชศัตรูไซร้ ท่านว่าโทษมันถึงประหาร
ชีวิต หรือจำคุกจนตลอดชีวิต หรือมิฉะนั้นให้จำคุกมันไว้ตั้งแต่ห้าปีขึ้นไปจนถึงยี่สิบปี
มาตรา ๑๘ ผู้ใดยุยงหรือข่มขืนใจ หรือสมคบกันเพื่อยุยงหรือข่มขืนใจให้ผู้บังคับกองทหารใหญ่น้อย
ป้อม ค่าย เรือรบ หรือสถานที่อย่างใด ๆ ของทหารของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวยอมแพ้แก่ราชศัตรู ท่านว่าโทษมัน
ถึงต้องประหารชีวิต หรือจำคุกจนตลอดชีวิต หรือมิฉะนั้นให้จำคุกมันไว้ตั้งแต่ห้าปีขึ้นไปจนถึงยี่สิบปี
มาตรา ๑๙ ผู้ใดเป็นนายเรือ ท่านใช้ให้ควบคุมเรือลำหนึ่งลำใดของทหารของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ในขณะทำการรบพุ่ง ถ้าและมันถอยออกเสียจากที่รบนั้นโดยไม่มีเหตุอันสมควร ท่านว่าโทษของมันถึง ประหารชีวิต หรือจำคุกจนตลอดชีวิต หรือมิฉะนั้นให้จำคุกมันไว้ตั้งแต่ห้าปีขึ้นไปจนถึงยี่สิบปี
มาตรา ๒๐ ผู้ใดเป็นนายเรือ ท่านใช้ให้ควบคุมเรือลำหนึ่งลำใดของทหารของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
และมันจงใจกระทำหรือปล่อยให้เรือนั้นชำรุดหรืออับปาง ท่านว่าโทษของมันถึงจำคุกตั้งแต่ห้าปีขึ้นไปจนถึง ยี่สิบปี
มาตรา ๒๑ ผู้ใดเป็นนายเรือ ท่านใช้ให้ควบคุมเรือลำหนึ่งลำใดของทหารของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
และมันกระทำหรือปล่อยให้เรือนั้นชำรุดหรืออับปางด้วยความประมาทของมันไซร้ ท่านว่าโทษของมันถึง จำคุกไม่เกินกว่าสามปี
มาตรา ๒๒ ผู้ใดเจตนากระทำหรือปล่อยให้เรือลำหนึ่งลำใดของทหารของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ชำรุดหรืออับปาง ท่านว่าโทษของมันถึงจำคุกตั้งแต่สามปีขึ้นไปจนถึงสิบห้าปี
มาตรา ๒๓ ผู้ใดกระทำหรือปล่อยให้เรือลำหนึ่งลำใดของทหารของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ชำรุดหรือ
อับปางด้วยความประมาทของมันไซร้ ท่านว่าโทษของมันถึงจำคุกไม่เกินกว่าสองปี
มาตรา ๒๔ ถ้าเรือนั้นเป็นเรือสำหรับใช้เดินในลำน้ำ ท่านว่าควรลดอาญาอย่างหนักที่บัญญัติไว้ใน
มาตรา ๒๐, ๒๑, ๒๒, ๒๓ นั้นลงกึ่งหนึ่ง และมิให้ศาลต้องถือตามอาญาอย่างเบาที่บัญญัติไว้นั้น ๆ เป็น
ประมาณในการที่จะปรับโทษผู้กระทำผิด
มาตรา ๒๕ ผู้ใดเป็นนายเรือ ท่านใช้ให้ควบคุมเรือเดินทะเลลำหนึ่งลำใดของทหารของสมเด็จ-
พระเจ้าอยู่หัว ถ้ามีเหตุร้ายเกิดขึ้นเช่นพายุเป็นต้น และมันไม่พากเพียรจนสุดสิ้นความสามารถที่จะแก้ไข
ให้เรือนั้นพ้นอันตรายเสียก่อน มันละทิ้งเรือนั้นไปเสียไซร้ ท่านว่าโทษของมันถึงจำคุกไม่เกินกว่าสามปี
มาตรา ๒๖ ผู้ใดเป็นนายเรือ ท่านใช้ให้ควบคุมเรือเดินทะเลลำหนึ่งลำใดของทหารของสมเด็จ-
พระเจ้าอยู่หัว ถ้ามีเหตุร้ายเกิดขึ้นเช่นเรือเกยที่ตื้นหรือจวนอับปาง มันรู้ว่ายังมีคนอยู่ในเรือนั้น และมันจงใจ
ไปเสียจากเรือนั้นไซร้ ท่านว่าโทษของมันถึงจำคุกไม่เกินกว่าห้าปี
มาตรา ๒๗ ผู้ใดเป็นทหาร ถ้ามันมิได้มีเหตุอันสมควรที่จะกระทำได้ และมันบังอาจทำลายหรือละทิ้ง
เครื่องศาสตราวุธ กระสุนดินปืน เสบียง ม้า หรือเครื่องยุทธนาการอย่างใด ๆ ก็ดี หรือทำให้ของนั้น ๆ
วิปลาสบุบสลายไปก็ดี ท่านว่ามันมีความผิดต้องระวางโทษตามสมควรแก่เหตุดังจะว่าต่อไปนี้ คือ
๑) ถ้ามันได้กระทำความผิดนั้นต่อหน้าราชศัตรู ท่านให้ลงอาญามันเป็นสามสถาน คือ สถานหนึ่งให้
ประหารชีวิต สถานหนึ่งให้จำคุกจนตลอดชีวิต สถานหนึ่งให้จำคุกตั้งแต่ปีหนึ่งขึ้นไปจนถึงยี่สิบปี
๒) ถ้ามันมิได้กระทำความผิดนั้นต่อหน้าราชศัตรู แต่ได้กระทำในเวลาสงคราม หรือในเขตซึ่งอยู่ใน
อำนาจกฎอัยการศึก ท่านให้ลงอาญาจำคุกมันไว้จนตลอดชีวิต หรือมิฉะนั้นให้จำคุกมันตั้งแต่ปีหนึ่งขึ้นไป จนถึงยี่สิบปี
๓) ถ้ามันกระทำความผิดนั้น ในเวลาหรือที่อื่นนอกจากที่ว่ามานั้น ท่านให้ลงอาญาจำคุกมันไม่เกิน กว่ายี่สิบปี
มาตรา ๒๘ ธงซึ่งได้มีพระบรมราชานุญาตให้ใช้ในราชการ เป็นเครื่องหมายสำหรับประเทศก็ดี
รัฐบาลก็ดี หรือสำหรับเรือรบหลวงหรือกรมกองทหารใด ๆ ก็ดี หรือเป็นเครื่องหมายสำหรับเกียรติยศ หรือ
ตำแหน่งหน้าที่ราชการของบุคคลใด ๆ ก็ดี เหล่านี้ ถ้าในเวลาเจ้าพนักงานได้ชักขึ้นไว้หรือประดิษฐานไว้
หรือเชิญไปมาแห่งใด ๆ เพื่อเป็นเครื่องหมายดังที่ว่านั้น ผู้หนึ่งผู้ใดบังอาจ ลด ล้ม หรือกระทำแก่ธงนั้นให้
อันตราย ชำรุดหรือเปื้อนเปรอะเสียหายโดยไม่มีเหตุอันสมควรไซร้ ท่านว่ามันมีความผิดฐานสบประมาทธง
ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินกว่า ๑ ปี
อนึ่งถ้าธงที่มันสบประมาทนั้น เป็นธงเครื่องหมายสำหรับพระเกียรติยศของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
สมเด็จพระมเหษีก็ดี มกุฎราชกุมารก็ดี หรือผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน เวลารักษาราชการต่างพระองค์สมเด็จ
พระเจ้าอยู่หัว หรือพระราชโอรสพระราชธิดา ในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไม่ว่ารัชกาลใด ๆ ก็ดี ท่านไม่ประสงค์
จะให้เอาความในมาตรานี้ไปใช้ลบล้างอาญา ที่ท่านได้บัญญัติไว้สำหรับความผิดฐานแสดงความอาฆาต
มาดร้ายและหมิ่นประมาท ดังได้กล่าวไว้ในประมวลกฎหมายลักษณะอาญาสำหรับพระราชอาณาจักรสยาม
มาตรา ๙๘ หรือมาตรา ๑๐๐ นั้น
มาตรา ๒๙ ผู้ใดเป็นทหาร ท่านใช้ให้อยู่ยามรักษาการก็ดี ท่านมอบหมายให้กระทำการตามบังคับ
หรือคำสั่งอย่างใด ๆ ก็ดี ถ้าและมันละทิ้งหน้าที่นั้นเสีย หรือมันไปเสียจากหน้าที่โดยมิได้รับอนุญาตก่อน
ท่านว่ามันมีความผิด ต้องระวางโทษตามสมควรแก่เหตุดังจะว่าต่อไปนี้ คือ
๑) ถ้ามันได้กระทำความผิดนั้นต่อหน้าราชศัตรู ท่านให้ลงอาญามันเป็นสามสถาน คือ สถานหนึ่งให้
ประหารชีวิต สถานหนึ่งให้จำคุกจนตลอดชีวิต สถานหนึ่งให้จำคุกตั้งแต่ห้าปีขึ้นไปจนถึงยี่สิบปี
๒) ถ้ามันมิได้กระทำความผิดนั้นต่อหน้าราชศัตรู แต่ได้กระทำในเวลาสงคราม หรือในเขตซึ่งอยู่ใน
อำนาจกฎอัยการศึก ท่านให้ลงอาญาจำคุกมันตั้งแต่ปีหนึ่งขึ้นไปจนถึงยี่สิบปี
๓) ถ้ามันได้กระทำความผิดนั้นในเวลาหรือที่อื่นนอกจากที่ว่ามาแล้ว ท่านให้ลงอาญาจำคุกมันไม่เกิน กว่าสิบปี
มาตรา ๓๐ ผู้ใดเป็นทหาร และมันขัดขืนหรือละเลยมิกระทำตามคำสั่งอย่างใด ๆ ท่านว่ามันมีความผิด
ต้องระวางโทษตามสมควรแก่เหตุดังจะว่าต่อไปนี้ คือ
๑) ถ้ามันได้กระทำความผิดนั้นต่อหน้าราชศัตรู ท่านให้ลงอาญามันเป็นสามสถาน คือ สถานหนึ่งให้
ประหารชีวิต สถานหนึ่งให้จำคุกจนตลอดชีวิต สถานหนึ่งให้จำคุกตั้งแต่สามปีขึ้นไปจนถึงยี่สิบปี
๒) ถ้ามันมิได้กระทำความผิดนั้นต่อหน้าราชศัตรู แต่ได้กระทำในเวลาสงคราม หรือในเขตซึ่งอยู่ใน
อำนาจกฎอัยการศึก ท่านให้ลงอาญาจำคุกมันตั้งแต่ปีหนึ่งขึ้นไปจนถึงยี่สิบปี
๓) ถ้ามันได้กระทำความผิดนั้นในเวลาหรือที่อื่นนอกจากที่ว่ามาแล้ว ท่านให้ลงอาญาจำคุกมันไม่เกิน
กว่าห้าปี
มาตรา ๓๑ ผู้ใดเป็นทหาร และมันขัดขืนมิกระทำตามคำสั่งอย่างใด ๆ โดยมันแสดงความขัดขืนด้วย
กิริยา หรือวาจาองอาจต่อหน้าหมู่ทหารถืออาวุธด้วยไซร้ ท่านว่ามันมีความผิด ต้องระวางโทษตามสมควร แก่เหตุดังจะว่าต่อไปนี้ คือ
๑) ถ้ามันได้กระทำความผิดนั้นต่อหน้าราชศัตรู ท่านให้ลงอาญามันเป็นสามสถาน คือ สถานหนึ่งให้
ประหารชีวิต สถานหนึ่งให้จำคุกจนตลอดชีวิต สถานหนึ่งให้จำคุกตั้งแต่สามปีขึ้นไปจนถึงยี่สิบปี
๒) ถ้ามันมิได้กระทำความผิดนั้นต่อหน้าราชศัตรู แต่ได้กระทำในเวลาสงคราม หรือในเขตซึ่งอยู่ใน
อำนาจกฎอัยการศึก ท่านให้ลงอาญาจำคุกมันตั้งแต่สามปีขึ้นไปจนถึงยี่สิบปี
๓) ถ้ามันได้กระทำความผิดนั้นในเวลาหรือที่อื่นนอกจากที่ว่ามาแล้ว ท่านให้ลงอาญาจำคุกมันไม่ เกินกว่าสิบปี
มาตรา ๓๒ ผู้ใดเป็นทหาร และมันขัดขืนหรือละเลยมิกระทำตามข้อบังคับอย่างใด ๆ ท่านว่ามันมี
ความผิด ต้องระวางโทษตามสมควรแก่เหตุดังจะว่าต่อไปนี้ คือ
๑) ถ้ามันได้กระทำความผิดนั้นต่อหน้าราชศัตรู ท่านให้ลงอาญาจำคุกมันตั้งแต่ปีหนึ่งขึ้นไปจนถึง สิบปี
๒) ถ้ามันมิได้กระทำความผิดนั้นต่อหน้าราชศัตรู แต่ได้กระทำในเวลาสงคราม หรือในเขตซึ่งอยู่ใน
อำนาจกฎอัยการศึก ท่านให้ลงอาญาจำคุกมันตั้งแต่สามเดือนขึ้นไปจนถึงห้าปี
๓) ถ้ามันได้กระทำความผิดนั้นในเวลาหรือที่อื่นนอกจากที่ว่ามาแล้ว ท่านให้ลงอาญาจำคุกมันไม่เกิน กว่าสามปี
มาตรา ๓๓ ผู้ใดเป็นทหาร และมันขัดขืนมิกระทำตามข้อบังคับอย่างใด ๆ โดยมันแสดงความขัดขืน
นั้นด้วยกิริยาหรือวาจาองอาจต่อหน้าหมู่ทหารถืออาวุธด้วยไซร้ ท่านว่ามันมีความผิด ต้องระวางโทษตาม สมควรแก่เหตุดังจะว่าต่อไปนี้ คือ
๑) ถ้ามันได้กระทำความผิดนั้นต่อหน้าราชศัตรู ท่านให้ลงอาญาจำคุกมันตั้งแต่สามปีขึ้นไปจนถึง ยี่สิบปี
๒) ถ้ามันมิได้กระทำความผิดนั้นต่อหน้าราชศัตรู แต่ได้กระทำในเวลาสงคราม หรือในเขตซึ่งอยู่ใน อำนาจกฎอัยการศึก ท่านให้ลงอาญาจำคุกมันตั้งแต่ปีหนึ่งขึ้นไปจนถึงสิบปี
๓) ถ้ามันได้กระทำความผิดนั้นในเวลาหรือที่อื่นนอกจากที่ว่ามาแล้ว ท่านให้ลงอาญาจำคุกมันไม่เกิน กว่าห้าปี
มาตรา ๓๔ ผู้ใดเป็นทหาร ท่านใช้ให้เป็นยามรักษาการ หรืออยู่ยามประจำหน้าที่และมันหลับเสียใน
หน้าที่ก็ดี หรือเมาสุราในหน้าที่ก็ดี ท่านว่ามันมีความผิด ต้องระวางโทษตามสมควรแก่เหตุดังจะว่าต่อไปนี้ คือ
๑) ถ้ามันได้กระทำความผิดนั้นต่อหน้าราชศัตรู ท่านให้ลงอาญาจำคุกมันตั้งแต่ปีหนึ่งขึ้นไปจนถึง เจ็ดปี
๒) ถ้ามันมิได้กระทำความผิดนั้นต่อหน้าราชศัตรู แต่ได้กระทำในเวลาสงคราม หรือในเขตซึ่งอยู่ใน
อำนาจกฎอัยการศึก ท่านให้ลงอาญาจำคุกมันตั้งแต่สามเดือนขึ้นไปจนถึงสามปี
๓) ถ้ามันได้กระทำความผิดนั้นในเวลาหรือที่อื่นนอกจากที่ว่ามาแล้ว ท่านให้ลงอาญาจำคุกมันไม่เกิน กว่าสองปี
มาตรา ๓๕ ผู้ใดเป็นทหาร ท่านใช้ให้เป็นยามรักษาการหรืออยู่ยามประจำหน้าที่ และปรากฏว่ามัน
มิได้เอาใจใส่ หรือมันมีความประมาทในหน้าที่นั้นไซร้ ท่านว่ามันมีความผิด ต้องระวางโทษตามสมควร แก่เหตุดังจะว่าต่อไปนี้ คือ
๑) ถ้ามันได้กระทำความผิดนั้นต่อหน้าราชศัตรู ท่านให้ลงอาญาจำคุกมันตั้งแต่สามเดือนขึ้นไป จนถึงห้าปี
๒) ถ้ามันมิได้กระทำความผิดนั้นต่อหน้าราชศัตรู แต่ได้กระทำในเวลาสงคราม หรือในเขตซึ่งอยู่ใน
อำนาจกฎอัยการศึก ท่านให้ลงอาญาจำคุกมันไม่เกินกว่าสามปี
๓) ถ้ามันได้กระทำความผิดนั้นในเวลาหรือที่อื่นนอกจากที่ว่ามาแล้ว ท่านให้ลงอาญาจำคุกมันไม่เกิน กว่าสองปี
มาตรา ๓๖ ผู้ใดบังอาจใช้กำลังทำร้ายแก่ทหารยามรักษาการก็ดี หรือแก่ทหารอยู่ยามประจำหน้าที่ก็ดี
ท่านว่ามันมีความผิด ต้องระวางโทษตามสมควรแก่เหตุดังจะว่าต่อไปนี้ คือ
๑) ถ้ามันได้กระทำความผิดนั้นต่อหน้าราชศัตรู ท่านให้ลงอาญามันเป็นสามสถาน คือ สถานหนึ่งให้
ประหารชีวิต สถานหนึ่งให้จำคุกจนตลอดชีวิต สถานหนึ่งให้จำคุกตั้งแต่ห้าปีขึ้นไปจนถึงยี่สิบปี
๒) ถ้ามันมิได้กระทำความผิดนั้นต่อหน้าราชศัตรู แต่ได้กระทำในเวลาสงคราม หรือในเขตซึ่งอยู่ใน
อำนาจกฎอัยการศึก ท่านให้ลงอาญาจำคุกมันตั้งแต่ปีหนึ่งขึ้นไปจนถึงยี่สิบปี
๓) ถ้ามันได้กระทำความผิดนั้นในเวลาหรือที่อื่นนอกจากที่ว่ามาแล้ว ท่านให้ลงอาญาจำคุกมันไม่เกิน กว่าห้าปี
ถ้าและในการประทุษร้ายนั้น มันทำให้เขาถึงตายหรือให้เขามีบาดเจ็บถึงสาหัสด้วยไซร้ ท่านว่าถ้ามัน
สมควรรับโทษหนักยิ่งกว่าที่บัญญัติไว้ในมาตรานี้แล้ว ก็ให้มันผู้กระทำผิดนั้นรับอาญาตามลักษณะที่ท่าน
บัญญัติไว้ในมาตรา ๒๕๐, ๒๕๑ และ ๒๕๗ แห่งประมวลกฎหมายลักษณะอาญา
มาตรา ๓๗ ผู้ใดหมิ่นประมาทหรือขู่เข็ญว่า จะทำร้ายแก่ทหารยามรักษาการก็ดี หรือแก่ทหารอยู่
ยามประจำหน้าที่ก็ดี ท่านว่ามันมีความผิด ต้องระวางโทษตามสมควรแก่เหตุดังจะว่าต่อไปนี้ คือ
๑) ถ้ามันได้กระทำความผิดนั้นต่อหน้าราชศัตรู ท่านให้ลงอาญาจำคุกมันตั้งแต่ปีหนึ่งขึ้นไปจนถึง สิบปี
๒) ถ้ามันมิได้กระทำความผิดนั้นต่อหน้าราชศัตรู แต่ได้กระทำในเวลาสงคราม หรือในเขตซึ่งอยู่ใน อำนาจกฎอัยการศึก ท่านให้ลงอาญาจำคุกมันตั้งแต่สามเดือนขึ้นไปจนถึงห้าปี
๓) ถ้ามันได้กระทำความผิดนั้นในเวลาหรือที่อื่นนอกจากที่ว่ามาแล้ว ท่านให้ลงอาญาจำคุกมันไม่เกิน กว่าสามปี
มาตรา ๓๘ ผู้ใดเป็นทหาร และมันบังอาจกระทำการประทุษร้ายด้วยกำลังกายแก่ผู้ซึ่งมีอำนาจบังคับ
บัญชาเหนือมันไซร้ ท่านว่ามันมีความผิด ต้องระวางโทษตามสมควรแก่เหตุดังจะว่าต่อไปนี้ คือ
๑) ถ้ามันได้กระทำความผิดนั้นต่อหน้าราชศัตรู ท่านให้ลงอาญามันเป็นสามสถาน คือ สถานหนึ่งให้
ประหารชีวิต สถานหนึ่งให้จำคุกจนตลอดชีวิต สถานหนึ่งให้จำคุกตั้งแต่ห้าปีขึ้นไปจนถึงยี่สิบปี
๒) ถ้ามันมิได้กระทำความผิดนั้นต่อหน้าราชศัตรู แต่ได้กระทำในเวลาสงคราม หรือในเขตซึ่งอยู่ใน
อำนาจกฎอัยการศึก ท่านให้ลงอาญาจำคุกมันตั้งแต่ปีหนึ่งขึ้นไปจนถึงยี่สิบปี
๓) ถ้ามันได้กระทำความผิดนั้นในเวลาหรือที่อื่นนอกจากที่ว่ามาแล้ว ท่านให้ลงอาญาจำคุกมันตั้งแต่ ปีหนึ่งขึ้นไปจนถึงเจ็ดปี
มาตรา ๓๙ ผู้ใดเป็นทหาร และมันบังอาจใช้กำลังทำร้ายแก่ทหารผู้ใดซึ่งเป็นผู้ใหญ่
เหนือมันไซร้ ท่านว่ามันควรรับอาญาจำคุกมันไม่เกินกว่าห้าปี
มาตรา ๔๐ ถ้าและในการกระทำผิดเช่นว่ามาในมาตรา ๓๘ และ ๓๙ นั้น เป็นเหตุให้ผู้ต้องประทุษร้าย
ถึงตาย หรือต้องบาดเจ็บถึงสาหัสด้วยไซร้ ท่านว่า ถ้ามันสมควรรับโทษหนักยิ่งกว่าที่บัญญัติไว้ในมาตรานี้แล้ว
ก็ให้ลงอาญาแก่มันผู้กระทำผิดนั้นตามลักษณะที่ท่านบัญญัติไว้ในมาตรา ๒๕๐, ๒๕๑ และ ๒๕๗ แห่ง ประมวลกฎหมายลักษณะอาญา
มาตรา ๔๑ ผู้ใดเป็นทหาร และมันบังอาจแสดงความอาฆาตมาดร้ายต่อผู้บังคับบัญชาหรือต่อทหารที่
เป็นใหญ่เหนือมัน หรือหมิ่นประมาทใส่ความหรือโฆษณาความหมิ่นประมาทอย่างใด ๆ ก็ดี ท่านว่ามันมี
ความผิดต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินกว่าสามปี
มาตรา ๔๒ ถ้าทหารมั่วสุมกัน ณ ที่ใด ๆ ตั้งแต่ห้าคนขึ้นไปใช้กำลังทำร้าย หรือขู่เข็ญว่าจะทำร้ายก็ดี
หรือมันกระทำการอย่างใด ๆ ขึ้นให้วุ่นวายในบ้านเมืองของท่านก็ดี ท่านว่ามันมีความผิดฐานกำเริบต้อง
ระวางโทษตามสมควรแก่เหตุด้วยกันทุกคน ดังจะว่าต่อไปนี้ คือ
๑) ถ้ามันได้กระทำความผิดนั้นต่อหน้าราชศัตรู ท่านให้ลงอาญามันเป็นสามสถาน คือสถานหนึ่งให้
ประหารชีวิต สถานหนึ่งให้จำคุกจนตลอดชีวิต สถานหนึ่งให้จำคุกตั้งแต่สามปีขึ้นไปจนถึงยี่สิบปี
๒) ถ้ามันมิได้กระทำความผิดนั้นต่อหน้าราชศัตรู แต่ได้กระทำในเวลาสงคราม หรือในเขตซึ่งอยู่ใน
อำนาจกฎอัยการศึก ท่านให้ลงอาญาจำคุกมันตั้งแต่ปีหนึ่งขึ้นไปจนถึงยี่สิบปี
๓) ถ้ามันได้กระทำความผิดนั้นในเวลาหรือที่อื่นนอกจากที่ว่ามาแล้ว ท่านให้ลงอาญาจำคุกมันไม่เกิน กว่าห้าปี
มาตรา ๔๓ ถ้าและในพวกทหาร ที่กระทำการกำเริบที่ว่ามาในมาตรา ๔๒ นั้น มีสาตราวุธไปด้วย
ตั้งแต่คนหนึ่งขึ้นไป ท่านว่าพวกนั้นต้องระวางโทษตามสมควรแก่เหตุด้วยกันทุกคน ดังจะว่าต่อไปนี้ คือ
๑) ถ้ามันได้กระทำความผิดนั้นต่อหน้าราชศัตรู ท่านให้ลงอาญามันเป็นสามสถาน คือ สถานหนึ่งให้
ประหารชีวิต สถานหนึ่งให้จำคุกจนตลอดชีวิต สถานหนึ่งให้จำคุกตั้งแต่ห้าปีขึ้นไปจนถึงยี่สิบปี
๒) ถ้ามันมิได้กระทำความผิดนั้นต่อหน้าราชศัตรู แต่ได้กระทำในเวลาสงคราม หรือในเขตซึ่งอยู่ใน อำนาจกฎอัยการศึก ท่านให้ลงอาญาจำคุกมันตั้งแต่สามปีขึ้นไปจนถึงยี่สิบปี
๓) ถ้ามันได้กระทำความผิดนั้นในเวลาหรือที่อื่นนอกจากที่ว่ามาแล้ว ท่านให้ลงอาญาจำคุกมันไม่เกิน กว่าสิบปี
มาตรา ๔๔ เมื่อพนักงานผู้มีตำแหน่งหน้าที่ได้บังคับทหารที่กระทำการกำเริบในที่ใด ๆ ให้เลิกไปเสีย
ถ้าและพวกทหารที่กระทำการกำเริบนั้น คนใดที่ยังมิได้ใช้กำลังทำร้ายอย่างใดแล้วเลิกไปตามบังคับนั้นโดยดี
ท่านว่าให้ลงโทษแก่มันตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๔๒ และ ๔๓ นั้น แต่กึ่งหนึ่ง
มาตรา ๔๕ ผู้ใดเป็นนายทหารชั้นสัญญาบัตร ชั้นประทวน ชั้นนายสิบ ชั้นจ่า หรือเป็นพลทหารก็ดี
ถ้าและมันขาดจากหน้าที่ราชการโดยมิได้รับอนุญาต หรือมันขาดจากราชการในเมื่อพ้นกำหนดอนุญาตลา
แล้วก็ดี แม้เป็นไปด้วยความเจตนาจะหลีกเลี่ยงจากราชการตามคำสั่งให้เดินกองทหาร หรือเดินเรือไปจากที่
หรือคำสั่งเรียกระดมเตรียมศึกนั้นไซร้ ท่านว่ามันมีความผิดฐานหนีราชการ อีกนัยหนึ่งมันขาดจากราชการ จนถึงกำหนดที่จะกล่าวต่อไปนี้ คือ
๑) ขาด ๒๔ ชั่วโมง ต่อหน้าราชศัตรู
๒) ขาด ๓ วัน ถ้ามันใช่ต่อหน้าราชศัตรู แต่ในเวลาสงคราม หรือในเขตที่ใช้กฎอัยการศึก
๓) ขาด ๑๕ วัน ในที่และเวลาอื่น ๆ นอกจากที่กล่าวมาแล้วดังนี้ไซร้ ท่านก็ว่ามันมีความผิดฐานหนี ราชการดุจกัน
มาตรา ๔๖ ผู้ใดกระทำความผิดฐานหนีราชการ ท่านว่ามันต้องระวางโทษตามสมควรแก่เหตุ ดังจะว่า ต่อไปนี้ คือ
๑) ถ้ามันหลบหนีไปเข้าอยู่กับพวกราชศัตรู ท่านว่าโทษมันถึงตาย
๒) ถ้ามันกระทำความผิดนั้นต่อหน้าราชศัตรู ท่านให้ลงอาญาจำคุกมันไว้จนตลอดชีวิตหรือมิฉะนั้น ให้จำคุกมันไว้ยี่สิบปี
๓) ถ้ามันมิได้กระทำความผิดนั้นต่อหน้าราชศัตรู แต่ได้กระทำในเวลาสงคราม หรือในเขตซึ่งอยู่ใน อำนาจกฎอัยการศึก ท่านให้ลงอาญาจำคุกมันตั้งแต่ปีหนึ่งขึ้นไปจนถึงสิบห้าปี
๔) ถ้ามันกระทำความผิดนั้นในเวลาหรือที่อื่นนอกจากที่ว่ามาแล้ว ท่านให้ลงอาญาจำคุกมันผู้กระทำ ความผิดนั้นไว้ไม่เกินกว่าห้าปี
มาตรา ๔๗ ผู้ใดเป็นทหาร ท่านใช้ให้มีหน้าที่จัดซื้อหรือทำ หรือปกครองรักษาทรัพย์สิ่งใด ๆ ของ
ทหาร ถ้าและมันบังอาจเอาของอื่นปลอมหรือปนกับทรัพย์สิ่งนั้น ๆ ให้เสื่อมลงก็ดี หรือมันปล่อยให้ผู้อื่น
กระทำเช่นนั้นโดยมันรู้เห็นเป็นใจด้วยก็ดี ท่านว่ามันมีความผิดต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามเดือนขึ้นไป
จนถึงเจ็ดปี และปรับตั้งแต่ร้อยบาทขึ้นไปจนถึงสองพันบาทด้วยอีกโสดหนึ่ง
และทหารคนใดท่านใช้ให้มีหน้าที่จัดซื้อหรือทำ หรือปกครองรักษาสิ่งใด ๆ ของทหาร ถ้าและมัน
บังอาจจ่ายทรัพย์สิ่งใด ๆ ที่มันรู้อยู่ว่ามีของอื่นปลอมหรือปนเช่นว่ามาแล้วก็ดี หรือมันปล่อยให้ผู้อื่นกระทำ
เช่นนั้น แล้วมันไม่รีบร้องเรียนต่อผู้ใหญ่ที่เหนือมันก็ดี ท่านว่ามันมีความผิดต้องระวางโทษเช่นว่ามาใน มาตรานี้แล้วนั้นดุจกัน
มาตรา ๔๘ ในเวลาสงคราม ถ้าผู้ใดกระทำการปราศจากความเมตตาแก่คนที่ถูกอาวุธบาดเจ็บ หรือแก่
คนที่ป่วยเจ็บในกองทัพฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดก็ดี หรือกระทำการปล้นทรัพย์แย่งทรัพย์อย่างใด ๆ ที่ท่านบัญญัติไว้
ในมาตรา ๒๔๙ ถึงมาตรา ๒๕๙ และมาตรา ๒๘๘ ถึงมาตรา ๓๐๓ แห่งประมวลกฎหมายลักษณะอาญานั้น
ท่านให้เพิ่มโทษมันผู้กระทำผิดต้องระวางโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดเช่นนั้นขึ้นด้วยอีกกึ่งหนึ่ง
มาตรา ๔๙ ในเวลาสงคราม ถ้าผู้ใดใช้ธงกาชาด หรือเครื่องหมายกาชาดโดยผิดข้อบังคับแห่งหนังสือ
สัญญานานาประเทศ ซึ่งทำที่เมืองเยนีวาเมื่อวันที่ ๖ กรกฎาคม รัตนโกสิทรศก ๑๒๕ ท่านว่ามันมีความผิด
ต้องด้วยอาญาซึ่งบัญญัติไว้ในมาตรา ๑๒๘ แห่งประมวลกฎหมายลักษณะอาญา
มาตรา ๕๐ ผู้ใดเป็นทหาร ถ้ามันกระทำผิดในเวลาที่ท่านใช้ให้เป็นยามรักษาการ หรืออยู่ยามประจำที่
หรือให้กระทำการอย่างใด ๆ ที่มีศาสตราวุธของหลวงประจำตัวโดยความผิดที่ท่านบัญญัติไว้ในมาตราต่าง ๆ แห่งกฎหมายลักษณะอาญา ดังจะกล่าวต่อไปนี้ คือ
มาตรา ๙๘ ถึงมาตรา ๑๐๐ ความผิดในฐานประทุษร้ายต่อพระบรมราชตระกูล
มาตรา ๑๐๒ ถึงมาตรา ๑๐๔ ความผิดฐานกบฏภายในพระราชอาณาจักร
มาตรา ๑๐๕ ถึงมาตรา ๑๐๘ ความผิดฐานกบฏภายนอกพระราชอาณาจักร
มาตรา ๑๑๒ ถึงมาตรา ๑๑๕ ความผิดต่อทางพระราชไมตรีกับต่างประเทศ
มาตรา ๑๑๖ ถึงมาตรา ๑๒๘ ความผิดต่อเจ้าพนักงาน
มาตรา ๑๕๑ ความผิดฐานกระทำให้เสื่อมเสียอำนาจศาล
มาตรา ๑๕๔ ความผิดฐานช่วยผู้อื่นให้พ้นอาชญาอันควรรับโทษตามกฎหมาย
มาตรา ๑๖๕ ถึงมาตรา ๑๖๙ ความผิดฐานหลบหนีจากที่คุมขัง
มาตรา ๑๗๗ ถึงมาตรา ๑๘๒ ความผิดฐานสมคบกันเป็นอั้งยี่ และเป็นซ่องโจรผู้ร้าย
มาตรา ๑๘๓ ถึงมาตรา ๑๘๔ ความผิดฐานก่อการจลาจล
มาตรา ๑๘๕ ถึงมาตรา ๒๐๑ ความผิดฐานกระทำให้เกิดภยันตรายแก่สาธารณชนฐานกระทำให้
สาธารณชนปราศจากความสะดวกในการไปมาและการส่งข่าวและของถึงกันและฐานกระทำให้สาธารณชน ปราศจากความสุขสบาย
มาตรา ๒๕๓ ความผิดฐานเกี่ยวข้องในที่วิวาทต่อสู้กัน ซึ่งมีผู้ถึงแก่ความตาย
มาตรา ๒๕๔ ถึงมาตรา ๒๕๙ ความผิดฐานประทุษร้ายแก่ร่างกาย
มาตรา ๒๖๘ ถึงมาตรา ๒๗๗ ความผิดฐานกระทำให้เสื่อมเสียอิสรภาพ
มาตรา ๒๘๘ ถึงมาตรา ๒๙๖ ความผิดฐานลักทรัพย์
มาตรา ๒๙๗ ถึงมาตรา ๓๐๒ ความผิดฐานวิ่งราว ฐานชิงทรัพย์ ฐานปล้นทรพย์ และโจรสลัด
มาตรา ๓๐๓ ความผิดฐานกรรโชก
มาตรา ๓๒๗ ถึงมาตรา ๓๓๐ ความผิดฐานบุกรุก
ท่านว่ามันผู้กระทำผิดต้องระวางโทษตามที่ท่านบัญญัติไว้สำหรับความผิดเช่นนั้น และให้เพิ่มโทษ ขึ้นอีกกึ่งหนึ่ง
มาตรา ๕๑ (ยกเลิกหมดทั้งมาตรา)
มาตรา ๕๒ เมื่อความผิดอย่างหนึ่งอย่างใดดังที่ได้ระบุไว้ในมาตรา ๒๐, ๒๒, ๒๗ (๒ หรือ ๓),
๒๙ (๒ หรือ ๓), ๓๐ (๒ หรือ ๓), ๓๑ (๒ หรือ ๓), ๓๒, ๓๓, ๓๖ (๒ หรือ ๓), ๓๗, ๓๘ (๒ หรือ ๓), ๓๙,
๔๑, ๔๒ (๒ หรือ ๓), ๔๓ (๒ หรือ ๓), ๔๖ (๒ หรือ ๓) หรือ ๔๗ แห่งประมวลกฎหมายอาญาทหารนี้ได้
กระทำลงด้วยความประสงค์ที่จะบ่อนให้สมรรถภาพของกรมกองทหารเสื่อทรามลงไซร้ ท่านให้เพิ่มโทษ ผู้กระทำผิดดังต่อไปนี้
ถ้าระวางโทษอย่างสูงสุดกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นเพียงจำคุกตลอดชีวิตไซร้ ท่านให้เพิ่มขึ้นเป็น โทษอย่างสูงสุดถึงประหารชีวิต
ถ้าระวางโทษอย่างสูงสุดกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นเพียงจำคุกมีกำหนดยี่สิบปีไซร้ ท่านให้เพิ่มขึ้น เป็นโทษจำคุกไว้จนตลอดชีวิตเป็นอย่างสูงสุด
ถ้าระวางโทษอย่างสูงสุดที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นเพียงจำคุกมีกำหนดเวลาอย่างอื่นนอกจาก ที่กล่าวแล้ว ท่านให้เพิ่มขึ้นอีกกึ่งหนึ่งของโทษที่ได้วางไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ
เมื่อความผิดอย่างหนึ่งอย่างใดดังที่ได้ระบุไว้ในวรรคต้นนี้ ได้กระทำไปเป็นส่วนหนึ่งของแผนการที่
จะล้างล้มรัฐบาลก็ดี หรือจะให้เปลี่ยนประเพณีการเมืองหรือเศรษฐกิจแห่งพระราชอาณาจักรด้วยใช้กำลังบังคับ
หรือกระทำร้ายก็ดี ท่านว่ามันผู้กระทำมีความผิดต้องระวางโทษประหารชีวิตหรือจำคุกมันไว้จนตลอดชีวิต
-------------------------------------------
|
มาตรา ๒๘๙, ๒๙๐ และ ๒๙๘ แห่งประมวลกฎหมายอาญา บัญญัติไว้ดังนี้ :-
"มาตรา ๒๘๙ ผู้ใด
(๑) ฆ่าบุพการี
(๒) ฆ่าเจ้าพนักงาน ซึ่งกระทำการตามหน้าที่ หรือเพราะเหตุที่จะกระทำ หรือได้กระทำการตามหน้าที่
(๓) ฆ่าผู้ช่วยเหลือเจ้าพนักงาน ในการที่เจ้าพนักงานนั้นกระทำตามหน้าที่ หรือเพราะเหตุที่บุคคลนั้นจะช่วยหรือได้ช่วยเจ้าพนักงานดังกล่าวแล้ว
(๔) ฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน
(๕) ฆ่าผู้อื่นโดยทรมานหรือโดยกระทำทารุณโหดร้าย
(๖) ฆ่าผู้อื่นเพื่อตระเตรียมการ หรือเพื่อความสะดวกในการที่จะกระทำความผิดอย่าอื่น หรือ
(๗) ฆ่าผู้อื่นเพื่อจะเอาหรือเอาไว้ซึ่งผลประโยชน์อันเกิดแต่การที่ตนได้กระทำความผิดอื่น เพื่อปกปิดความผิดอื่นของตน หรือเพื่อหลีกเลี่ยงให้พ้นอาญาในความผิดอื่นที่ตนได้กระทำไว้
ต้องระวางโทษประหารชีวิต
|
เหตุด่วน, เหตุร้าย แจ้ง ศูนย์ควบคุมและสั่งการ พัน.สห.ทอ. โทร. 534-2117 - 9 ทอ. 2-2197 - 9
แจ้งเบาะแสแหล่งอบายมุข, ยาเสพติดให้โทษ, แหล่งการพนัน ผบ.พัน.สห.ทอ. โทร. 534-2113 โทรสาร. 523-7596
E-mail : dmbc4@ksc.th.com
|
|