แนวทางในการปฏิบัติเกี่ยวกับสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ
แบบหนังสือกระทรวงการคลัง ด่วนที่สุด ที่ กค 0528.5/ว 17 ลงวันที่ 2 มีนาคม 2541
.
มาตราการ
.
แนวทางปฏิบัติ
1) การวินิจฉัยกรณีจำเป็นต้องใช้
ยานอกบัญชียาหลักแห่งชาติ
1) ให้สถานพยาบาลแต่ละแห่งแต่งตั้งคณะกรรมการแพทย์โดยมีองค์ประกอบของ
คณะกรรมการไม่ต่ำกว่า 3 คน
1.1 ในกรณีที่มีคณะกรรมการเภสัชกรรมและการบำบัดของสถานพยาบาล
ให้แต่งตั้งคณะกรรมการแพทย์ของสถานพยาบาล จากคณะกรรมการเภสัชกรรมและการบำบัด
1.2 ในกรณีที่ไม่มีคณะกรรมการเภสัชกรรมและการบำบัดของ
สถานพยาบาลให้แต่งตั้งคณะกรรมการแพทย์ของสถานพยาบาลขึ้นมาใหม่


2) ให้คณะกรรมการแพทย์กำหนดบัญชียาของโรงพยาบาล อันประกอบด้วย ยาในบัญชี
ยาหลักแห่งชาติ และยานอกบัญชียาหลักแห่งชาติเฉพาะที่จำเป็นในสัดส่วนที่เหมาะสม
ตามระดับของสถานพยาบาลโดยถือว่าบัญชียาของโรงพยาบาลนี้เป็นยาที่สามารถเบิกจ่าย
ได้จากสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการได้ ตามหนังสือสั่งการของกระทรวงการคลัง โดยอนุโลม


3) ให้กรรมการแพทย์ ปรับปรุงรายการยานอกบัญชียาหลักของโรงพยาบาลปีละ 1 ครั้ง


4) ให้คณะกรรมการแพทย์ดังกล่าวเป็นผู้วินิจฉัย ในกรณีจำเป็นต้องใช้ยานอกเหนือจากบัญชียาของโรงพยาบาล
2)
ค่าธรรมเนียมแพทย์คลีนิกนอกเวลาราชการ
ให้ระบุราชการ ค่าธรรมเนียมแพทย์ เป็นค่าค่าธรรมเนียมพิเศษ เนื่องจากค่าธรรมเนียมแพทย์ ไม่ถือเป็นค่ารักษาพยาบาลที่จะนำมาเบิกจากทางราชการได้ แพทย์คณะกรรมการแพทย์ดังกล่าวเป็นผู้วินิจฉัย ในกรณีจำเป็นต้องใช้ยานอกเหนือจากบัญชียาของโรงพยาบาล
3)
ควบคุมไม่ให้มีการเบิกค่ารักษาพยาบาล
ที่เกินความจำเป็น
1) ให้แพทย์สภาและราชวิทยาลัยแพทย์ต่าง ๆ จัดทำกรอบแนวทางการรักษาพยาบาล


2) ในกรณีการตรวจวินิจฉัยและการรักษาพยาบาลที่มีราคาแพง ซึ่งอาจเป็นความจำเป็นเฉพาะผู้ป่วยบางรายเท่านั้น ให้คณะกรรมการแพทย์ของสถานพยาบาลกำหนดแนวทางการวินิจฉัยและรักษาของสถานพยาบาลตามกรอบแนวทางของแพทย์สภาและราชวิทยาลัยแพทย์ต่าง ๆ


3) ในกรณีจำเป็นที่ต้องใช้การตรวจวินิจฉัยและการรักษาพยาบาลที่มีราคาแพง ซึ่งมิได้อยู่ในแนวทางฯ ตามข้อ 2 ให้คณะกรรมการแพทย์ดังกล่าวเป็นผู้วินิจฉัย


4) ให้คณะกรรมการแพทย์ดังกล่าวกำกับและประเมินผลการวินิจฉัยและการรักษาพยาบาลของแพทย์ในสถานพยาบาลเป็นระยะ
4) การมีส่วนร่วมจ่ายค่าห้องและค่าอาหาร
ในส่วนที่เกินจากจำนวนวันที่
กระทรวงการคลังกำหนด
1. เบิกได้ตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) อายุต่ำกว่า 60
4 วันแรกเบิกได้วันละ 600 บาท วันที่ 5-9
เบิกได้วันละ 300 บาท ตั้งแต่วันที่ 10 เป็นต้นไป
ต้องรับภาระเอง
(2) อายุตั้งแต่ 60
6 วันแรกเบิกได้วันละ 600 บาท วันที่ 7-13
เบิกได้วันละ 300 บาท ตั้งแต่วันที่ 14 เป็นต้นไป
ต้องรับภาระเอง
2. ยกเว้นกรณีดังต่อไปนี้
1. กรณีผู้ป่วยประสบอุบัติเหตุฉุกเฉิน
หรือกรณีจำเป็นอื่น ๆ ให้ผู้ป่วยมีสิทธิเบิกได้ไม่เกิน
วันละ 600 บาท ภายในระยะเวลา 13 วัน นับตั้งแต่
วันที่เข้ารับการรักษา สำหรับวันที่ 14 เป็นต้นไป
ให้เบิกได้ไม่เกินวันละ 300 บาท โดยให้คณะกรรมการ
แพทย์ที่ผู้อำนวยการสถานพยาบาลแต่งตั้งเป็นผู้วินิจฉัย
และออกหนังสือรับรองให้เพื่อใช้ประกอบการเบิกจ่าย
กรณีผู้ป่วยนอนเตียงสามัญ
ให้เบิกได้ตามที่สถานพยาบาลเรียกเก็บ
กรณีที่ต้องแยกผู้ป่วยติดเชื้อ เพื่อความ
ปลอดภัยของผู้ป่วยหรือผู้ป่วยอื่น โดยที่
สถานพยาบาลไม่มีห้องแยกโดยเฉพาะ ให้เบิกค่า
ห้องพิเศษได้เท่าที่จ่ายจริง แต่ไม่เกินวันละ 600 บาท

1. กรณีอุบัติเหตุ หมายความว่า ภาวะที่เกิดขึ้นโดยไม่สามารถคาดการณ์ล่วงหน้าได้ก่อน เช่น อุบัติเหตุจราจร อุบัติเหตุพลัดตกหกล้ม การบาดเจ็บจากอุบัติเหตุต่าง ๆ
2. กรณีฉุกเฉิน หมายความว่า การเจ็บป่วยกระทันหัน ซึ่งต้องได้รับการช่วยเหลืออย่างรีบด่วนในเวลาที่จำกัด มิฉะนั้นอาจจะทำให้ถึงแก่ชีวิตได้ เช่น หัวใจวายเฉียบพลัน อุจจาระร่วงอย่างรุนแรง ปอดปวม หลอดเลือดในสมองตีบ/ตัน/แตก ลำไส้อุดตัน
3. กรณีจำเป็นอื่น ๆ เช่น การฉายรังสีเพื่อการรักษา เป็นต้น
5) การตรวจสุขภาพประจำปี
ปัจจุบันยังคงเบิกได้ทั้งสถานพยาบาลของรัฐและเอกชน
จนกว่าจะมีการแก้ไขพระราชกฤษฎีกาให้เบิกได้เฉพาะสถานพยาบาลของรัฐ ซึ่งจะแจ้งให้รับทราบต่อไป
6) ควบคุมการจัดซื้ออุปกรณ์และเครื่องมือ
การแพทย์ให้เหมาะสมและประหยัด
1. ให้มีการประเมินความจำเป็น ประสิทธิภาพประสิทธิผลของการใช้เครื่องมือแพทย์ก่อนจัดหา
เครื่องมือแพทย์


2. ให้มีการซ่อมบำรุงเครื่องมือแพทย์ให้ใช้งานได้ดีอยู่เสมอ


3. ฝึกอบรมบุคลากรให้มีทักษะในการใช้เครื่องมือแพทย์เหล่านั้น

เหตุด่วน, เหตุร้าย แง ศูนย์ควบคุมและสั่งการ พัน.สห.ทอ. โทร. 534-2117 - 9 ทอ. 2-2197 - 9
แจ้งเบาะแสแหล่งอบายมุข, ยาเสพติดให้โทษ, แหล่งการพนัน ผบ.พัน.สห.ทอ. โทร. 534-2113 โทรสาร. 523-7596
E-mail:sonortaf@ksc.th.com

.
.