โดย
Home ยา ผู้หญิง เด็ก เครื่องสำอาง ปฐมพยาบาล โรคทั่วไป อื่นๆน่าสนใจ สอบถามปัญหา
This Page
Related Topic
interesting Webs



เชิญติชม เสนอแนะ สอบถามครับ

ชื่อ
email
ติชม เรื่องที่อยากสอบถาม
อยากให้ web นี้เป็นอย่างไร ปรับปรุงอย่างไร
เสนอแนะที่นี่ได้เลยครับ

ขอบคุณครับ 

ความดันโลหิตสูง

Last Update : 21/11/42

ความดันโลหิตคืออะไร ?        

คือค่าแรงดันภายในเส้นเลือดแดง ที่เกิดจากการที่หัวใจบีบตัวเพื่อส่งเลือดออกจากหัวใจไปทั่วร่างกาย เปรียบเหมือนกับปั๊มน้ำที่ใช้ตามบ้าน

ค่าแรงดันนี้แบ่งเป็น 2 ค่า คือ

  • ค่าความดันโลหิตตัวบน ( Systolic Pressure ) คือแรงดันขณะที่หัวใจบีบตัว
  • ค่าความดันโลหิตตัวล่าง ( Diastolic Pressure ) ค่าแรงดันขณะที่หัวใจคลายตัวเต็มที่

เครื่องวัดความดันโลหิตที่มีวางขายกันตามท้องตลาด มี 3 แบบ คือ

  1. วัดที่ต้นแขน มีความแม่นยำที่สุด ยุ่งยากในการพันต้องมีคนช่วย
  2. วัดที่ข้อมือ แม่นยำปานกลาง ไวต่อการขยับเขยื้อน ใช้ง่าย
  3. วัดที่นิ้วมือ แม่นยำน้อยมาก ไวต่อการขยับเขยื้อนมากที่สุด ใช้ง่าย ไม่แนะนำให้ใช้รุ่นนี้ครับ

หน่วยของการวัดระบุเป็น มิลลิเมตรปรอท หรือเขียนว่า mmHg

ค่าความดันปกติ คือ 120/80 mmHg คือ Systolic = 120, Diastolic = 80 mmHg

ความดันที่วัดได้จะมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ขึ้นอยู่กับอิริยาบท ความเครียด การทำงาน กิจกรรม ดังนั้นจึงถือเป็นมาตรฐานว่า จะต้องวัดความดันโลหิตเมื่อพักสบายๆเป็นเวลา 15 นาทีขึ้นไปแล้ว

ความดันโลหิตสูง      

ความดันโลหิตที่ถือว่าสูงเท่ากับ 140/90 mmHg จากการวัดในเวลาต่างๆกันภายใต้สภาวะเดียวกัน อย่างน้อย 3 ครั้ง

ความดันโลหิต สำหรับอายุ 18 ปีขึ้นไป
Systolic Diastolic What to do
น้อยกว่า 130 น้อยกว่า 85 ตรวจใหม่ภายใน 2 ปี
130-139 85-89 ตรวจใหม่ภายใน 1 ปี
140-159 90-99 ตรวจซ้ำภายใน 2 เดือน
160-179 100-109 รีบรักษาภายใน 1 เดือน
180 ขึ้นไป 110 ขึ้นไป รักษาทันที

 

ผลเสียของความดันโลหิตสูง        

เพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรค

  • โรคหัวใจโต ( Congestive Heart Failure )
  • เส้นเลือดหัวใจตีบตัน แข็ง ( Coronary Artery Disease )
  • โรคไตล้มเหลว
แนวทางการรักษา        

ก่อนอื่นต้องแบ่งประเภทของความดันโลหิตสูงออกเป็่น 3 แบบ ตามภาวะแทรกซ้อน ซึ่งมี 2 แบบ คือ

ภาวะแทรกซ้อน 2 แบบ
Cardiovascular Risks Conditions
สูบบุหรี่ หัวใจห้องล่างซ้ายโต
คอเลสเตอรอลในเลือดสูง เส้นเลือดเลี้ยงหัวใจตีบ
เบาหวาน หัวใจล้มเหลว
อายุมากกว่า 60 ปี โรคไต
เพศชาย โรคเกี่ยวกับเส้นเลือดแดงส่วนปลาย
หญิงวัยทอง เส้นเลือดในตาแตก
ประวัติการเป็นโรคหัวใจในครอบครัว  
 
ประเภทของความดันโลหิตสูง
Group A ไม่มีทั้ง Cardiovascular Risks และ Conditions
Group B มี Cardiovascular Risks อย่างน้อย 1 ข้อ และต้องไม่ใช่ เบาหวาน
ไม่มี Conditions
Group C เป็นเบาหวาน และ
มี Conditions ด้วย


แนวทางการรักษา
Stage Group A Group B Group C
High Normal
(130-139/85-89)

ปรับปรุง เปลี่ยนแปลงการดำเนินชีวิต

ปรับปรุง เปลี่ยนแปลงการดำเนินชีวิต

ปรับปรุง เปลี่ยนแปลงการดำเนินชีวิต
+
ใช้ยาลดความดันโลหิต ( กรณีมีโรคหัวใจ, ไต, เบาหวานด้วย )

Stage 1
(140-159/90-99)

ปรับปรุง เปลี่ยนแปลงการดำเนินชีวิต
+
( ใช้ยาเพิ่มด้วย ถ้าความดันยังควบคุมไม่ได้ ในระยะเวลา 1 ปี )

ปรับปรุง เปลี่ยนแปลงการดำเนินชีวิต
+
( ใช้ยาเพิ่มด้วย ถ้าความดันยังควบคุมไม่ได้ ในระยะเวลา 6 เดือน หรือใช้ยาเลยถ้ามีความเสี่ยง หลายข้อ )

ปรับปรุง เปลี่ยนแปลงการดำเนินชีวิต
+
ใช้ยาลดความดันโลหิต

Stage 2
(160-179/100-109)

ปรับปรุง เปลี่ยนแปลงการดำเนินชีวิต
+
ใช้ยาลดความดันโลหิต

ปรับปรุง เปลี่ยนแปลงการดำเนินชีวิต
+
ใช้ยาลดความดันโลหิต

ปรับปรุง เปลี่ยนแปลงการดำเนินชีวิต
+
ใช้ยาลดความดันโลหิต

Stage 3
(180/110 ขึ้นไป)

 

 

Post a Message in My Message Board!

ถ้าท่านชอบ web  นี้ 
ท่านที่ต้องการสอบถาม เสนอแนะ เชิญครับ mailto:vichiena@yahoo.com
ขอขอบคุณ Geocities.com ที่ให้พื้นที่ฟรีสำหรับการจัดทำ Web Site นี้
ขอขอบคุณแหล่งข้อมูลที่สำคัญ discoveryhealth | mediconsult | mayohealth | medscape.com | healthylives | สมาคมแพทย์โรคผิวหนัง USA | fda.gov | my.yahoo.com