มาลาเรีย - ยาป้องกัน |
Last update
: 09/12/43
|
เชื้อมาลาเรียที่ทำให้ก่อโรค
มีที่สำคัญอยู่ 2 ชนิด
ซึ่งมีชื่อเรียกทางวิทยาศาสตร์ว่า
P. falciparum และ P. vivax
ซึ่งพบการดื้อยาค่อนข้างมาก
ถึงแม้จะได้มีความพยายามกำจัดเชื้อทั้ง
2
ชนิดมาอย่างยาวนานด้วยการสนับสนุนจาก
WHO ตั้งแต่ปี 1957 ก็ตาม
จากยาที่เคยใช้ได้ผลคือ
Quinine
ก็ถูกพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
แต่ก็มักพบการดื้อยาเกิดขึ้นเสมอ
ชื่อยา
|
ขนาดการใช้
( ผู้ใหญ่ )
|
ฤทธิ์การฆ่าเชื้อ
|
ถ้าดูจากตารางจะรู้สึกว่า
เป็นยาที่น่าใช้
แต่ความจริงคือ
พบการดื้อยามาก
และอาจแพ้ยาด้วย
|
Chloroquine |
300mg / สัปดาห์ |
ทุกชนิด |
Mefloquine |
250mg/สัปดาห์ |
ทุกชนิด |
Doxycycline |
100mg/วัน |
P. falciparum |
Proguanil |
100mg วันละ 2 ครั้ง |
ทุกชนิด |
- ต้องรับประทานยาก่อนเข้าพื้นที่ที่มีความเสี่ยงล่วงหน้า
1-2 สัปดาห์
- ทานยาตลอดที่อยู่ในพื้นที่ตามขนาดข้างบน
- ทานยาต่อหลังจากออกจากพื้นที่เสี่ยงอีก
6 สัปดาห์
และต้องหามาตรการเสริมเพื่อป้องกันการโดนยุงก้นปล่องกัด
โดยการใส่เสื้อผ้าที่มิดชิด
จัดหามุ้งนอนเวลากลางคืน
และใช้ยาทากันยุง
ซิ่งถือเป็นมาตรการที่สำคัญมากกว่าการใช้ยาป้องกันมาลาเรีย
สำหรับยาทากันยุงที่มีประสิทธิภาพสูงที่สุดในปัจจุบัน
คือ
ที่มีตัวยาชื่อย่อว่า DEET
ซึ่งปกติป้องกันได้ 4-8
ชั่วโมง ขึ้นอยู่กับสูตร
ส่วนผสมที่ใส่เพิ่มเข้าไปในน้ำยานั้น
และขึ้นอยู่กับสภาพลม
ถ้าลมแรงจะป้องกันได้ไม่นาน
เนื่องจากยาระเหยออกไปได้เร็วขึ้น
- เนื่องจากการตัดถนน
การบุกรุกป่าของมนุษย์
ทำให้สัตว์ต่างๆ
รวมทั้งยุงก็อพยพเข้าสู่ป่าลึกขึ้น
และสถานที่ที่เรามักไปเที่ยวกัน
ก็ไม่ได้เข้าไปสู่ส่วนที่ลึกมาก
โอกาสที่จะไปเจอยุงก้นปล่องกัดแล้วได้รับเชื้อมาลาเรียนั้น
มีโอกาสน้อยมาก
- และสถานการณ์การดื้อยาของเชื้อมาลาเรีย
ก็รุนแรง
ในขณะที่การพัฒนายาใหม่ยังไม่เร็วพอ
ท่านทราบหรือไม่ว่า
เมื่อมียาปฏิชีวนะ
หรือยาแก้อักเสบตัวใหม่ที่ถูกพัฒนาออกมาใหม่และได้นำมาใช้จริงเพียงไม่นาน
( ไม่เกิน 1-2 ปี )
ก็จะพบการดื้อยาของเชื้อแล้ว
"ดังนั้น
ผมไม่แนะนำให้ทานยาป้องกันมาลาเรีย
ถ้าท่านเดินทางเข้าป่าไม่ลึกนัก
และไปเป็นระยะเวลาเพียงสั้นๆ
เพราะเสี่ยงกับการแพ้ยาในขณะที่อยู่ในป่า
และการป้องกันก็ไม่ได้ผลดีเท่าไรนัก
ถ้าเป็นแล้วจึงค่อยเข้ารักษาจะดีกว่า"
|