การจ่ายยาผู้ป่วยในผิดพลาดโอกาสเสียชีวิตเพิ่มถึง 2 เท่า
JAMA 277 : 301 ;307,312,1997 : งานวิจัย 3 ชิ้นเมื่อเร็ว ๆ นี้ พบอุบัติการณ์ที่สูงจนน่าตกใจเกี่ยวกับอาการข้างเคียงอันไม่พึงประสงค์ อันเกิดจากการสั่งยาให้แก่ผู้ป่วยในซึ่งบ่อยครั้งเป็นความเผลอเรอที่หลีกเลี่ยงได้ ยกตัวอย่างเช่นการให้ยาเกินขนาดไป 100 เท่าของยาขนานหนึ่ง เพียงเพราะการเติมจุดทศนิยมผิดที่ การให้เคมีบำบัดโรคมะเร็งที่มีพิษวันละครั้งแทนที่จะเป็นสัปดาห์ละครั้ง
ในงานวิจัยแรก ผู้ป่วย 2 ใน 100 ราย ประสบฤทธิ์ข้างเคียงอันไม่พึงประสงค์จากยาตลอดระยะเวลา 3 ปีที่ติดตามดู ทำให้ผู้ป่วยที่ได้รับผลกระทบดังกล่าวต้องพักอยู่ในโรงพยาบาลเป็นเวลานานขึ้นโดยเฉลี่ยอีก 3 วัน และมีโอกาสเสียชีวิตเพิ่มขึ้น 2 เท่า เมื่อเทียบกับผู้ป่วยที่ไม่ได้รับผลกระทบ
ข้อมูลจากอาการข้างเคียงอันไม่พึงประสงค์ 190 ครั้งพบว่า 60 ใน 190 ครั้งนั้นสามารถป้องกันได้
งานวิจัยที่สามพบว่าในอีกโรงพยาบาลหนึ่งมีความผิดพลาดของการให้ยา 4 ในทุก ๆ 1,000 คำสั่งให้ย
THE MEDICAL NEWS ปีที่ 7 ฉบับที่ 324
ยาหยอดตาแดงกลับทำให้ตาแดงขึ้น
ARCHIVES OF OPHTHALMOLOGY 115:34,1997 ยาหยอดตาที่ไม่ต้องใช้ใบสั่งจากแพทย์ ซึ่งบอกสรรพคุณว่าช่วยบำบัดตาแดงนั้น จริง ๆ แล้วทำให้การอักเสบยังคงอยู่ทำให้ตาแดงและเคืองขึ้น
คณะวิจัยตรวจพบเหตุการณ์ดังกล่าวในผู้ป่วย 70 รายที่เกิด CONJUNCTIVITIS หลังการใช้ยาหยอดตาที่เข้าตัวยาทำให้เส้นเลือดหดตัว อาทิ NAPHAZOLINE TETRAHYDROZOLINE หรือ PHENYLEPHRINE อาการประกอบด้วยเปลือกตาบวม, ระคายเคือง, คัน, แสบ, ปวด, ตาแดงหรือความรู้สึกว่ามีบางสิ่งบางอย่างค้างอยู่ในตา
ผู้ป่วยเหล่านี้ใช้ยาหยอดตามาหลายปีแต่อาการจะกลับเป็นอีกหลังจากหยอดยาเพียงวันเดียว ครั้นพอให้หยุดยาเพียง 2 สัปดาห์ อาการต่าง ๆ ก็หายไป แม้ว่าบางครั้งอาจทำให้อาการเลวลงชั่วคราว REBOUND EFFECT
THE MEDICAL NEWS ปีที่ 7 ฉบับที่ 324
ปรับเปลี่ยนระบบยาไทยหวังลดค่าใช้จ่ายไม่เหมาะสม
พบแพทย์และประชาชน สั่งยาไม่สมเหตุสมผล ทำให้ค่าใช้จ่ายต่อประชากรเพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 23 ต่อปี สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข รุกงานวิจัยแก้ปัญหาปรับเปลี่ยนการบริหารและจัดการระบบยาให้มีประสิทธิภาพขึ้น
นายสุนทร วิลาวัลย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุขเปิดเผยว่า จากการสำรวจของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขเกี่ยวกับมูลค่าการใช้จ่ายยาของประเทศไทยในปี 2536 ที่ผ่านมาพบว่า มีมูลค่าสูงประมาณ 27,000 ล้านบาท ในราคาขายส่ง และประมาณ 50,000 ล้านบาท ในราคาขายปลีก คิดเป็นร้อยละ 35 ของค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพ ซึ่งสูงกว่าประเทศที่มีคุณภาพบริการสาธารณสุข ซึ่งสูงกว่าประเทศที่มีคุณภาพบริการสาธารณสุขที่ใกล้เคียงกันถึง 2 - 3 เท่า และหากคิดเป็นค่าใช้จ่ายต่อประชากรและจะเพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 23 ต่อปี สูงกว่าอัตราการเพิ่มขึ้นของค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพและอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจประเทศ
นายสุนทร วิลาวัลย์ กล่าวว่า ปัญหาการใช้ยาที่ไม่สมเหตุสมผลนี้พบได้ทั้งในระดับประชาชนทั่วไปจนถึงแพทย์ผู้สั่งใช้ยา เนื่องจากมีการสั่งใช้ยามากเกินความจำเป็นหรือมีราคาสูง ส่งผลให้ค่าใช้จ่ายทางด้านยาสูง ทั้งนี้เพราะการขาดข้อมูลทางด้านคุณภาพ ประสิทธิภาพและประสิทธิผลของยารวม อีกทั้งผลประโยชน์จากการสั่งซื้อยาและใช้ยาที่ไม่เหมาะสม
นอกจากนี้ปัญหาวัฒนธรรมของระบบสาธารณสุข ที่ผู้สั่งจ่ายเป็นทั้งผู้ขายยาด้วย ก็เป็นปัจจัยหนึ่งที่มีส่วนสำคัญ และเชื่อมต่อกับปัญหาการใช้ยาอย่างไม่เหมาะสม หรือปัญหาของนโยบายแห่งชาติด้านยาที่ยังไม่เอื้ออำนวยต่อการเปลี่ยนแปลงแก้ไขระบบยาได้ ปัญหาเหล่านี้ล้วนต้องการความรู้พื้นฐานและความรู้เชิงระบบตลอดจนการบริหารจัดการและการใช้ความรู้ การเปลี่ยนแปลงนโยบายที่จะนำไปสู่ระบบยาที่มีประสิทธิภาพ
THE MEDICAL NEWS ปีที่ 7 ฉบับที่ 317
อังกฤษคุมยาแก้ปวดหวั่นใช้ยาเกินขนาด
เอเอฟพี : กระทรวงสาธารณสุขอังกฤษแถลงว่า รัฐบาลอังกฤษจะออกระเบียบควบคุมการจำหน่ายยาพาราเซตามอลและยาแอสไพรินเพื่อแก้ปัญหาการเพิ่มขึ้นของอัตราการฆ่าตัวตายและการบริโภคยาเกินขนาด
รายงานระบุว่าภายใต้ข้อบังคับดังกล่าว นับตั้งแต่เดือนกันยายน ปี 1998 ทางการจะให้บรรจะยาแก้ปวดในแต่ละแผงได้ไม่เกิน 16 เม็ด ถ้าต้องการมากถึง 32 - 100 เม็ด ต้องอยู่ในความดูแลของเภสัชกร หากเกิน 100 เม็ดขึ้นไปจะต้องมีใบสั่งยาจากแพทย์
นายอลัน มิลเบิร์น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่าการเพิ่มขึ้นของจำนวนผู้เสียชีวิต เนื่องจากรับประทานยาพาราเซตามอลมากเกินขนาด ทำให้รัฐต้องหาวิธีปรับปรุงความปลอดภัยของส่วนรวมมากขึ้น แต่ละปีอังกฤษผู้ที่ได้รับประทานยาเกินขนาดและถูกนำตัวส่งโรงพยาบาลราว 30,000 - 40,000 คน และมีผู้เสียชีวิตจากสาเหตุดังกล่าว 100 - 150 คน
THE MEDICAL NEWS ปีที่ 7 ฉบับที่ 326
องค์การอนามัยโลกเตือนโฆษณายาผ่านอินเตอร์เน็ต
เอเอฟพี : องค์การอนามัยโลกได้กล่าวเตือนการจำหน่ายและการโฆษณายาผ่านอินเตอร์เน็ต ซึ่งไม่มีระเบียบการควบคุมว่ามีความเสี่ยงต่อสาธารณสุข
รายงานระบุว่า กลุ่มคณะทำงานที่ประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ เภสัชกร พ่อค้า และนักกฎหมายได้ประชุมกันที่นครเจนีวาของสวิตเซอร์แลนด์ เพื่อศึกษาแนวทางขัดขวางการใช้ความสะดวกสบายผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์อินเตอร์เน็ตในทางที่ไม่ถูกต้อง โดยส่วนใหญ่แล้วยังอยู่นอกเหนือการควบคุมของกฎหมายด้วย กลุ่มคณะทำงานดังกล่าวได้เผยแพร่เอกสารแนะนำ 18 ข้อ แต่ก็ยอมรับว่าการควบคุมอินเตอร์เน็ตเป็นเรื่องยากและเป็นสิ่งที่ไม่จำเป็น ดังนั้นจึงได้ขอร้องไปยังอุตสาหกรรมเวชภัณฑ์ให้ดำเนินการตรวจสอบและควบคุมตนเอง โดยคำนึงถึงจริยธรรมด้วย
THE MEDICATION NEWS ปีที่ 7 ฉบับที่ 326
กลับไปหน้าที่แล้ว
กลับไปหน้าแรก