คาถาสังคหะเป็นคาถาที่ ๙ แสดงว่า
         ๙. อาลมฺพนปฺปเภเทน                      จตุธารุปฺปมานสํ
            ปุญฺญปากฺริยาเภทา                     ปุน ทฺวามสธา ฐิตํ ฯ

         แปลความว่า อรูปาวจรจิตนั้น กล่าวโดยประเภทแห่งอารมณ์ ก็มี ๔ แล้วจำแนกตามประเภทแห่งชาติ กุศล วิบาก กิริยา อีก จึงเป็น ๑๒ ดวง
         มีคำอธิบายว่า อรูปาวจรจิต กล่าวโดยประเภทแห่งอารมณ์แล้วมี ๔ คือ

         ๑. มี กสิณุคฆาฏิมากาสบัญญัติ เป็นอารมณ์ หมายถึงอากาศที่เพิกกสิณแล้ว เป็นอากาศที่ว่างเปล่า
ไม่มีที่สิ้นสุดเป็น อารมณ์ โดยบริกรรมว่า อากาโส อนนฺโต อากาศไม่มีที่สิ้นสุดจนกว่าฌานจิตจะเกิดขึ้น
ฌานจิตที่เกิดขึ้นโดยมี กสิณุคฆาฏิมากาสบัญญัติ เป็นอารมณ์นี้ชื่อว่า อากาสานัญจายตนฌาน บางทีเรียกว่า
ปฐมารูปจิต คือ ปฐมอรูปจิต เป็นอรูปาวจรจิตชั้นต้น

          ๒. มี อากาสานัญจายตนจิต เป็นอารมณ์ หมายถึงวิญญาณคือตัวรู้ หน่วงเอาตัวที่รู้ว่าอากาศไม่มีที่สิ้นสุด
นั้นแหละ เป็นอารมณ์ กล่าวอีกนัยหนึ่งก็ว่า เพ่งหรือหน่วงเอาปฐมารูปจิตเป็นอารมณ์ โดยบริกรรมว่า
วิญฺญาณํ อนนฺตํ
วิญญาณไม่มีที่สิ้นสุด จนกว่าฌานจิตจะเกิดขึ้น ฌานจิตที่เกิดขึ้นโดยมาอากาสานัญจายตนจิต
เป็นอารมณ์นี้ ชื่อว่า วิญญาณัญจายตนฌาน บางทีก็เรียกว่า ทุติยารูปจิต คือ ทุติยอรูปจิต เป็น
อรูปาวจรชั้นที่ ๒

         ๓. มี นัถติภาวบัญญัติ เป็นอารมณ์ คือสภาพที่ไม่มีอะไรเลยเป็นอารมณ์ มีความหมายว่า เมื่อได้เจริญ
วิญญาณัญจายตนฌานบ่อยๆ จนชำนาญ ก็จะรู้สึกขึ้นมาว่า วิญญาณ คือตัวรู้ว่าอากาศไม่มีที่สิ้นสุดก็ดี
แม้แต่อากาศที่ไม่มีที่ สิ้นสุดนั้นเองก็ดี จะมีอะไรแม้แต่สักหน่อยหนึ่งก็หาไม่ จึงได้มาเพ่งถึงความไม่มี โดยบริกรรมว่า
นตฺถิ กิญฺจิ นิดหนึ่งก็ไม่มีหน่อย หนึ่งก็ไม่มีจนกว่าฌานจะเกิดขึ้น ฌานจิตที่เกิดขึ้นโดยมี นัตถิภาวบัญญัติ
เป็นอารมณ์นี้ ชื่อว่า อากิญจัญญายตนฌาน บางทีก็เรียกว่า ตติยารูปจิต คือ ตติยอรูปจิต เป็นอรูปาวจรจิตชั้นที่ ๓

        ๔. มี อากิญจัญญายตนจิต เป็นอารมณ์ คือหน่วงเอาตติยารูปจิต เป็นอารมณ์กำหนดเอาความปราณีตละเอียด
ของตติยรูปจิตเป็นอารมณ์โดยความรู้สึกว่า สัญญาคือจิตที่รู้นิดหนึ่งก็ไม่มี หน่อยหนึ่งก็ไม่มีนั้นจะว่าไม่มีก็ไม่ใช่
เพราะยังมีตัว รู้ว่าไม่มีอยู่ จะว่ามีก็ไม่เชิง เพราะสัญญานั้นปราณีตละเอียดอ่อนและสงบมากเหลือเกิน
จนแทบจะไม่รู้ว่ามี ดังนั้นจึงกำหนด เพ่งธรรมชาติที่สงบที่ปราณีต โดยบริกรรมว่า เอตํ สนฺตํ เอตํ ปณีตํ สงบ-  


หน้า ๖๕

หนอ ประณีตหนอ จนกว่าฌานจิตจะเกิดขึ้น ฌานจิตที่เกิดขึ้นโดยอากิญจัญญายตนจิตเป็นอารมณ์เช่นนี้ ชื่อว่า เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน ซึ่งแปลว่าฌานที่ไม่มีสัญญาหยาบ มีแต่สัญญาละเอียด หรือ ฌานที่ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ จะว่ามีสัญญาก็ไม่เชิง บางทีเรียกฌานนี้ว่าจตุตถารูปจิต คือจตุตถอรูปจิตเป็นอรูปาวจรจิตชั้นที่ ๔ อันเป็นชั้นสูงสุดเพียงนี้

         อรูปาวจรจิต อรูปจิต อรูปฌาน ซึ่งมี ๔ ชั้นหรือ ๔ ฌานนี้ แตกต่างกันด้วยประเภทแห่งอารมณ์ดังที่ได้กล่าว
มาข้างต้นนี้ ไม่ใช่ต่างกันด้วยองค์แห่งฌาน เพราะองค์ฌานของอรูปฌานนี้ คงมีองค์ฌานเพียง ๒ คือ
อุเบกขา กับ เอกัคคตา เท่ากัน และเหมือนกันทั้ง ๔ ชั้น

         อนึ่ง องค์ฌานของอรูปฌานนี้ ก็เท่ากันและเหมือนกันกับองค์ฌานของรูปาวจรปัญจมฌานด้วย ดังนั้นจึงจัดว่า
หรือนับว่า อรูปฌานเป็นปัญจมฌาน เพราะองค์ฌานเท่ากันและเหมือนกันนั่นเอง

         การจำแนกอรูปฌาน ๔ โดยชาติ คือ อรูปาวจรกุศลจิต อรูปาวจรวิบากจิต และ อรูปาวจรกิริยาจิต ก็มีอย่าง
ละ ๔ คือ

อรูปาวจรกุศลจิต

         อรูปาวจรกุศลจิต เป็นจิตที่บำเพ็ญจนถึงอรูปฌาน เป็นจิตที่ตกแต่งบุญกุศลไว้เพื่อรับสมบัติ ก็มีอย่างละ ๔ คือ

         ๑. อากาสานัญจายตนกุศลจิต
         ๒. วิญญาณัญจายตนกุศลจิต
         ๓. อากิญจัญญายตนกุศลจิต
         ๔. เนวสัญญานาสัญญายตนกุศลจิต

อรูปาวจรจิตวิบากจิต

         อรูปาวจรวิบากจิต เป็นจิตที่เป็นผลของอรูปาวจรกุศลจิต เป็นจิตที่เสวยสมบัติซึ่งอรูปาวจรกุศลจิตได้ตกแต่ง
มาให้ เป็นจิตของอรูปพรหมในพรหมโลก มีจำนวน ๔ ดวง อันเป็นจำนวนที่เท่ากันกับอรูปาวจรกุศลจิต
อรูปาวจรวิบากจิต ๔ ดวง คือ

         ๑. อากาสานัญจายตนวิบากจิต


หน้า ๖๖

         ๒. วิญญาณัญจายตนวิบากจิต
         ๓. อากิญจัญญายตนวิบากจิต
         ๔. เนวสัญญานาสัญญายตนวิบากจิต

อรูปาวจรกิริยาจิต

         อรูปาวจกิริยาจิต เป็นจิตโดยเฉพาะของพระอรหันต์ที่เข้าอรูปฌานมีสำนวนเก่าอธิบายว่า อรูปาวจรกุศลกับ
อรูปาวจรกิริยานั้นเหมือนกันต่างแต่ที่เกิด อรูปาวจรกุศลเกิดในสันดานปุถุชน และเสกขบุคคล ส่วนอรูปาวจรกิริยาเกิดในสันดาน อเสกขบุคคล ( คือ พระอรหันต์ ) อรูปาวจรกิริยาจิต มีจำนวน ๔ ดวง คือ
         
         ๑. อากาสานัญจายตนกิริยาจิต
         ๒. วิญญาณัญจายตนกิริยาจิต
         ๓. อากิญจัญญายตนกิริยาจิต
         ๔. เนวสัญญานาสัญญายตนกิริยาจิต

         ขอย้ำอีกครั้งหนึ่งว่า รูปาวจรจิตนั้น อารมณ์อาจจะเหมือนกัน แต่แตกต่างกันที่องค์ฌาน กล่าวคือ องค์ฌานไม่เท่ากัน
         ส่วนอรูปาวจรจิตนั้น องค์ฌานเท่ากัน และเหมือนกัน แต่แตกต่างกันที่อารมณ์ไม่เหมือนกัน

มหัคคตจิต

         ใน อัฐสาลินีอรรถกถา แสดงว่า มหนฺตภาวํ คตาติ มหคฺคตา แปลเป็นใจความว่า ธรรมชาติที่ถึงซึ่งความ
เป็นใหญ่นั้น เรียกว่า มหัคคตะ

         ที่ว่า ถึงซึ่งความเป็นใหญ่ นั้น มีอรรถาธิบายว่า
         ก. ข่มกิเลสไว้ได้นาน ชนิดที่เรียกว่า วิกขัมภนปหาน
         ข. มีผลอันไพบูลย์ คือมีพรหมวิหารธรรม ได้เสวยสมบัติในพรหมโลก
         ค. เกิดขึ้นสืบต่อกันได้เป็นเวลานาน เป็นรูปพรหม อรูปพรหมที่อายุยืนยาวกว่าสัตว์อื่นทั้งหลาย

         จิตที่ประกอบด้วยมหัคคตธรรมนี้เรียกว่า มหัคคตจิต มี ๒๗ ดวง คือ รูปาวจรจิต ๑๕ และ อรูปาวจรจิต ๑๒


หน้า ๖๗

จำแนกมหัคคตจิตโดยชาติเภทเป็นต้น

         ๑. ชาติเภท มหัคคตกุศลจิต ๙ ดวง เป็นชาติกุศล
                      มหัคคตวิบากจิต ๙ ดวง เป็นชาติวิบาก
                      มหัคคตกิริยาจิต ๙ ดวง เป็นชาติกิริยา

         ๒. ภูมิเภท มหัคคตจิต ๒๗ ดวงนั้น รูปาวจรจิต ๑๕ ดวง เป็นรูปาวจรภูมิ คือเป็นจิตชั้นรูปาวจร
         อรูปาวจรจิต ๑๒ ดวง เป็นอรูปาวจรภูมิ คือเป็นจิตชั้นอรูปาวจร

         ๓. เวทนาเภท มหัคคตจิต ๒๗ ดวง มีเวทนา ๒ อย่าง คือ รูปาวจรปฐมฌาน ๓ ดวง รูปาวจรทุติยฌาน ๓ ดวง รูปาวจรตติยฌาน ๓ ดวง รูปาวรจตุตถฌาน ๓ ดวง รวมรูปาวจรจิต ๑๒ ดวงนี้ เป็นโสมนัสเวทนา
         รูปาวจรปัญจมฌาน ๓ ดวง อรูปาวจรจิต ๑๒ ดวง รวมจิต ๑๕ ดวงนี้เป็นอุเบกขาเวทนา

         ๔. เหตุเภท มหัคคตจิตทั้ง ๒๗ ดวง เป็นสเหตุกจิต เป็นจิตที่มีสัมปยุตตเหตุ มีเหตุประกอบทั้ง ๓ เหตุ คือ อโลภเหตุ อโทสเหตุ อโมหเหตุ

         ๕. สังขารเภท มหัคคตจิต ๒๗ ดวง เป็นสสังขาริก เป็นจิตที่เกิดขึ้นโดยสิ่งชักจูง กล่าวคือ
         ต้องเจริญสมถภาวนาด้วยมหากุศลญาณสัมปยุตตจิต ฌานจิตจึงจะเกิด จึงถือว่ามหากุศลญาณสัมปยุตต
จิตนั่นแหละ เป็นสิ่งชักจูงให้เกิดกุศลฌานจิต
         กุศลฌานจิต ซึ่งเกิดขึ้นในมรณาสันนวิถี คือวิถีจิตที่จะตาย เป็นสิ่งชักจูงให้เกิดวิบากฌานจิต
         มหากิริยาญาณสัมปยุตต เป็นสิ่งที่ชักจูงให้กิริยาฌานจิตเกิด ทำนองเดียวกับมหากุศลญาณสัมปยุตต
ชักจูงให้เกิด กุศลฌานจิต

         ๖. สัมปยุตตเภท มหัคคตจิตทั้ง ๒๗ ดวง เป็นญาณสัมปยุตต เป็นจิตที่ประกอบด้วยปัญญา

         ๗. โสภณเภท มหัคคตจิตทั้ง ๒๗ ดวง เป็นโสภณจิต

         ๘. โลกเภท มหัคคตจิตทั้ง ๒๗ ดวง ก็ยังเป็นโลกียจิต หาใช่โลกุตตรจิตไม่


หน้า ๖๘

         ๙. ฌานเภท มหัคคตจิตทั้ง ๒๗ ดวง เป็นฌานจิต เป็นจิตที่เป็นฌานที่ได้ฌานที่ถึงฌาน

โลกุตตรจิต

         โลกุตตรจิต มาจากคำว่า โลก + อุตตร + จิต
         โลก หมายถึงโลกทั้ง ๓ คือ กามโลก ( กามภูมิ ) รูปโลก ( รูปภูมิ ) และ อรูปโลก ( อรูปภูมิ ) ก็ได้ อีกนัยหนึ่ง คำว่า โลก หมายถึงการเกิดดับ ก็ได้
         อุตตร มีความหมายว่า เหนือ หรือ พ้น

         ดังนั้นโลกุตตรจิตจึงเป็นจิตที่เหนือโลกทั้ง ๓ เป็นจิตที่พ้นจากโลกทั้ง ๓ ซึ่งมิได้หมายความว่า จิตนี้อยู่เหนือโลกหรือ จิตนี้พ้นไปจากโลก แต่หมายความว่าจิตนี้มีอารมณ์ที่เหนือโลกมีอารมณ์พ้นไปจากโลก คือโลกุตตรจิตนี้มีนิพพานเป็นอารมณ์ ซึ่งนิพพานเป็นธรรมที่พ้นจากโลกเป็นธรรมที่เหนือโลก

         โลกุตตรจิตเป็นจิตที่พ้นจากการเกิดดับ ซึ่งไม่ได้หมายความว่าจิตนี้ไม่ได้เกิดดับ จิตนี้คงเกิดดับตาม
สภาพของจิตแต่เป็นจิตที่มีอารมณ์อันพ้นจากการเกิดดับ อารมณ์นั้นคือนิพพาน ซึ่งนิพพานเป็นธรรมที่ไม่มี
การเกิดดับ ธรรมทั้งหลายในโลกทั้ง ๓ ย่อมเกิดดับทั้งสิ้น แต่นิพพานเป็นธรรมที่ไม่เกิดดับเป็นธรรมที่พ้นจาก
การเกิดดับ นิพพานจึงเป็นธรรมที่พ้นจากโลก เป็นธรรมที่เหนือโลก

         อีกนัยหนึ่ง โลกุตตรจิตมีความหมายว่าเป็นจิตที่กำลังประหารและประหารแล้วซึ่งกิเลส หมายความว่าโลกุตตรจิตหรือ มัคคจิตนั้นกำลังทำการประหารกิเลสอยู่ โลกุตตรวิบากจิตหรือผลจิต เป็นจิตที่เสวยผลที่มัคคจิตได้ประหารกิเลสนั้นแล้ว เป็นการประหารได้อย่างเด็ดขาด อันทำให้กิเลสนั้นๆ หมดสิ้นสูญเชื้อไปโดยสิ้นเชิง จนไม่สามารถที่จะเกิดมาก่อความเศร้าหมอง เร่าร้อนอีกต่อไปได้เลย การประหารเช่นนี้แหละที่เรียกว่าสมุจเฉทปหาน

         มีคาถาสังคหะ เป็นคาถาที่ ๑0 แสดงจำนวนละประเภทของโลกุตตรจิตไว้ดังนี้

         ๑0. จตุมคฺคปฺปเภเทน                     จตุธา กุสลนฺตถา
             ปากนฺตสฺส ผลตฺตาติ                 อฏฺฐธานุตฺตรํ มตํฯ

         แปลความว่า สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสว่า โลกุตตรอันประเสริฐยิ่งนั้นมี ๘ คือ โลกุตตรกุศลจิต ซึ่งเป็นประเภท อริยมัคค ๔ และ โลกุตตรวิบาก ซึ่งเป็นผลของ


หน้า ๖๙

โลกุตตรกุศลจิต อีก ๔
         อธิบายว่า โลกุตตรจิตนั้นมี ๒ ชาติ คือ
         ชาติกุศล เรียกว่า โลกุตตรกุศลจิต ซึ่งเป็นประเภทอริยมัคค จึงมีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า มัคคจิต มีจำนวน ๔ ดวง

         ชาติวิบาก เรียกว่า โลกุตตรวิบากจิต อันเป็นผลของโลกุตตรกุศลจิตจึงมีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ผลจิต มีจำนวน ๔ ดวงเหมือนกัน จึงรวมเป็น โลกุตตรจิต ๘ ดวง

         จำง่ายๆ สั้นๆ ว่า มัคคคือกุศล ผลคือวิบาก ซึ่งหมายความว่า มัคคจิตนั้นเป็นชาติกุศล ผลจิตนั้นเป็นชาติวิบาก

         มีข้อควรสังเกตอยู่ว่า โลกุตตรจิตนี้มีแต่โลกุตตรกุศลและโลกุตตรวิบาก ไม่มีโลกุตตรกิริยา ด้วยเลย ที่โลกุตตรจิตไม่มี โลกุตตรกิริยานั้น เพราะ

         โลกุตตรกิริยาถ้ามีก็คือมีโลกุตตรกุศลอันเกิดในสันดานพระอรหันต์ทำนองเดียวกับมหากิริยา และมหัคคตกิริยาก็คือ มหากุศลและมหัคคตกุศล อันเกิดในสันดานพระอรหันต์นั่นเอง

         อันว่า มหากุศล หรือ มหัคคตกุศลนั้น สามารกเกิดได้บ่อยๆ เกิดได้เนืองๆ ดังนั้นจึงเกิดในสันดานพระอรหันต์
ได้เสมอ เมื่อเกิดขึ้นก็เป็นมหากิริยาหรือมหัคคตกิริยาไป ไม่เหมือนกับมัคคจิตซึ่ง เกิดได้เพียงมัคคละ
ครั้งเดียว
คือ โสดาปัตติมัคคก็เกิด ได้ครั้งเดียว สกาทาคามิมัคค อนาคามิมัคค ตลอดจนอรหัตตมัคค
ก็เกิดได้มัคคละครั้งเดียวเท่านั้น เพราะมัคคจิตนั้นเกิดขึ้น เพื่อประหารกิเลสและประหารเป็นสมุจเฉทเสียด้วย
เมื่อได้เป็นพระอรหันต์ซึ่งได้ประหารกิเลสจนหมดจดสิ้นเชิง ไม่มีกิเลส เหลือเลยแม้แต่น้อยแล้ว
ก็ไม่ต้องมีมัคคจิตเกิดขึ้นมาประหารอะไรอีก ดั่งนี้จึงไม่มีโลกุตตรกิริยาจิต

การประหารกิเลส

         กิเลส คือ ธรรมที่เศร้าหมองและเร่าร้อน เมื่อกิเลสเกิดพร้อมกับจิตใดหรือประกอบกับจิตใดแล้ว ก็ทำให้จิตนั้นเศร้า หมองและเร่าร้อนไปด้วย กิเลสนี้ประกอบเฉพาะอกุศลจิตเท่านั้น ดังนั้นการประหารกิเลสก็เท่ากับประหารอกุศลจิตนั่นเอง

         ในพระอภิธัมมัตถสังคหะปริเฉทที่ ๗ จำแนกกิเลสออกเป็นถึง ๙ กอง โดยนัยต่างๆ กัน จะกล่าวในที่นี้ก็จะสับสนไป ในชั้นนี้พึงทราบแต่เพียงว่ากิเลสนี้แบ่งเป็น ๓ ชั้น คือ


หน้า ๗0

         ก. วิติกกมกิเลส ได้แก่กิเลสที่เกิดขึ้นชั้นนอก หมายความว่ากิเลสจำพวกนี้ได้ล่วงออกมาแล้วถึง
กายทวารหรือวจีทวาร คือถึงกับลงมือกระทำการทุจริตทางกายหรือทางวาจาแล้ว กิเลสชนิดนี้ระงับไว้ได้ด้วยศีล
เป็นการระงับไว้ได้ชั่วคราวชั่วขณะ ที่ยังรักษาศีลอยู่ การระงับ การข่ม หรือการประหารเช่นนี้เรียกว่า
ตทังคปหาน
หมายความว่าขณะใดที่จิตเป็นมหากุศลอยู่ กิเลสเหล่านี้ก็สงบระงับไปชั่วคราวชั่วขณะ
ไม่สามารถประกอบกับจิตก่อให้เกิดกายทุจริตหรือวจีทุจริตได้ในชั่วขณะนั้น

         ข. ปริยุฏฐานกิเลส ได้แก่กิเลสที่อยู่ภายใน หมายความว่ากิเลสจำพวกนี้เกิดอยู่ในมโนทวาร คือคิดอยู่ในใจเท่านั้น ไม่ถึงกับแสดงออกทางกายหรือทางวาจา ตัวเองรู้ได้ ผู้อื่นบางทีก็รู้บางทีก็ไม่รู้ กิเลสชนิดนี้ข่มไว้ได้ด้วยสมาธิ คือ ฌาน ข่มไว้หรือระงับไว้ได้เป็นเวลานาน เรียกว่า วิกขัมภนปหาน ข่มไว้ได้นานตราบเท่าที่ฌานยังไม่เสื่อม

         ค. อนุสยกิเลส ได้แก่กิเลสที่นอนเนื่องอยู่ในจิตตสันดาน ซึ่งตนเองและผู้อื่นก็ไม่สามารถรู้ได้ กิเลสจำพวกนี้ต้องประหาร ด้วยปัญญา อันหมายถึงมัคคจิต ซึ่งมัคคจิตสามารถประหาร
ได้จนหมดสิ้นสูญเชื้อโดยสิ้นเชิงที่เรียกว่า สมุจเฉทปหาน

         สรุปได้ว่า
         วิติกกมกิเลส ประหารด้วยมหากุศลจิต เป็นตทังคปาน
         ปริยุฏฐสนกิเลส ประหารด้วยมหัคคตกุศลจิต เป็นวิกขัมภนปหาน
         อนุสยกิเลส ประหารด้วยมัคคจิต เป็นสมุจเฉทปหาน

โลกุตตรกุศลจิต หรือ มัคคจิต

         โลกุตตรกุศลจิต หรืออีกนัยหนึ่งเรียกว่า มัคคจิต เป็นจิตที่กำลังพ้นจากโลก เป็นจิตที่กำลังประหารกิเลส มีจำนวน
๔ ดวง คือ
         ๑. โสดาปัตติมัคคจิต
         ๒. สกทาคามิมัคคจิต
         ๓. อนาคามิมัคคจิต
         ๔. อรหันตตมัคคจิต

โลกุตตรวิบากจิต หรือ ผลจิต

         โลกุตตรวิบากจิต หรืออีกนัยหนึ่งเรียกว่า ผลจิต เป็นจิตที่เป็นผลแห่งโลกุตตรกุศลจิต