อัชฌัตติกเตโช คือเตโชธาตุภายใน อีกนัยหนึ่งแสดงว่ามี ๕ อย่างดังจะแสดง โดยย่อ ต่อไปนี้
เตโชธาตุ | กิจ | ลักษณะ | ฐาน |
๑. อุสมาเตโช | อบอุ่น | อุณหะ | ทั่วกาย |
๒. ปาจกเตโช | ย่อยอาหาร | อุณหะ | จากลิ้นถึงทวารหนัก |
๓. ชิรณเตโช | บ่ม | อุณหะและสีตะ | ทั่วกาย |
๔. สนฺตาปนเตโช | ร้อน | อุณหะ | อาคันตุกะ |
๕. ทาหนเตโช | กระวนกระวาย | อุณหะและสีตะ | อาคันตุกะ |
เป็นการแสดงเตโชธาตุที่ทำให้ร้อนเป็นไข้ได้ป่วยให้ละเอียดออกไปว่า เป็นไข้ ได้ป่วยชนิดที่ร้อนอย่างเดียว
นั้นประเภทหนึ่งและเป็นชนิดที่สะบัดร้อนสะบัดหนาว จนถึงกับกระวนกระวายอีกประเภทหนึ่งเท่านั้นเองเตโชธาตุทั้ง ๕ นี้ มีประจำอยู่ในร่างกายที่มีวิญญาณก็มี เป็นเตโชธาตุที่จะมา ก็มี เช่น อุสมาเตโช และ
ปาจกเตโช เป็นธาตุไฟที่มีอยู่ประจำในร่างกายที่มีวิญญาณ ส่วนสันตาปนเตโช ทาหนเตโช ไม่มีอยู่ประจำเป็น
อาคันตุกะจรมาที่ปรากฏว่า ร้อนจัดหรือกระวนกระวาย ก็เพราะอุสมาเตโช เกิดมีอาการผิดปกติด้วยอำนาจ
กรรมบ้าง จิตบ้าง อุตุบ้าง และอาหารบ้าง เป็นปัจจัยให้เกิดวิปริตผิดปกติไป เช่น คนที่เป็นไข้ มีอาการตัว
ร้อนกว่าคนที่ไม่เป็นไข้ บางคนเป็นไข้มีความร้อนสูงมาก ถึงกับเพ้อคลั่ง ทั้งนี้ก็เนื่องมาจาก อุสมาเตโช
แปรสภาพเป็นสันตาปนเตโช นั่นเอง จึงมีอาการตัวร้อนจัดและสันตาปนเตโชแปรสภาพเป็นทาหนเตโช จึงมี
อาการร้อน จัดจนเพ้อคลั่งบางคนร้อนจัดจนร้องครวญคราง ร้องให้คนช่วย แต่ตัวผู้ร้องก็ไม่รู้ ปรอทวัดก็ไม่ขึ้น
แต่มีอาการร้องว่าร้อนจนคลุ้มคลั่ง ทั้งนี้ก็เพราะร้อนด้วยอำนาจกรรมนั่นเอง ส่วนความแก่ชราของคนและ
สัตว์ทั้งหลายที่ปรากฏนั้น ก็เพราะอุสมาเตโชที่มีอยู่ประจำในร่างกายคนและสัตว์นั่นเอง เปลี่ยนสภาพเป็นชิรณเตโช
เผาให้ ปรากฏอาการทรุดโทรม แก่ชรา ผมหงอก ฟันหัก ตาฟาง เนื้อหนังเหี่ยวย่น เป็นต้น
๔. วาโย
คำว่าวาโยธาตุ หรือวาโยรูป เป็นรูปปรมัตถ ซึ่งมีลักษณะไหวหรือเคร่งตึง มีลักขณาทิจตุกะ ดังนี้
วิตฺถมฺภน ลกฺขณา มีความเคร่งตึง เป็นลักษณะ
สมุทีรณ รสา มีการไหว เป็นกิจ
อภินิหาร ปจฺจุปฏฺฐานา มีการเคลื่อนย้าย เป็นผล
อวเสสธาตุตฺตย ปทฏฺฐานา มีธาตุทั้ ๓ ที่เหลือ เป็นเหตุใกล้
หน้า ๒๓
ธรรมชาติที่ทรงภาวะการเคร่งตึงก็ดี การไหวก็ดีที่มีอยู่ในกายนั้น เรียกว่า วาโยธาตุ
วาโยธาตุ ธาตุลม แบ่งออกเป็น ๔ ประเภท คือ
ก. ลกฺขณาวาโย หรือ ปรมตฺถวาโย ได้แก่ลักษณะของธาตุลมที่มีสภาวะให้ พิสูจน์รู้ได้ ๒ ลักษณะ คือ
(๑) วิตฺถมฺภน ลกฺขณ มีลักษณะเคร่งตึง ซึ่งมีอยู่ในสิ่งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต
(๒) สมุทีรณ ลกฺขณ มีลักษณะไหวโคลง ซึ่งมีอยู่ในสิ่งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต
วาโยธาตุตามนัยแห่งปรมัตถนั้น หมายถึง ธรรมชาติที่มีลักษณะ " ไหวหรือ เคร่งตึง "ธาตุลมที่มีลักษณะไหว เรียกว่า " สมุทีรณวาโย "และธาตุลมที่มีลักษณะ เคร่งตึง เรียกว่า " วิตฺถมฺภนวาโย "
ธรรมชาติของวิตถัมภนวาโยนี้ ทำให้รูปที่เกิดพร้อมกันกับตนนั้น ตั้งมั่นไม่ คลอนแคลนเคลื่อนไหวได้
ในร่างกายของคนเรา ถ้ามีวิตถัมภนวาโยปรากฏแล้ว บุคคลผู้นั้นจะรู้สึกตึง ปวดเมื่อยไปทั่วร่างกาย
หรือเมื่อเวลาที่เราเกร็งแขน ขา หรือ เพ่งตาอยู่นานๆ โดยไม่กระพริบตา ก็จะปรากฏเป็นอาการเคร่งตึง
นั่นคือ วิตถัมภนวาโยธาตุปรากฏ
ในร่างกายของคนและสัตว์ ถ้ามีวิตถัมภนวาโยมากมีสมุทีรณวาโยน้อยร่างกาย หรือส่วนต่าง ๆ ของ
ร่างกายจะเคร่งตึง ถ้ามีสมุทีรณวาโยมากวิตถัมภนวาโยน้อย ร่างกายหรือสัดส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย
จะเคลื่อนไหวหรือไหวไปได้
ข. สสมฺภารวาโย คือ สัมภาระของลม หรือสสัมภาระต่าง ๆ ที่ประชุมกันอยู่ รวมเรียกว่า ลม
แบ่งเป็น ๒ อย่าง คือ
(๑) อชฺฌตฺติกวาโย ธาตุลมภายใน หมายถึงธาตุลมอันเป็นส่วนประกอบของ ร่างกายที่มีวิญญาณ ซึ่งมีอยู่
๖ อย่างคือ
อุทฺธงฺคมวาโย ลมที่พัดขึ้นเบื้องบน เช่น การเรอ การหาว การไอ การจาม เป็นต้น
อโธคมวาโย ลมที่พัดลงสู่เบื้องต่ำ เช่น การผายลม การเบ่ง (ลมเบ่ง) เป็นต้น
กุจฺฉิสยวาโย หรือ กุจฺฉิฏฺฐวาโย ลมที่อยู่ในช่องท้อง ทำให้ปวดท้อง เสียดท้อง เป็นต้น
หน้า ๒๔
โกฏฺฐาสยวาโย ลมที่อยู่ในลำไส้ เช่น ท้องลั่น ท้องร้อง เป็นต้น
องฺคมงฺคานุสาริวาโย ลมที่พัดอยู่ทั่วร่างกาย ทำให้ไหวร่างกายได้
อสฺสาสปสฺสาสวาโย ลมหายใจเข้าออก
(๒) พาหิรวาโย ธาตุลมภายนอก หมายถึง ธาตุลมอันเป็นส่วนประกอบ ที่มีอยู่ในสิ่งที่ไม่มีวิญญาณ เช่น ลมพายุ ลมเหนือ ลมหนาว เป็นต้น
ความปรากฏของธาตุลมซึ่งเรียกว่า วาโยธาตุ นั้น อาศัยธาตุทั้ง ๓ ที่เหลือ ให้ปรากฏ และเป็นไปดังนี้
๑. มีปฐวีธาตุเป็นที่ตั้ง
๒. มีอาโปธาตุเกาะกุม
๓. มีเตโชธาตุ ทำให้อุ่นหรือเย็น
ค. กสิณวาโย หรือ อารมฺมณวาโย คือ ลมที่เป็นกสิณซึ่งเป็นอารมณ์ของ จิตแห่งพระโยคาวจร ผู้ทำ
ฌานด้วยการที่เอาวาโยธาตุที่ทำให้ใบไม้ไหว ที่ทำให้ เส้นผมไหว ที่ทำให้ก้อนเมฆลอยไป เป็นนิมิต ตั้งแต่
บริกรรมนิมิต อุคคหนิมิต จนถึงปฏิภาคนิมิต
ง. ปกติวาโย หรือ สมฺมติวาโย คือ ลมธรรมดาที่พัดผ่านไปมานี่แหละ อนึ่ง วาโยธาตุนี้ เป็นรูปธาตุที่มีความ
สำคัญมากแก่สัตว์ที่มีวิญญาณ เพราะ ถ้าไม่มีลมหายใจก็ตาย และธาตุลมนี่แหละที่ทำให้ไหววาจาและไหวกายได้ ไหววาจา ไหวกายดีมีประโยชน์ ก็เป็นบุญเป็นกุสล ให้ผลเป็นสุข ไหววาจาไหวกายชั่ว มีโทษ ก็เป็นบาปเป็นอกุสลให้ผลเป็นทุกข์
หน้า ๒๕
ธาตุทั้ง ๔ หรือมหาภูตรูปทั้ง ๔ อันได้แก่ ปฐวี อาโป เตโช วาโย นี้เป็น สหชาตธรรม เป็นธรรมที่เกิด
พร้อมกันเกิดร่วมกัน กล่าวคือไม่ว่าจะปรากฏ ณ ที่ ใด จะต้องปรากฏ ณ ที่นั้นครบทั้งคณะ คือทั้ง ๔ ธาตุเสมอ
เป็นนิจและแน่นอน ต่างกันแต่เพียงว่า อาจจะมีธาตุใดธาตุหนึ่งยิ่งและหย่อนกว่ากันเท่านั้น จะขาดธาตุใด
ธาตุหนึ่งใน ๔ ธาตุนี้ไปแม้แต่เพียงธาตุเดียว เป็นไม่มีเลย
ธาตุดินที่แข็ง ย่อมจะอยู่กับน้ำที่เกาะกุมอยู่กับไฟที่เย็นและอยู่กับลมที่เคร่งตึง
ส่วนธาตุดินที่อ่อน ย่อมจะอยู่กับน้ำที่ไหล อยู่กับไฟที่ร้อนและอยู่กับลมที่ไหวอนึ่ง ในจำนวน ๔ ธาตุนี้ ยังจัดได้เป็น ๒ พวก คือ มิสฺสก มิตรธาตุ และ ปฏิปกฺข ศัตรูธาตุ หรือจะเรียก
ง่ายๆ ว่า คู่ธาตุ คู่ศัตรู ก็ได้เข้าคู่กันดังนี้ปฐวี ดิน กับ อาโป น้ำ เป็นมิสฺสก มิตรธาตุ คู่ธาตุ
เตโช ไฟ กับ วาโย ลม เป็นมิสฺสก มิตรธาตุ คู่ธาตุ
ปฐวี ดิน กับ วาโย ลม เป็นปฏิกฺข ศัตรูธาตุ คู่ศัตรู
เตโช ไฟ กับ อาโป น้ำ เป็นปฏิกฺข ศัตรูธาตุ คู่ศัตรู
ที่ปฐวีธาตุ กับ อาโปธาตุ เป็นมิสฺสก เป็นคู่ธาตุกัน เพราะเป็นธาตุหนักเหมือนกัน ที่ใดมีดินมาก
ที่นั้นจึงมีน้ำมากด้วย
ที่เตโชธาตุ กับ วาโยธาตุ เป็นมิสฺสก เป็นคู่ธาตุกัน เพราะเป็นธาตุเบาเหมือนกัน ที่ใดมีไฟมาก
ที่นั้นมีลมมากด้วย
หน้า ๒๖
ธาตุทั้ง ๔ ที่ได้กล่าวมาแล้วนี้ เฉพาะที่เป็นส่วนประกอบในสรรพางค์กายที่มีวิญญาณนั้น เมื่อประมวลแล้วย่อมได้ จำนวน ๔๒ โกฏฐาส ( อาการ ๔๒ ) คือ
ปฐวีธาตุ ประกอบใน ๒0 โกฏฐาส
อาโปธาตุ ประกอบใน ๑๒ โกฏฐาส
เตโชธาตุ ประกอบใน ๔ โกฏฐาส
วาโยธาตุ ประกอบใน ๖ โกฏฐาส
รวม ๔๒ โกฏฐาสธาตุทั้ง ๔ คือ ๔๒ โกฏฐาส หรือ อาการ ๔๒ นี้ มีนามสติปัฏฐานว่า จตุธาตุววัฏฐาน
ประเภทที่ ๒ ปสาทรูป
ปสาทรูป คือ รูปที่เป็นความใสอันเกิดจากกรรม มีความสามารถในการรับ อารมณ์ได้ เรียกว่า ปสาทรูป
ซึ่งมีอยู่ ๕ รูป คือ
๑. จักขุปสาทรูป ได้แก่ ปสาทตา
๒. โสตปสาทรูป ได้แก่ ปสาทหู
๓. ฆานปสาทรูป ได้แก่ ปสาทจมูก
๔. ชิวหาปสาทรูป ได้แก่ ปสาทลิ้น
๕. กายปสาทรูป ได้แก่ ปสาทกาย
ปสาทรูปทั้ง ๕ นี้ มีสภาพเป็นความใส เกิดจากกรรมโดยสมุฏฐานเดียว สามารถรับอารมณ์ได้ และยังผล
ให้สำเร็จกิจเป็นกุสลหรืออกุสลได้ ดังรายละเอียด ต่อไปนี้
หน้า ๒๗
จักขุปสาท คือ ดวงตาของมนุษย์และสัตว์ทั้งหลายนั่นเอง เรียกว่า มังสจักขุ ซึ่งแบ่งออกเป็น ๒ ส่วน ได้แก่
๑. สสมฺภารจกฺขุ คือ ส่วนต่าง ๆ ที่ประชุมกันอยู่ทั้งหมดเรียกว่า " ดวงตา " ซึ่งมีทั้งตาขาวและตาดำ
มีก้อนเนื้อเป็นฐานรองรับปสาทจักขุไว้
๒. ปสาทจักขุ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า " จักขุปสาท " คือ ความใสของมหา ภูตรูปอันเกิดจากกรรม
ที่ตั้งอยู่บนกลางตาดำ
ดวงตาทั้งหมดไม่ชื่อว่า จักขุปสาท ที่เรียกว่าจักขุปสาทนั้นก็คือ ธรรมชาติ ที่เป็นรูปชนิดหนึ่ง เกิดจากกรรม มีความใสดุจเงากระจก เป็นเครื่องรับรูปารมณ์ ตั้งอยู่ระหว่างตาดำมีหลักฐานแสดงไว้ชัดว่า เป็นเยื่อบางๆ ซับซ้อนกันอยู่ถึง ๗ ชั้น ประดุจปุยนุ่นที่ชุ่มด้วยน้ำมันงาชุ่มอยู่ทั้ง ๗ ชั้น โตประมาณเท่าศีรษะของเหา มี หน้าที่ให้สำเร็จกิจ ๒ อย่าง คือ
(๑) เป็นที่อาศัยเกิดของจักขุวิญญาณจิต ๒
(๒) เป็นทวาร คือ ทางแห่งการรับรู้อารมณ์ของจักขุทวารวิถีจิตในปัญจ ทวารวิถีจักขุปสาทรูป มีลักขณาทิจตุกะ ดังนี้
รูปาภิฆาตารหภูตปฺปสาท ลกฺขณํ มีความใสของมหาภูตรูปที่กระทบ รูปารมณ์ เป็นลักษณะ
รูเปสุ อาวิญฺฉน รสํ มีการชักดึงมาซึ่งรูปารมณ์ เป็นกิจ
จกฺขุวิญฺญาณสฺส อาธารภาว ปจฺจุปฏฺฐานํ มีการรองรับซึ่งจักขุวิญญาณ เป็นผล
ทฏฺฐกามตานิทานกมฺมชภูต ปทฏฺฐานํ มีมหาภูตรูปอันเกิดจากกรรม ( รูปตัณหา ) มีความใคร่ที่จะเห็น รูปารมณ์ เป็นเหตุใกล้อนึ่ง คำว่า จักขุ ยังจำแนกเป็น ๒ ประการคือ ปัญญาจักขุ และ มังสจักขุ
ปัญญาจักขุ เป็นการรู้ด้วยปัญญา เป็นการรู้ทางใจ ไม่ใช่เห็นด้วยนัยน์ตา มีอยู่ ๕ ชนิด คือ
หน้า ๒๘
(๑) พุทฺธจกฺขุ เป็นจักขุญาณขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้แก่ ญาณที่รู้ในอัชฌาสัยของสัตว์โลก เรียกว่า อาสยานุสยญาณ ญาณที่สามารถรู้อินทรียของสัตว์ทั้งหลายว่ายิ่ง หรือหย่อนเพียงใด เรียกว่า อินทริยปโรปริยัตติญาณ ญาณดังกล่าวแล้วองค์ธรรมได้แก่ มหากิริยาญาณสัมปยุตต จิต ๔
(๒) สมนฺตจกฺขุ เป็นจักขุญาณขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า คือ สัพพัญญุตญาณ ญาณที่สามารถ
รอบรู้สิ้นปวงสังขตธรรมและอสังขตธรรม องค์ ธรรมได้แก่ มหากิริยาญาณสัมปยุตตจิตดวงที่ ๑
(๓) ญาณจักขุ คือ อรหัตตมัคคญาณ ญาณของพระอรหันต์ องค์ธรรมได้แก่ ปัญญาเจตสิก ที่ใน
อรหัตตมัคคจิต
(๔) ธมฺมจกฺขุ คือ ญาณของพระอริยทั้ง ๓ มีพระโสดาบัน พระสกทาคามี และพระอนาคามี องค์ธรรม
ได้แก่ ปัญญาเจตสิก ที่ในมัคคจิตเบื้องต่ำ ๓
(๕) ทิพฺพจกฺขุ คือ ญาณที่รู้ด้วยตาทิพย์ คือ อภิญญา องค์ธรรมได้แก่ อภิญญาจิต ๒
(๖) ส่วน มังสจักขุ นั้นคือ การเห็นด้วยนัยน์ตาเนื้อ ไม่ใช่รู้ด้วยปัญญา ได้แก่ จักขุของมนุษย์ และสัตว์
ทั้งหลาย องค์ธรรมได้แก่ จักขุปสาท
ปัญญาจักขุ ๕ มังสจักขุ ๑ รวมเป็น ๖ จึงเรียกกันสั้น ๆ ว่า จักขุ ๖ เมื่อเอ่ยว่า จักขุ ๖ ก็หมายถึง
ปัญญาจักขุ ๕ มังสจักขุ ๑ นี่แหละ