(๑) สีลคนฺธ ได้แก่ กลิ่นแห่งศีล
องค์ธรรมได้แก่ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ และสัมมาอาชีวะ
(๒) สมาธิคนฺธ ได้แก่ กลิ่นแห่งสมาธิ องค์ธรรมได้แก่ สัมมาวายามะ
สัมมา สติ และสัมมาสมาธิ
(๓) ปญฺญาคนฺธ ได้แก่ กลิ่นแห่งปัญญา องค์ธรรมได้แก่ สัมมาทิฏฐิ
สัมมาสังกัปปะ
คันธะในที่นี้ ไม่ได้หมายถึงตัวกลิ่นที่หอมหรือเหม็นนั้น แต่หมายถึงว่า
เป็น การฟุ้งไปทั่ว กระจายไปทั่ว แผ่ไปทั่ว กลิ่นหอมหรือเหม็นนั้น ตามปกติย่อมกระจายไปตามลม
และไปได้ในบริเวณ แคบไม่กว้างไม่ไกลนัก แต่การกระจาย การแผ่ไปของ สีล สมาธิ ปัญญา
นั้นไปได้ทั้งตามลมและทวนลม ทั้งแผ่ไปได้ทั่วไม่มีขอบเขตอันจำกัดเลย
(๔) อายตนคนฺธ ได้แก่ กลิ่นแห่งอายตนะ คือ การกระทบกันระหว่างกลิ่น
กับฆานปสาทและฆานวิญญาณ องค์ธรรม
ได้แก่ คันธารมณ์ คือ
สุคนฺธกลิ่น = กลิ่นที่ดี
ทุคนฺธกลิ่น = กลิ่นที่ไม่ดี
รสารมณ์ หมายถึง รูปที่เป็นอารมณ์ของชิวหาวิญญาณ
ได้แก่ รสรูปที่ปรากฏ เป็นรสต่าง ๆ ระหว่างรสารมณ์
กับรสรูป
รสารมณ์ หมายถึงรสรูป ซึ่งกำลังเป็นอารมณ์ของชิวหาวิญญาณ จึงเรียกว่า
รสารมณ์
รสรูป หมายถึงรสที่มีอยู่ในวัตถุต่าง ๆ ยังไม่ได้เป็นอารมณ์ของชิวหาวิญญาณ
เรียกรสนั้น ๆ ว่า รสรูป และการรู้สึก
ต่อรสว่า รสเปรี้ยว รสหวาน รสเค็มต่าง ๆ นั้น ไม่ใช่รู้ด้วยชิวหาวิญญาณ แต่เป็นการรู้ด้วยมโนวิญญาณ
จึงจัดเป็นธัมมารมณ์ คือ รู้ด้วยใจคิดนึก ถ้ารู้ด้วยชิวหาวิญญาณจะปรากฏเป็นรสเท่านั้น
แล้วก็ดับไป ยัง ไม่รู้ว่าเป็นรสอะไร รสที่รู้ด้วย
ชิวหาวิญญาณนี้แหละ เรียกว่า รสารมณ์
รสารมณ์ มีลักขณาทิจตุกะ ดังนี้
ชิวฺหาปฏิหนน ลกฺขณํ มีการกระทบชิวหาปสาท
เป็นลักษณะ
ชิวฺหาวิญฺญาณสฺส วิสยภาว รสํ มีการทำอารมณ์ให้แก่ชิวหาวิญญาณเป็นกิจ
หน้า ๓๗
ตสฺเสว โคจร ปจฺจุปฏฺฐานํ มีการเป็นอารมณ์ของชิวหาวิญญาณ
เป็นผล
จตุมหาภูต ปทฏฺฐานํ มีมหาภูตรูป
๔ เป็นเหตุใกล้
รสะ คือ รสที่กระทบกับชิวหาปสาท
และทำให้เกิดชิวหาวิญญาณขึ้น รสะที่ มาเป็นอารมณ์ให้แก่ชิวหาวิญญาณ
จิตนี่แหละ ได้ชื่อว่า รสารมณ์
อนึ่งคำว่า รสะนี้ยังจำแนกได้เป็น ๔ ประการ เรียกสั้น ๆ ว่า รสะ ๔
คือ
(๑) ธมฺมรส ได้แก่ รสแห่งธรรม ซึ่งมีทั้งกุสล และอกุสล องค์ธรรมได้แก่
มัคคจิตตุปปาท ๔ โลกียกุสลจิต ๑๗
อกุสลจิต ๑๒ คือ ธรรมอันเป็นกุสลและ อกุสลทั้งปวง
(๒) อตฺถรส ได้แก่ รสแห่งอรรถธรรม คือ ธรรมที่เป็นผลของกุสล และ
อกุสลทั้งปวง องค์ธรรมได้แก่
ผลจิตตุปปาท ๔ โลกียวิบากจิต ๓๒ คือ ธรรม อันเป็นผลของกุสลและอกุสลทั้งหมด
(๓) วิมุตฺติรส ได้แก่ รสแห่งความหลุดพ้น คือพระนิพพาน
(๔) อายตนรส ได้แก่ รสแห่งการกระทบกันระหว่างรสรูปกับชิวหาวิญญาณ
องค์ธรรมได้แก่ รสารมณ์ เมื่อประมวล
แล้วทั้งหมดมี ๖ รส คือ อมฺพิล เปรี้ยว, มธุร หวาน, โลณิก เค็ม, กฏุก เผ็ด, ติตฺต
ขม, และ กสาว ฝาด
หน้า ๓๘
โผฏฐัพพารมณ์ หมายถึง รูปที่เป็นอารมณ์ของกายวิญญาณจิต
ได้แก่ ความเย็น ความร้อน ความอ่อน ความแข็ง ความหย่อน ความตึง ที่มากระทบ กับกายปสาท
ซึ่งคำวิเคราะห์ศัพท์ว่า " ผุสิตพฺพนฺติ-โผฏฐพฺพํ " แปลว่า รูปที่
กายปสาทพึงถูกต้องได้ รูปนั้นชื่อว่า " โผฏฐัพพะ " โผฏฐัพพารมณ์
๓ อย่าง คือ
๑. ปฐวีโผฏฐัพพารมณ์ องค์ธรรมได้แก่ ปฐวีธาตุที่มีลักษณะแข็ง หรืออ่อน
๒. เตโชโผฏฐัพพารมณ์ องค์ธรรมได้แก่ เตโชธาตุที่มีลักษณะร้อนหรือเย็น
๓. วาโยโผฏฐัพพารมณ์ องค์ธรรมได้แก่ วาโยธาตุที่มีลักษณะหย่อนหรือตึง
โผฏฐัพพารมณ์ คือ มหาภูตรูป
๓ ได้แก่ ปฐวีธาตุ เตโชธาตุ และวาโยธาตุ ส่วนอาโปธาตุนั้นถูกต้องด้วยกายปสาท
ไม่ได้ จึงเป็นโผฏฐัพพารมณ์ไม่ได้ เพราะ อาโปธาตุนั้นเป็นธาตุที่รู้ได้ด้วยใจ จะรู้ด้วยประสาทอื่น
ๆ ไม่ได้ จึงจัดอาโปธาตุนั้น เป็นธัมมารมณ์ เป็นอารมณ์ที่รู้ได้ด้วยการคิดนึกเข้าถึงเหตุผลเท่านั้น
รูปารมณ์ ๑ สัททารมณ์ ๑ คันธารมณ์ ๑ รสารมณ์ ๑ และโผฏฐัพพารมณ์ ๓ รวม
๗ รูปนี้มีชื่อเรียกว่าวิสยรูป เพราะเป็นรูปที่เป็นที่อาศัยการรู้ของปัญจวิญญาณ
จิตที่เกิดทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น และ ทางกาย บางทีก็เรียกว่า โคจรรูป ที่เรียกว่าโคจรรูป
ก็เพราะว่าเป็นรูปที่โคจรของจิตและเจตสิกนั่นเอง
ประเภทที่ ๔ ภาวรูป
ภาวรูป คือ รูปที่แสดงให้รู้สภาพหญิงและชาย
ด้วยอาศัยรูปร่าง สัณฐาน เครื่องหมาย นิสัย อัธยาสัย และกิริยา
อาการเป็นเครื่องแสดงให้รู้
ภาวรูปมี ๒ คือ
๑. อิตถีภาวรูป รูปที่เป็นเหตุแห่งความเป็นหญิง (เป็นรูปที่เกิดจากกรรม)
๒. ปุริสภาวรูป รูปที่เป็นเหตุแห่งความเป็นชาย (เป็นรูปที่เกิดจากกรรม)
๑๔. อิตถีภาวรูป
อิตถีภาวรูป คือ รูปที่เป็นเหตุแห่งความเป็นหญิง รูปใดที่เป็นเหตุแห่งความ เป็นหญิง รูปนั้นชื่อว่า อิตถีภาวะ
อิตถีภาวรูป มีลักขณาทิจตุกะ ดังนี้
อิตฺถีภาว ลกฺขณํ มีสภาพของหญิง
เป็นลักษณะ
อิตฺถีติปกาสน รสํ มีปรากฏการณ์ของหญิง
เป็นกิจ
อิตฺถีลิงฺคาทีนํ การณภาว ปจฺจุปฏฺฐานํ มีอาการของหญิงเป็นต้น
เป็นผล
จตุมหาภูต ปทฏฺฐานํ มีมหาภูตรูป ๔
เป็นเหตุใกล้
๑๕. ปุริสภาวรูป
ปุริสภาวรูป คือ รูปที่เป็นเหตุแห่งความเป็นชาย รูปใดเป็นเหตุแห่งความเป็น ชาย รูปนั้นชื่อว่า ปุริสภาวะ
ปุริสภาวรูป มีลักขณาทิจตุกะ ดังนี้
ปุริสภาว ลกฺขณํ มีสภาพของชาย
เป็นลักษณะ
ปุริโสติปกาสน รสํ มีปรากฏการณ์ของชาย
เป็นกิจ
ปุริสลิงฺคาทีนํ การณภาว ปจฺจุปฏฺฐานํ มีอาการของชายเป็นต้น
เป็นผล
จตุมหาภูต ปทฏฺฐานํ มีมหาภูตรูปทั้ง
๔ เป็นเหตุใกล้
หน้า ๓๙
ร่างกายของสัตว์ทั้งหลาย ที่จะรู้ว่าเป็นเพศหญิงหรือชาย
มีสิ่งที่เป็นเครื่อง อาศัยให้รู้ได้ ๔ ประการ คือ
(๑) ลิงฺค ได้แก่ รูปร่างสัณฐาน ที่บอกเพศอันมีมาแต่กำเนิดซึ่งจะปรากฏ
ตั้งแต่เมื่อคลอดออกมา เช่น มีแขน ขา
หน้าตา เพศ ซึ่งแสดงตั้งแต่กำเนิด
(๒) นิมิตฺต เครื่องหมาย หรือสภาพความเป็นอยู่ เครื่องหมายนั้นหมายถึง
สิ่งที่ปรากฏต่อมา สำหรับหญิงอกก็เริ่ม
โตขึ้น สำหรับชายก็มีหนวดมีเคราส่วนสภาพ ความเป็นอยู่นั้น หญิงก็ชอบเย็บปักถักร้อยเข้าครัว
ชายก็ชอบต่อยตียิงปืน
ผาหน้าไม้
(๓) กุตฺต หมายถึง นิสัย คือความประพฤติที่เคยชิน หญิงก็นุ่มนวล
อ่อนโยน เรียบร้อย ส่วนชายก็ห้าวหาญ เข้ม
แข็ง ว่องไว การเล่นของชายกับหญิง ก็ไม่เหมือนกัน ชายชอบยิงนก ตกปลา ล่าสัตว์ หญิงก็จะเล่นการทำอาหาร
ฯลฯ
(๔) อากปฺป ได้แก่ กิริยาอาการ เช่น การเดิน ยืน นั่งนอน การกิน
การพูด ถ้าเป็นหญิงก็จะเอียงอาย แช่มช้อยนุ่ม
นวล ถ้าเป็นชายก็จะองอาจ เด็ดเดี่ยว หรือ แข็งกร้าว เป็นต้น
ทั้ง ๔ อย่างนี้ เป็นเครื่องแสดงให้รู้ถึงเพศหญิงหรือชาย ย่อมปรากฏไปตาม
ภาวรูปทั้ง ๒ ถ้ามีอิตถีภาวรูปเป็น
ผู้ปกครองในร่างกายนั้น ก็จะมีรูปร่างสัณฐาน มีกิริยาอาการเป็นหญิง ถ้ามีปุริสภาวรูปเป็นผู้ปกครองในร่างกายนั้น
ก็จะมี
รูปร่าง สัณฐาน มีกิริยาอาการเป็นชาย ทั้งนี้ก็เพราะเนื่องจากกรรม คือ
ผู้ที่ได้อิตถีภาวรูป เพราะชาติแต่ปางก่อนได้ประกอบกุสลกรรมอย่างอ่อนที่
เรียกว่า ทุพฺพลกุสลกมฺม เป็นกรรมที่ประกอบด้วยความเลื่อมใสก็จริง แต่ก็เจือปน
ไปด้วยความไหวหวั่น (อวิสทฺธาการ)
ส่วนผู้ที่ได้ปุริสภาวรูป เพราะอดีตชาติได้ประกอบกุสลกรรมที่สูงส่งด้วยสัทธา
ความเลื่อมใส แรงด้วยอธิโมกข์
ความชี้ขาด ปราศจากความหวั่นไหว อันจะเป็นเหตุ ให้เกิดความย่อหย่อน กุสลกรรมอย่างนี้เรียกว่า
พลวกุสลกมฺม เป็นกุสลกรรมอัน ทรงพลัง จึงยังผลให้เกิดเป็นชาย
หน้า ๔0
ประเภทที่ ๕ หทยรูป
หทยรูป คือ รูปที่เป็นที่ตั้งอาศัยเกิดของจิตและเจตสิก
เพื่อทำกิจให้สำเร็จ เป็นกุสลหรืออกุสล สำหรับใน
ปัญจโวการภูมิแล้ว ถ้าไม่มีหทยรูปเป็นที่ตั้งอาศัยเกิด ของจิตและเจตสิกแล้ว ก็จะไม่สามารถทำงานต่าง
ๆ ตลอดจนการคิด
นึกเรื่องราว ต่าง ๆ ได้ ฉะนั้นรูปที่เป็นเหตุให้สำเร็จการงานต่าง ๆ จึงชื่อว่า
หทยรูป
สัตว์ทั้งหลายย่อมทำในสิ่งที่เป็นประโยชน์และไม่เป็นประโยชน์ โดยอาศัยรูป
นั้น ดังนั้นรูปที่เป็นเหตุให้สัตว์ทั้งหลาย
ทำสิ่งที่เป็นประโยชน์ และไม่เป็นประโยชน์ นั้นชื่อว่า หทยรูป
๑๖. หทยรูป
หทยรูป แบ่งออกเป็น ๒ อย่าง
(๑) มังสหทยรูป ได้แก่ รูปหัวใจที่มีสัณฐานคล้ายดอกบัวตูมที่แกะกลีบ
ออกมา แล้วเอาปลายห้อยลง ภายในนั้น
เหมือนรังบวบขม
(๒) วัตถุหทยรูป ได้แก่ รูปที่อาศัยเกิดอยู่ในมังสหทยรูป เป็นรูปที่เกิดจาก
กรรม ที่ตั้งของหทยรูปนั้น ตั้งอยู่ในช่อง
ที่มีลักษณะเหมือนบ่อ โตประมาณเท่าเมล็ด ดอกบุนนาค ในช่องนี้มี น้ำเลี้ยงหัวใจ
หล่อเลี้ยงอยู่ประมาณ ๑ ซองมือ เป็นที่ อาศัยเกิดของจิตและเจตสิกที่ชื่อว่า มโนธาตุและมโนวิญญาณธาตุ
สถานที่ตรงนี้เอง ที่เรียกว่า หทยรูป หรือ วัตถุหทยรูป
น้ำเลี้ยงหัวใจนี้แหละเป็นที่อาศัยให้เกิดจิต ๗๕ ดวง (เว้นทวิปัญจวิญญาณ
๑๐ และอรูปวิบาก ๔ ) อันเป็นปัจจัย
ให้เกิดทั้งความดีและความชั่ว
น้ำเลี้ยงหัวใจ คือ หทยรูป หรือ หทยวัตถุ หรือ วัตถุหทยรูป นี้มีมากสี
ด้วยกัน ทั้งนี้ย่อมแล้วแต่จริตของบุคคล กล่าวคือ
หน้า ๔๑
บุคคลที่มากด้วย ราคจริต น้ำเลี้ยงหัวใจย่อมมีสี
แดง
บุคคลที่มากด้วย โทสจริต น้ำเลี้ยงหัวใจย่อมมีสี ดำ
บุคคลที่มากด้วย โมหจริต น้ำเลี้ยงหัวใจย่อมมีสี หม่นเหมือนน้ำล้างเนื้อ
บุคคลที่มากด้วย วิตกจริต น้ำเลี้ยงหัวใจย่อมมีสี เหมือนน้ำเยื่อถั่วพู
บุคคลที่มากด้วย สัทธาจริต น้ำเลี้ยงหัวใจย่อมมีสี เหลืองอ่อนคล้ายสีดอกกัณณิกา
บุคคลที่มากด้วย พุทธิจริต น้ำเลี้ยงหัวใจย่อมมีสี ขาวเหมือนสีแก้วเจียรนัย
หทยรูป มีลักขณาทิจตุกะ ดังนี้
มโนธาตุมโนวิญฺญาณธาตูนํ นิสฺสย
ลกฺขณํ มีการให้มโนธาตุ และมโน- วิญญาณธาตุได้อาศัยเกิด เป็นลักษณะ ตาสญฺเญว
ธาตูนํ อธารน รสํ มีการทรงไว้ซึ่งธาตุดังกล่าว เป็นกิจ
ตทุพฺพหน ปจฺจุปฏฺฐานํ มีการรักษาไว้ซึ่งธาตุดังกล่าว
เป็นผล
จตุมหาภูต ปทฏฺฐานํ มีมหาภูตรูปทั้ง
๔ เป็นเหตุใกล้
หทยรูป คือ รูปที่เป็นที่ตั้งอาศัยเกิดของจิตและเจตสิก
เพื่อทำกิจให้สำเร็จ เป็นกุสลหรืออกุสล สำหรับในปัญจโวการ
ภูมิแล้ว ถ้าไม่มีหทยรูปเป็นที่ตั้งอาศัยเกิด ของจิตและเจตสิกแล้ว ก็จะไม่สามารถทำงานต่าง
ๆ ตลอดจนการคิดนึกเรื่องราว
ต่าง ๆ ได้เลย ฉะนั้น รูปที่เป็นเหตุให้สำเร็จการงานต่าง ๆ จึงชื่อว่า หทยรูป
สัตว์ทั้งหลายย่อมทำในสิ่งที่เป็นประโยชน์และไม่เป็นประโยชน์ โดยอาศัยรูป
ดังนั้นรูปที่เป็นเหตุให้สัตว์ทั้งหลายทำสิ่ง
ที่เป็นประโยชน์และไม่เป็นประโยชน์ ชื่อว่า หทยรูป
ประเภทที่ ๖ ชีวิตรูป
ชีวิตรูป คือ รูปที่รักษากลุ่มรูปที่เกิดจากกรรม
โดยธรรมชาติของรูปแต่ละกลุ่มรูป ย่อมมีสมุฏฐานให้เกิดอยู่ ๔ สมุฏฐาน คือ
กรรม จิต อุตุ และอาหาร ในกลุ่ม
รูปที่เกิดจากกรรมนั้น มีชีวิตรูปเป็นผู้ตามรักษา ตั้งแต่แรกเกิดให้ตั้งอยู่แล้วก็ดับไปพร้อมกับกลุ่มรูปนั้น
ๆ ทั้งนี้เนื่องจากกรรม
ที่ทำให้รูปเกิดขึ้นนั้น มีหน้าที่ทำให้รูปเกิดเท่านั้น ไม่มีหน้าที่รักษา ชีวิตรูปเท่านั้นมี
หน้าที่ตามรักษา เหมือนกลีบของดอกบัว
ทำหน้าที่รักษาเกษรบัวที่เกิดจากกอบัวแล้ว ก็เน่าไปพร้อมกับเกษรบัว ฉะนั้นกรรมทั้งหลายก็เช่นกันทำให้รูปเกิดด้วยอำนาจ
ของตน แล้วก็มีชีวิตรูปที่เกิดจากกรรมนั่นแหละเป็นผู้รักษากลุ่มรูป ที่เกิดร่วมกันให้ตั้ง
อยู่ แล้วก็ดับไปพร้อมกับกลุ่มรูที่เกิด
จากกรรมนั้น ๆ
๑๗. ชีวิตรูป
ชีวิตรูป เป็นชื่อของรูปที่เกิดจากกรรม
ทำหน้าที่รักษากลุ่มรูปที่เกิดจากกรรม ด้วยกันให้เกิดขึ้น ตั้งอยู่แล้วก็ดับ
ไปพร้อมกับตน รูปทั้งหลายอยู่ได้ด้วยการอาศัยรูปนั้น ฉะนั้น รูปที่เป็นเหตุให้สหชาตรูปทั้ง
หลายเป็นอยู่ได้นั้น เรียกว่า
ชีวิตรูป
ชีวิตรูป มีลักขณาทิจตุกะ ดังนี้
สหชาตรูปานุปาล ลกฺขณํ มีการรักษาสหชาตรูป
เป็นลักษณะ
เตสํ ปวตฺตน รสํ มีการธำรงไว้ซึ่งรูปเหล่านั้น
เป็นกิจ
เตสญฺเญว ฐปน ปจฺจุปฏฺฐานํ มีการประกอบให้มั่นคงอยู่
เป็นผล
ยาปยิตพฺพ ปทฏฺฐานํ มีมหาภูตรูปที่เสมอภาค(ที่สมส่วน)
เป็นเหตุใกล้
ที่ว่า มีการรักษาสหชาตรูปนั้น
หมายเฉพาะรูปที่เกิดจากกรรม คือ กัมมชรูป เท่านั้น จึงต้องมีชีวิตรูปนี้รักษา
ให้คงอยู่และเป็นไปได้ตลอดอายุของรูปนั้น ๆ หรือ กล่าวอีกนัยหนึ่งว่า
หน้า ๔๒
ต้องเป็นกัมมชรูป คือ รูปที่เกิดจากกรรม
จึงจะมีชีวิตรูปรักษา ให้กัมมชรูปนั้น ๆ ดำรงคงอยู่ได้
ส่วนต้นไม้ ไม่ได้เกิดจากกรรม จึงไม่มีชีวิตรูป แต่ที่ดำรงคงอยู่ได้เพราะอุตุ
พระพุทธองค์ได้ทรงแสดง ดังปรากฏ
ในภูตคามสิกขาบทวินัย พระบาลีว่า ชีวสญฺญิ โน หิ มนุสฺสา รกฺขสฺมึ มนุษย์ทั้งหลายมีความสำคัญว่า
ต้นไม้นี้มีชีวิต
อนึ่งคำว่า ชีวิต มีทั้ง ชีวิตรูป เป็นรูปธรรม ดังที่กล่าวอยู่
ณ บัดนี้ และ ชีวิตนาม เป็นนามธรรม (นามเจตสิก) ซึ่งได้กล่าวแล้วในปริจเฉทที่
๒ นั้น ส่วนคำว่า ชีวิตินทรีย เป็นศัพท์ที่รวมความหมายทั้ง ชีวิตรูป และชีวิตนาม
ทั้ง ๒ อย่าง
เป็นใหญ่ในการรักษารูป องค์ธรรมได้แก่ ชีวิตรูป
เป็นใหญ่ในการรักษานาม องค์ธรรมได้แก่ ชีวิตินทรียเจตสิก
ประเภทที่ ๗ อาหารรูป
อาหารรูป คือ รูปที่เกิดจากอาหาร และรูปที่เกิดจากอาหารในที่นี้ หมายถึง อาหารที่กินเป็นคำ ๆ ซึ่งเรียกว่า กพฬีการาหาร
๑๘. อาหารรูป
อาหารรูป ในที่นี้หมายถึง
กพฬีการาหาร อาหารที่กินเเป็นคำ ๆ หรือโภชนะ ใดอันบุคคลกินเป็นคำ ๆ หรือ
กระทำให้เป็นของกินโภชนะนั้นชื่อว่า กพฬีการาหาร
กพฬีการาหารนั้น หมายถึง โอชะรูป ที่มีอยู่ในอาหารต่าง ๆ เมื่อสัตว์ ทั้งหลายได้กินอาหาร
โอชะที่อยู่ในอาหาร
นั้น ๆ ก็จะถูกปาจกเตโชอันเป็นเตโชธาตุ ที่เกิดจากกรรม ที่อยู่ในปากตลอดจนถึงทวารหนัก
ก็จะทำหน้าที่เผา หรือย่อยออก
เป็น ๒ ส่วน ดังนี้
ส่วนที่ ๑ เป็นกากทิ้งไป โดยระบายออกทางทวารต่าง ๆ
ส่วนที่ ๒ เป็นโอชะรูปอยู่ในร่างกายคนและสัตว์คอยทำหน้าที่ให้อาหารชรูป
เกิดขึ้น คือ โอชะรูปที่อยู่ในร่างกาย
ของคนและสัตว์นี้ทำให้ร่างกายของคนและสัตว์ ทั้งหลายมีกำลังและเติบโตขึ้น เมื่อร่างกายเจริญเติบโตเต็มที่แล้ว
ก็จะทำ
หน้าที่ให้ร่างกายสมบูรณ์ และมีชีวิตอยู่ได้
รูปที่ทำให้เจริญเติบโต และทำให้ร่างกายสมบูรณ์อยู่ได้นี้แหละ เรียกว่า
อาหารชรูป แปลว่า รูปที่เกิดจากอาหาร หรือรูปที่เกิดจากโอชะรูปที่ได้มาจากกพฬี
การาหาร นั่นเอง
อาหารรูป มีลักขณาทิจตุกะ ดังนี้
โอชา ลกฺขณํ มีการทำให้รูปเจริญ
เป็นลักษณะ
รูปาหรน รสํ มีการธำรงไว้ซึ่งรูป
เป็นกิจ
กายุปตฺถมฺภน ปจฺจุปฏฺฐานํ มีการอุดหนุนไว้ซึ่งรูปกาย
เป็นผล
อชฺโฌหริตพฺพ ปทฏฺฐานํ มีอาหารที่ควรแก่การบริโภค
เป็นเหตุใกล้