อุทธัจจะ และ กุกกุจจะ ที่จัดเป็นนิวรณเดียว ก็ด้วยเหตุผลทำนองเดียวกัน กล่าวคือ ว่าโดยกิจ ก็ทำให้ไม่สงบ ว่าโดยอาการ ก็เพราะเหตุที่คิดถึง พยสนะ ๕ ประการ ว่าโดยวิโรธปัจจัย ก็เป็นศัตรูกับความสุข คือ ถ้าไม่สงบ ก็ไม่เป็นสุข ต่อเมื่อสงบก็เป็นสุข เมื่อมีสุขเวทนาก็เป็นเหตุใกล้ให้เกิด เอกัคคตา คือการตั้งมั่น อยู่ในอารมณ์เดียว การตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์เดียวอย่างแน่แน่ว ก็เรียกว่า สมาธิ
         พยสนะ ๕ ประการ เรียกว่า วิบัติ ๕ ก็ได้นั้น ได้แก่ ญาติพยสนะ ความพินาศไปแห่งญาติ โภคพฺยสน ความพินาศไปแห่งทรัพย์สมบัติ โรคพฺยสน โรคภัยเบียดเบียน สีลพฺยสน ความทุสีล เสื่อมสีล สิกขาบทที่รักษาอยู่นั้น
ขาดไป ทิฏฐิพฺยสน ความเห็นผิด ทำให้สัมมาทิฏฐิพินาศไป
         ในการเจริญสมถภาวนา ข่มนิวรณ์เพียง ๕ ประการ คือ ประการที่ ๑ ถึง ๕ ไว้ได้ โดยวิขัมภนปหาน ก็สามารถถึงฌานได้
         ส่วนการเจริญวิปัสสนาภาวนา ต้องประหารนิวรณ์ทั้ง ๖ ประการ โดย สมุจเฉทปหาน จึงจะบรรลุมัคคผล
         โสดาปัตติมัคค ประหาร วิจิกิจฉานิวรณ์
         อนาคามิมัคค ประหาร กามฉันทนิวรณ์ กุกกุจจนิวรณ์และพยาปาทนิวรณ์
         อรหัตตมัคค ประหาร นิวรณ์ที่เหลือนั้นได้หมดเลย
         อนึ่ง ใคร่จะกล่าวแทรกไว้ในที่นี้ด้วยว่า ถีนมิทธเจตสิก นั้นเป็นนิวรณ์ เป็น กิเลส แต่ ถีนมิทธ ที่เป็นธรรมประจำกาย นั้น ไม่ใช่นิวรณ์และไม่เป็นกิเลส
         กายานุคตธรรม ธรรมประจำกายนั้น มี ๑๐ ประการ คือ ๑. สีต เย็น , ๒. อุณฺห ร้อน, ๓. ชิฆจฺฉา หิว,
๔. ปิปาส กระหาย, ๕. อุจฺจาร ถ่ายหนัก, ๖. ปสฺสาว ถ่ายเบา, ๗. ถีนมิทฺธ การหลับนอน, ๘. ชรา แก่, ๙. พยาธิ
เจ็บไข้ได้ป่วย, ๑๐.มรณ ตาย
         อกุสลสังคหะ ๙ กองนั้น ได้กล่าวมาแล้ว ๖ กอง ยังเหลืออีก ๓ กอง มีคาถาสังคหะที่ ๓ แสดงว่า

         ๓. ฉเฬวานุสยา โหนติ                              นว สญฺโญชนา มตา
             กิเลสา ทส วุตฺโตยํ                               นวธา ปาปสงฺคโห ฯ

         แปลความว่า อนุสัย มี ( องค์ธรรม ) ๖ สังโยชน์ มี ( องค์ธรรม ) ๙ เท่านั้น กิเลสคง มี ( องค์ธรรม ) ๑0
อกุสลสังคหะย่อมมี ๙ กองฉะนี้


หน้า ๑๒

อกุสลสังคหะกองที่ ๗ อนุสัย ๗

         สนฺตาเน อนุ อนุ เสนฺตีติ อนุสยา ฯ ธรรมเหล่าใดที่ตามนอนเนื่องอยู่ใน สันดานเป็นเนืองนิจ ธรรมเหล่า
นั้นชื่อว่า อนุสัย
         จิตฺตสนฺตาเน นิทหิตฺวา ว ฯ ฝากไว้ในจิตตสันดานนั่นเทียว
         อนุรูปํ การณํ ลภิตฺวา เสนฺติ อุปฺปชฺชนฺตีติ อนุสยา ฯ ธรรมเหล่าใดเมื่อได้ เหตุอันสมควรแล้ว ย่อม
เกิดขึ้นได้ ธรรมเหล่านั้นชื่อว่า อนุสัย
         รวมความว่า อนุสัย หมายถึงกิเลสอย่างละเอียดที่ตามนอนเนื่องอยู่ในจิตต สันดานของสัตว์ทั้งหลายเป็นประจำ ต่อเมื่อใดได้เหตุอันสมควรแล้ว ก็ปรากฏขึ้น เมื่อนั้น
         อนุสัย มี ๗ ประการ คือ
             ๑. กามราคานุสัย สันดานที่ชอบใจในกามคุณอารมณ์ องค์ธรรมได้แก่ โลภ เจตสิก ที่ในโลภมูลจิต ๘
             ๒. ภวราคานุสัย สันดานที่ชอบใจในอัตภาพของตนและชอบใจในรูปภพ อรูปภพ องค์ธรรมได้แก่
โลภเจตสิก ที่ในทิฏฐิคตวิปปยุตตจิต ๔
             ๓. ปฏิฆานุสัย สันดานที่โกรธเคือง ไม่ชอบใจในอารมณ์ องค์ธรรมได้แก่ โทสเจตสิก ที่ในโทสมูลจิต ๒
             ๔. มานานุสัย สันดานที่ทะนงตน ถือตัว ไม่ยอมลงให้แก่ใคร องค์ธรรม ได้แก่ มานเจตสิก ที่ใน
ทิฏฐิคตวิปปยุตตจิต ๔
             ๕. ทิฏฐานุสัย สันดานที่มีความเห็นผิด องค์ธรรมได้แก่ ทิฏฐิเจตสิก ที่ใน ทิฏฐิคตสัมปยุตตจิต ๔
             ๖. วิจิกิจฉานุสัย สันดานที่ลังเลและสงสัยไม่แน่ใจ องค์ธรรมได้แก่ วิจิกิจฉา เจตสิก ที่ใน
วิจิกิจฉาสัมปยุตตจิต ๑
             ๗. อวิชชานุสัย สันดานที่มีความลุ่มหลงมัวเมา เพราะไม่รู้เหตุผลตามความ เป็นจริง องค์ธรรมได้แก่
โมหเจตสิก ที่ในอกุสลจิต ๑๒
             รวมอนุสัย มี ๗ แต่องค์ธรรมมีเพียง ๖ คือ โลภเจตสิก โทสเจตสิก มานเจตสิก ทิฏฐิเจตสิก
วิจิกิจฉาเจตสิก
และ โมหเจตสิก
         โสดาปัตติมัคค ประหาร ทิฏฐานุสัย และวิจิกิจฉานุสัย
         อนาคามิมัคค ประหาร กามราคานุสัย และ ปฏิฆานุสัย
         อรหัตตมัคค ประหาร อนุสัยที่เหลือนั้นทั้งหมด


หน้า ๑๓

อกุสลสังคหะกองที่ ๘ สังโยชน ๑๐

         สํโยเชนฺติ พนฺธนฺตีติ สํโยชนานิ ฯ ธรรมเหล่าใดย่อมผูกสัตว์ทั้งหลายไว้ ธรรมเหล่านั้นชื่อว่า สังโยชน์
         ทูรคตสฺสาปี อากฑฺฒนโต นิสฺสริตุ ํ อปฺปทานวเสน พนฺธนํ สํโยชนํ ฯ การผูกสัตว์ให้ติดอยู่ในวัฏฏทุกข์ ด้วยอำนาจไม่ให้ออกไปจากทุกข์ในวัฏฏะ โดยเหตุ ที่คร่าหรือดึงสัตว์ที่อยู่ในที่ไกลให้ลงมา นั้นชื่อว่า สังโยชน์
         สัตว์ทั้งหลายที่ถูกเชือก คือ สังโยชน ผูกคอไว้ในกามคุณทั้ง ๕ ซึ่งเปรียบ ด้วยเรือนจำ จึงไม่สามารถที่จะไปไหน
ได้เลย
         สังโยชน์ หรือ สัญโญชน์ มี ๒ นัย คือ ตามนัยแห่งพระอภิธรรมและ ตามนัยแห่งพระสูตร ต่างก็มีจำนวน
นัยละ ๑๐ ประการเท่ากัน เหมือนกันบ้าง ต่างกันบ้าง ดังต่อไปนี้


หน้า ๑๔

         เมื่อรวมองค์ธรรมของสังโยชน์ ตามนัยแห่งพระอภิธรรม และตามนัยแห่ง พระสูตรเข้าด้วยกันแล้ว ก็ได้
องค์ธรรม ๙ คือ โลภเจตสิก โทสเจตสิก มานเจตสิก ทิฏฐิเจตสิก วิจิกิจฉาเจตสิก อิสสาเจตสิก มัจฉริยเจตสิก
อุทธัจจเจตสิก
และ โมหเจตสิก
         ดังนั้นจึงกล่าวว่า สังโยชน์ มี ๑๐ ประการ รวมมีองค์ธรรม ๙
         สังโยชน์นี้ ยังจำแนกได้เป็น ๒ จำพวก คือ โอรัมภาคิยสังโยชน์ และ อุทธังภาคิยสังโยชน์


หน้า ๑๕

         โอรัมภาคิยสังโยชน์ หมายความว่า สังโยชน์อันเป็นกิเลสธรรมมีส่วนในเบื้องต่ำ
         อุทธังภาคิยสังโยชน์ หมายความว่า สังโยชน์อันเป็นกิเลสธรรมมีส่วนในเบื้องสูง

         การประหารสังโยชน์โดยลำดับแห่งกิเลส คือ ตามลำดับแห่งสังโยชน์นั้น สังโยชน์ใดพึงประหารโดยอริยมัคคใด
ดังต่อไปนี้
         กิเลสปฏิปาฏิยา กามราคปฏิฆสํโยชนานิ อานาคามิมคฺเคน ปหียนฺติ มาน สํโยชนํ อรหตฺตมคฺเคน, ทิฏฺฐิวิจิกิจฺฉา สีลพฺพตปรามาสา โสตาปตฺติมคฺเคน, ภวราคสํโยชนํ อรหตฺตมคฺเคน, อิสฺสามจฺฉริยานิ โสตาปตฺติมคฺเคน, อวิชฺชา อรหตฺตมคฺเคนฯ


หน้า ๑๖

         ที่กล่าวมานี้ เป็นการแสดงการประหารสังโยชน์ ๑๐ ตามนัยแห่งพระอภิธรรม ส่วนการประหารสังโยชน์ ๑๐ ตามนัยแห่งพระสูตรนั้น ดังนี้

อกุสลสังคหะกองที่ ๙ กิเลส ๑๐

         กิเลเสนฺติ อุปตาเปนฺตีติ กิเลสา ฯ ธรรมชาติใดย่อมทำให้เร่าร้อน ธรรมชาติ นั้นชื่อว่า กิเลส
         กิลิสฺสติ เอเตหีติ กิเลสา ฯ สัมปยุตตธรรม (คือ จิตและเจตสิก) ย่อมเศร้า หมองด้วยธรรมชาติใด ธรรมชาติที่เป็นเหตุแห่งการเศร้าหมองของสัมปยุตตธรรม นั้นชื่อว่า กิเลส


หน้า ๑๗

         สงฺกิเลเสตีติ สงฺกิเลโส วิพาธติ อุปฺปาเปติ จาติ อตฺโถ ฯ ธรรมเหล่าใด ย่อมเศร้าหมอง ธรรมเหล่านั้น
ชื่อว่า สังกิเลส เพราะอรรถว่ายังสัตว์ให้เร่าร้อน
         รวมหมายความว่า กิเลสเป็นสภาพธรรมที่เศร้าหมองและเร่าร้อน ซึ่งยังให้ สัตว์ทั้งหลายเศร้าหมองและเร่าร้อน
         กิเลส มี ๑๐ ประการ คือ
             ๑. โลภกิเลส เศร้าหมองและเร่าร้อนเพราะยินดีชอบใจในอารมณ์ ๖ องค์ ธรรมได้แก่ โลภเจตสิก ที่ใน
โลภมูลจิต ๘
             ๒. โทสกิเลส เศร้าหมองและเร่าร้อนเพราะไม่ชอบใจในอารมณ์ ๖ องค์ธรรม ได้แก่ โทสเจตสิก ที่ใน
โทสมูลจิต ๒
             ๓. โมหกิเลส เศร้าหมองและเร่าร้อนเพราะความมัวเมาลุ่มหลง ไม่รู้สึกตัว ปราศจากสติสัมปชัญญะ องค์ธรรมได้แก่ โมหเจตสิก ที่ในอกุสลจิต ๑๒
             ๔. มานกิเลส เศร้าหมองและเร่าร้อนเพราะความทนงตนถือตัว องค์ธรรม ได้แก่ มานเจตสิก ที่ในทิฏฐิคตวิปปยุตตจิต ๔
             ๕. ทิฏฐิกิเลส เศร้าหมองและเร่าร้อนเพราะความเห็นผิดจากเหตุผลตาม ความเป็นจริง องค์ธรรมได้แก่ ทิฏฐิเจตสิก ที่ในทิฏฐิคตสัมปยุตตจิต ๔
             ๖. วิจิกิจฉากิเลส เศร้าหมองและเร่าร้อนเพราะความสงสัยลังเลใจใน พระ พุทธ พระธรรม พระสงฆ์
เป็นต้น องค์ธรรมได้แก่ วิจิกิจฉาเจตสิก ที่ในวิจิกิจฉา สัมปยุตตจิต ๑
             ๗. ถีนกิเลส เศร้าหมองและเร่าร้อนเพราะหดหู่ท้อถอยจากความเพียร องค์ ธรรมได้แก่ ถีนเจตสิก ที่ในอกุสลสสังขาริกจิต ๕
             ๘. อุทธัจจกิเลส เศร้าหมองและเร่าร้อนเพราะเกิดฟุ้งซ่านไปในอารมณ์ต่างๆ องค์ธรรมได้แก่ อุทธัจจเจตสิก ที่ในอกุสลจิต ๑๒
             ๙. อหิริกกิเลส เศร้าหมองและเร่าร้อนเพราะไม่ละอายในการกระทำบาป องค์ธรรมได้แก่ อหิริกเจตสิก ที่ในอกุสลจิต ๑๒
            ๑๐. อโนตตัปปกิเลส เศร้าหมองและเร่าร้อนเพราะไม่เกรงกลัวผลของการ กระทำบาป องค์ธรรมได้แก่ อโนตตัปปเจตสิก ที่ในอกุสลจิต ๑๒


หน้า ๑๘

             รวมกิเลสมี ๑๐ องค์ธรรมก็คง ๑๐ เท่ากัน ชื่อของกิเลสและชื่อขององค์ ธรรมก็ตรงกัน
         โสดาปัตติมัคค ประหาร ทิฏฐิ และ วิจิกิจฉา
         อนาคามิมัคค ประหาร โทสะ
         อรหัตตมัคค ประหาร กิเลสที่เหลือคือ โลภะ โมหะ มานะ ถีนะ อุทธัจจะ อหิริกะ และอโนตตัปปะ ได้ทั้งหมด

สรุปอกุสลสังคหะทั้ง ๙ กอง

        เจตสิกที่เหลือนอกนั้นอีก ๖ คือ มิทธะ กุกกุจจะ อิสสา มัจฉริยะ อหิริกะ และ อโนตตัปปะ ต่างก็มีแต่ละกอง
เดียวเท่านั้น

กิเลส ๑๕๐๐


หน้า ๑๙

         อารัมมณธรรม คือ ธรรมที่เป็นอารมณ์ ๑๕๐ คูณด้วยกิเลส ๑๐ จึงเป็นกิเลส โดยพิสดาร ๑,๕๐๐
         ที่แสดงกิเลส ๑,๕๐๐ นี้ เป็นการแสดงกิเลสตามธรรมที่เป็นอารมณ์ ทั้งภาย ในและภายนอก
         อีกนัยหนึ่ง จำแนกกิเลสออกตามอาการของกิเลส ก็จำแนกได้เป็น ๓ จำพวก คือ
         ก. อนุสยกิเลส ได้แก่ กิเลสที่ตามนอนเนื่องอยู่ในสันดาน หมายความว่า กิเลสจำพวกนี้นอนสงบนิ่งอยู่ ยังไม่ได้ลุกขึ้นมาแผลงฤทธิ์ ซึ่งตัวเองก็ไม่สามารถรู้ ได้ และคนอื่นก็ไม่สามารถรู้ได้
         ข. ปริยุฏฐานกิเลส ได้แก่ กิเลสที่เกิดอยู่ภายใน หมายความว่า กิเลสจำพวก นี้เกิดอยู่ในมโนทวารเท่านั้น คือลุกขึ้นมาแผลงฤทธิ์อยู่ในใจ ยังไม่ถึงกับแสดง ออกมาทางวาจาหรือทางกาย ซึ่งตัวเองรู้ ส่วนคนอื่นบางทีก็รู้บางทีก็ไม่รู้
         ค. วีติกกมกิเลส ได้แก่ กิเลสที่เกิดขึ้นภายนอก หมายความว่า กิเลสจำพวก นี้ได้ล่วงออกมาแล้วถึงกายทวาร หรือวจีทวาร อันเป็นการลุกขึ้นมาแผลงฤทธิ์อย่าง โจ่งแจ้ง

ตัณหา ๑๐๘

         อารมณ์ตัณหา ๖ คือรูปตัณหา ๑, สัททตัณหา ๑, คันธตัณหา ๑, รสตัณหา ๑, โผฏฐัพพตัณหา ๑ และ
ธัมมตัณหา ๑
         ปวัตติอาการ คือ อาการที่เป็นไป ๓ ได้แก่ กามตัณหา ๑ ภวตัณหา ๑ และ วิภวตัณหา ๑
         อารมณ์ตัณหา ๖ คูณด้วยปวัตติอาการ ๓ เป็นตัณหา ๑๘
         ตัณหา ๑๘ นี้ เกิดที่สัณฐานใน คือ เกิดภายใน ๑ และเกิดที่สัณฐานนอก คือ เกิดภายนอก ๑ รวมเป็น ๒
คูณกับตัณหา ๑๘ นั้น เป็นตัณหา ๓๖
         ตัณหา ๓๖ นี้ เกิดได้ในกาลทั้ง ๓ คือ ปัจจุบันกาล ๑ อดีตกาล ๑ และ อนาคตกาล ๑ เอากาลทั้ง ๓ นี้คูณ
ตัณหา ๓๖ นั้นอีก จึงรวมเป็นตัณหา ๑๐๘


หน้า ๒0

อุปกิเลส ๑๖

         เครื่องเศร้าหมอง อีกนัยหนึ่ง มีชื่อว่า อุปกิเลส มีจำนวน ๑๖ คือ
         ๑. อภิชฌาวิสมโลภะ เพ่งเล็งอยากได้ของเขา องค์ธรรม โลภะ
         ๒. โทสะ ร้ายกาจ ทำลาย องค์ธรรม โทสะ
         ๓. โกธะ โกรธ เดือดดาล องค์ธรรม โทสะ
         ๔. อุปนาหะ ผูกโกรธไว้ องค์ธรรม โทสะ
         ๕. มักขะ ลบหลู่คุณท่าน องค์ธรรม ทิฏฐิ
         ๖. ปลาสะ ตีเสมอ ยกตนเทียมท่าน องค์ธรรม มานะ
         ๗. อิสสา ริษยา องค์ธรรม อิสสา
         ๘. มัจฉริยะ ตระหนี่ องค์ธรรม มัจฉริยะ
         ๙. มายา มารยา เจ้าเล่ห์ องค์ธรรม โลภะ
        ๑๐. สาเถยยะ โอ้อวด องค์ธรรม มานะ
        ๑๑. ถัมภะ หัวดื้อ องค์ธรรม มานะ
        ๑๒. สารัมภะ แข่งดี องค์ธรรม มานะ
        ๑๓. มานะ ถือตัว องค์ธรรม มานะ
        ๑๔. อติมานะ ดูหมิ่นท่าน องค์ธรรม มานะ
        ๑๕. มทะ มัวเมา องค์ธรรม โมหะ
         ๑๖. ปมาทะ เลินเล่อ องค์ธรรม โมหะ

๒. มิสสกสังคหะ

         กุสลากุสลาพฺยากต มิสฺสกานํ เหตุฉกฺกาทีนํ สงฺคโหติ ฯ ธรรมคือเหตุ ๖ เป็นต้น ที่สงเคราะห์ลงปะปน
กันได้ทั้งในกุสล อกุสล อพยากตะนั้น เรียกว่า มิสสก สังคหะ
         มีความหมายว่า ธรรมบางประการเช่นเหตุ ๖ เป็นต้น เป็นธรรมที่เจือปน ระคนกันกับกุสล อกุสล และอพยากตะ
ก็ได้ ดังนั้นจึงได้รวบรวมธรรมเหล่านั้น อันมีเหตุ ๖ เป็นต้น มาแสดงไว้โดยย่อในมิสสกสังคหะนี้