หน้า ๓๑

         ๙. มนินทรีย์ เป็นใหญ่เป็นประธาน ในการนำธรรมทั้งหลายให้เป็นไปใน อารมณ์นั้น ๆ (ธรรมทั้งหลายในที่นี้
หมายถึงเจตสิก) องค์ธรรมได้แก่ จิต ๘๙ หรือ ๑๒๑
        ๑๐. สุขินทรีย์ เป็นใหญ่ในการแสดงออกซึ่งความสบายกายในขณะที่ประสบ กับอิฏฐารมณ์ทางกายทวาร
องค์ธรรมได้แก่ เวทนาเจตสิก ที่ใน สุขสหคตกาย วิญญาณจิต ๑
        ๑๑. ทุกขินทรีย์ เป็นใหญ่ในการแสดงออกซึ่งความไม่สบายกาย ในขณะที่ ประสบกับอนิฏฐารมณ์ทางกายทวาร องค์ธรรมได้แก่ เวทนาเจตสิก ที่ในทุกข สหคตกายวิญญาณจิต ๑
        ๑๒. โสมนัสสินทรีย์ เป็นใหญ่ในการแสดงออกซึ่งความสุขใจ ในขณะที่ได้ เสวยอารมณ์ที่ถูกใจที่ชอบใจทาง
มโนทวาร องค์ธรรมได้แก่ เวทนาเจตสิก ที่ใน โสมนัสสหคตจิต ๖๒
        ๑๓. โทมนัสสินทรีย์ เป็นใหญ่ในการแสดงออกซึ่งความทุกข์ใจ ในขณะที่ เสวยอารมณ์ที่ไม่ถูกใจ ที่ไม่ชอบใจทางมโนทวาร องค์ธรรมได้แก่ เวทนาเจตสิก ที่ในโทสมูลจิต ๒
        ๑๔. อุเบกขินทรีย์ เป็นใหญ่ในการแสดงออกซึ่งความเป็นอุเบกขา คือ ไม่ ทุกข์ไม่สุข องค์ธรรมได้แก่
เวทนาเจตสิก ที่ในอุเบกขาสหคตจิต ๕๕
        ๑๕. สัทธินทรีย์ เป็นใหญ่ในการยังความเชื่อความเลื่อมใส ในอารมณ์ที่เป็น ฝ่ายดีงาม องค์ธรรมได้แก่
สัทธาเจตสิก ที่ในโสภณจิต ๕๙ หรือ ๙๑
        ๑๖. วิริยินทรีย์ เป็นใหญ่ในการยังความเพียรในอารมณ์ทั้ง ๖ ที่เป็นกุสล และอกุสล องค์ธรรมได้แก่
วิริยเจตสิก ที่ในวิริยสหคตจิต ๗๓ หรือ ๑๐๕
        ๑๗. สตินทรีย์ เป็นใหญ่ในการระลึกรู้ในอารมณ์ (เฉพาะที่เป็นฝ่ายดีงาม ฝ่ายชอบ ฝ่ายกุสล) ที่ตนต้องการ องค์ธรรมได้แก่ สติเจตสิก ที่ในโสภณจิต ๕๙ หรือ ๙๑
        ๑๘. สมาธินทรีย์ เป็นใหญ่ในการทำให้จิตเป็นสมาธิ ตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์ที่ ตนต้องประสงค์ องค์ธรรมได้แก่ เอกัคคตาเจตสิก ที่ในวิริยจิต ๗๒ หรือ ๑๐๔ (เว้นวิจิกิจฉาสหคตจิต ๑)
        ๑๙. ปัญญินทรีย์ เป็นใหญ่ในการรู้ตามความเป็นจริง ทำลายความหลง ความเข้าใจผิดในสภาวธรรม
องค์ธรรมได้แก่ ปัญญาเจตสิก ที่ในติเหตุกจิต ๔๗ หรือ ๗๙ อีกนัยหนึ่งแสดงว่า องค์ธรรมของปัญญินทรีย์นี้ได้แก่
ปัญญาเจตสิก ที่ใน ญาณสัมปยุตตกามจิต ๑๒ และในมหัคคตจิต ๒๗ รวม ๓๙ ดวงเท่านั้น


หน้า ๓๒

        ๒๐. อนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์ เป็นใหญ่ในการรู้อริยสัจจธรรมเป็นครั้ง แรก ปรากฏว่าสิ่งที่ไม่เคยรู้เคยเห็น ก็ได้มารู้มาเห็นเป็นอัศจรรย์ปานนี้ องค์ธรรม ได้แก่ ปัญญาเจตสิก ที่ในโสดาปัตติมัคคจิต ๑
        ๒๑. อัญญินทรีย์ เป็นใหญ่ในการรู้ธรรมที่โสดาปัตติมัคคจิต เคยรู้เคยเห็นมา แล้วนั้น จนภิญโญยิ่งขึ้นไปอีก องค์ธรรมได้แก่ ปัญญาเจตสิก ที่ในมัคคเบื้องบน ๓ ผลเบื้องต่ำ ๓
         มัคคเบื้องบน ๓ นั้นได้แก่ สกทาคามิมัคคจิต ๑ อนาคามิมัคคจิต ๑ และ อรหัตตมัคคจิต ๑
         ผลเบื้องต่ำ ๓ นั้นได้แก่ โสดาปัตติผลจิต ๑ สกทาคามิผลจิต ๑ และอนาคา มิผลจิต ๑
        ๒๒. อัญญาตาวินทรีย์ เป็นใหญ่ในการรู้แจ้งในธรรมที่สุดแห่งทุกข์ ที่สุด แห่งโสฬสกิจ กิจที่จะต้องรู้ต้อง
ศึกษาอีกนั้นไม่มีแล้ว ทำอาสวะจนสิ้นไม่มีเศษเหลือ แม้แต่น้อยแล้ว องค์ธรรมได้แก่ ปัญญาเจตสิก ที่ในอรหัตตผลจิต ๑ อินทรีย์มี ๒๒ แต่องค์ธรรมมีเพียง ๑๖ เท่านั้น คือ จักขุปสาทรูป โสต ปสาทรูป ฆานปสาทรูป ชิวหาปสาทรูป
กายปสาทรูป อิตถีภาวรูป ปุริสภาวรูป ชีวิตรูป ชีวิตินทรีย์เจตสิก จิต เวทนาเจตสิก สัทธาเจตสิก วิริยเจตสิก สติเจตสิก เอกัคคตาเจตสิก และปัญญาเจตสิก
         อินทรีย์ ๒๒ นี้ ที่เป็นรูปธรรมอย่างเดียว มี ๗ คือ ตั้งแต่จักขุนทรีย์ ถึง ปุริสินทรีย์ เป็นทั้งรูปธรรมและนามธรรม
มี ๑ คือ ชีวิตินทรีย์
         เป็นนามธรรมอย่างเดียว มี ๑๔ คือ ตั้งแต่ มนินทรีย์ ถึงอัญญาตาวินทรีย์
         อินทรีย์ ๒๒ นี้ ที่เป็นโลกียฝ่ายเดียวนั้นมี ๑๐ คือ จักขุนทรีย์ โสตินทรีย์ ฆานินทรีย์ ชิวหินทรีย์ กายินทรีย์ อิตถินทรีย์ ปุริสินทรีย์ สุขินทรีย์ ทุกขินทรีย์ โทมนัสสินทรีย์
         เป็นโลกุตตรฝ่ายเดียว มีเพียง ๓ คือ อนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์ อัญญินทรีย์ และ อัญญาตาวินทรีย์
         เป็นทั้งโลกียและโลกุตตร มี ๙ คือ อินทรีย์ที่เหลือทั้งหมด


หน้า ๓๓

         อนึ่งข้อสังเกตในการแสดงองค์ธรรม ที่กล่าวไว้ตอนท้ายแห่งฌานังคะ ๗ นั้น มีความเกี่ยวแก่อินทรีย ๒๒ นี้อยู่ ๒ ประโยค คือ
         เอกัคคตาเจตสิกในอวีริยจิต ๑๖ ย่อมไม่ถึงซึ่งสมาธินทรีย์ ประโยคหนึ่ง และ
         เอกัคคตาเจตสิกในวิจิกิจฉาสัมปยุตตจิต ย่อมไม่ถึงซึ่งสมาธินทรีย์ อีกประโยค หนึ่ง
         อวีริยจิตคือ จิตที่ไม่มีวิริยเจตสิกประกอบ มีจำนวน ๑๖ ดวง ได้แก่ ทวิปัญจ วิญญาณ ๑๐ สัมปฏิจฉนจิต ๒
สันตีรณจิต ๓ และ ปัญจทวาราวัชชนจิต อีก ๑ นั้น ก็คือ อเหตุกจิต ๑๖ เว้นมโนทวาราวัชชนจิต ๑ หสิตุปปาทจิต ๑
เพราะจิต ๒ ดวงนี้ มีวิริยเจตสิกประกอบ
         มีอธิบายว่า เอกัคคตาเจตสิกที่ในอวีริยจิต ๑๖ เป็นเอกัคคตาที่ใน อเหตุกจิต อเหตุกจิตเป็นจิตที่ไม่มีสัมปยุตตเหตุ จึงมีกำลังน้อย กำลังอ่อน เอกัคคตาเจตสิกที่ ประกอบก็มีกำลังน้อยกำลังอ่อนไปตามฐานะของจิตนั้นด้วย ซ้ำยังไม่มีวิริยะ คือ ความกล้าความเพียรมาช่วยส่งเสริมอุดหนุนอีกด้วยดังนี้ จะครองความเป็นใหญ่ได้ อย่างไร เมื่อไม่สามารถจะเป็นใหญ่ได้ จึงไม่จัดเป็นอินทรีย์
         ส่วนเอกัคคตา ที่ในวิจิกิจฉาสัมปยุตตจิตนั้น ก็เป็นจิตที่ลังเล สงสัยไม่แน่ใจ ลักษณะเช่นนี้ จึงไม่สามารถ
ที่จะเป็นผู้ปกครองหรือครองความเป็นใหญ่ได้ ดังนั้นจึง ไม่นับเป็นอินทรีย์

มิสสกสังคหะกองที่ ๕ พละ ๙

         อกมฺปนฏฺเฐน พลํ ฯ ธรรมที่ชื่อว่า พละ เพราะอรรถว่า ไม่หวั่นไหว
         พลียนฺติ อุปฺปนฺเน ปฏิปกฺขธมฺเมสหนฺติ มทฺทนฺตีติ พลานิ ฯ ธรรมที่เกิด ขึ้นเป็นกำลังให้ต่อสู้ ทำลาย
ซึ่งปฏิปักษ์ นั่นแหละชื่อว่า พละ
         รวมมีความหมายว่า กำลังหรือพลังที่นำสัมปยุตตธรรม ที่เกิดร่วมกับตนให้ เข้มแข็งในอันที่จะกระทำความดี
หรือความชั่วนั้น ชื่อว่า พละ ดังนั้น พละ จึงมีทั้ง กุสลพละ และอกุสลพละ
         อกุสลพละ มีกำลังอดทนไม่หวั่นไหวต่อกุสลธรรมแต่อย่างเดียว ไม่มีกำลังถึง กับจะย่ำยีกุสลธรรมอันเป็น
ปฏิปักษ์กับตนได้
         ส่วน กุสลพละ มีกำลังอดทนไม่หวั่นไหวต่ออกุสลธรรมด้วย และมีกำลังย่ำยี อกุสลธรรมอันเป็นปฏิปักษ์กับ
ตนได้อีกด้วย


หน้า ๓๔

         กำลังย่ำยีในที่นี้หมายถึงการประหาร ถ้าประหารได้ชั่วครู่ชั่วขณะ ก็เรียกว่า ตทังคปหาน ประหารได้เป็น
เวลาอันยาวนาน ก็เรียกว่า วิกขัมภนปหาน จนกระทั่ง ประหารได้โดยเด็ดขาด ก็เรียกว่า สมุจเฉทปหาน
         กำลังแห่งพละในขั้นกามกุสล ก็ประหารปฏิปักษ์ได้เพียงตทังคปหานเท่านั้น กำลังแห่งพละในขั้นมหัคคตกุสล ก็ประหารปฏิปักษ์ได้ถึง วิกขัมภนปหาน ส่วน กำลังแห่งพละในขั้นโลกุตตรกุสลนั้น ประหารปฏิปักษ์ได้เด็ดขาดแน่นอน
ไปเลย ซึ่ง เป็นการประหารอย่างสูงสุด อันเรียกว่า สมุจเฉทปหาน

พละ มี ๙ ประการ คือ
         ๑. สัทธาพละ มีความเชื่อถือเลื่อมใสเป็นกำลัง องค์ธรรมได้แก่ สัทธาเจตสิก ที่ในโสภณจิต ๕๙ หรือ ๙๑
         ๒. วิริยพละ มีความเพียรความกล้าเป็นกำลัง องค์ธรรมได้แก่ วิริยเจตสิก ที่ ในจิต ๗๓ หรือ ๑๐๕
(เว้นอวีริยจิต ๑๖)
         ๓. สติพละ มีความระลึกได้ในอารมณ์ที่เป็นฝ่ายดี เป็นกำลัง องค์ธรรมได้แก่ สติเจตสิก ที่ในโสภณจิต ๕๙
หรือ ๙๑
         ๔. สมาธิพละ มีความตั้งใจมั่นเป็นกำลัง องค์ธรรมได้แก่ เอกัคคตาเจตสิก ที่ในวิริยจิต ๗๒ หรือ ๑๐๔
(เว้นวิจิกิจฉาจิต ๑)
         ๕. ปัญญาพละ มีปัญญาคือความรู้ที่ถูกต้องตามสภาวธรรมเป็นกำลัง องค์ ธรรมได้แก่ ปัญญาเจตสิก ที่ใน
ติเหตุกจิต ๔๗ หรือ ๗๙
         ๖. หิริพละ มีความละอายต่อบาปเป็นกำลัง องค์ธรรมได้แก่ หิริเจตสิก ที่ใน โสภณจิต ๕๙ หรือ ๙๑
         ๗. โอตตัปปพละ มีความเกรงกลัวต่อผลของบาปเป็นกำลัง องค์ธรรมได้แก่ โอตตัปปเจตสิก ที่ในโสภณจิต
๕๙ หรือ ๙๑
         ๘. อหิริกพละ มีความไม่ละอายต่อบาปเป็นกำลัง องค์ธรรมได้แก่ อหิริก เจตสิก ที่ในอกุสลจิต ๑๒
         ๙. อโนตตัปปพละ มีความไม่เกรงกลัวต่อผลของบาปเป็นกำลัง องค์ธรรม ได้แก่ อโนตตัปปเจตสิก ที่ใน
อกุสลจิต ๑๒


หน้า ๓๕

         พละ มี ๙ ประการ องค์ธรรมก็มี ๙ องค์ ชื่อของพละกับชื่อขององค์ธรรม ก็ตรงกัน
         อหิริกพละและอโนตตัปปพละเป็นกำลังในฝ่ายชั่วแต่อย่างเดียวเท่านั้น
         สัทธาพละ สติพละ ปัญญาพละ หิริพละ และโอตตัปปพละ เป็นกำลังใน ฝ่ายดีแต่อย่างเดียว
         ส่วนวิริยพละ และสมาธิพละ เป็นกำลังได้ทั้งในฝ่ายดีและฝ่ายชั่วปะปนกันทั้ง ๒ อย่าง
         อนึ่งข้อสังเกตในการแสดงองค์ธรรม ที่ได้กล่าวมาแล้วในตอนต้นนั้น มีความ เกี่ยวแก่ พละ ๙ นี้อยู่ ๒ ประโยค คือ
         เอกัคคตาเจตสิก ที่ในอวีริยจิต ๑๖ ย่อมไม่ถึงซึ่ง สมาธิพละ ประโยคหนึ่ง และ
         เอกัคคตาเจตสิก ที่ใน วิจิกิจฉาจิต ย่อมไม่ถึงซึ่ง สมาธิพละ อีกประโยคหนึ่ง
         ข้อความทั้ง ๒ ประโยคนี้ ก็มีเหตุผลที่จะอธิบายได้เป็นทำนองเดียวกันกับที่ ได้อธิบายไว้แล้วในอินทรีย์ ๒๒ นั้นเอง จึงจะไม่กล่าวซ้ำในที่นี้อีก
         มิสสกสังคหะนี้จำแนกเป็น ๗ กอง ได้กล่าวมาแล้ว ๕ กอง ยังเหลืออีก ๒ กอง มีคาถาสังคหะเป็นคาถาที่ ๕
แสดงว่า

         ๕. จตฺตาโรธิปตี วุตฺตา                    ตถาหาราติ สตฺตธา
             กุสลาทิสมากิณฺโณ                      วุตฺโต มิสฺสกสงฺคโห ฯ

         แปลความว่า อธิบดี มี ๔ อาหารก็มี ๔ เหมือนกัน ในมิสสกสังคหะนี้แสดงไว้ ๗ กอง โดยกุสล อกุสล อพยากตะ เจือปนกัน

มิสสกสังคหะกองที่ ๖ อธิปติ ๔

         อธิโก ปติ อธิปติ ฯ ธรรมที่ใหญ่ยิ่ง ชื่อว่า อธิปติ
         อธินานํ ปติ อธิปติ ฯ ธรรมที่เป็นใหญ่ยิ่งกว่าธรรมที่ร่วมกับตนนั้น ชื่อว่า อธิบดี
         ธรรมที่เป็นใหญ่ยิ่งกว่าสหชาตธรรม (ธรรมที่เกิดพร้อมกับตน) นั้น ชื่อว่า อธิบดี เพราะเป็นบุพพาภิสังขาร สิ่งใดจะไม่เป็นผลสำเร็จแก่ผู้มีฉันทะเป็นไม่มี


หน้า ๓๖

         เมื่อมีฉันทะ แล้ว สิ่งใดจะไม่สำเร็จ เป็นไม่มี
         เมื่อมี วิริยะ แล้ว สิ่งใดจะไม่สำเร็จ เป็นไม่มี
         เมื่อมี ใจจดจ่อ แล้ว สิ่งใดจะไม่สำเร็จ เป็นไม่มี
         เมื่อมี ปัญญา แล้ว สิ่งใดจะไม่สำเร็จ เป็นไม่มี
         รวมความว่า อธิปติ หรืออธิบดี นี้ เป็นธรรมที่ใหญ่ยิ่ง เป็นประธาน เป็นผู้นำ ความสำเร็จมาให้จงได้เป็นแน่นอน เมื่อมีอธิปติแล้ว สิ่งใดที่จะไม่เป็นผลสำเร็จนั้น ไม่มีเลย
         อินทรีย์ ที่ได้กล่าวแล้วในมิสสกสังคหะกองที่ ๔ ก็ว่าเป็นใหญ่และอธิปติ ที่กล่าวถึง ณ บัดนี้ก็ว่าเป็นใหญ่อีก แต่ว่าแตกต่างกัน คือ
         อินทรีย์เป็นใหญ่ แต่ไม่ยิ่ง เพราะเป็นใหญ่ที่จำกัดอยู่ในกิจการอันเป็นหน้าที่ โดยตรงของตนโดยเฉพาะๆ เท่านั้น ในจิตดวงหนึ่ง ๆ ย่อมมีสภาวธรรมเกิดร่วมด้วย หลายอย่าง มีกิจการงานหลายหน้าที่ ก็มีอินทรียได้หลายอินทรีย์ ต่างก็เป็นใหญ่ใน หน้าที่ของตน ๆ ไม่ก้าวก่ายกัน ไม่ขัดแย้งกันแต่อย่างใด เพราะต่างก็ทำงานต่างกัน
         ส่วน อธิปติ นั้น เป็นใหญ่ยิ่ง เป็นผู้นำในสภาวธรรมที่เกิดร่วมกันนั้น ในกิจ การงานอันเป็นส่วนรวมทั้งหมด ไม่เฉพาะแต่ในกิจการงานอันเป็นหน้าที่ของผู้หนึ่ง ผู้ใดแต่ผู้เดียว เมื่อเป็นใหญ่ยิ่งถึงกับเป็นผู้นำในกิจการนั้นอันเป็นส่วน
รวมแล้ว การ งานในหน้าที่โดยเฉพาะของธรรมอื่น ๆ ที่เกิดพร้อมกันนั้น ก็ต้องดำเนินให้เป็นไป ให้คล้อยไปตามวัตถุ
ประสงค์ของผู้เป็นใหญ่ ผู้เป็นประธานนั้นอีกด้วย ดังนั้น อธิปติ จึงมีได้เป็นได้เกิดได้ในกิจการงานอย่างหนึ่งเพียงครั้งละ
๑ เท่านั้น เพราะว่าถ้าการ งานอย่างเดียวจะมีผู้เป็นใหญ่ เป็นประธานหรือเป็นผู้นำหลายคน ก็อาจจะทำให้กิจการนั้น ไม่เป็นไปตามความมุ่งหมาย
         อธิปติ มี ๔ ประการ คือ
         ๑. ฉันทาธิปติ ความเต็มใจ ปลงใจกระทำ เป็นใหญ่ให้เกิดความสำเร็จ องค์ธรรมได้แก่ ฉันทเจตสิก ที่ใน สาธิปติชวนจิต ๕๒


หน้า ๓๗

         ๒. วิริยาธิปติ ความเพียรพยายามเป็นใหญ่ให้เกิดความสำเร็จ องค์ธรรม ได้แก่ วิริยเจตสิก ที่ใน
สาธิปติชวนจิต ๕๒
         ๓. จิตตาธิปติ จิต (คือ ความเอาจิตใจจดจ่อ) เป็นใหญ่ให้เกิดความสำเร็จ องค์ธรรมได้แก่ ทวิเหตุกชวนจิต ๑๘
และ ติเหตุกชวนจิต ๓๔ รวมเป็น สาธิปติ ชวนจิต ๕๒
         ๔. วิมังสาธิปติ ปัญญาเป็นใหญ่ให้เกิดความสำเร็จ องค์ธรรมได้แก่ ปัญญา เจตสิก ที่ใน ติเหตุกชวนจิต ๓๔          
ดังนี้จะเห็นได้ว่า ธรรมที่จะเป็นอธิบดีได้นั้นต้องเป็นชวนจิต และต้องเป็น ชวนจิตที่มีเหตุ ๒ กับชวนจิตที่มีเหตุ ๓ เท่านั้น ซึ่งรวมเรียกว่า สาธิปติชวนจิต แปลว่า ชวนจิตที่มีอธิบดีได้ มีรายละเอียดดังนี้

ชวนจิต ๕๕

มิสสกสังคหะกองที่ ๗ อาหาร ๔

         อาหารนฺตีติ อาหารา ฯ ธรรมที่เป็นเหตุอุดหนุนส่งเสริมให้เกิดผล ธรรม นั้นแหละชื่อว่า อาหาร
         ธรรมใด นำมาซึ่งรูปอันเกิดจากโอชา, นำมาซึ่งเวทนา, นำมาซึ่งปฏิสนธิ วิญญาณ และนำมาซึ่งเจตสิกกับ
กัมมชรูป ธรรมนั้น ๆ ชื่อว่า อาหาร


หน้า ๓๘

         อาหาร มี ๔ ประการ คือ
         ๑. กพฬีการาหาร นำมาซึ่งรูปอันเกิดจากโอชา คือ ข้าว น้ำ ขนม นม เนย นี่แหละทำให้เกิด
อาหารชสุทธัฏฐกกลาปในสันดานของสัตว์ทั้งหลาย มีมนุษย์เป็นต้น เป็นอาหารแห่งรูปกายของสัตว์ หล่อเลี้ยงและทำ
ความเจริญให้แก่ร่างกายของ สัตว์ ถ้าขาดอาหารเสียแล้ว รูปกายของสัตว์ก็จะพลันพินาศลง ดำรงคงอยู่สืบไป ไม่ได้ องค์ธรรมของกพฬีการาหารนั้น ได้แก่ โอชาที่อยู่ในอาหารต่าง ๆ ก็คือ อาหารรูปนั่นเอง กพฬีการาหารเป็นรูปปรมัตถ กพฬีการาหารนี้บางทีก็เรียกว่า กวฬีงการาหาร
         ๒. ผัสสาหาร นำมาซึ่งเวทนา คือ การเสวยอารมณ์เป็นสุขบ้างทุกข์บ้าง ไม่ ทุกข์ไม่สุขบ้าง ให้เกิดขึ้น องค์ธรรมได้แก่ ผัสสเจตสิก ที่ในจิตทั้งหมด เวทนาทั้ง หลายนั้น ถ้าไม่มีผัสสะแล้ว ก็ไม่เกิดขึ้น เพราะผัสสะนี่แหละ
เป็นเหตุให้เกิดเวทนา จึงว่าผัสสะเป็นอาหารของเวทนา ผัสสาหารเป็นเจตสิกปรมัตถ
         ๓. มโนสัญเจตนาหาร นำมาซึ่งปฏิสนธิวิญญาณ คือ การเกิดเป็นมนุษย์ เทวดา พรหม และอบายสัตว์ องค์ธรรมได้แก่ เจตนาเจตสิก ที่ในอกุสลจิต ๑๒ โลกียกุสลจิต ๑๗ เจตนาที่เป็นกุสลอกุสลนี่แหละเป็นเหตุให้เกิด
วิญญาณอันเป็น กุสลวิบากและอกุสลวิบาก ทั้งในปฏิสนธิกาลและในปวัตติกาล ถ้าไม่มีเจตนา คือ กรรมมาปรุงแต่งแล้ว สัตว์ทั้งหลายเมื่อตายแล้วก็ไม่มีการเกิด เมื่อไม่มีการเกิดก็ไม่มี การเห็น การได้ยิน เป็นต้น ดังนั้นเจตนาเจตสิกจึง
ได้ชื่อว่าเป็นมโนสัญเจตนาหาร มโนสัญเจตนาหารนี้เป็นเจตสิกปรมัตถ
         ๔. วิญญาณาหาร นำมาซึ่งเจตสิกและกัมมชรูป องค์ธรรมของวิญญาณา หารได้แก่จิตทั้งหมด จิตทั้งหมดนี่แหละนำมาซึ่งเจตสิก เพราะจิตและเจตสิกต้อง เกิดพร้อมกัน แต่จิตนี้เป็นประธาน จึงกล่าวได้ว่า จิตนำ
มาซึ่งเจตสิก ส่วนกัมมชรูป เป็นรูปที่เกิดจากกรรมอันได้กระทำมาแต่อดีตก็จริง แต่ว่าในภพปัจจุบันนี้ กัมมชรูป ก็เกิดพร้อมกับจิตทุก ๆ ขณะจิต (ในปัญจโวการภูมิ) ดังนั้นก็กล่าวได้ว่า จิตนำมา ซึ่งกัมมชรูป
         มีคำอธิบายอีกนัยหนึ่งว่า จิต คือ วิญญาณ เป็นผู้นำให้เจตสิกและกัมมชรูป เกิดขึ้นนั้นในปฏิสนธิกาล ปฏิสนธิวิญญาณนำให้เจตสิกและกัมมชรูปเกิด ในปวัตติ กาล ปวัตติวิญญาณนำให้เจตสิกเกิดแต่อย่างเดียว เพราะกัมมชรูปไม่ใช่รูปที่เกิดจาก จิต แต่อย่างไรก็ตาม กัมมชรูปที่เกิดในปวัตติกาลก็ดี แม้แต่กัมมชรูปของอสัญญ
สัตตพรหมก็ดี ซึ่งไม่ได้เกิดจากจิตในภพปัจจุบันก็จริง แต่ว่าอาศัยเกิดมาจากกรรมใน อดีตที่เรียกว่า กัมมวิญญาณ
ก็ขึ้นชื่อว่า วิญญาณเหมือนกัน ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่า วิญญาณนำให้เกิดกัมมชรูป วิญญาณาหารนี้เป็นจิตปรมัตถ


หน้า ๓๙

         มิสสกสังคหะกองที่ ๗ อาหาร ๔ นี้ กล่าวโดยสรุปคงได้ความว่า
         กพฬีการาหาร องค์ธรรมได้แก่ อาหารรูป เป็นรูปปรมัตถ ทำให้เกิดอาหาร ชรูป
         ผัสสาหาร องค์ธรรมได้แก่ ผัสสเจตสิก เป็นเจตสิกปรมัตถ ทำให้เกิดเวทนา
         มโนสัญเจตนาหาร องค์ธรรมได้แก่ เจตนาเจตสิก เป็นเจตสิกปรมัตถ ทำให้ เกิดปฏิสนธิวิญญาณ
         วิญญาณาหาร องค์ธรรมได้แก่ จิตทั้งหมด เป็นจิตปรมัตถ ทำให้เกิดเจตสิก และกัมมชรูป

๓. โพธิปักขิยสังคหะ

         โพธิ แปลว่า รู้ มีความหมายถึง รู้การทำให้สิ้นอาสวะ คือรู้ อริยสัจจ ๔ และในโพธิปักขิยสังคหะนี้รวมหมายถึง รู้การทำจิตให้สงบ คือ ถึงฌานด้วย
         ปักขิยะ แปลว่า ที่เป็นฝ่าย
         โพธิปักขิยธรรม จึงมีความหมายว่า ธรรมที่เป็นฝ่ายให้รู้ถึงฌานและให้รู้ถึง มัคคผล เลยแปลกันสั้น ๆ ว่า ธรรมที่เป็นเครื่องให้ตรัสรู้
         โพธิปักขิยสังคหะ เป็นการรวบรวมธรรมที่เป็นเครื่องตรัสรู้มาแสดงโดยย่อ ดังมีคาถาสังคหะที่ ๖ และที่ ๗
แสดงว่า

         ๖. ฉนฺโทจิตฺตมุเปกฺขา จ                      สทฺธา ปสฺสทฺธิปีติโย
            สมฺมาทิฏฺฐิ จ สงฺกปฺโป                      วายาโม วิรติตฺตยํ ฯ

         ๗. สมฺมาสติ สมาธีติ                          จุทฺทเสเต สภาวโต
             สตฺตตีสปฺปเภเทน                          สตฺตธา ตฺตถ สงฺคโห ฯ

         แปลความว่า ฉันทะ ๑, จิต ๑, ตัตรมัชฌัตตุเบกขา ๑, สัทธา ๑, ปัสสัทธิ ๑, ปีติ ๑, สัมมาทิฏฐิ ๑,
สัมมาสังกัปปะ ๑, สัมมาวายามะ ๑, วิรตี ๓, สัมมาสติ ๑ และ สัมมาสมาธิ ๑ รวมสภาวธรรม (หรือองค์ธรรม) ๑๔ นี้
มีธรรม ๓๗ ประการ ด้วยกัน และรวมได้เป็น ๗ กอง นี่แหละเรียกว่า โพธิปักขิยสังคหะ


หน้า ๔0

         มีอธิบายว่า โพธิปักขิยสังคหะนี้ รวบรวมกล่าวถึง โพธิปักขิยธรรม ๗ กอง เป็นธรรม ๓๗ ประการ จึงเรียกว่า โพธิปักขิยธรรม ๓๗ ในธรรม ๓๗ ประการนี้ เมื่อนับเฉพาะองค์ธรรม (ที่ซ้ำกันไม่นับ) ก็ได้องค์ธรรมหรือสภาวธรรม
๑๔ องค์
         อีกนัยหนึ่งแสดงว่า องค์ธรรมมี ๑๕ โดยแยกปัสสัทธิ ๑ ออกเป็น ๒ คือ กายปัสสัทธิ ๑ และ จิตตปัสสัทธิ ๑ เมื่อนับแยกดังนี้จึงเป็น ๑๕
         โพธิปักขิยสังคหะ ๗ กอง เป็นโพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการนั้น ได้แก่
         ๑. สติปัฏฐาน มี ๔ ประการ
         ๒. สัมมัปปธาน มี ๔ ประการ
         ๓. อิทธิบาท มี ๔ ประการ
         ๔. อินทรีย มี ๕ ประการ
         ๕. พละ มี ๕ ประการ
         ๖. โพชฌงค์ มี ๗ ประการ
         ๗. มัคค มี ๘ ประการ

โพธิปักขิยสังคหะกองที่ ๑ สติปัฏฐาน ๔

         สติ คือ ความระลึกรู้อารมณ์ที่เป็นฝ่ายดี ยับยั้งมิให้จิตตกไปในทางชั่ว หรือ ความระลึกได้ที่รู้ทันอารมณ์อัน
เป็นฝ่ายดี
         ปัฏฐาน คือ ความตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์
         ดังนั้น สติปัฏฐาน ก็คือ ความตั้งมั่นในการระลึกรู้อารมณ์ที่เป็นฝ่ายดี มี ความหมายโดยเฉพาะถึงอารมณ์
อันเป็นที่ตั้งมั่นแห่งสติ ๔ ประการคือ กาย เวทนา จิต ธรรม
         สติตั้งมั่นพิจารณากาย เวทนา จิต ธรรมนี้มีจุดประสงค์จำแนกได้เป็น ๒ ทาง คือ
         ๑. สติตั้งมั่นในการพิจารณา บัญญัติ เพื่อให้จิตสงบ ซึ่งเรียกว่า สมถภาวนา มีอานิสงส์ให้บรรลุฌานสมาบัติ
         ๒. สติตั้งมั่นในการพิจารณา รูปนาม เพื่อให้เกิดปัญญาเห็นไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ซึ่งเรียกว่า วิปัสสนาภาวนา มีอานิสงส์ให้บรรลุถึงมัคค ผล นิพพาน
         การกำหนดพิจารณาไตรลักษณ์ ก็เพื่อให้รู้เห็นสภาพตามความเป็นจริงว่า สิ่ง ทั้งหลายล้วนแต่เป็นรูปนามเท่านั้น และรูปนามทั้งหลายเหล่านั้น ก็มีลักษณะเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา หาได้เป็นแก่นสารยั่งยืนเลย จะได้ก้าวล่วงเสียซึ่งความ
เห็นผิด ไม่ให้ติดอยู่ในความยินดียินร้ายอันเป็นการเริ่มต้นที่จะให้ถึงหนทางดับทุกข์ทั้งปวง