หน้า ๖๑
อิทฺธิยา ปาโทติ อิทฺธิปาโท
ฯ ธรรมที่เป็นเหตุให้ถึงซึ่งความสัมฤทธิผลนั้น ชื่อว่า อิทธิบาท
คำว่า สัมฤทธิผล ในที่นี้หมายถึง ความสำเร็จ คือ บรรลุถึงกุสลญาณจิต
และมัคคจิต
ฉนฺโท เอว อิทฺธิปาโทติ ฉนฺทิทฺธิปาโท ฯ ฉันทะเป็นเหตุให้ถึง สัมฤทธิผล
ได้ชื่อว่า ฉันทิทธิบาท
วิริโย เอว อิทฺธิปาโทติ วิริยิทฺธิปาโท ฯ วิริยะเป็นเหตุให้ถึง
สัมฤทธิผล ได้ชื่อว่า วิริยิทธิบาท
จิตฺตญฺเญว อิทฺธิปาโทติ จิตฺติทฺธิปาโท ฯ จิต เป็นเหตุให้ถึง
สัมฤทธิผล ได้ชื่อว่า จิตติทธิบาท
วิมํสา เอว อิทฺธิปาโทติ วิมํสิทฺธิปาโท ฯ วิมังสา คือ ปัญญา
เป็นเหตุให้ถึง สัมฤทธิผล ได้ชื่อว่า วิมังสิทธิบาท
ดังนี้จะเห็นได้ว่าองค์ธรรมของอิทธิบาทนี้ได้แก่ ฉันทะ วิริยะ จิต และปัญญา
ซึ่งเหมือนกับองค์ธรรมของอธิบดี และมีความหมายว่า เป็นไปเพื่อให้กิจการงาน นั้น
ๆ เป็นผลสำเร็จเหมือนกัน ถึงกระนั้นก็ยังมีความแตกต่างกันอยู่ กล่าวคือ
อธิบดีนั้นเป็นไปเพื่อความสำเร็จในกิจการงาน อันเป็น กุสล อกุสล และ อพยากตะ
ได้ทั้งนั้น
ส่วนอิทธิบาทนี้ เป็นไปเพื่อความสำเร็จในกิจการงานอันเป็นกุสล แต่ฝ่าย
เดียว และเป็นกุสลที่จะให้บรรลุถึง
มหัคคตกุสล และโลกุตตรกุสลด้วย
ดังนั้น ฉันทะ วิริยะ จิต(กิริยาจิต) และปัญญา ของพระอรหันต์ จึงไม่ชื่อว่า
อิทธิบาท เพราะพระอรหันต์เป็น
ผู้ที่สัมฤทธิผลจนสุดยอดแล้ว ไม่ต้องทำให้สัมฤทธิ ผลอย่างใด ๆ อีก
ฉันทะ วิริยะ จิต และ ปัญญา ที่อยู่ในโลกุตตรวิบากจิต คือผลจิตนั้นก็ไม่ชื่อ
ว่าอิทธิบาท เพราะผลจิตเป็นจิต
ที่ถึงแล้วซึ่งความสัมฤทธิผล
หน้า ๖๒
อิทธิบาท มี ๔ ประการ
คือ
๑. ฉันทิทธิบาท ความเต็มใจความปลงใจกระทำ เป็นเหตุให้สัมฤทธิผล
องค์ธรรมได้แก่ ฉันทเจตสิก ที่ใน กุสลญาณสัมปยุตตจิต ๑๗
๒. วิริยิทธิบาท ความเพียรพยายามอย่างยิ่งยวด เป็นเหตุให้สัมฤทธิผล
องค์ธรรมได้แก่ วิริยเจตสิก ที่ใน กุสลญาณสัมปยุตตจิต ๑๗
๓. จิตติทธิบาท ความที่มีจิตจดจ่อปักใจอย่างมั่นคง เป็นเหตุให้สัมฤทธิผล
องค์ธรรมได้แก่ จิต คือ กุสลญาณสัมปยุตตจิต ๑๗
๔. วิมังสิทธิบาท ปัญญา เป็นเหตุให้สัมฤทธิผล องค์ธรรมได้แก่ ปัญญา
เจตสิก ที่ใน กุสลญาณสัมปยุตตจิต ๑๗ กิจการงานอันเป็นกุสลที่ถึงซึ่งความสัมฤทธิผลนั้น
ย่อมไม่ปราศจากธรรมทั้ง ๔ ที่เป็นองค์ธรรมของอิทธิบาทนี้
เลย แต่ว่าความเกิดขึ้นนั้นไม่กล้าเสมอกัน บางที ฉันทะกล้า บางทีวิริยะกล้า บางทีจิตกล้า
บางทีก็ปัญญากล้า ถ้าธรรมใด
กล้าแล้ว ก็ เรียกธรรมที่กล้านั่นแต่องค์เดียว ว่าเป็น อิทธิบาท
โพธิปักขิยสังคหะกองที่ ๔ อินทรีย์ ๕
อินทรีย์ในมิสสกสังคหะมี
๒๒ กล่าวถึงความเป็นใหญ่ ความเป็นผู้ปกครอง ในสภาวธรรมที่เกิดร่วมกับตน ไม่ว่าสภาวธรรมนั้นจะเป็น
กุสล อกุสล หรือ อพยากตะ ก็มีอินทรีย ๒๒ นั้นได้ตามควร
ส่วนอินทรีย์ในโพธิปักขิยสังคหะนี้ เป็นความเป็นใหญ่ หรือ ความเป็นผู้
ปกครองในสภาวธรรมที่เป็นฝ่ายดี และเฉพาะฝ่ายดีที่จะให้รู้ให้ถึงซึ่งฌานธรรมและ
อริยสัจจธรรม ดังนั้น อินทรียในโพธิปักขิยสังคหะนี้จึงมีเพียง ๕ ประการ
เรียกว่า อินทรีย์ ๕ คือ
๑. สัทธินทรีย์ เป็นใหญ่ในการยังความสัทธาปสาทในอารมณ์ ที่เป็นฝ่ายดี
องค์ธรรมได้แก่ สัทธาเจตสิก ที่ใน ติเหตุกชวนจิต ๓๔
สัทธา มี ๒ อย่าง คือ ปกติสัทธา และ ภาวนาสัทธา
ปกติสัทธา ได้แก่ ทาน สีล ภาวนา อย่างสามัญของชนทั้งหลาย โดยปกติซึ่ง
สัทธาชนิดนี้ยังไม่แรงกล้า เพราะอกุสลธรรมสามารถทำให้สัทธาเสื่อมไปได้โดยง่าย
ส่วน ภาวนาสัทธา ได้แก่ สมถะหรือวิปัสสนาที่เนื่องมาจากกัมมัฏฐานต่าง
ๆ มี อานาปานสติ เป็นต้น สัทธาชนิดนี้แรงกล้าและแนบแน่นในจิตใจมาก สมถะ ภาวนาสัทธานั้น
อกุสลจะทำให้สัทธาเสื่อมไปได้โดยยาก ยิ่งเป็นวิปัสสนาภาวนา สัทธาแล้วไซร้ อกุสลไม่อาจจะทำให้สัทธานั้นเสื่อมไปได้เลย
ภาวนาสัทธานี่แหละ ที่ได้ชื่อว่า
สัทธินทรีย์
หน้า ๖๓
๒. วิริยินทรีย์ เป็นใหญ่ในการยังความเพียรพยายามอย่างยิ่งยวด
ซึ่งต้องเป็น ความเพียรที่บริบูรณ์ด้วยองค์
ทั้ง ๔ แห่งสัมมัปปธาน จึงจะเรียกได้ว่าเป็น วิริยินทรีย์ ในโพธิปักขิยธรรมนี้
องค์ธรรมได้แก่ วิริยเจตสิก ที่ใน
ติเหตุกชวนจิต ๓๔
๓. สตินทรีย์ เป็นใหญ่ในการระลึกรู้อารมณ์อันเกิดมาจากสติปัฏฐาน
๔ องค์ธรรมได้แก่ สติเจตสิก ที่ใน
ติเหตุกชวนจิต ๓๔
๔. สมาธินทรีย์ เป็นใหญ่ในการทำจิตให้เป็นสมาธิ ตั้งใจมั่นอยู่ในอารมณ์
กัมมัฏฐาน องค์ธรรมได้แก่
เอกัคคตาเจตสิก ที่ใน ติเหตุกชวนจิต ๓๔
๕. ปัญญินทรีย์ เป็นใหญ่ในการให้รู้เห็น รูป นาม ขันธ์ อายตนะ
ธาตุ ว่า เต็มไปด้วยทุกข์โทษภัย เป็น
วัฏฏทุกข์ องค์ธรรมได้แก่ ปัญญาเจตสิก ที่ในติเหตุกชวนจิต ๓๔
อนึ่งเป็นที่น่าสงสัยว่า เหตุใดจึงไม่นับอินทรีย์ ๓ คือ อนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์
อัญญินทรีย์ และ
อัญญาตาวินทรีย์ รวมอยู่ในโพธิปักขิยธรรมกองที่ ๔ นี้ด้วย เหตุที่ไม่นับรวมด้วยนั้น
ก็เพราะว่า
อินทรีย์ ๕ ในโพธิปักขิยธรรมนี้ แสดงความเป็นใหญ่ในอันที่จะให้ถึงซึ่ง
ความตรัสรู้ มัคค ผล นิพพาน
ส่วนอินทรีย์ ๓ ที่กล่าวอ้างนี้ เป็นโลกุตตรอินทรีย์ เป็นอินทรีย์ของพระอริยเจ้า
ผู้ตรัสรู้แล้วถึงแล้ว ซึ่งมัคค ผล
นิพพาน กล่าวอีก นัยหนึ่งว่า โพธิ เป็นตัวรู้ โพธิปักขิยธรรมเป็นเครื่องให้เกิดตัวรู้
อนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์ อัญญินทรีย์ และ อัญญาตาวินทรีย์ ทั้ง ๓ นี้ เป็นตัวรู้
ไม่ใช่เป็นเครื่อง ที่จะให้เกิดตัวรู้ ดังนั้นจึงจัดรวมอยู่ในที่นี้ด้วยไม่ได้
โพธิปักขิยสังคหะกองที่ ๕ พละ ๕
พละในโพธิปักขิยสังคหะนี้
หมายเฉพาะกุสลพละ ซึ่งมีลักษณะ ๒ ประการ คืออดทนไม่หวั่นไหวประการหนึ่ง และย่ำยีธรรมที่เป็นข้าศึกอีกประการหนึ่ง
ดังนั้น พละในโพธิปักขิยธรรม จึงมีเพียง ๕ ประการ คือ
๑. สัทธาพละ ความเชื่อถือเลื่อมใส เป็นกำลังทำให้อดทนไม่หวั่นไหว
และ ย่ำยีตัณหาอันเป็นข้าศึก
องค์ธรรมได้แก่ สัทธาเจตสิก ที่ใน ติเหตุกชวนจิต ๓๔
ปกติสัทธา เป็นสัทธาที่ยังปะปนกับตัณหา หรือเป็นสัทธาที่อยู่ใต้อำนาจของ
ตัณหา จึงยากที่จะอดทนได้ ส่วนมากมักจะอ่อนไหวไปตามตัณหาได้โดยง่าย อย่างที่ ว่า
สัทธากล้า ก็ตัณหาแก่
ส่วน ภาวนาสัทธา ซึ่งเป็นสัทธาที่เกิดมาจากอารมณ์กัมมัฏฐาน จึงอดทน
ไม่หวั่นไหว และย่ำยีหรือตัดขาด
จากตัณหาได้
หน้า ๖๔
๒. วิริยพละ ความเพียรพยายามอย่างยิ่งยวด
เป็นกำลังทำให้อดทนไม่หวั่น ไหว และย่ำยีโกสัชชะ คือความ
เกียจคร้านอันเป็นข้าศึก องค์ธรรมได้แก่ วิริยเจตสิก ที่ในติเหตุกชวนจิต ๓๔
ความเพียรอย่างปกติตามธรรมดาของสามัญชน ยังปะปนกับโกสัชชะอยู่ ขยัน บ้าง
เนือย ๆ ไปบ้าง จนถึงกับ
เกียจคร้านไปเลย แต่ว่าถ้าความเพียรอย่างยิ่งยวด แม้เนื้อจะเหือดเลือดจะแห้ง ก็ไม่ยอมท้อถอยแล้ว
ย่อมจะอดทนไม่
หวั่นไหวไป จนกว่าจะเป็นผลสำเร็จ และย่ำยีความเกียจคร้านได้แน่นอน
๓. สติพละ ความระลึกได้ในอารมณ์สติปัฏฐานเป็นกำลัง ทำให้อดทนไม่
หวั่นไหว และย่ำยี มุฏฐสติ คือ ความพลั้งเผลอหลงลืม อันเป็นข้าศึกองค์ธรรม ได้แก่
สติเจตสิก ที่ใน ติเหตุกชวนจิต ๓๔
๔. สมาธิพละ ความตั้งใจมั่นอยู่ในอารมณ์กัมมัฏฐาน เป็นกำลังให้อดทน
ไม่หวั่นไหว และย่ำยีวิกเขปะ คือ ความฟุ้งซ่าน อันเป็นข้าศึก องค์ธรรมได้แก่ เอกัคคตาเจตสิก
ที่ใน ติเหตุกชวนจิต ๓๔
๕. ปัญญาพละ ความรอบรู้เหตุผลตามความเป็นจริง เป็นกำลัง ทำให้อดทน
ไม่หวั่นไหว และย่ำยีสัมโมหะ คือความมืดมน หลงงมงาย อันเป็นข้าศึก องค์ธรรม ได้แก่
ปัญญาเจตสิก ที่ใน ติเหตุกชวนจิต ๓๔
การเจริญสมถภาวนาก็ดี วิปัสสนาภาวนาก็ดี จะต้องให้พละทั้ง ๕ นี้สม่ำ เสมอกัน
จึงจะสัมฤทธิผล ถ้าพละใด
กำลังอ่อน การเจริญสมถะหรือวิปัสสนานั้น ก็ตั้งมั่นอยู่ไม่ได้ ถึงกระนั้นก็ยังได้ผลตามสมควร
คือ
ก. ผู้มีกำลังสัทธามาก แต่พละอีก ๔ คือ วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา นั้น อ่อนไป
ผู้นั้นย่อมรอดพ้นจากตัณหา
ได้บ้าง โดยมีความอยากได้โภคสมบัติน้อยลง ไม่ถึงกับแสวงหาในทางทุจริต มีความสันโดษ
คือ สนฺตุฏฺฐี พอใจเท่าที่มี
อยู่พอใจ แสวงหาตามควรแก่กำลัง และ พอใจแสวงหาด้วยความสุจริต
หน้า ๖๕
ข. ผู้ที่มีกำลังสัทธาและวิริยะมาก
แต่พละที่เหลืออีก ๓ อ่อนไป ผู้นั้นย่อม รอดพ้นจากตัณหาและโกสัชชะได้ แต่ว่าไม่สามารถที่จะเจริญ
กายคตาสติ และ วิปัสสนาภาวนาจนเป็นผลสำเร็จได้
ค. ผู้ที่มีกำลังสัทธา วิริยะและสติมาก แต่พละที่เหลืออีก ๒ อ่อนไปผู้นั้น
ย่อมสามารถเจริญกายคตาสติได้ แต่ว่าเจริญวิปัสสนาภาวนาไม่สำเร็จได้
ง. ผู้ที่มีกำลังทั้ง ๔ มาก แต่ว่าปัญญาอ่อนไป ย่อมสามารถเจริญฌาน สมาบัติได้
แต่ไม่สามารถเจริญวิปัสสนา
ภาวนาได้
จ. ผู้ที่มีปัญญาพละมาก แต่พละอื่น ๆ อ่อนไป ย่อมสามารถเรียนรู้พระปริยัติ
หรือพระปรมัตถได้ดี แต่ว่า
ตัณหา โกสัชชะ มุฏฐะ และ วิกเขปะ เหล่านี้มีกำลัง ทวีมากขึ้น
ฉ. ผู้ที่มีวิริยะพละและปัญญาพละ เพียง ๒ อย่างเท่านี้ แต่เป็นถึงชนิด
อิทธิบาทโดยบริบูรณ์แล้ว การเจริญ
วิปัสสนาก็ย่อมปรากฏได้
ช. ผู้ที่บริบูรณ์ด้วย สัทธา วิริยะ และสติพละ ทั้ง ๓ นี้ย่อมสามารถที่จะ
ทำการได้ตลอดเพราะ
สัทธาพละ ย่อมประหาร ปัจจยามิสสตัณหาและโลกามิสสตัณหาได้
วิริยพละ ย่อมประหาร โกสัชชะได้ (ความเกียจคร้าน)
สติพละ ย่อมประหาร มุฏฐสติ (ความหลงลืม) ได้
เมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว ต่อจากนั้น สมาธิพละและปัญญาก็จะปรากฏขึ้นตามกำลัง
ตามสมควร
ปัจจยามิสสตัณหา คือ ความติดใจอยากได้ปัจจัย ๔ มี อาหาร เครื่องนุ่งห่ม
ที่อยู่อาศัย และยารักษาโรค
โลกามิสสตัณหา คือ ความติดใจอยากได้โลกธรรม ๔ มี ลาภ ยศ สรรเสริญ และสุข
โพธิยา องฺโค โพชฺฌงฺโค
ฯ องค์ที่เป็นเครื่องให้ตรัสรู้ (อริยสัจจ ๔) นั้นชื่อ ว่า โพชฌงค์
โพธิ เป็นตัวรู้ โพชฌงค์ เป็นส่วนที่ให้เกิดตัวรู้
สิ่งที่รู้อริยสัจจ ๔ นั้นคือ มัคคจิต สิ่งที่เป็นผลแห่งการรู้อริยสัจจ
๔ นั้นคือ ผลจิต
หน้า ๖๖
องค์ที่เป็นเครื่องให้รู้อริยสัจจ
๔ ที่มีชื่อว่า โพชฌงค์ นี้มี ๗ ประการ คือ
๑. สติสัมโพชฌงค์
๒. ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์
๓. วิริยสัมโพชฌงค์
๔. ปิติสัมโพชฌงค์
๕. ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์
๖. สมาธิสัมโพชฌงค์
๗. อุเบกขาสัมโพชฌงค์
๑.
สติสัมโพชฌงค์ คือ สติเจตสิกที่ระลึกรู้อยู่ในอารมณ์สติปัฏฐานทั้ง ๔
ต่อ เนื่องกันมา จนแก่กล้าเป็น
สตินทรีย์ เป็นสติพละ เป็นสัมมาสติ ด้วยอำนาจแห่ง วิปัสสนาภาวนา ย่อมทำลายความประมาทเสียได้
สติอย่างนี้แหละที่เรียกว่า สติสัมโพชฌงค์ มีความสามารถทำให้เกิดมัคคญาณได้
การที่สติจะเป็นถึงสัมโพชฌงค์
ได้นั้น ก็ด้วยมีปัจจัยธรรม คือสิ่งที่อุปการะเกื้อกูล ๔ ประการ คือ
ก. ต้องประกอบด้วยสติสัมปชัญญะ ดังที่ได้กล่าวแล้วข้างต้นในสัมปชัญญบรรพ
ข. ต้องเว้นจากการสมาคมกับผู้ที่ไม่ได้เจริญสติปัฏฐาน
ค. ต้องสมาคมกับผู้ที่เคยเจริญสติปัฏฐาน
ง. ต้องพยายามเจริญสติให้รู้ตัวอยู่ทุก ๆ อารมณ์ และทุก ๆ อิริยาบถ
เมื่อบริบูรณ์ด้วยปัจจัยธรรมเหล่านี้แล้ว สติสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดย่อมเกิดขึ้น
องค์ธรรมของสติสัมโพชฌงค์
ได้แก่ สติเจตสิก ที่ใน ติเหตุกชวนจิต ๓๔
๒. ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ คือ ปัญญาเจตสิกที่รู้รูปนามว่าไม่เที่ยง
เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา จนแก่กล้า เป็นวิมังสิทธิบาท เป็นปัญญินทรีย์ เป็นปัญญาพละ
เป็นสัมมาทิฏฐิ ด้วยอำนาจแห่งวิปัสสนาภาวนา ย่อมทำลาย
โมหะเสียได้ ปัญญาอย่างนี้ แหละที่เรียกว่า ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ มีความสามารถทำให้เกิดมัคคญาณได้
การที่ ปัญญาจะ
เป็นถึงธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ได้นั้น ก็ด้วยมีปัจจัยธรรม คือสิ่งที่อุปการะ เกื้อกูล
๗ ประการ คือ
ก. การศึกษาวิปัสสนาภูมิ ๖ มีขันธ์ ๕ เป็นต้น หรืออย่างน้อยก็ให้รู้รูปรู้นาม
ข. รักษาความสะอาดแห่งร่างกาย ตลอดจนเครื่องอุปโภคบริโภคและที่อยู่อาศัย
หน้า ๖๗
ค. กระทำอินทรีย์ คือสัทธากับปัญญา
และวิริยะกับสมาธิให้เสมอกัน เพราะ ว่า
ถ้าสัทธากล้า กลับทำให้เกิดตัณหา หากว่าสัทธาอ่อน ย่อมทำให้ความเลื่อมใส
น้อยเกินควร
ปัญญากล้า ทำให้เกิดวิจิกิจฉา คือคิดออกนอกลู่นอกทางไป ปัญญาอ่อน ก็ทำให้ไม่เข้าถึงเหตุผลตามความเป็นจริง
วิริยะกล้า ทำให้เกิดอุทธัจจะ คือฟุ้งซ่านไป วิริยะอ่อน ก็ทำให้เกิดโกสัชชะ
คือเกียจคร้าน
สมาธิกล้า ทำให้ติดในความสงบสุขนั้นเสีย สมาธิอ่อน ก็ทำให้ความตั้งใจมั่น
ในอารมณ์นั้นหย่อนไป
ส่วนสตินั้น ไม่มีเกิน มีแต่จะขาดอยู่เสมอ
ที่ว่าสัทธากล้า กลับทำให้เกิดตัณหานั้น เช่น เลื่อมใสเชื่อถืออย่างแรงกล้าใน
ข้อที่ว่า เมื่อเกิดฟุ้งซ่านขึ้นมา ก็กำหนดให้ความฟุ้งนั้น จะสามารถเห็นไตรลักษณ์ได้
จึงเลยนั่งจ้องด้วยความอยากที่จะให้ความฟุ้งซ่านเกิดขึ้นมา จะได้ดูให้สมอยาก ดังนี้
เป็นต้น การเชื่อโดยไม่คิดถึงเหตุถึงผลเช่นนี้ ก็ไม่ทำให้เกิดมีปัญญาขึ้นมาเลย
ในการเจริญสมถภาวนา แม้สมาธิจะมากไปสักหน่อย ก็พอทำเนาเพราะสมถะ นั้น
สมาธิต้องเป็นหัวหน้า ส่วนทางวิปัสสนาภาวนา แม้ปัญญาจะมากไปสักเล็ก น้อย ก็ไม่สู้กระไรนัก
เพราะวิปัสสนาภาวนานั้น ปัญญาจะต้อง
เป็นหัวหน้าผู้นำ
ง. ต้องเว้นจากผู้ไม่มีปัญญา เพราะไม่เคยรู้จักธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ หรือไม่
เคย เจริญวิปัสสนาภาวนา
จ. ต้องสมาคมกับผู้มีปัญญาที่เคยเจริญวิปัสสนา รอบรู้รูปนามดีแล้ว
ฉ. ต้องหมั่นเจริญภาวนาอยู่เนือง ๆ โดยอารมณ์ที่เป็นภูมิของวิปัสสนา
ช. ต้องกำหนดพิจารณารูปนามอยู่ทุกอิริยาบถและทุกอารมณ์
เมื่อบริบูรณ์ด้วยปัจจัยธรรมเหล่านี้แล้ว ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิด
ก็ ย่อมจะเกิดขึ้น
องค์ธรรมของธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ ได้แก่ ปัญญาเจตสิก ที่ใน ติเหตุกชวนจิต
๓๔
๓. วิริยสัมโพชฌงค์ คือ วิริยเจตสิกที่ทำกิจสัมมัปปธานทั้ง
๔ จนแก่กล้า เป็นวิริยิทธิบาท เป็น
วิริยินทรีย์ เป็นวิริยพละ และเป็นสัมมาวายามะ ด้วยอำนาจ
แห่งวิปัสสนาภาวนา ย่อมทำลายโกสัชชะลงได้ วิริยะดังนี้จึงเรียกว่า วิริยสัมโพชฌงค์
การที่วิริยะจะเป็นถึงสัมโพชฌงค์ได้นั้นก็ด้วยมีสิ่งอุปการะเกื้อกูล ๑๑ ประการ
คือ
หน้า ๖๘
ก. พิจารณาให้รู้ถึงโทษภัยในอบายทั้ง
๔ และถ้ามีความประมาทมัวเมาอยู่ ก็จะไม่พ้นไปจากอบายได้ เมื่อรู้อย่าง
นี้ก็จะกระทำความเพียรพยายาม เพื่อให้พ้น อบาย
ข. ให้รู้ผลานิสงส์แห่งความเพียรว่า ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมสำเร็จได้ด้วยความ
เพียร เมื่อรู้อย่างนี้ก็จะกระทำ
ความเพียรโดยไม่ท้อถอย
ค. รู้และเข้าใจว่า การเจริญสติปัฏฐานนี้เป็นทางเดียวที่จะให้พ้นอบาย
และ ให้บรรลุมัคคผล เมื่อรู้อย่างนี้ก็จะ
กระทำความเพียรอย่างยิ่งยวด
ง. พิจารณาให้รู้ว่า การที่ได้รับอามิสบูชา ก็เพราะปฏิบัติธรรมตามควรแก่
ธรรม จึงควรที่จะปฏิบัติด้วยความ
เพียรพยายามให้ยิ่ง ๆ ขึ้น
จ. พิจารณาว่า การที่ได้เกิดมาเป็นมนุษย์ ก็เพราะได้กระทำความดีมาแต่ปาง
ก่อน เป็นโอกาสอันประเสริฐแล้ว
ที่จะเพียรพยายามกระทำความดีให้ยิ่ง ๆ ขึ้นไป กว่านี้อีก ให้สมกับที่ได้ชื่อว่าเป็นผู้มีใจสูง
ฉ. พิจารณาว่า พระพุทธองค์ทรงคุณธรรมอันประเสริฐสุด ก็โดยได้เจริญสติ
ปัฏฐานนี้เอง จึงควรอย่างยิ่งที่เราผู้
ได้ชื่อว่าเป็นพุทธศาสนิกชน จะต้องเพียรพยายาม เจริญสติปัฏฐานตามรอยพระยุคลบาท
ช. พิจารณาว่า สติปัฏฐานนี้เป็นมรดกที่ประเสริฐยิ่งของพระพุทธองค์ เราผู้เป็นพุทธศาสนิกชน
จึงควรบำเพ็ญ
ตนให้สมกับที่จะเป็นทายาทรับมรดกนี้ ด้วยการ เจริญสติปัฏฐาน โดยความเพียรพยายามเป็นอย่างยิ่ง
ซ. พิจารณา ความเพียรพยายาม ของกัลยาณมิตรผู้ร่วมเจริญภาวนาด้วยกัน แล้ว
และทำให้เกิดความ
เพียรพยายามยิ่งเช่นนี้
ฌ. ต้องเว้นจากผู้ที่เกียจคร้าน ไม่มีความขยันหมั่นเพียร
ญ. ต้องสมาคมกับผู้ที่มีความเพียร เพื่อจูงใจให้เกิดความเพียรพยายามยิ่งขึ้น
ฏ. น้อมจิตใจไปสู่การพิจารณารูปนามที่เกิดดับอยู่ในอิริยาบถใหญ่น้อย และ
ในทุก ๆ อารมณ์
เมื่อบริบูรณ์ด้วยปัจจัยเหล่านี้แล้ว วิริยสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดก็ย่อมจะเกิดขึ้น
องค์ธรรมของวิริยสัมโพชฌงค์ ได้แก่ วิริยเจตสิก ที่ใน ติเหตุกชวนจิต ๓๔
หน้า ๖๙
๔.
ปีติสัมโพชฌงค์ คือ ปีติเจตสิกที่มีความอิ่มใจในการเจริญสติปัฏฐาน ผู้ที่
เจริญสติปัฏฐาน เมื่อมีสติ
มีปัญญา จนเกิดความเพียรพยายามอย่างจริงจังแล้ว ย่อม เกิดปีติเป็นธรรมดา ปีติที่เกิดด้วยอำนาจแห่งวิปัสสนา
ภาวนา ย่อมทำลาย อรติ คือ ความไม่ยินดี ที่เป็นเหตุให้เกิดความยินร้าย หรือพยาปาทะเสียได้
ปีติดังนี้จึงได้ชื่อว่า
ปีติสัมโพชฌงค์ การที่ปีติเป็นถึงสัมโพชฌงค์นั้น ย่อมประกอบด้วยธรรมที่อุปการะ
๑๑ ประการ คือ
ก. พุทธานุสสติ ระลึกถึงคุณของ พระพุทธเจ้า
ข. ธัมมานุสสติ ระลึกถึงคุณของ พระธรรม
ค. สังฆานุสสติ ระลึกถึงคุณของ พระสงฆ์
ง. สีลานุสสติ ระลึกถึงคุณของ ศีล
จ. จาคานุสสติ ระลึกถึงคุณของ การเสียสละ
ฉ. เทวดานุสสติ ระลึกถึงคุณของ เทวดา
ช. อุปสมานุสสติ ระลึกถึงคุณของ พระนิพพาน
ซ. เว้นจากผู้ที่ปราศจากสัทธา
ฌ. สมาคมกับผู้ที่มีสัทธา มีเจตนาอันดีงาม
ญ. เรียนพระสูตรที่น่าเลื่อมใส คือ ปสาทนิยสูตร เป็นต้น
ฏ. หมั่นเจริญสติปัฏฐานเนือง ๆ
เมื่อบริบูรณ์ด้วยอุปการะธรรมเหล่านี้ ปีติสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดย่อมจะเกิดขึ้น
องค์ธรรมของปีติสัมโพชฌงค์ ได้แก่ ปีติเจตสิก ที่ใน โสมนัสมหากุสลญาณ
สัมปยุตตจิต ๒
โสมนัสมหากิริยาญาณสัมปยุตตจิต ๒ และ สัปปีติอัปปนาชวนจิต ๓๐ รวมเป็น ๓๔ ดวง
สัปปีติอัปปนาชวนจิต ๓๐ คือ
โลกีย กุสล ปฐมฌาน ๑ ทุติยฌาน
๑ ตติยฌาน ๑
โลกีย กิริยา ปฐมฌาน ๑ ทุติยฌาน ๑ ตติยฌาน ๑
โลกุตตร ปฐมฌาน ๘ ทุติยฌาน ๘ ตติยฌาน ๘
หน้า ๗0
๕.
ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ คือ ปัสสัทธิเจตสิก ที่มีความสงบกายสงบใจในการ เจริญสติปัฏฐาน
ผู้เจริญสติปัฏฐาน เมื่อมีสติ มีปัญญา มีวิริยะอย่างจริงจัง จนเกิด ปีตินั้น ขณะนั้นปีติมีกำลังกล้า
ทำให้จิตใจตื่นเต้นมาก ต่อเมื่ออาการตื่นเ
ต้นในปีติ สงบลงแล้ว ปัสสัทธิก็มีกำลังขึ้น ทำให้จิตและเจตสิกมีความเยือกเย็น สงบ
ประณีต ถ้าอาการอย่างนี้มีมากไป ก็อาจจะทำให้สำคัญคิดผิดไปว่าความสงบนี้แหละ คือพระ
นิพพาน เหตุนี้ปัสสัทธิจึงจัดเป็นวิปัสสนูปกิเลส คือเป็นเครื่อง
เศร้าหมองของ วิปัสสนาประการหนึ่งในจำนวนทั้งหมด ๑๐ ประการ ปัสสัทธิอย่างนี้ไม่ใช่ปัสสัทธิ
สัมโพชฌงค์
ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ต้องเป็นไปในอารมณ์ไตรลักษณ์แห่งรูปนาม ปัสสัทธิที่เกิดขึ้นด้วยอำนาจแห่งวิปัสสนาภาวนา
ย่อม
ทำลายความกระด้างกาย และ ความเร่าร้อนใจเสียได้ ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์จะเกิดได้ด้วยอุปการะธรรม
๗ ประการ คือ
ก. บริโภคอาหารที่สมควร ทั้งปริมาณและคุณภาพ
ข. แสวงหาที่ที่มีอากาศพอเหมาะพอสบาย
ค. ใช้อิริยาบถที่สบาย
ง. พิจารณารู้ว่ากรรมนั่นแหละเป็นที่พึ่งของตน
จ. เว้นจากผู้ที่ไม่มีสีล
ฉ. สมาคมกับผู้ที่มีกาย วาจา ใจ สงบ ไม่ฟุ้งซ่าน
ช. หมั่นเจริญสติปัฏฐานเนือง ๆ
เมื่อบริบูรณ์ด้วยธรรมเหล่านี้แล้ว ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดก็ย่อมจะเกิดขึ้น
องค์ธรรมของปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ได้แก่ ปัสสัทธิเจตสิก ที่ใน ติเหตุกชวน
จิต ๓๔