หน้า ๑
คู่มือการศึกษา
ปัจจยสังคหวิภาค
พระอภิธัมมัตถสังคหะ
ปริจเฉทที่ ๘
นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทธสฺส
ความเบื้องต้น
มหาปัฏฐาน เป็นคัมภีร์หนึ่งในพระอภิธรรมปิฎก
๗ คัมภีร์ เป็นคัมภีร์ที่ว่า ด้วยปัจจัยแห่งปรมัตถธรรม เป็นคัมภีร์ที่ลึกซึ้งมาก
ยากแก่การแสดง และยากที่จะ เข้าใจด้วย พระอนุรุทธาจารย์ เป็นผู้รจนาพระอภิธรรมมัตถ
สังคหะเป็น ๙ ปริจเฉท ได้รวบรวมมหาปัฏฐานมาแสดงโดยย่อในปริจเฉทที่ ๘ และให้ชื่อว่า
ปัจจยสังคหวิภาค
ปัจจัย แปลว่า สิ่งที่อุปการะ เกื้อกูล อุดหนุน จุนเจือ ช่วยเหลือ
ให้ปัจจยุบบันนธรรมเกิดขึ้น
สังคหะ แปลว่า รวบรวมโดยย่อ
วิภาค แปลว่า ส่วน
ดังนั้นปัจจยสังคหวิภาค จึงแปลรวมเป็นใจความว่า ส่วนที่รวบรวม กล่าวโดย
ย่อถึงสิ่งอุปการะช่วยเหลือให้
ปัจจยุบบันนธรรมเกิดขึ้น
ปัจจยุบบันนธรรม คือ สิ่งที่เกิดขึ้นจากปัจจัย ตัวอย่างเช่น หว่านเมล็ด
ข้าวเปลือกลงในนา จึงเกิดเป็น
ต้นข้าวขึ้น เมล็ดข้าวเปลือกนั่นแหละเป็นปัจจัย อุปการะช่วยเหลือให้ต้นข้าวเกิดขึ้น
ต้นข้าวที่เกิดจากเมล็ดข้าวนั้น
เรียกว่า ปัจจยุบบันน และเพราะว่าเมล็ดข้าวเป็นปัจจัย ต้นข้าวเป็นปัจจยุบบันน จึงเลยตีความหมาย
โดยอนุโลม
เพื่อให้เข้าใจกันง่ายๆ สั้นๆ ว่าปัจจัยนั้น คือ เหตุ ปัจจยุบบันนนี้ คือ ผล
หน้า ๒
ก่อนที่จะดำเนินความตาม ปัจจยาการ คือ อาการของปัจจัยนั้น พระอนุรุทธาจารย์ ผู้รจนาพระอภิธัมมัตถสังคหะ ได้ประพันธ์คาถาแสดงคำปฏิญญาของท่านไว้เป็นคาถาที่ ๑ ว่า
๑. เยสํ สงฺขตธมฺมานํ เย
ธมฺมา ปจฺจยา ยถา
ตํ วิภาคมิเหทานิ ปวกฺขามิ ยถารหํ ฯ
แปลความว่า บัดนี้ข้าพเจ้า
(พระอนุรุทธาจารย์) จักแสดงถึง ปัจจัยธรรมทั้งปวง ที่ช่วย อุปการะ ปัจจยุบบันนธรรมทั้งหลาย
โดยจำแนกตามอาการต่าง ๆ ด้วยอำนาจ แห่งเหตุ และด้วยอำนาจแห่งอารมณ์ เป็นต้น
ในปัจจยสังคหะนี้ตามสมควร
ปัจจัยธรรมทั้งปวง คือ ธรรมที่เป็นปัจจัยนั้น หมายถึงธรรมทั้งปวงที่เป็น
สังขตธรรม อสังขตธรรม ตลอดจน
บัญญัติธรรมด้วย
ปัจจยุบบันนธรรมทั้งหลาย คือ ธรรมที่เกิดขึ้นด้วยอำนาจแห่งปัจจัยนั้น
หมายถึงธรรมทั้งหลายเฉพาะที่เป็น
สังขตะเท่านั้น สังขตธรรมทั้งหลายก็ได้แก่ จิต เจตสิก และรูป ซึ่งล้วนแต่เป็นธรรมที่มีสิ่งปรุงแต่งทั้งสิ้น
ปัจจยสังคหวิภาค แสดงธรรม ๒ นัย
ปัจจยสังคหวิภาคนี้ แสดงธรรม
๒ ส่วนด้วยกัน คือ ปฏิจจสมุปปาทนัย ส่วนหนึ่ง และปัฏฐานนัย (คือ
ปัจจัย ๒๔) อีกส่วนหนึ่ง ดังมีคาถาที่ ๒ แสดงว่า
๒. เทฺว ปฏิจฺจสมุปฺปาท- ปฏฺฐานนยเภทิโน
วุตฺตา ตตฺถ นยา โหนฺติ เยหิ ปจฺจยสงฺคโห ฯ
แปลความว่า ปัจจยสังคหะนี้
แสดงธรรมตามที่ตั้งอยู่แล้วนั้นสองนัย ซึ่งต่างกันโดยปฏิจจ สมุปปาทนัย และ
ปัฏฐานนัย
ปฏิจจสมุปปาทนัย
ปฏิจฺจ (อาศัย) +
สํ (พร้อม) + อุปฺปาท (เกิด) = ธรรมที่อาศัยกันเกิดขึ้นพร้อม มี
ความหมายว่า เป็นธรรม
ที่เป็นเหตุให้เกิดผลต่อเนื่องกันไม่ขาดสาย จึงทำให้ต้องวน อยู่ในสังสารวัฏฏ ลำดับของ
ขันธ์ ธาตุ อายตนะ ที่เป็นอยู่โดย
ไม่ขาดสายนั้น เรียกว่า สังสาระ
หน้า ๓
การแสดงปฏิจจสมุปปาท ก็เพื่อให้เห็นตามความเป็นจริงของสภาวธรรมว่า
เป็นไปเพราะเหตุเพราะปัจจัย จะได้มีใครมาดลบันดาลให้เป็นไปก็หาไม่ ทั้งนี้เพื่อ
จะได้ละความเห็นผิด มี อัตตา สักกายทิฏฐิ เป็นต้น
ปฏิจจสมุปปาท เป็นภูมิอารมณ์ของวิปัสสนาด้วย จัดเป็นหมวดหนึ่งใน วิปัสสนาภูมิทั้ง
๖ ซึ่งได้แก่
๑. ขันธ์ ๕ ๒. อายตนะ ๑๒ ๓. ธาตุ ๑๘
๔. อินทรีย์ ๒๒ ๕. ปฏิจจสมุปปาท ๑๒ ๖. อริยสัจ ๔
ลักขณาทิจตุกะของปฏิจจสมุปปาท
ปฏิจจสมุปปาท มีลักษณะ รสะ ปัจจุปัฏฐาน และปทัฏฐาน ซึ่งรวมเรียกว่า ลักขณาทิจตุกะ ดังนี้
ชรามรณาทีนํ ธมฺมานํ
ปจฺจยลกฺขโณ มีอุปการะแก่ปัจจยุบบันนธรรม ทั้งหลาย เช่น ชรา มรณะ
เป็นต้น เป็นลักษณะ
ทุกฺขานุพนฺธน รโส มีการทำให้สัตว์ทั้งหลายเกิดในวัฏฏสงสารเนือง
ๆ เป็นกิจ
กมฺมคฺค ปจฺจุปฏฺฐาโน เป็นทางเวียนว่ายในวัฏฏสงสารที่น่ากลัว
หรือเป็น
ทางเดินที่ไม่ถูกต้อง
คือ คดเคี้ยว และเป็นทางที่ ตรงกันข้าม
กับทางไปพระนิพพาน
เป็นอาการปรากฏ
อาสว ปทฏฺฐาโน มี อาสวะ เป็นเหตุใกล้
ลักขณาทิจตุกะของปฏิจจสมุปปาทที่กล่าวนี้
กล่าวเป็นส่วนรวม ยังไม่ได้แยก กล่าวเป็นองค์ ๆ ซึ่ง
ปฏิจจสมุปปาทธรรม มี ๑๒ องค์
ปฏิจจสมุปปาทธรรม ๑๒ องค์นี้ บางทีก็เรียกว่า
ภวจักร มีความหมายว่า หมุนเวียนไปยังภพต่าง ๆ อันได้แก่
ภูมิทั้ง ๓๑ ภูมิซึ่งเรียกว่า วัฏฏสงสาร สังสาร วัฏฏ วัฏฏทุกข์ สังสารทุกข์ เป็นต้น
หน้า ๔
การอุปการะของปัจจัยธรรมต่อปัจจยุบบันนธรรม ตามนัยแห่งปฏิจจสมุปปาท ซึ่งมี ๑๒ องค์นั้น มีบาลีแสดงว่า
อวิชฺชาปจฺจยา สงฺขารา
อวิชชาเป็นปัจจัยให้เกิดสังขาร
สงฺขารปจฺจยา วิญฺญาณํ สังขารเป็นปัจจัยให้เกิดวิญญาณ
วิญฺญาณปจฺจยา นามรูปํ วิญญาณเป็นปัจจัยให้เกิดนามรูป
นามรูปปจฺจยา สฬายตนํ นามรูปเป็นปัจจัยให้เกิดอายตนะ
สฬายตนปจฺจยา ผสฺโส อายตนะ ๖ เป็นปัจจัยให้เกิดผัสสะ
ผสฺสปจฺจยา เวทนา ผัสสะเป็นปัจจัยให้เกิดเวทนา
เวทนาปจฺจยา ตณฺหา เวทนาเป็นปัจจัยให้เกิดตัณหา
ตณฺหาปจฺจยา อุปาทานํ ตัณหาเป็นปัจจัยให้เกิดอุปาทาน
อุปาทานปจฺจยา ภโว อุปาทานเป็นปัจจัยให้เกิดภพ
ภวปจฺจยา ชาติ ภพเป็นปัจจัยให้เกิดชาติ
ชาติปจฺจยา ชรามรณํ ชาติเป็นปัจจัยให้เกิด ชรา มรณะ
โสก ปริเทว ทุกฺข
โสกปริเทวทุกฺขโทมนสฺสุปายาสา สมฺภวนฺติฯ (ส่วน) โสกะ ปริเทวะ
ทุกขะ โทมนัสสะ อุปายาสะ
ย่อมเกิดตามขึ้นมาด้วย
ปฏิจจสมุปปาท มี ๗ นัย
ปฏิจจสมุปปาทธรรมนี้ กล่าวโดย
อุทเทสมาติกา คือ หัวข้อที่เป็นแม่บทนั้น มี ๗ บท หรือ ๗ นัย ดังมีคาถาที่
๓ แสดงว่า
๓. ปฐเมหิ นเย ตตฺถ เวทิยํ
อุปลกฺขณํ
ติยทธํ ทฺวาทสงฺคานิ วิสาการ ติสนฺธิ จ
จตุสงฺเขปํ ติวฏฺฏํ เทฺว มูลานีติ สตฺตธา
ฯ
แปลความว่า ( ก็นัย ๒ นัย
คือ ปฏิจจสมุปปาทนัย และ ปัฏฐานนัย นั้น ) นัยแรกมีเครื่อง หมายที่พึงรู้โดย
อาการ ๗ อย่าง คือ อัทธา ๓, องค์ ๑๒, อาการ ๒๐, สนธิ ๓, สังเขป ๔, วัฏฏะ ๓ และ
มูล ๒
หมายความว่า ปฏิจจสมุปปาทธรรม นี้ยังจำแนกออกได้อีกเป็น ๗ นัย ได้แก่
๑. ตโย อทฺธา กาล ๓ ๒. ทฺวาทสงฺคานิ
องค์ ๑๒
๓. วีสตาการา อาการ ๒๐ ๔. ติสนฺธิ เงื่อน
๓
๕. จตุสงฺเขปา สังเขป ๔ ๖. ตีณิ วฏฺฏานิ
วัฏฏะ ๓
๗. เทฺวมูลานิ มูล ๒
หน้า ๕
มีรายละเอียดดังภาพต่อไปนี้
ปฏิจจสมุปปาทธรรม
นัยที่ ๑ ตโย อทฺธา จัดตามกาล ๓ |
นัยที่ ๒ ทฺวาทสงฺคานิ องค์ ๑๒ |
นัยที่ ๓ วีสตาการา จัดตามอาการ ๑0 |
นัยที่ ๔ ติสนฺธิ เงื่อน ๓ |
นัยที่ ๕ จตุสงฺเขปา สังเขป ๔ |
นัยที่ ๖ ตีณิ วฏฺฏานิ วัฏฏะ ๓ |
นัยที่ ๗ เทฺวมูลานิ มูล ๒ |
|||
อดีต เหตุ |
ปัจจุบัน ผล |
ปัจจุบัน เหตุ |
อนาคต ผล |
||||||
อดีต | อวิชชา | ๑ | ๔ | ๑ | กิเลสวัฏ | อวิชชา | |||
อดีต | สังขาร | ๒ | ๕ | * | ๑ | กัมมวัฏ | |||
เงื่อนหนึ่ง | |||||||||
ปัจจุบัน | วิญญาณ | ๑ | ๑ | * | ๒ | วิปากวัฏ | |||
ปัจจุบัน | นามรูป | ๒ | ๒ | ๒ | วิปากวัฏ | ||||
ปัจจุบัน | สฬายตนะ | ๓ | ๓ | ๒ | วิปากวัฏ | ||||
ปัจจุบัน | ผัสสะ | ๔ | ๔ | ๒ | วิปากวัฏ | ||||
ปัจจุบัน | เวทนา | ๕ | ๕ | * | ๒ | วิปากวัฏ | |||
เงื่อนหนึ่ง | |||||||||
ปัจจุบัน | ตัณหา | ๓ | ๑ | * | ๓ | กิเลสวัฏ | ตัณหา | ||
ปัจจุบัน | อุปาทาน | ๔ | ๒ | ๓ | กิเลสวัฏ | ||||
ปัจจุบัน | ภพ | ๕ | ๓ | * | ๓ | กัมมวัฏ, วิปากวัฏ | |||
เงื่อนหนึ่ง | |||||||||
อนาคต | ชาติ | * | ๔ | วิปากวัฏ | |||||
อนาคต | ชรามรณะ | ๔ | วิปากวัฏ |
โสก ปริเทว ทุกฺข โทมนสฺสุปายาสา สมฺภวนฺติ ฯ
หมายเหตุ ภพ จำแนกได้อีกเป็น
๒ คือ
กัมมภพ เป็น กัมมวัฏ
อุปปัตติภพ เป็น วิปากวัฏ
หน้า ๖
มีรายละเอียดดังต่อไปนี้
๑. ตโย อทฺธา คือ กาล ๓ นั้นแสดงว่า อวิชชา และสังขารรวม ๒ องค์
จัดเป็น อดีตอัทธา ชาติ และ
ชรามรณะ รวม ๒ องค์เป็น อนาคตอัทธา ส่วนใน ท่ามกลาง รวม ๘ องค์ที่เหลือนั้นเป็นปัจจุบันอัทธา
๒. ทฺวาทสงฺคานิ คือ องค์ ๑๒ นั้นได้แก่ อวิชชา สังขาร วิญญาณ
นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ เวทนา ตัณหา
อุปาทาน ภพ ชาติ และชรามรณะ
ส่วน โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัสสะ และ อุปายาสะ นั้นไม่นับว่าเป็นองค์
ของปฏิจจสมุปปาทด้วย เพราะธรรม
๕ ประการนี้เป็นผลของชาติ กล่าวคือ เมื่อมี การเกิดเป็นชาติขึ้นมาแล้ว ย่อมมีทุกข์มีโศกเป็นประจำ
ซึ่งเป็นแต่เพียงผล
ของชาติ ไม่ใช่เหตุโดยตรงที่ทำให้เกิดวัฏฏะ จึงไม่นับเป็นองค์ด้วย
๓. วีสตาการา คือ อาการ ๒๐ นั้นได้แก่
ก. ธรรมที่เป็นเหตุในอดีต ๕ ประการ คือ ๑.อวิชชา, ๒.สังขาร, ๓.ตัณหา,
๔. อุปาทาน, ๕.ภพ
ข. ธรรมที่เป็นผลในปัจจุบัน ๕ ประการ คือ ๑.วิญญาณ, ๒.นามรูป, ๓. สฬายตนะ,
๔.ผัสสะ, ๕.เวทนา
ค. ธรรมที่เป็นเหตุในปัจจุบัน ๕ ประการคือ ๑.ตัณหา, ๒.อุปาทาน, ๓.ภพ,
๔.อวิชชา, ๕.สังขาร
ง. ธรรมที่เป็นผลในอนาคต ๕ ประการ คือ ๑.วิญญาณ, ๒.นามรูป, ๓. สฬายตนะ,
๔. ผัสสะ, ๕.เวทนา
๔. ติสนฺธิ คือ เงื่อน ๓ นั้นได้แก่ สังขารต่อกับวิญญาณเงื่อนหนึ่ง
เวทนา ต่อกับตัณหาเงื่อนหนึ่ง และภพต่อกับ
ชาติอีกเงื่อนหนึ่ง
๕. จตุสงฺเขปา คือ สังเขป ๔ ได้แก่
ก. อวิชชา สังขาร รวม ๒ องค์เป็นสังเขปหนึ่ง
ข. วิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ เวทนา รวม ๕ องค์เป็นสังเขปหนึ่ง
ค. ตัณหา อุปาทาน ภพ รวม ๓ องค์เป็นสังเขปหนึ่ง
ง. ชาติ ชรามรณะ รวม ๒ องค์เป็นอีกสังเขปหนึ่ง
หน้า ๗
๖. ตีณิ วฏฺฏานิ
คือ วัฏฏะ ๓ นั้นได้แก่
ก. อวิชชา ตัณหา อุปาทาน รวม ๓ องค์เป็นกิเลสวัฏฏ
ข. สังขาร ภพ (เฉพาะกัมมภพ) รวม ๒ องค์ เป็นกัมมวัฏฏ
ค. วิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ เวทนา ภพ (เฉพาะอุปปัตติภพ) ชาติ ชรา
มรณะ เหล่านี้เป็นวิปากวัฏ
๗. เทฺวมูลานิ คือ มูล ๒ นั้นได้แก่ อวิชชา และตัณหา
มีคำอธิบายต่อไปนี้ คือ
อัทธา คือกาลเวลาอันยาวนาน
ไม่มีที่สิ้นสุดแห่งปฏิจจสมุปปาทธรรมนั้น จำแนกออกเป็น ๓ กาล กาลใดได้
ปฏิจจสมุปปาทธรรมองค์ใดบ้างนั้น มีคาถาที่ ๔ และที่ ๕ แสดงว่า
๔. ตตฺถาวิชฺชา จ สงฺขารา
อตีตชฺชาติ วุจฺจเร
อทฺธา อนาคโต ชาติ ชรา จ มรณมฺปิ จ
ฯ
แปลความว่า ในอัทธา ๓ นั้น อวิชชาและสังขาร ชื่อว่าอดีตอัทธา ชาติและชรามรณะ ชื่อว่า อนาคตอัทธา
๕. ปจฺจุปนฺโน อทฺธา
นาม มชฺฌฏฺฐาว เสสกา
ทฺวาทสงฺคนฺตุเต ธมฺมา เยนิฏฺทิฏฺฐ ติยิทฺธิกา
ฯ
แปลความว่า ธรรมที่เหลือท่ามกลาง
๘ องค์ ชื่อว่า ปัจจุบันอัทธา ส่วนธรรมที่ประกอบ ด้วยอัทธาทั้ง ๓ นั้น
จัดเป็นองค์ ๑๒ องค์
คาถาทั้ง ๒ นี้มีหมายความว่า อัทธานั้นมี ๓ ได้แก่ อดีตอัทธา ปัจจุบันอัทธา
และอนาคต อัทธา
๑. อดีตอัทธา หรือ อดีตกาล หมายถึง กาลเวลาที่ล่วงไปแล้ว จะเป็นกาลที่
ล่วงไปแล้วในภพก่อนก็ตาม
ในภพนี้ก็ตาม เรียกว่า อดีตทั้งนั้น อดีตอัทธาแห่ง ปฏิจจสมุปปาทนี้ได้แก่ อวิชชา
และสังขาร
สัตว์ทั้งหลาย (เว้นพระอรหันต์) ย่อมมีโมหะนอนเนื่องอยู่ในจิตตสันดาน
เป็นประจำด้วยอำนาจแห่งโมหะจึง
ปิดบังไม่ให้เห็นโทษในการทำบาปอกุสล และ ปิดบังไม่ให้เห็นวัฏฏทุกข์ในการทำกุสลชนิดที่ยังต้องวนเวียนอยู่ในวัฏฏะ
ที่เรียกว่า วัฏฏกุศล คือ โลกียกุศล โมหะนี้ก็คือ อวิชชา นี่เอง
หน้า ๘
การทำอกุสลก็ดี การบำเพ็ญเพียงวัฏฏกุสลก็ดี
ย่อมสำเร็จได้ด้วย เจตนา คือ ความจงใจกระทำ เจตนาที่
เป็นแรงกระตุ้นให้เกิดความจงใจกระทำที่เรียกว่า บุพพเจตนา นี่แหละ คือ สังขารเป็นตัวปรุงแต่งให้จงใจกระทำ
กรรมสำเร็จเป็นบาปเป็น บุญ
ด้วยเหตุดังกล่าวมานี้ จึงได้ชื่อว่า อวิชชา และสังขาร เป็นอดีตอัทธา
๒. ปัจจุบันอัทธา หรือ ปัจจุบันกาล หมายถึงกาลเวลาที่กำลังดำรงคง
อยู่ในเวลานี้ ปรากฏอยู่ในขณะนี้ กำลังเป็นอยู่เดี๋ยวนี้ ได้แก่ ปฏิจจสมุปปาทธรรม
๘ องค์ที่อยู่ในท่ามกลาง คือ วิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ เวทนา
ตัณหา อุปาทาน และภพ
เมื่อมีอวิชชา คือ โมหะนอนเนื่องอยู่ในจิตตสันดานเป็นประจำ และมีสังขาร
คือ เจตนาเป็นแรงสำคัญปรุงแต่งให้
จงใจกระทำกรรม อันเป็นกุสลและอกุสลนั้น จะกระทำกรรมเหล่านั้นได้เพราะมี วิญญาณ
นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ เวทนา
ตัณหา อุปาทาน และภพ ๘ องค์นี้ ถ้าไม่มีธรรม ๘ องค์นี้แล้ว การกระทำต่าง ๆ เหล่านั้นก็เกิดขึ้นไม่ได้เลย
ด้วยเหตุว่า
ธรรม ๘ องค์นี้กำลังมีอยู่ในขณะนี้นั้น จึงกระทำกรรมได้ดังนี้ จึงได้ชื่อว่า ธรรม
๘ องค์นี้เป็นปัจจุบัน
๓. อนาคตอัทธา หรืออนาคตกาล หมายถึงกาลเวลาที่ยังไม่มาถึง แต่จะมี
มาข้างหน้า ปฏิจจสมุปปาทธรรม
ที่จะมีมาข้างหน้านั้น ได้แก่ ชาติ และชรา มรณะ
เมื่อลงได้กระทำกรรมแล้ว ไม่ว่าจะเป็นกุสลกรรมหรืออกุสลกรรมที่เรียกว่า
กัมมภพแล้วย่อมจะบังเกิดผลใน
อนาคต กล่าวคือ เมื่อตายจากภพนี้แล้วก็ไปปฏิสนธิ ในภพใหม่ ถ้าทำกรรมชั่วก็ปฏิสนธิเป็นสัตว์ในอบาย
ถ้าประกอบกรรมดี ก็ปฏิสนธิ เป็นมนุษย์ เทวดา พรหม ตามควรแก่กรรมที่ได้บำเพ็ญมา
การได้ปฏิสนธิในภพ ใหม่นี่แหละเรียกว่า ชาติ หรือ อุปปัตติภพ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งว่า
เมื่อได้ทำ กัมมภพแล้ว ย่อมได้อุปปัตติภพคือชาติ เมื่อมีชาติก็จะต้องมีชรามรณะเป็น
สิ่งที่แน่นอน ดังนั้นจึงได้ชื่อว่า ชาติและชรา มรณะเป็นอนาคตอัทธา
อัทธาทั้ง ๓ นี้ เมื่อรวมองค์แห่งปฏิจจสมุปปาทธรรมก็ได้ ๑๒ องค์ธรรม ทั้ง
๑๒ องค์นี้แหละที่เรียกว่า
ทฺวาทสงฺคานิ ซึ่งจะกล่าวต่อไปนี้
หน้า ๙
ปฏิจจสมุปปาทธรรมนัยที่ ๒ ทวาทสังคานิ
ทวาทสังคานิ คือ องค์ ๑๒
มีอวิชชาเป็นต้น ชรามรณะเป็นที่สุด แต่ถ้ากล่าว โดยความเป็นปัจจัยแล้ว ก็มีเพียง
๑๑ ปัจจัย เพราะชรามรณะซึ่งเป็นองค์ที่ ๑๒ นั้น ไม่นับว่าเป็นปัจจัยให้เกิดปฏิสนธิวิญญาณ
ตามนัยแห่ง
ปฏิจจสมุปปาทนี้ ด้วยว่า การที่จะปรากฏปฏิสนธิวิญญาณขึ้นก็เพราะมีสังขาร คือ
เจตนาในการกระทำกรรม
มีข้อที่ควรกล่าวในที่นี้อีกประการหนึ่งก็คือ ตามบาลีแสดงว่า อวิชฺชาปจฺจยา
สงฺขารา ซึ่งแปลกันว่า อวิชชา
เป็นปัจจัยแก่สังขารนั้น ในทางธรรม หมายความว่า สังขารปรากฏขึ้นก็เพราะมีอวิชชาเป็นปัจจัย
อันเป็นการกล่าวถึง
ผล (คือสังขาร) ก่อน แล้วจึงแสดง เหตุ (คืออวิชชา) ที่อุปการะให้เกิดผลนั้น
ก็แสดงเช่นนี้ ก็เพราะถือว่า ผลเป็น
สิ่งที่เห็นได้ง่ายกว่าเหตุ จึงกล่าวถึงผลก่อน แล้วจึงย้อนกลับ ไปแสดงถึงสาเหตุที่ทำให้เกิดผลนั้น
อวิชชาเป็นปัจจัยให้เกิดสังขาร
คือ สังขารอันเป็นปัจจยุบบันนธรรมจะ ปรากฏขึ้น ก็เพราะมีอวิชชาอัน
เป็นปัจจัยธรรมนั้นเป็นสาเหตุ จึงเลยพูดกันสั้น ๆ ว่าอวิชชาเป็นเหตุ สังขารเป็นผล
อวิชชาที่เป็นสาเหตุให้เกิดสังขารนั้น มีลักขณาทิจตุกะดังนี้
อญาณลกฺขณา มีความไม่รู้หรือเป็นปฏิปักษ์ต่อปัญญา
เป็นลักษณะ
สมฺโมหนรสา ทำให้สัมปยุตตธรรม และผู้ที่โมหะกำลังเกิดอยู่นั้น
มีความหลง ความมืดมน เป็นกิจ
ฉาทนปจฺจุปฏฺฐานา ปกปิดสภาวะที่มีอยู่ในอารมณ์นั้น ๆ เป็นผล
อาสวปทฏฺฐานา มีอาสวะ เป็นเหตุใกล้
อวิชชา นี้องค์ธรรมได้แก่
โมหเจตสิก คือความไม่รู้นั่นเอง ไม่รู้ในที่นี้หมาย เฉพาะไม่รู้ธรรม ๘ ประการ
อันได้แก่ ไม่รู้อริยสัจ ๔, ไม่รู้อดีต ๑, ไม่รู้อนาคต ๑, ไม่รู้ทั้งอดีตและอนาคต
๑ และไม่รู้ปฏิจจสมุปปาทธรรม ๑
เพราะความไม่รู้ คือ โมหะ หรืออวิชชานี่เอง เป็นปัจจัย เป็นสิ่งที่อุปการะ
ช่วยเหลือให้เกิดสังขาร ให้เกิดมีการ
ปรุงแต่งขึ้น ดังนั้นจึงกล่าวว่า อวิชชาเป็นปัจจัย สังขารเป็นปัจจยุบบันน สังขารอันเป็นปัจจยุบบันนของอวิชชานี้จัดได้
เป็นสังขาร ๓ คือ อบุญญาภิสังขาร บุญญาภิสังขาร และ อาเนญชาภิสังขาร
หน้า ๑0
๑. อบุญญาภิสังขาร
จงใจปรุงแต่งให้เป็นบาป องค์ธรรมได้แก่ เจตนาใน อกุสลจิต ๑๒ เมื่อเจตนาปรุงแต่งให้
เกิดบาปเช่นนี้ ก็เป็นทางที่จะนำไปให้ปฏิสนธิ ในอบายภูมิ เจตนาทำบาปอันจะส่งผลให้ปฏิสนธิในอบายภูมินี้
เห็นได้ชัด
ว่าเป็น ด้วยอำนาจแห่งโมหะ คือ อวิชชาโดยตรงทีเดียว
๒. บุญญาภิสังขาร จงใจปรุงแต่งให้เป็นบุญ องค์ธรรมได้แก่ เจตนาใน
มหากุสล ๘ และเจตนาในรูปาวจรกุสลจิต
๕ รวมเป็นเจตนา ๑๓ เมื่อเจตนาปรุง แต่งให้เกิดกุสลกรรมเช่นนี้ ก็เป็นทางที่จะให้ได้ปฏิสนธิเป็นมนุษย์
เป็นเทวดา เป็น รูปพรหม ตามควรแก่กรรมนั้น ๆ เจตนาทำกุสลอย่างนี้ก็นับว่าดีมากอยู่
แต่ว่า ยังไม่ถึงดีที่สุด เพราะว่ายังไม่พ้นทุกข์ จะต้องกลับมาวนเวียนในสังสารวัฏฏอีก
กุสลที่ประเสริฐสุด คือ โลกุตตรกุสลอันจะทำให้พ้นทุกข์ได้เด็ดขาด ไม่ต้องกลับมา
วนเวียนในสังสารวัฏฏอีกเลยก็มี แต่ไม่มีเจตนาปรุงแต่งให้กุสลอันประเสริฐสุดนั้น
เกิดขึ้น จึงได้ชื่อว่า ยังมีอวิชชาอยู่ กล่าวอีกนัยหนึ่งว่า เพราะไม่รู้ว่ากุสลอันยิ่งกว่า
นั้นก็มี จึงเจตนาทำเพียงมหากุสลกรรมและรูปาวจรกุสลกรรมเท่านั้น
๓. อาเนญชาภิสังขาร จงใจปรุงแต่งให้เป็นบุญชนิดที่ไม่หวั่นไหว
คือตั้ง อยู่ในอุเบกขาพรหมวิหารได้นาน
เหลือเกิน องค์ธรรมได้แก่ เจตนาในอรูปาวจร กุสลจิต ๔ เมื่อเจตนาปรุงแต่งให้เกิดกุสลกรรมถึงปานนี้
ก็ส่งผลให้ไป
ปฏิสนธิเป็น อรูปพรหม เสวยบรมสุขอยู่นานช้า ถึงกระนั้น ก็ได้ชื่อว่า ยังไม่พ้นไปจากอวิชชา
ตามนัยที่กล่าวแล้ว
ในข้อ ๒ นั้น
อีกนัยหนึ่งสังขารอันเป็นปัจจยุบบันนธรรมของอวิชชานี้ได้แก่ สังขาร ๓
คือ
ก. กายสังขาร คือ เจตนาที่ปรุงแต่งกายทุจจริต และกายสุจริตให้เป็นผล
สำเร็จลง องค์ธรรมได้แก่
อกุสลเจตนา ๑๒ และ มหากุสลเจตนา ๘ ที่เกี่ยวกับ ทางกาย
ข. วจีสังขาร คือ เจตนาที่ปรุงแต่งวจีทุจจริตและวจีสุจริตให้เป็นผลสำเร็จลง
องค์ธรรมได้แก่ อกุสลเจตนา ๑๒ และมหากุสลเจตนา ๘ ที่เกี่ยวกับทางวาจา
ค. จิตตสังขาร คือ เจตนาที่ปรุงแต่งมโนทุจจริต และมโนสุจริตให้เป็น
ผลสำเร็จลง องค์ธรรมได้แก่
อกุสลเจตนา ๑๒ และโลกียกุสลเจตนา ๑๗ ที่เกี่ยว กับทางใจ
รวมสังขาร ๓ ก็ดี หรือจะว่าสังขารทั้ง ๖ ดังกล่าวแล้วนี้ก็ดี ก็ได้แก่
เจตนา ๒๙ หรือ กรรม ๒๙ นั่นเอง