หน้า ๓๑
๔. ฌานปัจจัย กล่าวถึงองค์ฌาน
๕ (คือ เจตสิก ๕ ดวง อันได้แก่ วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา) เป็นปัจจัย
ช่วยอุปการะแก่นามและรูปที่เกิดพร้อมกับตน
ตัวอย่างในบทนี้ก็หมายถึง องค์ฌาน ๕ ที่ในปฏิสนธิจิตเป็นปัจจัยช่วย อุปการะแก่
ปฏิสนธิจิต เจตสิก และ
กัมมชรูป นี่กล่าวถึงในปฏิสนธิกาล ส่วนใน ปวัตติกาลก็หมายถึง องค์ฌาน ๕ ที่ในวิบากจิตเป็นปัจจัยช่วยอุปการะแก่
วิบากจิต เจตสิกและจิตตชรูป
๕. มัคคปัจจัย กล่าวถึง องค์มัคค ๙ (คือเจตสิก ๙ ดวง อันได้แก่
ปัญญา วิตก สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ วิริยะ สติ เอกัคคตา และทิฐิ)
เป็น ปัจจัยช่วยอุปการะแก่นามและรูปที่เกิดพร้อมกับตน
ตัวอย่างในบทนี้ ก็หมายถึง องค์มัคคที่ในสเหตุกปฏิสนธิจิต ๑๗ ที่ใน ปฏิสนธิกาล
เป็นปัจจัยช่วยอุปการะแก่
สเหตุกปฏิสนธิจิต ๑๗ เจตสิกที่ประกอบ และกัมมชรูป
ส่วนในปวัตติกาล องค์มัคคที่ในสเหตุกวิบากจิต ๑๗ เป็นปัจจัยช่วยอุปการะ
แก่สเหตุกวิบากจิต ๑๗ เจตสิกที่
ประกอบ และจิตตชรูป
สฬายตนะ เป็นปัจจัยแก่
ผัสสะ คือ ผัสสะ จะปรากฏขึ้นได้ก็เพราะมี สฬายตนะเป็นปัจจัย ลักขณาทิจตุกะ
ของสฬายตนะ มีดังนี้
อายตน ลกฺขณํ มีการกระทบ
หรือมีการทำให้วัฏฏสงสาร ยืนยาวไม่มีที่สิ้นสุด เป็นลักษณะ
ทสฺสน รสํ มีการยึดอารมณ์ของตน ๆ เป็นกิจ
(วา) ทสฺสนาทิ รสํ (หรือ) มีการเห็นเป็นต้น เป็นกิจ
วตฺถุตฺตรภาว ปจฺจุปฏฺฐานํ มีความเป็นวัตถุเป็นทวารของวิญญาณธาตุ
๗ ตามควรแก่อารมณ์ เป็นผล
นามรูป ปทฏฺฐานํ มีเจตสิกและกัมมชรูป เป็นเหตุใกล้
ในบทก่อน อัชฌัตติกายตนะ ๖ คือ อายตนะภายใน ๖ ที่เป็นปัจจยุบบันน ธรรมของนามรูปนั้น ได้แก่ จักขวายตนะ โสตายตนะ ฆานายตนะ ชิวหายตนะ กายายตนะ และมนายตนะ
หน้า ๓๒
ในบทนี้ สฬายตนะที่เป็นปัจจัยให้เกิดผัสสะ
ก็ได้แก่ อัชฌัตติกายตนะ ๖ ที่กล่าวแล้วนี่เอง
ผัสสะ ที่เป็นปัจจยุบบันนธรรมของสฬายตนะ ก็คือ ผัสสะ
๖ อันได้แก่
๑. จักขุสัมผัสสะ จะปรากฏเกิดขึ้นได้ เพราะมี จักขวายตนะ เป็นปัจจัย
๒. โสตสัมผัสสะ จะปรากฏเกิดขึ้นได้ เพราะมี โสตายตนะ เป็นปัจจัย
๓. ฆานสัมผัสสะ จะปรากฏเกิดขึ้นได้ เพราะมี ฆานายตนะ เป็นปัจจัย
๔. ชิวหาสัมผัสสะ จะปรากฏเกิดขึ้นได้ เพราะมี ชิวหายตนะ เป็นปัจจัย
๕. กายสัมผัสสะ จะปรากฏเกิดขึ้นได้ เพราะมี กายายตนะ เป็นปัจจัย
๖. มโนสัมผัสสะ จะปรากฏเกิดขึ้นได้ เพราะมี มนายตนะ เป็นปัจจัย
ผัสสะทั้ง ๖ ในที่นี้ ได้แก่ ผัสสเจตสิกที่ในโลกียวิปากวิญญาณ ๓๒ เท่านั้น
แต่หมายเลข ๑ ถึง ๕ เป็นผัสสะ
ในทวิปัญจวิญญาณ ๑๐ ตามลำดับ ส่วนหมายเลข ๖ มโนสัมผัสสะ ได้แก่ ผัสสะในโลกียวิปากวิญญาณ
๒๒ ที่เหลือ
ธรรมชาติที่กระทบอารมณ์นั่นแหละ คือ ผัสสะ แต่ไม่ได้หมายความเพียงว่า
ของสองสิ่งกระทบกันเท่านั้น หากหมายถึงว่า ต้องมีธรรม ๓ ประการมาประชุม ร่วมพร้อมกันจึงจะเรียกว่าผัสสะ
ธรรม ๓ ประการคือ อารมณ์ ๑
วัตถุ ๑ ธรรม ๒ ประการนี้กระทบกันและทำให้เกิด วิญญาณ อีก ๑ ด้วย ไม่ใช่ว่ากระทบกันเฉย
ๆ ดังมีบาลีใน
นิทานวัคคสังยุตตพระบาลี ว่า
จกฺขุญฺจ ปฏิจฺจ รูเป
จอุปฺปชฺชติ จกฺขุวิญฺญาณํ ติณฺณํ สงฺคติ ผสฺโส
โสตญฺจ ปฏิจฺจ สทฺเท จอุปฺปชฺชติ โสตวิญฺญาณํ ติณฺณํ สงฺคติ ผสฺโส
ฆานญฺจ ปฏิจฺจ คนฺเธ จอุปฺปชฺชติ ฆานวิญฺญาณํ ติณฺณํ สงฺคติ ผสฺโส
ชิวฺหญฺจ ปฏิจฺจ รเส จอุปฺปชฺชติ ชิวฺหาวิญฺญาณํ ติณฺณํ สงฺคติ
ผสฺโส
กายญฺจ ปฏิจฺจ โผฏฺฐพฺเพ จอุปฺปชฺชติ กายวิญฺญาณํ ติณฺณํ สงฺคติ
ผสฺโส
มนญฺจ ปฏิจฺจ ธมฺเม จอุปฺปชฺชติ มโนวิญฺญาณํ ติณฺณํ สงฺคติ ผสฺโส
ซึ่งแปลความว่า
จักขุวิญญาณย่อมปรากฏขึ้นได้เพราะอาศัย จักขุปสาท กระทบกับรูปารมณ์ การประชุมร่วมพร้อมกันระหว่าง
จักขุปสาท รูปารมณ์ และ จักขุวิญญาณ ทั้ง ๓ นี้แหละชื่อว่า ผัสสะ
โสตวิญญาณย่อมปรากฏขึ้นได้เพราะอาศัย โสตปสาท กระทบกับสัททารมณ์ การประชุมร่วมพร้อมกันระหว่าง
โสตปสาท สัททารมณ์ และ โสตวิญญาณ ทั้ง ๓ นี้แหละชื่อว่า ผัสสะ
ฆานวิญญาณย่อมปรากฏขึ้นได้เพราะอาศัย ฆานปสาท กระทบกับคันธารมณ์ การประชุมร่วมพร้อมกันระหว่าง
ฆานปสาท คันธารมณ์ และ ฆานวิญญาณ ทั้ง ๓ นี้แหละชื่อว่า ผัสสะ
ชิวหาวิญญาณย่อมปรากฏขึ้นได้เพราะอาศัย ชิวหาปสาท กระทบกับรสารมณ์ การประชุมร่วมพร้อมกันระหว่าง
ชิวหาปสาท รสารมณ์ และ ชิวหาวิญญาณ ทั้ง ๓ นี้แหละชื่อว่า ผัสสะ
กายวิญญาณย่อมปรากฏขึ้นได้เพราะอาศัย กายปสาท กระทบกับโผฏฐัพพารมณ์ การประชุมร่วมพร้อมกันระหว่าง
กายปสาท โผฏฐัพพารมณ์ และ กายวิญญาณ ทั้ง ๓ นี้แหละชื่อว่า ผัสสะ
มโนวิญญาณย่อมปรากฏขึ้นได้เพราะอาศัยภวังคจิตกระทบกับธัมมารมณ์ การ ประชุมร่วมพร้อมกันระหว่าง
ภวังคจิต ธัมมารมณ์ และมโนวิญญาณ ทั้ง ๓ นี้ แหละชื่อว่า ผัสสะ
หน้า ๓๓
สฬายตนะ เป็นปัจจัยแก่ผัสสะนี้
เมื่อกล่าวโดยภูมิคือ กามภูมิ รูปภูมิ และ อรูปภูมิแล้วได้ดังนี้
ในกามภูมิ ๑๑ มีอัชฌัตติกายตนะได้ครบทั้ง ๖ ผัสสะก็ย่อมเกิดได้ครบทั้ง
๖ เหมือนกัน
ในรูปภูมิ ๑๕ (เว้นอสัญญสัตตภูมิ ๑) มีอัชฌัตติกายตนะเพียง ๓ คือ จักขวายตนะ
โสตายตนะ และมนายตนะ
เท่านี้ จึงได้ผัสสะเพียง ๓ เท่ากันคือ จักขุสัมผัสสะ โสตสัมผัสสะ และมโนสัมผัสสะ
ในรูปภูมิอีก ๑ คือ อสัญญสัตตภูมิ ไม่มีอัชฌัตติกายตนะแม้แต่สักอย่างเดียว
ดังนั้น ผัสสะทั้ง ๖ จึงไม่เกิดมีใน
รูปภูมินี้เลย
ในอรูปภูมิ ๔ มี อัชฌัตติกายตนะ เพียง ๑ คือ มนายตนะ จึงมีผัสสะเพียง
๑ คือ มโนสัมผัสสะ เท่ากัน
ปัจจัย ๒๔ เกี่ยวแก่สฬายตนะ
ในบทสฬายตนะเป็นปัจจัยแก่ผัสสะนี้
มีปัจจัย ๒๔ เกี่ยวข้องดังต่อไปนี้
ก. จักขวายตนะ เป็นปัจจัยแก่ จักขุสัมผัสสะ ก็ด้วยอำนาจแห่งปัจจัย ๖ ปัจจัย
คือ
๑. นิสสยปัจจัย ๒. ปุเรชาตปัจจัย ๓. อินทรียปัจจัย
๔. วิปปยุตตปัจจัย ๕. อัตถิปัจจัย ๖. อวิคตปัจจัย
ข. โสตายตนะ เป็นปัจจัยแก่ โสตสัมผัสสะ
ค. ฆานายตนะ เป็นปัจจัยแก่ ฆานสัมผัสสะ
ง. ชิวหายตนะ เป็นปัจจัยแก่ ชิวหาสัมผัสสะ
จ. กายายตนะ เป็นปัจจัยแก่ กายสัมผัสสะ
ทั้ง ๔ นี้ด้วยอำนาจแห่งปัจจัย ๖ ปัจจัย เท่ากันและเหมือนกันกับข้อ ก.
ทุกประการ
ฉ. มนายตนะ เป็นปัจจัยแก่มโนสัมผัสสะ ก็ด้วยอำนาจแห่งปัจจัย ๙ ปัจจัย
คือ
๑. สหชาตปัจจัย ๒. อัญญมัญญปัจจัย ๓. นิสสยปัจจัย
๔. วิปากปัจจัย ๕. อาหารปัจจัย ๖. อินทรียปัจจัย
๗. สัมปยุตตปัจจัย ๘. อัตถิปัจจัย ๙. อวิคตปัจจัย
ในบรรดาปัจจัยเหล่านี้ ล้วนแต่ได้อธิบายความหมายแล้วในบทก่อน ๆ ทั้งนั้น
จึงไม่ต้องกล่าวซ้ำในบทนี้อีก
หน้า ๓๔
องค์ที่ ๖ ผัสสะ
ผัสสะ เป็นปัจจัยแก่ เวทนา คือ เวทนาจะปรากฏขึ้นได้ก็เพราะมีผัสสะเป็น ปัจจัย ผัสสะมีลักขณาทิจตุกะ ดังนี้
ผุสนลกฺขโณ มีการกระทบอารมณ์
เป็นลักษณะ
สงฺฆฏฺฏนรโส มีการประสานจิตกับอารมณ์ เป็นกิจ
สงฺคติปจฺจุปฏฺฐาโน มีการประชุมร่วมพร้อมกันระหว่างวัตถุ
อารมณ์และ วิญญาณ เป็นผล
สฬายตนปทฏฺฐาโน มีอัชฌัตติกายตนะ ๖ เป็นเหตุใกล้
ในบทก่อน ผัสสะ ที่เป็นปัจจยุบบันนธรรมของสฬายตนะนั้น
ได้แก่ ผัสสะ ๖ มีจักขุสัมผัสสะ เป็นต้น มีมโนสัมผัสสะ เป็นที่สุด
ในบทนี้ ผัสสะ ที่เป็นปัจจัยให้เกิดเวทนา ก็ได้แก่ ผัสสะ ๖ นั่นเอง
เวทนาที่ เป็นปัจจยุบันนธรรมของผัสสะ ก็ได้แก่ เวทนา
๖ คือ
๑. เวทนาที่เกิดขึ้นเพราะ จักขุสัมผัสสะ เป็นปัจจัยได้ชื่อว่า
จักขุสัมผัสสชาเวทนา
๒. เวทนาที่เกิดขึ้นเพราะ โสตสัมผัสสะ เป็นปัจจัยได้ชื่อว่า
โสตสัมผัสสชาเวทนา
๓. เวทนาที่เกิดขึ้นเพราะ ฆานสัมผัสสะ เป็นปัจจัยได้ชื่อว่า
ฆานสัมผัสสชาเวทนา
๔. เวทนาที่เกิดขึ้นเพราะ ชิวหาสัมผัสสะ เป็นปัจจัยได้ชื่อว่า
ชิวหาสัมผัสสชาเวทนา
๕. เวทนาที่เกิดขึ้นเพราะ กายสัมผัสสะ เป็นปัจจัยได้ชื่อว่า
กายสัมผัสสชาเวทนา
๖. เวทนาที่เกิดขึ้นเพราะ มโนสัมผัสสะ เป็นปัจจัยได้ชื่อว่า
มโนสัมผัสสชาเวทนา
ธรรมชาติใดที่เสวยอารมณ์ ธรรมชาตินั่นแหละชื่อว่า เวทนา คือความรู้สึกใน
อารมณ์นั้น
ความรู้สึกในอารมณ์ หรือการเสวยอารมณ์ที่ชื่อว่า เวทนานี้ กล่าวโดยลักษณะ
แห่งการเสวยอารมณ์ ก็มี ๓ คือ สุขเวทนา ทุกขเวทนา และอทุกขมสุขเวทนา
กล่าวโดยประเภทแห่งอินทรีย์ คือโดยความเป็นใหญ่ในการเสวยอารมณ์ ก็มี ๕
คือ สุขเวทนา ทุกขเวทนา
โสมนัสเวทนา โทมนัสเวทนา และอุเบกขาเวทนา
หน้า ๓๕
กล่าวโดยอาศัยทวาร คือ อาศัยทางที่ให้เกิดเวทนาตามนัยแห่งปฏิจจสมุปปาท
ที่กำลังกล่าวถึงอยู่ในขณะนี้
ก็มี ๖ คือ เวทนาที่เกิดทางจักขุ ทางโสตะ ทางฆานะ ทางชิวหา ทางกาย และทางใจ
เวทนาที่เกิดทางจักขุที่เรียกว่า จักขุสัมผัสสชาเวทนา เกิดทางโสตที่เรียกว่า
โสตสัมผัสสชาเวทนา เกิดทางฆานะ
ที่เรียกว่า ฆานสัมผัสสชาเวทนา และเกิดทาง ชิวหาที่เรียกว่า ชิวหาสัมผัสสชาเวทนา
รวม ๔ ทางนี้เป็นอุเบกขาเวทนา
แต่อย่างเดียว
เวทนาที่เกิดทางกายที่เรียกว่า กายสัมผัสสชาเวทนานั้น เป็นสุขเวทนา หรือ
ทุกขเวทนา อย่างใดอย่างหนึ่งใน ๒ อย่างนี้เท่านั้น คือถ้ากายได้สัมผัสถูกต้องกับ
อิฏฐโผฏฐัพพารมณ์ คือ อารมณ์ที่ดี ก็เป็นสุขเวทนา แต่เมื่อกายได้สัมผัส
ถูกต้องกับ อนิฏฐโผฏฐัพพารมณ์ คือ อารมณ์ที่ไม่ดี ก็เป็นทุกขเวทนา
ส่วนเวทนาที่เกิดทางใจที่เรียกว่า มโนสัมผัสสชาเวทนานั้น เมื่อได้เสวย
อารมณ์ที่ดีที่เรียกว่า อิฏฐารมณ์ ก็มี
ความชื่นชมยินดีทางใจ เป็นโสมนัสเวทนา แต่ถ้าได้เสวยอารมณ์ที่ไม่ดีที่เรียกว่า
อนิฏฐารมณ์ ทางธรรมถือว่ามีความ
อาพาธ ทางใจ จึงได้ชื่อว่า เป็นโทมนัสเวทนา หากว่าได้เสวยอารมณ์ที่เป็นปานกลางที่เรียกว่า
มัชฌัตตารมณ์ ก็มีความ
เฉย ๆ ไม่ถึงกับเกิดความชื่นชมยินดี จึงได้ชื่อว่า เป็นอุเบกขาเวทนา
เวทนาทั้ง ๖ ที่กล่าวในบทนี้ หมายเฉพาะเวทนาที่ประกอบกับโลกียวิปาก วิญญาณ
๓๒ เท่านั้น โดยถือสืบเนื่อง
มาจากวิปากวิญญาณ คือจิตที่เป็นปัจจยุบ บันนของสังขาร โลกียวิปากวิญญาณ ๓๒ นี้
ก็มีเวทนาที่เกิดร่วมได้ด้วยเพียง
๔ คือ สุขเวทนา ทุกขเวทนา โสมนัสเวทนา และ อุเบกขาเวทนาเท่านี้ ไม่มีโทมนัส เวทนา
ด้วย
ผัสสะกับเวทนาต่างก็เป็นเจตสิกเหมือนกัน และประกอบกับจิตร่วมกันพร้อม
กัน ถึงกระนั้นต่างก็เป็นปัจจัย
ซึ่งกันและกันได้ด้วยอำนาจแห่งสหชาตปัจจัย และ อัญญมัญญปัจจัย ทำนองเดียวกับจิตและเจตสิก
ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว
ในบท นามรูป เป็นปัจจัยแก่สฬายตนะนั้น
ปัจจัย ๒๔ เกี่ยวแก่ผัสสะ
ในบทผัสสะ เป็นปัจจัยแก่เวทนานี้
เมื่อกล่าวโดยปัจจัย ๒๔ แล้ว ก็เป็นไปได้ด้วยอำนาจแห่งปัจจัย ๘ คือ
๑. สหชาตปัจจัย ๒. อัญญมัญญปัจจัย ๓. นิสสยปัจจัย
๔. วิปากปัจจัย ๕. อาหารปัจจัย ๖.
สัมปยุตตปัจจัย
๗. อัตถิปัจจัย ๘. อวิคตปัจจัย
หน้า ๓๖
องค์ที่ ๗ เวทนา
เวทนา เป็นปัจจัยแก่
ตัณหา คือ ตัณหาจะปรากฏเกิดขึ้นได้ ก็เพราะมี เวทนาเป็นปัจจัย เวทนา มี
ลักขณาทิจตุกะดังนี้
อนุภวนลกฺขณา มีการเสวยอารมณ์
เป็นลักษณะ
วิสยรสสมฺโภครสา มีการเสวยรสของอารมณ์ เป็นกิจ
สุขทุกฺขปจฺจุปฏฺฐานา มีความสุขและทุกข์ เป็นผล
ผสฺสปทฏฺฐานา มีผัสสะ เป็นเหตุใกล้
ในบทก่อน เวทนาที่เป็นปัจจยุบบันนธรรมของผัสสะนั้น
ได้แก่ เวทนา ๖ มี จักขุสัมผัสสชาเวทนา เป็นต้น มีมโนสัมผัสสชาเวทนา เป็นที่สุด
ในบทนี้ เวทนาที่เป็นปัจจัยช่วยอุปการะให้เกิดตัณหานี้ ก็ได้แก่ เวทนา
๖ นั้นเอง
ตัณหาที่เกิดขึ้น เพราะมีเวทนาเป็นปัจจัย คือ ตัณหาที่เป็นปัจจยุบบันนธรรม
ของเวทนานั้น ได้แก่ โลภเจตสิก ดวงเดียวเท่านั้น และเป็นปัจจัยให้เกิดปัจจยุบบันนธรรมดังนี้
เมื่อมีสุขเวทนาอยู่ ก็มีความติดใจในสุขนั้น และมีความปรารถนามีความ ประสงค์จะให้คงเป็นสุขอยู่อย่างนั้น
ตลอดไป หรือให้สุขยิ่งกว่านั้นขึ้นไปอีก ดังนี้จึง ได้ชื่อว่า สุขเวทนาเป็นปัจจัยให้เกิดตัณหา
ข้อนี้เห็นได้ง่าย เพราะสัตว์
ทั้งหลายย่อม เกลียดทุกข์ ประสงค์สุขด้วยกันทั้งนั้น
เมื่อมีทุกขเวทนาอยู่ ก็เป็นปัจจัยให้เกิดตัณหาได้ คือมีความปรารถนา มีความ
ประสงค์จะให้ทุกข์นั้นหาย
ไปหมดไปสิ้นไป แล้วมีความปรารถนาให้เกิดมีความสุข ต่อไป ดังนี้ จึงได้ชื่อว่า ทุกขเวทนา
เป็นปัจจัยให้เกิดตัณหา
เมื่อมีอุเบกขาเวทนาอยู่ ก็เป็นปัจจัยให้เกิดตัณหาได้ ด้วยคิดว่า แม้จะไม่ถึงกับ
มีความสุขก็ตาม แต่เมื่อไม่ได้
รับความทุกข์ดังที่เป็นอยู่เช่นนี้ก็ดีอยู่แล้ว จึงปรารถนา จะไม่ให้มีความทุกข์มาเบียดเบียน
ประสงค์ให้คงเป็นอุเบกขา
อยู่เช่นนี้เรื่อยๆ ตลอด ไป ยิ่งถึงกับมีความสุขด้วยก็ยิ่งดีมาก ดังนี้จึงได้ชื่อว่า
อุเบกขาเวทนา เป็นปัจจัยให้ เกิดตัณหา
หน้า ๓๗
ตัณหานี้ มีแสดงไว้เป็นหลายนัย
เช่น
๑. กล่าวโดยอารมณ์ ตัณหาก็คือความยินดีติดใจอยากได้ ซึ่งอารมณ์ทั้ง
๖ อันได้แก่
รูปตัณหา ยินดีติดใจอยากได้ รูปารมณ์
สัททตัณหา ยินดีติดใจอยากได้ สัททารมณ์
คันธตัณหา ยินดีติดใจอยากได้ คันธารมณ์
รสตัณหา ยินดีติดใจอยากได้ รสารมณ์
โผฏฐัพพตัณหา ยินดีติดใจอยากได้ โผฏฐัพพารมณ์
ธัมมตัณหา ยินดีติดใจอยากได้ ธัมมารมณ์
๒. กล่าวโดยอาการที่เป็นไป คือเมื่อมีความยินดีติดใจอยากได้ในอารมณ์
๖ นั้นแล้วก็มีอาการที่เป็นไป ๓ อย่างที่เรียกว่า กามตัณหา ภวตัณหา และวิภวตัณหา
มีอาการเป็นไปดังนี้
ก. กามตัณหา เป็นความยินดีติดใจในอารมณ์ ๖ ที่เกี่ยวกับกามคุณอารมณ์ ทั้ง
๕ แต่ไม่ประกอบด้วย สัสสตทิฏฐิ และอุจเฉททิฏฐิ
ข. ภวตัณหา เป็นความยินดีติดใจในอารมณ์ ๖ ที่ประกอบด้วยความเห็น
ดังต่อไปนี้ อย่างใดอย่างหนึ่งด้วย คือ
(๑) ติดใจในกามภพ การได้เกิดเป็นมนุษย์ เป็นเทวดา
(๒) ติดใจในรูปภพ การได้เกิดเป็นรูปพรหม
(๓) ติดใจในอรูปภพ การได้เกิดเป็นอรูปพรหม
(๔) ติดใจในฌานสมาบัติ การได้รูปฌาน อรูปฌาน
(๕) ติดใจในตัวตน คือเห็นว่าสัตว์ทั้งหลายมีตัวตน และตัวตนนี้ไม่สูญหายไป
ไหน ถึงจะตายก็ตายแต่ร่างกาย ตัวตนที่เป็นมนุษย์ก็จะไปเกิดเป็นมนุษย์อีก ตัวตนที่
เป็นสัตว์อย่างใด ก็จะไปเกิดเป็นสัตว์อย่างนั้นอีก ไม่มีการเปลี่ยน
แปลง โดยเห็นว่า เที่ยงอันเป็นความเห็นผิดที่เรียกว่า สัสสตทิฏฐิ (ข้อ ข. นี้มีมาใน
สุตตันตมหาวัคค อรรถกถา)
ค. วิภวตัณหา เป็นความยินดีติดใจในอารมณ์ ๖ ที่ประกอบด้วย อุจเฉททิฏฐิ
คือ ติดใจในความเห็นที่ว่า สิ่งทั้ง
หลายในโลกนี้มีตัวมีตนอยู่ แต่ว่าตัวตนนั้นไม่ สามารถที่จะตั้งอยู่ได้ตลอดไป ย่อมต้องสูญต้องสิ้นไปทั้งหมด
ตลอดจน
การกระทำทั้งหลายทั้งปวง ไม่ว่าจะเป็นกรรมดีหรือกรรมชั่ว ก็สูญหายไปสิ้นเช่นเดียวกัน
แม้ผู้ที่มีความเห็นว่า พระนิพพานมีตัวมีตน แล้วปรารถนาพระนิพพานเช่นนั้น ความปรารถนาเช่นนี้ก็ได้ชื่อว่า
วิภวตัณหา
รวมความในข้อ ๒ นี้ได้ว่า อาการที่เป็นไปในตัณหา ๓ ก็ได้แก่ พวกหนึ่ง
มีอุจเฉททิฏฐิเห็นว่าสูญ พวกหนึ่งมี
สัสสตทิฏฐิเห็นว่าเที่ยง ส่วนอีกพวกหนึ่งติดใจ อยากได้โดยไม่ได้คำนึงถึงว่าเป็นสิ่งที่สูญหรือเที่ยงแต่อย่างใด
ๆ เลย
หน้า ๓๘
๓. กล่าวโดยพิสดาร
เป็นการกล่าวอย่างกว้างขวางนั้น ตัณหานี้มีถึง ๑๐๘ คือ อารมณ์ของตัณหามี ๖ และอาการที่เป็นไปของตัณหามี
๓ จึงเป็นตัณหา (๖x๓) ๑๘ ตัณหา ๑๘ นี้มีทั้งที่เป็นภายในและภายนอก ภายใน ๑๘
ภายนอก ๑๘ ก็เป็น ๓๖ ตัณหา ๓๖ นี้มีได้ทั้ง ๓ กาล คือในอดีตกาล ๓๖ มีในปัจจุบันกาล
๓๖ และจะมีในอนาคตกาลอีก
๓๖ จึงเป็นตัณหา ๑๐๘ ด้วยกัน
เวทนา เป็นปัจจัยแก่ ตัณหานี้ เป็นได้เฉพาะแก่ผู้ที่มีกิเลสอยู่เท่านั้น
ส่วนผู้ที่ สิ้นอาสวะกิเลสโดยสิ้นเชิงแล้วนั้น เวทนาก็หาเป็นปัจจัยแก่ตัณหาไม่
อนึ่ง ในมัชฌิมปัณณาสก์อรรถกถาแสดง ความยินดีติดใจในการเจริญสมถะ และวิปัสสนา
ก็เรียกว่า ธัมมตัณหาได้
เหมือนกัน ดังมีสาธกบาลีแสดงไว้ว่า ธมฺมราเคน ธมฺมนนฺทิยาติ ปททฺวเยหิ สมถวิปสฺสนาสุ
ฉนฺทราโค วุตฺโต ซึ่ง
แปล ความว่า พระผู้มีพระภาคทรงกล่าวถึงความยินดีติดใจในการเจริญสมถกัมมัฏฐาน และวิปัสสนากัมมัฏฐาน
โดยบท ๒
บทว่า ธัมมราคะ ธัมมนันทิ ซึ่ง หมายความว่า ฉันทะ ราคะ ที่เกิดขึ้นในสมถภาวนาวิปัสสนาภาวนา
ชื่อว่า ธัมมตัณหา
ปัจจัย ๒๔ เกี่ยวแก่ เวทนา
ในบท เวทนา เป็นปัจจัยแก่ตัณหานี้
เมื่อกล่าวโดยปัจจัย ๒๔ แล้ว ก็เป็นไป ได้ด้วยอำนาจแห่งปัจจัยปัจจัยเดียว
เท่านั้น ปัจจัยนั้น คือ ปกตูปนิสสยปัจจัย
องค์ที่ ๘ ตัณหา
ตัณหา เป็นปัจจัยแก่อุปาทาน
คือ อุปาทานจะปรากฏเกิดขึ้นได้ก็เพราะมี ตัณหาเป็นปัจจัย ตัณหามี
ลักขณาทิจตุกะ ดังนี้
เหตุลกฺขณา เป็นเหตุแห่งทุกข์ทั้งปวง
เป็นลักษณะ
อภินนฺทนรสา มีความยินดี ติดใจในอารมณ์ ภูมิ
ภพ เป็นกิจ
อติตฺตภาวปจฺจุปฏฺฐานา มีความไม่อิ่มในอารมณ์ต่าง ๆ เป็นผล
เวทนาปทฏฺฐานา มีเวทนา เป็นเหตุใกล้
ในบทก่อน ตัณหาที่เป็นปัจจยุบบันนธรรมของเวทนานั้น ได้แก่ ตัณหา ๓ หรือ ๖ หรือ ๑๐๘
หน้า ๓๙
ในบทนี้ ตัณหาที่เป็นปัจจัยช่วยอุปการะให้เกิดอุปาทานนั้น
ก็ได้แก่ ตัณหา ๓ หรือ ๖ หรือ ๑๐๘ นั่นเอง
อุปาทาน ที่เป็นปัจจยุบบันนธรรมของตัณหานี้ ได้แก่
อุปาทาน ๔ คือ กามุปาทาน ทิฏฐุปาทาน สีลัพพตุปาทาน และอัตตวาทุปาทาน มีอธิบายโดยย่อ
ดังต่อไปนี้
๑. กามุปาทาน ความติดใจยึดมั่นในวัตถุกามทั้ง
๖ มี รูปารมณ์ เป็นต้น องค์ธรรมได้แก่ โลภเจตสิก
๒. ทิฏฐุปาทาน ความติดใจยึดมั่นในการเห็นผิด มีนิยตมิจฉาทิฏฐิ
๓, มิจฉาทิฏฐิ ๖๒ และ อันตัคคาหิกทิฏฐิ ๑๐ องค์ธรรมได้แก่ ทิฏฐิเจตสิก ที่นอกจาก
สีลัพพตทิฏฐิ และสักกายทิฏฐิ
๓. สีลัพพตุปาทาน ความติดใจยึดมั่นในการปฏิบัติที่ผิด มีการปฏิบัติเยี่ยงโค
และเยี่ยงสุนัข เป็นต้น องค์ธรรม
ได้แก่ สีลัพพตทิฏฐิ
๔. อัตตวาทุปาทาน ความติดใจยึดมั่นในขันธ์ ๕ ของตน และทั้งของผู้อื่น
ว่าเป็นตัวเป็นตน เป็นบุคคลเป็นเรา
เป็นเขา องค์ธรรมได้แก่ สักกายทิฏฐิ
ในข้อ ๑ กามุปาทาน ความติดใจยึดมั่นในวัตถุกามทั้ง ๖ นั้น เลยเรียกกันว่า
กามุปาทาน ๖ ได้แก่
รูปกามุปาทาน, สัททกามุปาทาน, คันธกามุปาทาน, รสกามุ ปาทาน, โผฏฐัพพกามุปาทาน และธัมมกามุปาทาน
ในข้อ ๒ ทิฏฐุปาทาน ความติดใจยึดมั่นในความเห็นผิดนั้น
ก. นิยตมิจฉาทิฏฐิ หรือบางทีก็เรียกว่า มิจฉัตตนิยตะ นั้นมี ๓
ได้แก่
(๑) อเหตุกทิฏฐิ มีความเห็นว่าสัตว์ทั้งหลายที่กำลังเป็นไปอยู่นั้น
ไม่ได้อาศัย เนื่องมาจากเหตุแต่อย่างใด
(ไม่เชื่อเหตุ, อธิจจสมุปปันนิกทิฏฐิ ๒)
(๒) นัตถิกทิฏฐิ มีความเห็นว่า การที่สัตว์ทั้งหลายกระทำอะไร ๆ
ก็ตาม ผลที่จะได้รับนั้นย่อมไม่มี (ไม่เชื่อผล, อุจเฉททิฏฐิ ๗)
(๓) อกริยทิฏฐิ มีความเห็นว่า การที่สัตว์ทั้งหลายกระทำกิจการต่าง
ๆ นั้น ไม่สำเร็จเป็นบุญหรือเป็นบาป
แต่อย่างใดทั้งสิ้น(ไม่เชื่อทั้งเหตุทั้งผล,สัสสตทิฏฐิ ๔)
ข. มิจฉาทิฏฐิ ๖๒ ซึ่งจำแนกเป็นสาขาใหญ่ได้ ๒ สาขา คือ ปุพพันต
กัปปิกทิฏฐิ ๑๘ และ
อปรันตกัปปิกทิฏฐิ ๔๔
หน้า ๔0
ปุพพันตกัปปิกทิฏฐิ ไม่เชื่อเหตุในอดีต
มี ๑๘ คือ
(๑) สัสสตทิฏฐิ ๔ เห็นว่า อัตตาและโลกเที่ยง (อกริยทิฏฐิ)
(๒) เอกัจจสัสสตเอกัจจอสัสสตทิฏฐิ ๔ เห็นว่าอัตตาและโลกบางอย่าง
เที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง
(๓) อันตานันติกทิฏฐิ ๔ เห็นว่าโลกมีที่สุด และไม่มีที่สุด
(๔) อมราวิกเขปิกทิฏฐิ ๔ ความเห็นซัดส่ายไม่ตายตัว จะว่าใช่ก็ไม่เชิง
จะว่าไม่ใช่ก็ไม่เชิง
(๕) อธิจจสมุปปันนิกทิฏฐิ ๒ เห็นว่าอัตตาและโลกเกิดขึ้นลอย ๆ ไม่มีเหตุ
(อเหตุกทิฏฐิ)
อปรันตกัปปิกทิฏฐิ ไม่เชื่อผลในอนาคต มี ๔๔ คือ
(๑) สัญญีวาททิฏฐิ ๑๖ เห็นว่าอัตตาไม่เสื่อมสลาย ตายแล้วมีสัญญา
(๒) อสัญญีวาททิฏฐิ ๘ เห็นว่าอัตตาไม่เสื่อมสลาย ตายแล้วไม่มีสัญญา
(๓) เนวสัญญีนาสัญญีวาททิฏฐิ ๘ เห็นว่าอัตตาไม่เสื่อมสลาย ตายแล้วมี
สัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่เชิง
(๔) อุทเฉททิฏฐิ ๗ เห็นว่าตายแล้วสูญ (นัตถิกทิฏฐิ)
(๕) ทิฏฐธัมมนิพพานวาททิฏฐิ ๕ เห็นว่าพระนิพพานมีในปัจจุบัน (คือ
๑.ว่ากามคุณ ๕ เป็นพระนิพพาน, ๒.ว่าปฐมฌาน, ๓.ว่าทุติยฌาน, ๔.ว่าตติยฌาน, ๕.ว่าจตุตถฌาน
เป็นพระนิพพาน)