เรื่องทำความรู้จักกับรูปธรรม ตอนที่ ๓
ผนฺทนํ จปลํ จิตฺตํ ทุรกฺขํ ทุนฺนิวารยํ
อุชุ กโรติ เมธาวี อุสุกาโรว เตชานํ.
คนมีปัญญาทำจิตที่ดิ้นร้น กวัดแกว่ง รักษายาก ห้ามยาก ให้ตรงได้ เหมือนช่างศรดัดลูกศรให้ตรงฉะนั้น
พุทธภาษิตดังกล่าวเป็นเรื่องของจิต ซึ่งเรื่องนี้เราจะเห็นได้ว่า การฝึกจิตนั้นไม่ใช่เป็นเรื่องการทำได้ง่ายๆ เราจะต้อง อาศัยสติปัญญาเป็นเครื่องทำการฝึกหัด ซึ่งพวกเราทุกคนได้ฝึกกันมาแล้ว แต่มันเป็นการฝึกชั่วขณะเพื่อหาความสงบ ซึ่งเรา เรียกว่าสมาธิ เราได้ตกลงกันแล้วไว้ว่าวันเสาร์เราจะเอาชีวิตกับธรรมะมาคลุกเคล้าปนกันเท่าที่เราจะนึกออก ส่วนในวันอาทิตย์ เราจะพูดกันถึงเรื่องของธรรมชาติแท้ๆ เพื่อพวกเราทุกคนจะได้นำไปประพฤติปฏิบัติกันในภายหลัง เผื่อว่าใครจะอุตริวิตถาน หาความสงบยิ่งกว่าสมาธิและเป็นการถาวรบ้าง
เรื่องทำความรู้จักกับรูปธรรมนั้นเราได้พูดกันมาหลายอาทิตย์แล้ว
เมื่ออาทิตย์ก่อนนั้นเราได้ทำความรู้จักกันกับ วาโย หรือ รูปลม ซึ่งยังค้างๆ
อยู่ ใคร่จะทวนให้ท่านได้นึกถึงบ้างเล็กน้อยคือ ลักษณะของวาโย นั้นมีการเคร่งตึงเป็นลักษณะ
มีการ ไหวเป็นกิจ มีการน้อมไปเป็นผล และมีธาตุที่เหลือทั้ง ๓ คือ ปฐวี อาโป และเตโชเป็นเหตุใกล้ชิด
ซึ่งจากลักษณะของธาตุแห่ง
ความไหวนี่แหละ ในชีวิตประจำวันของเรา เราก็สามารถจะนำมาใช้ประโยชน์ได้มากมายหลายประการ
อย่างง่ายๆ ก็คือพวก ที่เล่นพลิกแพลงอะไรต่างๆ มันก็ผลักดันให้สามารถเข้ารูปเข้ารอยอย่างเดิมได้
และนอกจากนั้นแล้ว ตัวลมนี้อีกนั่นแหละที่จะใช้ เป็นเครื่องมือสื่อสารต่างๆ ได้เป็นอย่างดี
เราได้พูดกันมาแล้วว่าวาโยธาตุนั้นแบ่งออกเป็น ๔ ประเภท คือ ลักขณวาโย หรือ ปรมัตถวาโย
ธาตุลม ซึ่งเราจะต้องจำไว้ให้ดี เพราะว่ามันจะเป็นตัวที่จะชักนำสติให้ระลึกรู้ในภายหลัง
ภายหลังจากที่เราได้ฝึก สติให้ระลึกรู้เป็นปัจจุบันธรรมแล้ว เวลานี้เรากำลังจะแนะนำสติให้รู้จักรูปธรรม
เป็นการก้าวขั้นที่ ๒ ของการรู้จักธรรมชาติอัน แท้จริง การที่เราจำเป็นต้องค่อยๆ
ก้าวมานี้ ผมนี่เห็นว่าการฝึกสติให้มีการระลึกรู้เป็นปัจจุบันธรรมนั้น ไม่ใช่เรื่องที่จะฝึกกันได้
ง่ายๆ อย่างที่บางคนเข้าใจ เพราะการฝึกเช่นนั้นมันเป็นการตรึก ไม่ใช่สติ ผมจึงอยากจะทำความเข้าใจกับพวกเราทั้งหลายให้
รู้จักสิ่งที่มีลักษณะใกล้เคียงกัน แต่ไม่มีใครสนใจที่จะแยกมันออกจากกัน นั่นคือ
วิตกเจตสิก ๑ มันทำหน้าที่ ตรึก นึก คิด นี่ เป็นหน้าที่ของวิตกเจตสิก และอีกประการหนึ่งก็สัญญาเจตสิก
คือการจำ นึกอะไรก็จำได้ ฟังเสียงอะไรก็จำได้ เห็นอะไรก็จำได้ นี่มันเป็นเรื่องของสัญญา
แต่คนส่วนใหญ่ ๙๙ เปอร์เซนต์เข้าใจว่าวิตกเจตสิกที่มันเกิดขึ้นหรือสัญญาเจตสิกที่มันเกิดขึ้น
เข้าใจ ว่าเป็นสติเจตสิก ความจริงมันไม่ใช่เช่นนั้น บางคนบอกว่าถ้าไม่มีสติจะไปทำโน่นทำนี่ได้อย่างไร
ผมเองไม่กล้าต่อล้อต่อเถียง เพราะคนส่วนใหญ่เขาเป็นอย่างนั้น ความจริงสติเจตสิกนั้นมันเป็นโสภณเจตสิกในเจตสิก
๕๒ ดวง เมื่อโสภณเจตสิกคือสติเกิด ขึ้นแล้วอกุศลเจตสิกทั้งหลายจะเกิดขึ้นพร้อมกันไม่ได้โดยเด็ดขาด
เรื่องนี้ขอให้พวกเราจำไว้ สติเจตสิกจะระลึกรู้เฉพาะในเรื่อง ของความถูกต้อง ความเป็นไปในกุศลกรรมเท่านั้น
สติเจตสิกไม่มีการที่จะนึกคิดไปในทางที่เป็นอกุศลแต่ประการใด อ้ายที่นึก คิดไปเช่นนั้นไม่ใช่สติเจตสิก
จำไว้ มันเป็นวิตกเจตสิก หรือสัญญาเจตสิก แต่คนไม่รู้ก็เอาเข้าไปปนกัน ผลแห่งการเจริญ
สติปัฏฐานหรือการปฏิบัติธรรมในขั้นสูงแทนที่จะเป็นวิปัสสนา มันก็กลายเป็นวิปัสสนึก
นี่เป็นอย่างนี้ ส่วนใหญ่มันเป็นอย่างนี้ เพราะสตินั้น เราเกิดมานับชาติแทบไม่ถ้วน
ถ้าเราไม่ใช่เป็นอริยบุคคลคนไหนล่ะที่จะยืนยันได้ว่าเคยฝึกสติมาแล้ว ไม่มี เพราะเหตุใด
เพราะว่าการฝึกสตินั้น ถ้าไม่มีการฝึก สติมันก็หลับมันไม่ยอมเล่นด้วย แต่ในวัฏฏะที่เราเวียนว่ายตายเกิดมานั้น
สิ่งที่ใกล้ชิดกับตัวเรามากที่สุดก็คืออกุศลเจตสิก เรื่องเช่นนี้ผมยืนยันได้ว่าแม้แต่สมณะบางรูปก็ยังแยกกันไม่ออกว่าอะไรเป็นสติ
เจตสิกหรืออะไรเป็นสัญญาเจตสิก ไม่รู้ไม่เข้าใจ ฉะนั้น มันถึงได้เกิดลัทธิวิธีการปฏิบัติธรรมประพฤติธรรมากมายหลายประการ
มันเป็นเรื่องที่ความเข้าใจผิด เพราะเขาไม่ได้ศึกษาในเรื่องจิตและเจตสิกมาถ่องให้แท้
ฉะนั้นในที่นี้เราจะเห็นได้ว่าการประพฤติ ธรรมปฏิบัติธรรมให้สมบูรณ์และถูกต้องนั้น
เราจะต้องเข้าใจในธรรมนั้นๆ เสียก่อน ไม่ใช่เอะอะหลับหูหลับตาเราก็ปฏิบัติไป มันเป็นไปไม่ได้
ฉะนั้นเราจะเห็นทางวิทยุที่ออกมาก็ดี หนังสือพิมพ์ที่ออกมาก็ดี อะไร รูปนั่ง รูปนอน
รูปยืน อะไรรูปเดิน นี่เพียงแต่อิริยาบถบรรพะในมหาสติปัฏฐานสูตรยังอ่านกันไม่ออกเลยเพียงแค่นี้
เพราะเหตุใด เพราะเขาไม่ศึกษารูปปรมัตถ์ เพราะรูปปรมัตถ์ที่จะนำพิจารณาในเรื่องของการประพฤติปฏิบัติธรรมขั้นสูงมันมีเพียง
๒๘ รูปเท่านั้น และ ใน ๒๘ รูปนั้น เอามาพิจารณายกขึ้นสู่ไตรลักษณ์นั้น มันก็เพียง
๑๘ รูปเท่านั้น อีก ๑0 รูปน่ะใช้ไม่ได้ ทำไมผมถึงได้บอกว่าใช้ไม่ได้ เพราะมัน ละเอียดละออ
มันยากยิ่งกว่าการที่เอามาฝึกมาประพฤติมาปฏิบัติกันในขั้นพิจารณาให้เห็นความเกิดความดับ
ให้เห็นการเป็น อนิจจัง การเป็นทุกขัง การเป็นอนัตตา สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่เห็นได้ยาก
ฉะนั้นเขาถึงไม่นำพิจารณา เว้นแต่ผู้ที่วิปัสสนาญาณได้ บังเกิดขึ้นแล้ว จึงจะนำมาพิจารณาได้
ส่วนใหญ่นั้นเราติด นำมาประพฤติปฏิบัติกันในขั้นพิจารณาก็คือมหาภูตรูป ๔ เป็นส่วน
ใหญ่ ฉะนั้นผมจึงได้ย้ำให้พวกเราทุกคนให้ทำความเข้าใจกับมหาภูตรูปให้ดีนะ เพราะว่าในชีวิตของเรานั้น
เราจะต้องประสบกับ เรื่องมหาภูตรูปเป็นสำคัญตลอดชีวิต นี่เป็นความหมายของ ลักขณวาโย
คือการเคร่ง ตึง และไหวโคลง นี่จำเอาไว้ว่าเป็น ลักษณะของวาโยธาตุ ซึ่งเป็นมหาภูตรูปตัวหนึ่ง
เป็นตัวใหญ่
นอกจากลักขณวาโยแล้ว ก็มาถึง สสัมภารวาโย ซึ่งแบ่งออกเป็น ๒ จำพวก คือลมภายในกับลมภายนอก โดยเฉพาะ ลมภายใน ซึ่งพวกเราผ่านกันมานั้นมันมีอยู่ ๖ ประการคือ
ลมพัดขึ้นเบื้องบน ได้แก่การเรอ
การหาว การไอ การจาม อะไรพวกนี้เป็นต้น สิ่งเหล่านี้ เมื่อเกิดอาการเช่นนี้
เราจะต้องระลึกทันทีว่ารูปอะไรมันเกิดขึ้นแล้ว นี่
นอกจากลมพัดขึ้นเบื้องบนแล้วก็ ลมพัดลงสู่เบื้องต่ำ พวกมีการผายลม
การเบ่งอุจจาระ เบ่งปัสสาวะ พวกนี้เรียก
ว่าลมพัดสู่เบื้องต่ำ อโธคมวาโย
นอกจากนี้แล้วประการที่ ๓ ก็คือลมในช่องท้อง ซึ่งทำให้ปวดท้อง
เสียดท้อง อะไรพวกนี้ นี่เราจะต้องเข้าใจว่ามัน
เป็นประเภทลมภายใน ถ้าเรารู้จักลักษณะของประเภทลมภายในทุกๆ อย่างทุกๆ ตัว ให้ละเอียดรอบคอบแล้ว
ต่อไปเราก็เอา
มาใช้ในชีวิตประจำวันได้
ทีนี้ลมภายในประเภทที่ ๔ ก็คือลมที่อยู่ในลำไส้ เช่น ท้องลั่น ท้องร้อง
อะไรพวกนี้ เป็นต้น ซึ่งพวกเราทุกคนก็เคยประสบ
กับชีวิตมาแล้ว
ทีนี้อีกประการหนึ่งซึ่งเราไม่ได้สนใจกัน นี่เป็นลมที่พัดอยู่ทั่วร่างกาย
อันนี้เป็นเรื่องที่สำคัญ สำคัญอย่างไร เพราะ
มันทำให้เราไหวกายได้ไง ถ้าไม่มีลมตัวนี้เราไหวกายไม่ได้ นี่เห็นไหม ฉะนั้นการไหวกายทีเราก้าวไป
เดินไปอะไร ลมตัวนี้
แต่ลักษณะของมันเป็นลักษณะของการเคร่ง ตึง ไหว นั่นเป็นลมภายใน อันนี้เราจะต้องทำความเข้าใจให้ดีๆ
ลมภายนอกประการที่ ๖ ก็คือลมหายใจเข้าออก
นี่เป็นลมที่เกิดขึ้นกับร่างกายของเรา ลมหายใจเข้าออกนี่เป็นลม
ภายนอกนะ นี่อ้ายคำว่าลมภายในแท้ๆ นี่ มันจะไม่ปรากฏออกมาข้างนอก แต่มันจะปรากฏจากความรู้สึกของเราเอง
ลองเกร็ง
ตัวดูซิ มันจะเกิดการเคร่งตึงไหว นั่นแหละลักษณะของลมภายใน นี่เราต้องเข้าอันนี้
ต้องแยกระหว่างในกับภายนอกออกกันให้ดี
ทีนี้ลมภายนอกต่อไป ลมภายนอก ซึ่งเป็นส่วนประกอบซึ่งไม่มีวิญญาณ เมื่อกี้นี้เรามีลมภายใน ภายนอกนี่ ลมในสิ่ง ที่มีวิญญาณนะ คือความหมายในร่างกายของเรา ทีนี้ในสิ่งที่ไม่มีวิญญาณนี่มันก็มีลมอีกเรียกว่าลมภายนอกซึ่งเป็นส่วนที่ไม่มี วิญญาณ พวกลมตะวันออกขณะนี้ลมหนาวกำลังมาแล้ว ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ลมใต้อะไรนี่ ลมร้อน ลมเย็น เป็นลักษณะ ของลมภายนอกซึ่งไม่มีวิญญาณ
ทีนี้ลมอีกตัวหนึ่งเป็น ลมของอารมณ์
หมายถึง กสิณวาโย นั่นเอง คือใช้อารมณ์ในการทำสมาธิ อันนี้ก็เป็นลม
เหมือนกัน แต่เป็นลมของอารมณ์จิตที่เราใช้ทำสมาธิ ซึ่งในลักษณะของลมที่ใช้ทำสมาธิ
นี่ความจริงเราไม่เห็นตัวลม ไม่เห็น เพราะว่าลักษณะของลมนี่มันเป็นลักษณะเคร่ง
ตึง ไหว แต่ทำไมละเราเอาลมมาทำสมาธิ มาเป็นตัวอารมณ์ทำตัวกัมมัฏฐาน ทำไมถึงได้
ทำได้ เราทำได้โดยอาศัยความไหว อาจจะเป็นพวกใบไม้บ้าง เส้นผมที่ไหวบ้าง หรือก้อนเมฆที่ลอยไปบ้าง
อันนี้เกิดจากลมที่ เป็นอารมณ์ทั้งนั้น นำมาเป็นอารมณ์ได้ในเรื่องลมนั้น เพราะว่าเราศึกษาจากไหน
เราศึกษาในลักษณะของลม
โดยตรงว่ามันเคร่ง ตึง ไหว เพราะฉะนั้นใบไม้ที่มันไหวได้มันก็โดนลม เวลาเราจะกำหนดกสิณเราไม่ได้กำหนดที่ตัวใบไม้
แต่เรากำหนดที่ ลักษณะเคร่ง ตึง ไหว ของใบไม้อันนั้น นี่เราถึงจะจับลมหรือวาโย
นี่เป็นอารมณ์ในการทำกัมมัฏฐานได้ ถ้าไม่งั้นทำไม่ได้ แม้แต่ ลมหายใจเข้าออกของเรานี่
เวลาเราจะทำวาโยกสิณนี่ เราจะไปกำหนดอย่างอานาปานาสติไม่ได้นะ
เราต้องกำหนดในลักษณะของการเคร่ง ตึง ไหว ถ้าเรากำหนดอย่างอานาปานสติ มันจะไม่เกิดเป็นกสิณเลย
มันก็คงจะเป็น อนุสตินั่นเอง
นอกจากนั้นแล้วก็มี ปกติวาโย ก็คือลมธรรมดาที่พัดผ่านไปผ่านมา อย่างพัดลมนี่ มันพัดไปก็เป็นวาโย
นอกจากวาโยที่นั่นแล้วผมใคร่จะสรุปให้พวกเราฟังดังนี้
วาโยนี้เป็นธาตุที่มีความสำคัญมากแก่สัตว์ที่มีวิญญาณ เพราะถ้าไม่มีลมหายใจแล้ว
อย่างพวกเรานี้ถ้าไม่มีลมหายใจมันก็ต้องตาย ธาตุลมนี่แหละที่ทำให้ไหววาจาและไหวกาย
ในเรื่อง นี้ถ้าพวกเราไม่ลืมเสีย เราจะเห็นวิญญัตติรูปนั้นแบ่งออกเป็น ๒ รูป กายวิญญัตติกับวจีวิญญัตติ
กายวิญญัตติรูปนั้นหมายถึง การเคลื่อนไหวทางกาย นี่เป็นลักษณะของลม แต่ที่นี้วจีวิญญัตติอย่างที่ผมพูดกับพวกคุณนี่
ก็เป็นการไหววาจา ถ้าไม่มีรูปลม เป็นอุปกรณ์ ผมทำอะไรไม่ได้ พูดไม่ได้ พูดไม่ออก
นี่ แต่ทีนี้คุณเห็นเป็นเรื่องง่ายๆ ที่เราพูดกันว่ามันเป็นลมหรือการเคลื่อนไหว
ว่ามันเป็นลม ใครๆ ก็เห็น แต่ทำไมถึงไม่ได้เอามาพิจารณา วิญญัตติรูปนี่ทำไมถึงเอามาพิจารณาในการเจริญสติปัฏฐานไม่ได้
ลักษณะนี้ไม่สามารถรู้ได้ทางปัญจทวารนะ คิดดูให้ดีนะ วิญญัตติรูปการเคลื่อนไหวกายก็ดี
การเคลื่อนวาจาก็ดี รู้ได้เฉพาะทาง มโนทวารทางเดียวเท่านั้นนะ ไล่ดูให้ดีเถอะ แต่คนส่วนมากนี่ไม่เข้าใจ
ฉะนั้นถึงได้ไปยกเป็นรูปเดิน รูปนั่ง รูปนอน รูปยืน ซึ่งมัน ไม่ใช่ อ้ายนั่นมันเป็นวัณณรูปตัวเดียวเท่านั้นเอง
ลองดูซิ เวลาเราเดินนี่เรารู้ได้อย่างไร ถ้าเราก้าวเข้าไปเหยียบของแข็ง
นั่นก็เป็นปฐวีธาตุ รูปธาตุ ไม่ใช่เรื่องลม เรารู้จากอาการเคร่ง ตึง ไหว รู้จากไหน
รู้จากจิตของเรา ฉะนั้นวิญญัตติรูปตัวนี้มันจะ
นำมาพิจารณายกขึ้นเป็นไตรลักษณ์ไม่ได้ เพราะว่ามันเป็นการยาก เพราะในการฝึกสติให้รู้จักรูปนามในเบื้องต้นนั้น
เราต้องหา ของง่ายๆ สิ่งง่ายๆ นั้นก็คือมหาภูตรูป ๔ นี่ซึ่งเราประสบได้ง่ายที่สุดเลยนี่ไม่ว่าเราจะยืน
จะเดิน จะนอน จะนั่ง จะพูด อะไร พวกนี้ อย่างพูดอย่างนี้ แทนที่เราจะเอาวิญญัตติรูปในวจีวิญญัตติมาพิจารณา
เราก็เอาเพียงแต่เสียงเท่านั้นเป็นสัททรูปคือรูป ของเสียงเข้ามาประกอบเข้ากับโสตปสาทรูป
มันก็เกิดเป็นโสตวิญญาณเกิดขึ้น ในเบื้องต้นเราต้องศึกษาอย่างนี้ เราอย่าไป
ศึกษาพรวดไป ขึ้นต้นไม้ยังไม่ถึงโคนต้นเลย โดดเข้าไปถึงยอดน่ะ อย่างนี้ตกคอหักตายแน่ไม่มีปัญหา
ฉะนั้นเราอย่าไปเอา
อย่างใครเขา นอกจากนั้นแล้ว การไหววาจาก็ดี ไหวกายก็ดี มันมีทั้งประโยชน์มีทั้งโทษ
ทำไมถึงได้เป็นอย่างนั้น การวิญญัตติ
หรือวจีวิญญัตติทำไมถึงได้เป็นประโยชน์และเกิดโทษ ถ้าเราพูดในเรื่องวาจาภาษิตมันก็เกิดประโยชน์
แต่ถ้าเราไปด่าพ่อล่อ
แม่เขามัน ก็เกิดโทษนี่เป็นเรื่องของวจีวิญญัตติ ถ้ากายวิญญัตติก็เหมือนกัน เราเดินผ่านใครไปมาเราหลีกทางให้เขา
อ้ายนี่มัน
ก็เกิดประโยชน์ แต่ถ้าเราไปชกหน้าใครเขาโครมเข้ามันก็เกิดโทษตำรวจจับแน่ นี่เป็นเรื่องของวิญญัตติรูปทั้งนั้น
มันเป็นได้ทั้ง
บุญทั้งบาป ฉะนั้นการไหวหรือวิญญัตติรูปนี้จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่เราจะต้องมีสติระลึกรู้อยู่เสมอ
พวกเราบางคนอาจจะเคยเข้า
ไปตรวจกันในคุกมาบ้างแล้ว ไปเถอะไปคุยกับพวกนักโทษเถอะ ไม่มีหรอก เขาหาว่าผมเป็นอย่างนั้นครับ
เขาหาว่าผมเป็น
อย่างนี้ครับ เขาไม่ผิดเลยล่ะ บางทีติดคุกตลอดชีวิตไม่ผิดเลย นี่เพราะเหตุไร เพราะพวกนี้ไม่มีสติ
เป็นคนที่หลงลืมสติ ไม่รู้ว่า
วิญญัตติรูปของตัวนั้น กายวิญญัตติก็ดีหรือวจีวิญญัตติก็ดี มันได้ทำอะไรลงไปบ้าง
ถูกหรือผิดไม่รู้ทั้งนั้น คิดว่าตัวถูกวันยังค่ำ นี่ถ้าเราไปคุยกับพวกคนในคุกนี่
เราถึงจะรู้ว่าอะไรมันเป็นอะไร
นอกจากนั้นแล้ว ธาตุทั้ง ๔ หรือมหาภูตรปนี้
อันได้แก่ ปฐวี อาโป วาโย เตโชนี้ จำไว้นะเขาเรียกว่า สหชาตธรรม คือเป็นธรรมที่เกิดพร้อมกัน
ร่วมกัน ไม่มีอะไรที่ไหนที่เกิดมาแล้วมันจะแยกออกจากกันไปได้ นี่ผมพูดถึงธรรมชาตินะ
ถ้าปกติตามธรรมชาติของมัน มันจะต้องเกาะกุมกันอยู่ เพราะเหตุไร เพราะมันเป็นสหชาตธรรม
มันจะต้องปรากฏครบคณะ
ของมัน ลองเอาก้อนอิฐปาหัวคุณโครมเข้าซี หัวแตก ทำไมก้อนอิฐปาหัวโครมถึงได้หัวแตก
ก็เพราะว่ามันเป็นดิน มันมีลักษณะ แข็งหรืออ่อน แต่เราเอาน้ำราดหัวเธอเข้า มันก็เปียก
หัวไม่แตก อ้าวอย่างงั้นน้ำไม่มีดินเรอะ มี แต่มันมีน้อย ฉะนั้นเราจงจำไว้ ว่าธาตุดินนั้นที่แข็งนั้นย่อมมีน้ำเกาะกุมอยู่
อยู่กับไฟที่เย็น และอยู่กับลมที่เคร่งตึง นี่ของลักษณะแข็งนะ ลักษณะแข็ง ส่วนธาตุ
ดินที่อ่อน ย่อมอยู่กับน้ำที่ไหลและกับไฟที่ร้อน และลมที่ไหว เอ้า เรามาพิสูจน์กันว่าข้อเท็จจริงในเรื่องนี้ว่าจริงหรือไม่จริง
เราเอาตะกั่วมา ตะกั่วนี่ขว้างหัวพวกคุณแตกแน่ เพราะเหตุไร เพราะมันมีน้ำเกาะกุมอยู่
และมันอยู่ที่ไฟเย็น ลองดึงดูซิตะกั่ว
ยังไม่ละลาย ดึงซิ ดึงไม่ออก มันเป็นแท่ง มันก็มีความเคร่งตึงอยู่ อยู่ในลักษณะไฟที่เย็น
ไฟในที่นี้อย่าเข้าใจว่าไฟจะต้องร้อน
เสมอไป ในหลักของวิทยาศาสตร์เราวัดอุณหภูมิของความร้อนด้วยปรอท อย่าเข้าใจว่าศูนย์องศาหรือต่ำกว่า
under ศูนย์องศา
นั้น จะเป็นความเย็น ไม่ใช่ มันเป็นเรื่องความร้อนน้อยกับความร้อนมาก นี่เป็นภาษาของวิทยาศาสตร์ซึ่งเข้ากับภาษาของ
ธรรมะได้เป็นอย่างดี เราไม่ว่าจะดูอุณหภูมิ ไม่ว่าองศาฟาเรนไฮท์ก็ดีหรือองศาเซนติเกรด
ซึ่งเดี๋ยวนี้เขาเรียกผิดจากเซนติเกรด เป็นอะไรผมจำไม่ได้ เรียกเป็นชื่อของคนที่
เซลเซียส นั่นล่ะเป็นชื่อของคนที่ค้นพบ มันก็อันเดียวกัน เพราะจุดน้ำแข็งนั้นน่ะมัน
อยู่ที่ศูนย์องศา จุดน้ำเดือดอยู่ที่ ๑00 องศา แต่ทีนี้ต่ำกว่าศูนย์องศามันก็เรียกเป็นความร้อนเหมือนกัน
แต่เป็นความร้อนลบ นี่ ฉะนั้นภาษาธรรมะในเรื่องความอ่อนความแข็งความเย็นความร้อนก็เหมือนกัน
ทีนี้ส่วนลักษณะธาตุดินที่อ่อนนั้นย่อมขึ้นอยู่กับ น้ำที่ไหล กับไฟที่ร้อน ตะกั่วเราใส่กะทะให้ร้อนสิละลาย
ไหล ร้อน นั่นเป็นลักษณะของน้ำที่มันมีอยู่ แล้วมันก็ไหลได้เพราะว่า มันไปอยู่กับธาตุไฟที่ร้อน
นอกจากนี้แล้วพวกเราควรจะได้รู้ต่อไปว่าอ้ายธาตุที่มันเป็นมิตรกับเป็นศัตรูกันนั้น
มันมีคู่ธาตุกันอยู่ ธาตุที่เป็นมิตร เรียกว่า มิสสกธาตุ และธาตุที่เป็นศัตรูกันนั้นเรียกว่า
ปฏิปักขธาตุ หมายความว่าเป็นศัตรูกัน คือคู่ธาตุกับศัตรูธาตุ ทีนี้เรา
ดูต่อไปว่าอะไรมันเป็นมิตร อะไรมันเป็นศัตรู อันนี้ถ้าพวกเราทั้งหลายจะนำเอาธรรมะไปใช้ให้เป็นประโยชน์แก่ตัวเองทีหลังนี่
ทำความเข้าใจให้ดีในเรื่องธาตุ ๔ นี่ เพราะว่ามันมีประโยชน์อย่างมากมายเหลือเกิน
แต่คนส่วนใหญ่มองผ่านไปเสีย คิดว่ามัน ไม่มีความหมายประการใด โดยเฉพาะอย่างยิ่งธาตุดินหรอืปฐวีกับอาโปคือธาตุน้ำนั้น
มันเป็นคู่มิตรคู่ธาตุกันอีกอันหนึ่ง ทีนี้
ต่อไปปฐวีดินกับวาโยลม มันเป็นศัตรูธาตุกันหรือคู่ศัตรูกันอีกอันหนึ่ง เตโชคือธาตุไฟกับอาโปธาตุน้ำมันเป็นศัตรูคู่ธาตุกันอีก
คู่หนึ่ง อันนี้จำไว้นะ เพราะถ้าเราศึกษาธรรมะให้สูงๆ ในขั้นต่อไป แล้วเราจะนำเอารูปปรมัตถ์เอามาใช้ประโยชน์ในการแก้ไข
ปรับปรุงเรื่องธาตุต่อไปได้ในภายหลัง ถ้าเราไม่รู้ลักษณะความเป็นมิตร ความเป็นศัตรู
ลักษณะอันแท้จริงของธาตุ ๔ แล้ว ก็เป็นการยากที่เราจะนำเอาธาตุแต่ละตัวเอามาใช้
อันนี้ไม่ใช่เรื่องของปรมัตถธรรม เป็นเรื่องเราหาประโยชน์เอามาใช้ส่วนตัว ปฐวีธาตุกับอาโปธาตุซึ่งเป็นคู่ธาตุกัน
เพราะเป็นธาตุหนักเหมือนกัน ที่ใดมีดินมากที่นั้นก็มีน้ำมากด้วย ที่เตโชธาตุกับวาโยธาตุ
เป็นคู่ธาตุกันเพราะเป็นธาตุที่เบาเหมือนกัน ที่ใดมีไฟมากที่นั้นมีลมมากด้วย ธาตุทั้ง
๔ ที่ได้กล่าวมานี้ เฉพาะที่เป็นส่วน ประกอบในร่างกายที่มีวิญญาณเท่านั้นนะ ที่ผมพูดมานี้เพราะว่าการที่เราจะเอาธาตุ
๔ มาปรับปรุงแก้ไขทุกๆ อย่างนี่ มันเป็น เรื่องของภายในของร่างกายบางคนเป็นไข้
เจ็บนั่น อะไรพวกนี้ เกี่ยวกับธาตุ ๔ มันเกินบ้าง มันขาดบ้าง ฉะนั้นถ้ามันเกินเรา
ก็ต้องเอาศัตรูเข้าไปช่วยมัน อะไรพวกนี้ เราต้องเข้าใจ นี่เป็นเรื่องมหาภูตรูป
๔ ที่ผมได้กล่าวมาแล้วหลายอาทิตย์นั้น ก็ขอ ให้พวกเราได้จำเอาไว้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งลักษณะของรูปนั้นๆ
เมื่อผมพูดถึงมหาภูตรูป ๔ จบลงแล้ว ผมก็ใคร่จะยกรูปต่อไปนำมาให้พวกเราได้รู้จักกัน คำว่าพวกเราที่รู้จักกันในที่นี้ ต้องการให้สติเจตสิกของพวกเราแต่ละคนได้รู้จักลักษณะของมันแต่ละตัวว่า ปฐวีธาตุนั้นลักษณะมันอ่อนและแข็ง นี่เป็นลักษณะ ของปฐวีธาตุ ซึ่งเราจะต้องนำเอาความรู้อันนี้มาใช้ในภายหลัง ลักษณะของอาโปธาตุนั้นคือซาบซึมไหล ลักษณะของเตโชธาตุ นั้นคือความร้อนและความเย็น ซึ่งรวมทั้งความอุ่นด้วย และลักษณะของวาโยธาตุนั้นคือการเคร่ง ตึง ไหว คลอน พวกนี้เป็น ลักษณะของมหาภูตรูป ๔ ซึ่งเป็นรูปที่เกิดขึ้นด้วยตัวของมันเอง และรูปปรมัตถ์ที่เหลืออีก ๒๔ รูปจะต้องอาศัยมหาภูตรูปนี้เป็น ตัวเกิด ถ้าไม่มีมหาภูตรูปเป็นตัวเกิดแล้ว รูป ๒๔ ซึ่งเราเรียกว่าอนิปผันนรูปนั้นก็ไม่สามารถที่จะเกิดขึ้นได้ ฉะนั้นอย่างน้อยเรา จะต้องจดจำลักษณะมหาภูตรูป ๔ ให้ดี เพราะอะไร เพราะถ้าเราจำได้แล้ว สติที่มันระลึกรู้ซึ่งเราฝึกมันจนเกิดขึ้นแล้ว มันจะไม่ เกิดประโยชน์อันใดเลย ทำไมผมถึงบอกว่ามันไม่เกิดประโยชน์ เพราะมันไม่รู้ว่าอะไรเป็นรูป อะไรเป็นนาม เมื่อคุณไม่รู้ว่าอะไร เป็นรูปอะไรเป็นนามแล้ว เราจะยกมันขึ้นสู่ไตรลักษณ์หรือพิจารณาการเกิดดับของมันได้อย่างไร สิ่งเหล่านี้เป็นตัวสำคัญที่สุด จึงขอเตือนพวกเราทุกคนไว้ อย่าลืมมันเสีย
ประเภทที่ ๒ ปสาทรูป
ต่อไปผมก็จะแนะนำให้พวกเราได้รู้จักกับรูปประเภทที่
๒ ซึ่งเรียกว่า ปสาทรูป ปสาทรูปนี้ได้แก่จักขุปสาทรูป โสตปสาท รูป ฆานสาทรูป ชิวหาปสาทรูป
และกายปสาทรูป พวกเราผมพูดถึงเรื่องปสาทรูปนี้ พวกเราอย่างเพิ่งสงสัย ฟังไปก่อน
ถ้าคุณ ไม่รู้จักปสาทรูปคุณก็คงจะไม่มีโอกาสรู้จักนามธรรมนั้นว่าลักษณะมันเป็นอย่างไร
เรารู้ไม่ได้ เรารู้ได้ต่อเมื่อเรามีปสาทรูป ๕ อยู่ เราถึงรู้จักนามธรรมได้ เราได้เคยพูดกันมาคร่าวๆ
ตั้งแต่ต้นแล้วว่า นามธรรมมันจะเกิดขึ้นได้เนื่องจากรูปต่อรูปกระทบกัน นาม ธรรมมันถึงจะเกิดขึ้นได้
เมื่อเราพูดกันมาถึงว่าปสาทรูปมันมีอะไรบ้างแล้ว เราควรจะทำความเข้าใจกับความหมายของคำว่า
ปสาทรูป หมายความว่าอะไร ปสาทรูป ในที่นี้ภาษาธรรมแปลว่า ความใส ความเลื่อมใส
ในที่นี้มีความหมายว่าปสาทรูปคือ รูปที่มีความสามารถในการรับอารมณ์ เพราะว่าถ้ารูปนั้นไม่ใส
มีแต่ความขุ่นมัวแล้วก็ไม่สามารถที่จะรับอารมณ์นั้นได้ ผมพูด
เท่านี้ ฟังดูแล้วก็พิจารณาไตร่ตรองดูให้ดี ผมพูดคุณได้ยินชัดแจ้งเพราะว่าโสตปสาทของคุณมันมีความใส
คุณจึงสามารถได้ยิน เสียงที่ผมพูดได้ ถ้าโสตปสาทของคุณมีความขุ่นมัว คุณก็ฟังได้ยินบ้างไม่ได้ยินบ้าง
และถ้าโสตปสาทของคุณมีความมืดมิด คุณก็ไม่มีโอกาสที่จะได้ยินเสียงผมเลย ทั้งๆ ที่ผมได้พูดออกไป
คนอื่นเขาได้ยินแต่คุณไม่ได้ยิน หรือได้ยินบ้าง ไมได้ยินบ้าง ชัดบ้าง ไม่ชัดบ้าง
เหล่านี้ขึ้นอยู่กับความใสของปสาทรูปนั่นเอง เราพูดภาษาธรรมะกันอาจจะไม่เข้าใจ
เราก็มาพูดภาษาชาว บ้านบ้าง ถ้าโสตปสาทรูปมันไม่แจ่มใส นั่นคืออะไร หูตึง หูหนวก
เป็นต้น หรือจักขุปสาทรูปไม่แจ่มใส เรามองอะไรมันก็ฝ้าฟาง ไม่ชัดเจน ก็คือตาฟาง
ตาฝ้า ตาบอดนั่นเอง นี่เห็นไหม อำนาจของปสาทรูป คุณคิดดูรึสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประสูติใน
วงศ์ของมหากษัตริย์ พระองค์ไม่เคยศึกษาในเรื่องแพทยศาสตร์เลย แต่ทำไมธรรมะที่พระองค์ค้นคว้านั้นจาระไนยิบหมด
วิชา ทางแพทย์เอาเข้าไปใช้หมดในเรื่องปสาทรูปนี้ สังเกตดู่วาพระธรรมคำสอนนั้น ๒,๕00
กว่าปีมาแล้ว มีความลึกซึ้งแค่ไหน ที่ผม พูดมานี่หมายถึงปสาทรูปโดยทั่วๆไป ผมยังไม่ได้หยิบยกเอาแต่ละตัวของปสาทรูปมาพูดกันให้ฟัง
อยากจะให้พวกเราค่อยๆเดิน ไป ทำความเข้าใจไปทีละเล็กทีละน้อย แล้วเราจะเข้าใจมากขึ้นๆ
นั่นแหละในขณะเดียวกันเราก็ฝึกสติให้มันระลึกรู้เป็นปัจจุบัน ธรรมมากขึ้นๆ เพราะเนื่องจากการฝึกสติของเรานั้นเราได้พูดกันมามากมายหลายสิบหนแล้ว
ฉะนั้นแล้วควรจะให้มันตื่นขึ้นสัก ทีนึง เวลานี้เราได้รู้จักธรรมไป ๔ ตัวแล้ว เราเริ่มรู้จักตัวที่
๕ ต่อไป
๕. จักขุปสาทรูป
ตัวที่ ๕ ในที่นี้ผมหมายถึง จักขุปสาทรูป นั่นเอง ซึ่งอยู่ในประเภทของปสาทรูป ๕ จักขุปสาทรูปนี้เราจำเป็นอย่างยิ่ง จะต้องจดจำลักษณะของมันเอาไว้ ลักษณะในที่นี้ก็มีความใสของมหาภูตรูปที่กระทบอารมณ์เป็นลักษณะ ฟังให้ดีนะครับ ผมพูด นั่งพูดอยู่ที่นี้ ผมมองหน้าคุณชัดเจนแจ่มใส หน้าคุณชัดเจนแจ่มใสนั้นหมายความว่าจักขุปสาทรูปของผมดี ผมจึงเห็นความใส ของมหาภูตรูปที่กระทบอารมณ์ได้หมด ทำความเข้าใจให้ดีๆ พูดทำไมมี คนตาดีๆ ไม่ใช่ตาบอด ไม่ใช่ตาพิการ เรามองอะไรเรา ก็เห็นได้โดยชัดเจนแจ่มใสไม่ฝ้าฟาง ไม่ใช่มองเห็นสุนัขเป็นคน หรือคนเป็นสุนัขไม่ใช่อย่างนี้ อ้ายอย่างนี้ปสาทรูปไม่ดีแน่
นอกจากลักษณะของความใสของมหาภูตรูป
๔ ที่กระทบอารมณ์เป็นลักษณะแล้ว เรื่องต่อไปก็คือมีการแสวงหา รูปารมณ์เป็นกิจ
เป็นหน้าที่ของมัน คนเรานี้ถ้าเราตาไม่บอดเสีย ก็ใช้ตาดูโน่นดูนี่ ภาษาธรรมะเรียกว่าการแสวงหารูปารมณ์
เป็นกิจ เพราะรูปที่แลเห็นทางตานี่เราเรียกว่ารูปารมณ์หรือรูปสีก็ได้ รูปกับรูปก็ได้
หน้าที่นะ นอกจากนั้นผลมันคืออะไร มีการทรงอยู่ของจักขุวิญญาณ เป็นผล มีมหาภูตรูปอันเกิดจากกรรม
เป็นเหตุใกล้ ฟังให้ดีนะ พวกเราบางคนอาจจะไม่เข้า
ใจว่ามีการทรงอยู่ของจักขุวิญญาณเป็นผลนั้น คุณจะแลเห็นคนตาย ทวิปัญจวิญญาณมันไม่มีแล้วคนตาย
ฉะนั้นแม้คนตาย แม้จะลืมตามันก็ไม่แลเห็น เพราะมันไม่มีจักขุวิญญาณทรงอยู่ ผมบอกมาแล้วนี่ว่าปสาทรูปคือความใสทางนัยน์ตาไปกระทบกับ
รูปารมณ์เข้า จักขุวิญญาณมันถึงได้เกิดคือการแลเห็น คุณจะต้องแยกออกจากกันนะ การแลเห็นรูปที่กระทบกับตานั้นมันคนละ
ตัว รูปรูปารมณ์ ที่กระทบกับปสาทรูป นั่นมันเป็นรูปต่อรูปกระทบกัน การแลเห็นเกิดขึ้นเนื่องจากผลกระทบนั้นมันเป็นนาม
ธรรม มันคนละตัว มันเป็นผลของจักขุวิญญาณที่เกิดขึ้น เราต้องทำความเข้าใจกันให้ดีในเรื่องนี้
ถ้าเราไม่สามารถทำความเข้า
ใจกันได้แล้ว ปัญหา เรื่องรูปกับนามเราแยกกันไม่ออก เมื่อรูปกับนามเราแยกกันไม่ออก
เราก็ไม่สามารถสร้างกัมมัฏฐาน ซึ่ง
เรียกว่าสติปัฏฐาน ๔ หรือวิปัสสนาให้ก้าวหน้าไปได้ ถ้ามันจะก้าวไปก็เรียกว่าวิปัสสนึก
ไม่ใช่วิปัสสนา เรื่องนี้คนส่วนใหญ่
ที่ประพฤติปฏิบัติกันก็ดี ที่อบรมสั่งสอนก็ดี ไม่ได้นึกถึงความสำคัญในเรื่องนี้
เหตุฉะนี้แหละมันถึงได้เป็นวิปัสสนึก แทนที่สติมัน
จะเกิด มันกลายเป็นวิตกเจตสิกบ้าง สัญญาเจตสิกบ้าง ที่เกิด ไม่ใช่สติเจตสิก เพราะสติเจตสิกถ้าใครได้ฝึกสติให้มันเกิดขึ้นแล้ว
เราจะเห็นว่ามีคุณค่ามหาศาล ไม่ใช่อย่างที่เขาเข้าใจ ถ้าเราไม่ศึกษา ไม่ทำความเข้าใจให้ถ่องแท้แล้ว
เราไม่สามารถที่จะแยก
ออกมาได้ระหว่างรูป กับนาม ไม่มีทาง นี่เป็นความหมายของการทรงอยู่ของจักขุวิญญาณ
ทีนี้เรื่องที่ ๒ ที่ผมเข้าใจว่าคุณจะไม่เข้าใจก็คือว่า
มีมหาภูตรูปอันเกิดจากกรรมเป็นเหตุใกล้ ฟังดูให้ดี คุณนั่งจ๋ออยู่ อย่างนี้อะไร
ที่คุณนั่งอยู่ได้ที่แลเห็นนี่ก็คือมหาภูตรูป คุณออกมาจากลูกไม้หรือผุดมาจากในดิน
หรือโผล่ขึ้นจากในน้ำ ไม่ใช่ เราออกมาจากท้องพ่อท้องแม่ทุกคน ทุกคนต้องมีพ่อมีแม่
ทางจุติปฏิสนธิมันต้องมีความหมายขึ้นมาแล้ว ถ้าเรามีพ่อมีแม่ เรา เกิดมาเป็นคนเราก็ต้องทำความดีเอาไว้บ้าง
ถ้าเราไม่ทำความดี เราอาจจะเกิดเป็นหมูเป็นหมา เกิดไปเป็นสัตว์นรก เกิดเป็น อสุรกาย
เกิดไปเป็นเปรตก็ได้ เกิดเป็นสัตว์เดรัจฉานก็ได้ แต่ที่เราเกิดมาเป็นคน คุณงามความดีคือกรรมมันต้องมีอยู่
เราได้รู้ กันมาแล้วว่ากรรมนั้นทำหน้าที่ ๔ ประการคือ เป็นตัวทำให้เกิด และให้ผลวิบาก
เป็นตัวส่งเสริม เป็นตัวเบียดเบียน และเป็น
ตัวตัดรอน เรานั่งพูดกันอยู่ได้ขณะนี้ เราฟังกันอยู่ในขณะนี้ มันเป็นเพราะมหาภูตรูปอันนั้นมันเกิดจากกรรม
จำเอาไว้ สัตว์ทั้ง
หลาย ใน ๓๑ ภพภูมินี้เกิดจากกรรมทั้งสิ้น จงจำเอาไว้ ไม่ว่าเราเป็นมนุษย์ ไม่ว่าสัตว์เดรัจฉาน
ไม่ว่าเป็นสัตว์นรก ไม่ว่า
เทวดา ไม่ว่าเป็นพระพรหม ทุกอย่างเกิดจากกรรมทั้งสิ้น เอ้าเรามาพิสูจน์กันดู อย่างผู้ที่เกิดเป็นอสุรกาย
ก็เกิดมาจากความ
เป็นมิจฉาทิฏฐิ เป็นตัวกรรมในอกุศลกรรมบถ ๑0 คือ มโนกรรม กรรมตัวสุดท้าย และถ้าเราให้กุศลผลบุญเขาเช่นนั้น
เขาก็จุติ
จากอสุรกายขึ้น ไปเป็นเทพ อะไรอีกล่ะ ก็เพราะกรรมที่เขาได้รับ กรรมนั้นคือกุศลกรรมที่เขาได้รับจากเรา
เห็นไหมกรรมทั้ง
นั้น ไม่มีอะไรที่ไม่เกี่ยวกับกรรม พุทธศาสนาสอนเรื่องกรรมทั้งนั้น แต่เราจะรู้หรือไม่รู้
ว่ากันอีกเรื่องหนึ่ง ฉะนั้นเมื่อเราเข้าใจ
ว่ามหาภูตรูปเกิด จากกรรมแล้ว ส่วนอื่นๆ นั้นมันเกิดขึ้นอาศัยอื่นอีก ซึ่งเราจะเอาไว้พูดกันทีหลัง
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวันนี้
เราจะได้ทำความเข้าใจกันในเรื่องจักขุปสาทรูป จักขุปสาทรูปนี้ ผมไม่ได้หมายถึงดวงตาหรือลูกตาทั้งลูกนะ
แต่หมายถึง
ประสาทตาเท่านั้น หรือ แก้วตา หรือนัยน์ตาที่อยู่กลางตาดำ ซึ่งโตประมาณอ้ายหัวเหา
ใครเคยเป็นเหาก็จับดูจะได้รู้ว่าจักขุ
ปสาทรูปมันโตเท่าไหน เป็นเนื้อเยื่อบางดุจปุยนุ่น ชุ่มด้วยน้ำมัน ซ้อนอยู่ถึง ๗
ชั้น นี่ผมไม่ได้พูดภาษาวิทยาศาสตร์หรือทาง
แพทย์นะ ผมพูดตามภาษาของธรรมะ เป็นรูปธรรมที่มีความสามารถในการรับรูปารมณ์ เป็นวัตถุอันเป็นที่ตั้งของจักขุวิญญาณ
จิต และเป็นทวาร อันเป็นทางให้เกิดจักขุทวารวิถีจิตอีกด้วย ผมพูดมาแค่นี้พวกเราบางคนอาจจะงง
จำไว้ แม้แต่กายของเราจะ มีวิญญาณ ถ้าไม่มีจักขุปสาทรูปเราก็ไม่สามารถแลเห็นได้
เราจะเห็นได้จากคนตาบอด เพราะมันไม่มีจักขุปสาท จักขุวิญญาณ มันก็เกิดขึ้นไม่ได้
เพราะจักขุวิญญาณนั้นมันต้องอาศัยจักขุปสาทรูปเป็นที่เกิด เห็นไหมในเรื่องนี้ถ้าเราสงสัยเราพิสูจน์ได้เพราะ
ผู้ที่พวกเราได้ฌานจิตกันมาแล้วทุกคน เพียงแต่เราจับเข้าฌานที่ ๓ จับอยู่ที่ปีติเจตสิก
สาวลงไป เพราะว่าปีติเจตสิกนี้มันเป็น เจตสิก เจตสิกเราศึกษาธรรมะต่อไปเราจะได้รู้ว่าเจตสิกมันเกิดขึ้นพร้อมกับจิต
ฉะนั้นเมื่อเราจับเจตสิกได้เราก็จับจิตได้ ขณะ ที่เราอยู่ในฌานจิตนั้น ปีติเจตสิกเกิดขึ้น
เราสาวลงไป สาวที่ตั้งต้นของปีติเจตสิกมันเกิดที่ไหนเราจับมา มันก็เท่ากับมาพร้อม
กับจิต จิตนั้นมันเกิดจากหทยวัตถุ ปีติเจตสิกเราสาวไป เท่ากับเราตามจิตลงไปนั่นเอง
มันก็จะเจอหทยวัตถุรูป เราก็อ้อ อ้ายรูป
นี้เองเป็นที่เกิดของวิญญาณ เห็นไหม เราก็จะได้รู้จักว่ารูปนั้น หทยวัตถุรูปนั้นมันมีลักษณะเป็นอย่างไร
และเป็นที่ตั้งของ
มโนวิญญาณ เราก็ได้รู้จักรูปและนามในทางสมาธิ แต่ความจริงหทยวัตถุนั้นมันยังไม่ได้ตั้งโดยอิสระอีก
มันยังต้องอาศัยมหาภูต
รูป ๔ ตั้งไว้อีก ฉะนั้นจักขุปสาทรูปนี่ ถ้ามันไม่มีมหาภูตรูป ๔ เป็นที่รองรับมันก็เกิดขึ้นไม่ได้
เห็นไหม ความประณีตของจิตนี้ มันมากมายแค่ไหนประการใด
ผมพูดมาในเรื่องจักขุปสาทรูปเพียงเข้ามานิดเดียวก็ยังไม่ไปไหน ก็เทปมันจะหมดอยู่แล้ว ก็ขอยุติเรื่องจักขุปสาทรูป ไว้เพียงแค่นี้ก่อน ไว้ต่อกันวันหลัง