- ทำสิ่งที่เคยฟังแล้วให้แจ่มแจ้ง ข้ามความสังสัยเสียได้
ทำความเห็นให้ตรง ทำจิตใจให้ผ่องใสได้ หรือว่า
บุคคลศึกษาตามกัลยาณมิตรใดอยู่ ย่อมเจริญด้วยศรัทธา ย่อมเจริญด้วยศีล สุตะ จาคะ
ปัญญา กัลยาณมิตร
นี้เรียกว่า อุปนิสยโคจร
อารักขโคจร
- อารักขโคจรเป็นไฉน ? ภิกษุในพระศาสนานี้ เข้าไปสู่ละแวกบ้าน
เดินไปตามถนน มีจักษุทอดลง
มองดูชั่วแอก สำรวมไป ไม่แลดูพลช้าง ไม่แลดูพลม้า ไม่แลดูพลรถ ไม่แลดูพลราบ ไม่แลดูหญิง
ไม่แลดูชาย ไม่แหงนดู ไม่ก้มดู ไม่เหลียวลอกแลกเดินไปนี้เรียกว่า อารักขโคจร
อุปนิพันธโคจร
- อุปนิพันธโคจรเป็นไฉน ? อุปนิพันธโคจรได้แก่สติปัฏฐาน
๔ ซึ่งเป็นที่นำจิตเข้าไปผูกไว้ สมดังคำที่พระผู้มี
พระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า " ( ถามว่า ) ดูกรภิกษุทั้งหลาย อะไรเล่าเป็นโคจรของภิกษุ
? ( ตอบว่า )
ธรรมที่เป็นวิสัยของบิดาของตน ธรรมนี้คืออะไร ? คือสติปัฏฐาน ๔ " (
สํ.มหาวาร.๑๙/๑๙๘ )
นี้เรียกว่าอุปนิพันธโคจร
- ภิกษุเป็นผู้เข้าถึง เป็นผู้ประกอบด้วยอาจาระนี้ด้วย
ด้วยโคจรนี้ด้วย โดยนัยที่กล่าวมานี้ แม้เพราะเหตุนั้น
จึงเรียกว่า " อาจารโคจรสมฺปนฺโน " ( ผู้ถึงพร้อมแล้วด้วยอาจาระและโคจร
)
- ข้อว่า " มีปกติเห็นเป็นภัยในโทษมาตรว่าเล็กน้อย
" ความว่า เป็นผู้มีปกติเห็นเป็นภัยในโทษทั้ง
หลายมีประมาณน้อย อันต่างโดยโทษ เป็นต้นว่า เสขิยวัตรที่ไม่จงใจล่วงและจิตตุบาทที่เป็นอกุศล*
ข้อว่า
" ย่อมสมาทานศึกษาในสิกขาบททั้งหลาย " ความว่า ศีลอย่างใดอย่างหนึ่งที่ต้องศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย
ก็ถือศีลทั้งปวงนั้นด้วยดีศึกษาอยู่ ก็ในอธิการแห่งปาฏิโมกขสังวรศีลนี้ พึงทราบว่าปาฏิโมกขสังวรศีล
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงโดยปุคคลาธิษฐานเทศนาด้วยบทว่า ปาฏิโมกฺขสํวรสํวุโต
เพียงบทเดียวนี้
ส่วนคำว่า อาจารโคจรสมฺปนฺโน เป็นต้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเพื่อแสดงข้อปฏิบัติอันเป็นทางถึงพร้อม
แห่งศีลทั้งหมดนั้นแก่ผู้ปฏิบัติ
อินทรียสังวรศีล
- ส่วนอินทรียสังวรศีลนั้นใด ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงไว้โดยนัยว่า
" ภิกษุนั้นเห็นรูปด้วยจักษุ "
ดังนี้เป็นอาทิ
- * เสขิยวัตร วัตรที่ภิกษุจะต้องศึกษา,
ธรรมเนียมเกี่ยวกับมารยาทที่ภิกษุพึงสำเหนียกหรือพึงฝึก
ปฏิบัติ มี ๗๕ สิกขาบท จำแนกเป็น สารูป ๒๖ โภชนปฏิสังยุต ๓๐ ธัมมเทสนาปฏิสังยุต
๑๖ และปกิรณะ
คือเบ็ดเตล็ด ๓,เป็นหมวดที่ ๗ แห่ง สิกขาบทในบรรดาสิกขาบท ๒๒๗ ของพระภิกษุ ท่านให้สามเณร
ถือปฏิบัติด้วย
- จิตตุปปาทะ คือ จิตที่เกิดขึ้นพร้อมกับเจตสิกที่ประกอบ
- ในลำดับแห่งปาฏิโมกขสังวรศีลนั้น
พึงทราบวินิจฉัยในอินทรียสังวรศีลนั้นดังต่อไปนี้ :-
- บทว่า ภิกษุนั้น ได้แก่ภิกษุผู้ตั้งอยู่ในปาฏิโมกขสังวรศีลนั้น
คำว่าเห็นรูปด้วยจักษุ ความว่าเห็นรูปด้วย
จักษุวิญญาณอันสามารถในการเห็นรูป ซึ่งได้โวหารว่าจักษุ ด้วยอำนาจแห่งความเป็นเหตุ
จริงอยู่ โบราณจารย์
ทั้งหลายกล่าวไว้ว่า " จักษุย่อมไม่เห็นรูป เพราะจักษุไม่มีจิต แม้จิตก็ไม่เห็นรูป
เพราะจิตไม่มีจักษุ แต่เมื่อทวาร
กับอารมณ์กระทบกันเข้า บุคคลย่อมเห็นรูปด้วยจิตมีจักษุประสาทเป็นที่ตั้ง "
ก็คำพูดเช่นนี้ชื่อว่า สสัมภารกถา
เหมือนกถาในคำว่า ยิงด้วยธนู*
เป็นต้น เพราะเหตุนั้น ความที่ว่า " เห็นรูปด้วยจักษุวิญญาณ
" นี้นั่นแหละ
เป็นความหมายในคำว่า เห็นรูปด้วยจักษุนั้น บทว่า น นิมิตฺตคฺคาหี ความว่า
ย่อมไม่ถือเอานิมิต
( เครื่องหมาย ) ว่าหญิงหรือชาย หรือนิมิตอันเป็นที่ตั้งแห่งกิเลสมีสุภนิมิตเป็นต้น
ยั้งหยุดอยู่ในอาการสักว่า
เห็นเท่านั้น
- * สสัมภารกถา แปลว่าคำพูดมีสัมภาระ
คือมีองค์ประกอบ จึงจะได้ความสมบูรณ์ เช่นคำว่า ยิงด้วยธนู
สัมภาระหรือองค์ประกอบของคำนี้คือลูกธนู เพราะว่าถ้าไม่มีลูกธนู การยิงก็ไม่สำเร็จ
แต่เมื่อยิงลูกธนูออกไปจาก
แล่งธนูเสร็จแล้ว ก็พูดว่า " ยิงด้วยธนู " เป็นรู้กันฉันใด คำว่าเห็นรูปด้วยจักษุ
ก็มีสัมภาระคือองค์ประกอบ
คือ จักษุวิญญาณฉันนั้น
- บทว่า นานุพฺยญฺชนคฺคาหี ความว่า
ย่อมไม่ถือเอาอาการอันต่างกันโดยมือ เท้า ศีรษะ และการหัวเราะ
ซึ่งได้โวหารว่า อนุพยัญชนะ เพราะเป็นอนุพยัญชนะ คือเป็นเครื่องทำความปรากฏแห่งกิเลสทั้งหลาย
สิ่งใดเด่นอยู่ในสรีระนั้น ก็ถือเอาสิ่งนั้น ( เป็นอารมณ์ ) เหมือนพระมหาติสสะเถระผู้อยู่ในเจติยบรรพตฉะนั้น
เรื่องพระมหาติสสเถระ
- มีเรื่องเล่าว่า หญิงสะใภ้แห่งตระกูลคนใดคนหนึ่ง
ทะเลาะกับสามีตกแต่งและประดับกายเสียสวย ราวกะ
เทพกัญญา ออกจากอนุราธปุระแต่เช้าตรู่ เดินไปสู่เรือนญาติ ในระหว่างทางได้ทรงพบพระมหาติสสเถระนั้น
ผู้เดินจากเจติยบรรพตสู่อนุราธปุระ เพื่อเที่ยวบิณฑบาต เกิดมีจิตวิปลาสหัวเราะดังขึ้น
ฝ่ายพระเถระแลดูว่า
นี่อะไร กลับได้อสุภสัญญาในฟันของหญิงนั้น แล้วได้บรรลุพระอรหัต เพราะเหตุนั้น
พระโบราณจารย์จึง
กล่าวไว้ ( เป็นคาถา ) ว่า
- พระเถระเห็นฟันของหญิงนั้นแล้ว
หวนระลึกถึงสัญญาเก่า*
ท่านยืนอยู่ในที่นั้นนั่นเอง
ได้บรรลุพระอรหัต
- *มหาฎีกาว่า พระเถระท่านได้เจริญอัฏฐิกัมมัฏฐานอยู่ก่อนแล้ว
เพราะฉะนั้น พอเห็นฟันของหญิงนั้น
อัฏฐิสัญญาก็เกิดขึ้นทันที และเพราะความที่ท่านชำนาญในสัญญานั้น ร่างของหญิงนั้นเลยปรากฏแก่ท่าน
เป็นร่างกระดูกไปทั้งร่าง
- ข้างฝ่ายสามีของนางเดินติดตามมา
พบพระเถระเข้าจึงถามว่า " ท่านผู้เจริญ ท่านเห็นหญิงบ้างหรือ ? "
พระเถระกล่าว ( เป็นคาถา ) กะเขาว่า
- ฉันไม่ทราบว่าหญิงหรือชายเดินไปจากที่นี้
แต่ว่าร่างกระดูกนั่นกำลังเดินไปในทางใหญ่
- ในคำว่า ยตฺวาธิกรณเมนํ เป็นต้น
มีวินิจฉัยว่า ธรรมทั้งหลายมีอภิชฌาเป็นต้นเหล่านั้น พึงไหลไปตาม
คือพึงติดตามบุคคลนั้นผู้ไม่สำรวมจักขุนทรีย์ คือเป็นผู้มีจักษุทวารอันไม่ปิด
ด้วยบานประตูคือสติอยู่
เพราะเหตุใด คือเพราะเหตุแห่งการไม่สำรวมจักขุนทรีย์อันใด ข้อว่า ย่อมปฏิบัติเพื่อกั้นจักขุนทรีย์นั้น
ความว่า
ย่อมปฏิบัติเพื่อปิดจักขุนทรีย์นั้นด้วยบานประตูคือสติ ก็ภิกษุปฏิบัติอยู่อย่างนั้นนั่นแล
ท่านกล่าวว่า ย่อมรักษา
จักขุนทรีย์บ้าง ย่อมถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์บ้าง
- ในคำว่า ถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์นั้น
พึงทราบว่า อันที่จริง ความสำรวมหรือไม่สำรวมก็ตาม ใน
จักขุนทรีย์หามีไม่ เพราะ สติก็ดี ความหลงลืมสติก็ดี มิได้อาศัยจักขุประสาทเกิดขึ้น
- อนึ่ง ในเวลาที่รูปมาสู่คลองจักษุ
- เมื่อภวังคจิตเกิดดับไปสองขณะ
แล้ว
- มโนธาตุอันเป็นกิริยาให้สำเร็จอาวัชชนกิจ
( กิจคือการนึกหน่วงอารมณ์ ) เกิดขึ้นแล้วดับไป
- แต่นั้นจักขุวิญญาณให้สำเร็จทัสสนกิจ
( คือกิจการเห็น ) เกิดขึ้นแล้วดับไป
- ต่อนั้นมโนธาตุอันเป็นวิบากให้สำเร็จสัมปฏิจฉันนกิจ
( กิจคือการรับเอา ) เกิดขึ้นแล้วดับไป
- ทีนั้น มโนวิญญาณธาตุซึ่งเป็นอเหตุกวิบากให้สำเร็จสันตีรณกิจ
( กิจการตรึกตรอง ) เกิดขึ้นแล้วดับไป
- ครั้นแล้วมโนวิญญาณธาตุซึ่งเป็นอเหตุกกิริยาให้สำเร็จโวฏฐัพพนกิจ
( กิจการกำหนดเอา ) เกิดขึ้นแล้วดับไป
- ในลำดับนั้นชวนะจิตจึงแล่นไป
-
- ความสำรวมหรือความไม่สำรวมก็ตามในสมัยทั้งหลายแม้นั้น
คือในภวังคสมัยก็ไม่มี ในบรรดาสมัยแห่ง
วิถีจิตมีอาวัชชนะเป็นต้นสมัยใดสมัยหนึ่งก็ไม่มีเลย
- แต่ทว่า ในขณะแห่งชวนะจิต ถ้าความทุศีลก็ดี
ความหลงลืมสติก็ดี ความไม่รู้ก็ดี ความไม่อดทนก็ดี ความ
เกียจคร้านก็ดี เกิดขึ้นไซร้ ความไม่สำรวมก็มีขึ้น ก็ความไม่สำรวมที่มีขึ้นอย่างนี้นั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า
ความไม่สำรวมในจักขุนทรีย์ เพราะเหตุไร ? เพราะเหตุว่าเมื่อความไม่สำรวมนั้นมีอยู่
แม้ทวารก็เป็นอันไม่ได้คุ้ม
ครอง แม้ภวังคจิต แม้วิถีจิตมีอาวัชชนะเป็นต้น ก็เป็นอันไม่ได้คุ้มครอง ( ไปตามกัน
) เปรียบเหมือนอะไร ?
เปรียบเหมือนเมื่อประตูพระนครทั้ง ๔ ด้าน อันบุคคลไม่ระวังแล้ว แม้ถึงภายในเรือน
ซุ้มประตูและห้องเป็นต้น
อันบุคคลระวังดีแล้ว ถึงอย่างนั้นสิ่งของทั้งหมดในภายในพระนคร ก็ชื่อว่าเป็นอันไม่ได้รักษา
ไม่ได้คุ้มครอง
อยู่นั่นเอง เพราะพวกโจรพึงเข้าไปทางประตูพระนครแล้ว ทำสิ่งที่ตนต้องการได้ ฉันใด
- คำแนะนำ
ในหน้านี้เป็นเรื่องของ วิถีจิต ท่านใดศึกษาแล้วไม่เข้าใจควรศึกษาพระอภิธัมมัตถสังคหะ
ปริจเฉทที่ ๔ วิถีสังคหวิภาค ทั้งหนังสือ และเทปที่มีในโฮมเพจห้องสมุดธรรมะนี้ก่อน
ถึงจะเข้าใจความหมาย
ของเนื้อหาในเรื่องวิถีจิต ในวิสุทธิมรรคนี้ได้ และถ้าท่านยังไม่เข้าใจ พระอภิธัมมัตถสังคหะปริจเฉทที่
๔ ก็ควร
ศึกษา พระอภิธัมมัตถสังคหะ ปริจเฉทที่ ๑ , ๒
, ๖ และ ๓ เป็นพื้นเสียก่อน
เมื่อความทุศีลเป็นต้นเกิดขึ้นในชวนะจิต ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
ครั้นความไม่สำรวมนั้นมีอยู่ แม้ทวารก็ชื่อว่า
เป็นอันไม่ได้คุ้มครอง ถึงภวังคจิต ถึงวิถีจิต มีอาวัชชนะเป็นต้น ก็ชื่อว่าไม่ได้คุ้มครอง
แต่เมื่อสังวรมีศีลสังวร
เป็นต้นเกิดขึ้นในชวนะจิตนั้นแล้ว แม้ทวารก็เป็นอันได้คุ้มครอง ถึงภวังคจิต ถึงวิถีจิตมีอาวัชชนะจิตเป็นต้น
ก็เป็นอันได้คุ้มครองแล้ว เปรียบเหมือนอะไร ? เปรียบเหมือนเมื่อประตูพระนครอันบุคคลระวังดีแล้ว
ถึงแม้
ภายในเรือนเป็นต้นเขาก็ไม่ระวัง ถึงอย่างนั้นสิ่งของทั้งหมดในภายในพระนคร ก็ชื่อว่าเป็นอันรักษาคุ้มครอง
ดีแล้วทั้งนั้น เพราะเมื่อประตูพระนครปิดแล้ว พวกโจรก็ไม่มีช่องทางที่จะเข้าไปได้
ฉันใด เมื่อสังวรมีศีลสังวร
เป็นต้นเกิดขึ้นในชวนะจิต ก็ฉันนั้นเหมือนกัน แม้ทวารก็เป็นอันคุ้มครองแล้ว ถึงภวังคจิต
ถึงวิถีจิตมีอาวัชชนะ
เป็นต้น ก็เป็นอันคุ้มครองแล้ว เพราะฉะนั้น ความสำรวมแม้เกิดขึ้นอยู่ในขณะแห่งชวนะ
พระผู้มีพระภาคเจ้า
จึงตรัสว่า ความสำรวมในจักขุนทรีย์ นัยแม้ในข้อว่า ฟังเสียงด้วยหู ดมกลิ่นด้วยจมูก
ลิ้มรสด้วยลิ้น และ
ถูกต้องสัมผัสทางกาย ก็ดุจนัยนี้เหมือนกัน ศีลที่บรรยายมาอย่างนี้นี่ บัณฑิตพึงทราบโดยสังเขปว่า
ชื่อว่า
อินทรียสังวรศีล อันมีความเว้นจากการถือเอานิมิต ( เครื่องหมาย ) ที่กิเลสติดตามเป็นอาทิเป็นต้นเป็นลักษณะ
อาชีวปาริสุทธิศีล
- บัดนี้ พึงทราบวินิจฉัยในอาชีวปาริสุทธิศีล
- ซึ่งกล่าวไว้ในลำดับแห่งอินทรียสังวรศีลต่อไป คำว่า "
สิกขาบท ๖ ที่พระผู้มีพระภาเจ้าทรงบัญญัติไว้
เพราะอาชีวะเป็นเหตุ เพราะอาชีวะเป็นตัวการณ์ " ความว่า สิกขาบท ๖ ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติ
ไว้อย่างนี้คือ " เพราะอาชีวะเป็นเหตุ เพราะอาชีวะเป็นตัวการณ์
- ภิกษุมีปรารถนาลามก อันความอยากครอบงำแล้ว พูดอวดอุตริมนุสสธรรมอันไม่มีไม่เป็น
( ในตน )
ต้องอาบัติปาราชิก เพราะอาชีวะเป็นเหตุ เพราะอาชีวะเป็นตัวการณ์
- ภิกษุถึงความเป็นผู้ชักสื่อ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส เพราะอาชีวะเป็นเหตุ
เพราะอาชีวะเป็นตัวการณ์
- ภิกษุพูดว่า " ภิกษุใดอยู่ในวิหารของท่าน ภิกษุนั้นเป็นอรหันต์
" ดังนี้ เมื่อเธอปฏิญญาอยู่ ต้องอาบัติ
ถุลลัจจัย เพราะอาชีวะเป็นเหตุ เพราะอาชีวะเป็นตัวการณ์
- ภิกษุไม่เป็นไข้ ขอโภชนะอันประณีตเพื่อประโยชน์แก่ตนฉัน
ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เพราะอาชีวะเป็นเหตุ
เพราะอาชีวะเป็นตัวการณ์
- ภิกษุณีไม่เป็นไข้ ขอโภชนะอันประณีตเพื่อประโยชน์แก่ตนฉัน
ต้องปาฏิเทสนียะ เพราะอาชีวะเป็นเหตุ
เพราะอาชีวะเป็นตัวการณ์
- ภิกษุไม่เป็นไข้ ขอแกงหรือข้าวสุกเพื่อประโยชน์แก่ตนฉัน
ต้องทุกกฏ
- ดังนี้ เหล่านั้นใด ( หมายเอา ) สิกขาบท ๖ เหล่านี้
- ในคำทั้งหลายมีคำว่า ล่อลวง ( กุหนา ) เป็นต้น
มีพระบาลีดังต่อไปนี้ :-
- บรรดากิริยาเหล่านั้น ล่อลวงเป็นไฉน ? การแสร้งทำหน้าสยิ้วแสร้างทำหน้าเบ้
ล่อลวงให้เขางงงวย
ด้วยวิธีลวง กล่าวคือการแสร้ง ปฏิเสธปัจจัยก็ดี ด้วยการพูดเลียบเคียงก็ดี การแสร้งวางท่าตั้งท่าแต่งท่าอิริยาบถ
ให้งดงามก็ดี ของภิกษุผู้เห็นแก่ลาภสักการะและความสรรเสริญ มีความปรารถนาลามก
ถูกความอยาก
ครอบงำแล้ว นี้เรียกว่า " ล่อลวง "*
- * ตามมหานิเทศว่า กุหนวัตถุ ( วิธีล่อลวง
) มี ๓ วิธีคือ
- ๑. แสร้งปฏิเสธปัจจัย
- ๒. พูดเลียบเคียง
- ๓. แสร้งแสดงอิริยาบถน่าเลื่อมใส
- การแสร้งปฏิเสธปัจจัยคือ ทายกนิมนต์รับปัจจัย
ภิกษุก็อยากได้ แต่แสร้งปฏิเสธ คือไม่รับเพื่อให้เขา
เห็นว่าเป็นผู้มักน้อย จะได้เกิดความศรัทธาถวายของดีๆ มากๆ ขึ้น และอ้อนวอนขอให้รับให้จงได้
ในที่สุดก็รับ โดยแสร้งแสดงว่า เพื่ออนุเคราะห์ให้เขาได้บุญ แล้วต่อไปถวายเป็นเล่มเกวียนๆ
ก็รับ
ฯลฯ ดังนี้
- อาบัติ การต้อง, การล่วงละเมิด,
โทษที่เกิดแต่การละเมิดสิกขาบท; อาบัติ ๗ คือ ๑. ปาราชิก ๒. สังฆาทิเสส
๓. ถุลลัจจัย ๔. ปาจิตตีย์ ๕. ปาฏิเทสนียะ ๖. ทุกกฏ ๗. ทุพภาสิต;
- อาบัติ ๗ กองนี้จัดรวมเป็นประเภทได้หลายอย่าง
- โดยมากจัดเป็น ๒ เช่น
๑. ครุกาบัติ อาบัติหนัก (ปาราชิก และสังฆาทิเสส)
๒. ลหุกาบัติ อาบัติเบา (อาบัติ ๕ อย่างที่เหลือ);
- คู่ต่อไปนี้ก็เหมือนกัน คือ
๑. ทุฏฐุลลาบัติ อาบัติชั่วหยาบ;
๒. อทุฏฐุลลาบัติ อาบัติไม่ชั่วหยาบ;
-
๑. อเทสนาคามินี อาบัติที่ไม่พ้นได้ด้วยการ แสดง
๒. เทสนาคามินี อาบัติที่พ้นได้ด้วยการแสดงคือเปิดเผยความผิดของตน;
- คู่ต่อไปนี้จัดต่างออกไปอีกแบบหนึ่ง
ตรงกันทั้งหมด คือ
๑. อเตกิจฉา เยียวยาแก้ไขไม่ได้ (ปาราชิก)
๒. สเตกิจฉา เยียวยาแก้ไขได้ (อาบัติ ๖ อย่างที่เหลือ);
๑. อนวเสส ไม่มีส่วนเหลือ
๒. สาวเสส ยังมีส่วนเหลือ;
๑. อัปปฏิกัมม์ หรือ อปฏิกรรม ทำคืนไม่ได้คือแก้ไขไม่ได้
๒. สัปปฏิกัมม์ หรือ สปฏิกรรม ยังทำคืนได้ คือแก้ไขได้
- บรรดากิริยาเหล่านั้น ป้อยอเป็นไฉน
? การพูดทักเขาก่อน พูดโอ่ พูดเอาใจเขา พูดยกยอเขา พูดผูกพันเขา
พูดคาดคั้นเขา พูดประจบเขา ( พูด ) ลดตัว พูด ( เล่นปนจริง ) เป็นแกงถั่ว ( พูดประจ๋อประแจ๋
) เป็นพี่เลี้ยง
เด็ก อันใด ของภิกษุผู้เห็นแก่ลาภสักการะและความสรรเสริญ มีความปรารถนาลามก ถูกความอยากครอบงำแล้ว
นี้เรียกว่า " ป้อยอ "
- บรรดากิริยาเหล่านั้น ความเป็นผู้ทำใบ้เป็นไฉน
? การทำบุ้ยใบ้ บอกใบ้ พูดเคาะ พูดแคะไค้ พูดเลียบเคียง
พูดหว่านล้อม แก่ชนเหล่าอื่นอันใด แห่งภิกษุผู้เห็นแก่ลาภสักการะและความสรรเสริญ
มีความปรารถนาลามก
อันความอยากครอบงำแล้ว นี้เรียกว่า " ความเป็นผู้ทำใบ้ "
- บรรดากิริยาเหล่านั้น บีบบังคับ
( นิปฺเปสิกตา ) เป็นไฉน ? การด่าเขา การพูดข่มเขา การพูดติเขา
พูดขับเขา พูดไล่เขา พูดเย้ยเขา พูดเหยียดเขา พูดหยามเขา พูดโพนทะนาเขา พูดขู่เข็ญเขา
แห่งภิกษุ
ผู้เห็นแก่ลาภสักการะและความสรรเสริญ มีความปรารถนาลามก อันความอยากครอบงำ นี้เรียกว่า
" บีบบังคับ "
- บรรดากิริยาเหล่านั้น การหาลาภด้วยลาภเป็นไฉน
? ภิกษุเห็นแก่ลาภสักการะและความสรรเสริญ
มีความปรารถนาลามก อันความอยากครอบงำแล้ว ย่อมนำอามิสที่ตนได้แต่เรือนนี้ไปที่เรือนโน้น
หรือนำ
อามิสที่ตนได้ในที่โน้นมาที่นี้ การใฝ่หา เสาะหา แสวงหา อามิสด้วยอามิสเห็นปานนี้
นี้เรียกว่า " การหา
ลาภด้วยลาภ " *
- *
( อภิ.วิ.๓๕/๔๗๕ )
บาปธรรม ๕ ประการ คือ กุหนา , ลปนา , เนมิตฺติกตา , นิปฺเปสิกตา ,
ลาเภน ลาภํ นิชิคึสนตา มีจุดประสงค์อย่างเดียวกัน คือให้ได้ซึ่งปัจจัย แต่โดยวิธีการต่างกัน
คือ
กุหนา ลวงให้เขาหลงศรัทธาให้ปัจจัย
ลปนา ใช้เล่ห์ลิ้นให้เขารักเขาสงสารให้ปัจจัย
เนมิตฺติกตา ใช้กิริยาวาจาบุ้ยใบ้เคาะแคะเขาจนเขาให้
นิปฺเปสิกตา ทำหรือพูดให้เขากลัว ต้องยอมให้
ลาเภน ลาภํ นิชิคึสนตา ได้อะไรเอามาฝากเขา ทำให้เขาเกรงใจต้องให้ตอบแทน