- ก็อรรถาธิบายแห่งพระบาลีนี้พึงทราบดังต่อไปนี้ :-
กุหนานิเทศ
- พึงทราบอรรถาธิบายในกุหนานิเทศก่อน ข้อว่าเห็นแก่ลาภสักการะและความสรรเสริญ
ความว่า มุ่ง
คือ ปรารถนาลาภด้วย สักการะด้วย ชื่อเสียงด้วย บทว่า มีความปรารถนาลามก คือมีความต้องการจะ
แสดงคุณอันไม่มี ( ในตน ) เพราะเหตุที่กุหนวัตถุ ๓ อย่างมาในมหานิเทศ ด้วยอำนาจการแสร้งปฏิเสธปัจจัย
การพูดเลียบเคียง และอาศัยอิริยาบถ เพราะเหตุนั้น เพื่อจะแสดงกุหนวัตถุทั้ง ๓
อย่างนั้น ต่อไปนี้ท่าน
จึงเริ่มคำว่า ปจฺจยปฏิเสธเนน วา ดังนี้เป็นอาทิ
- ในกุหนวัตถุทั้ง ๓ อย่างนั้น การทำให้เขางงงวยด้วยการที่เมื่อเขานิมนต์ด้วยปัจจัยมีจีวรเป็นต้น
( ตนเอง )
ก็เป็นผู้มีความต้องการด้วยปัจจัยนั้นแท้ๆ แต่อาศัยความที่ปรารถนาลามก แสร้งห้ามเสียก็ดี
ด้วยการที่รู้ ( ว่า )
คฤหบดี ( ทายก ) เหล่านั้นมีศรัทธามั่นในตัว ( ของเธอ ) แล้ว พอเขาวอนว่า "
พระคุณเจ้าช่างเป็นผู้มักน้อย
เสียจริงไม่ต้องการรับอะไรๆ เลย จะเป็นอันพวกข้าพเจ้าได้ดีเชียวละ หากพระคุณเจ้าจะพึงรับอะไรๆ
สักหน่อย
หนึ่ง " ดังนี้แล้ว น้อมปัจจัยมีจีวรเป็นต้นที่ประณีตๆ เข้าไป ( ถวาย )
ด้วยอุบายวิธีต่างๆ อีก ( เธอ ) แสร้ง
ทำให้ปรากฏเป็นว่าใคร่จะอนุเคราะห์เขาเท่านั้น แล้วรับก็ดี เป็นเหตุให้ต่อไปนั้น
( เขา ) น้อมเข้ามา ( ถวาย )
กระทั่งเป็นเล่มเกวียนๆ ( ดังนี้ ) พึงทราบว่า ( นี่เป็น ) กุหนวัตถุ ที่นับว่าการแสร้งปฏิเสธปัจจัย
กุหนวัตถุเกี่ยวด้วยปัจจัย
- จริงอยู่ แม้ในมหานิเทศท่านก็ได้กล่าวคำนี้ว่า "
กุหนวัตถุที่นับว่าการแสร้งปฏิเสธปัจจัยเป็นไฉน ? คฤหบดี
ทั้งหลายนิมนต์ภิกษุในพระศาสนานี้ ด้วยจีวรบิณฑบาตเสนาสนะคิลานปัจจัยเภสัชบริขารทั้งหลายเธอมีความ
ปรารถนาลามก อันความอยากครอบงำแล้ว เป็นผู้มีความต้องการอยู่ แสร้งบอกคืนจีวร
แสร้งบอกคืนบิณฑบาต
เสนาสนะ คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร เพราะอาศัยความใคร่จะให้ได้จีวร ฯลฯ เภสัชบริขารมากขึ้น
เธอกล่าว
อย่างนี้ว่า " ประโยชน์อะไรของสมณะด้วยจีวรที่มีค่ามาก ข้อที่สมณะพึงเลือกหาผ้าที่เขาทิ้งแล้ว
จากป่าช้าบ้าง
จากกองหยากเยื่อบ้าง จากตลาดบ้าง มาทำเป็นผ้าสังฆาฏิครอง นั่นจึงควร ประโยชน์อะไรของสมณะด้วย
บิณฑบาตที่มีค่ามาก ข้อที่สมณะพึงเลี้ยงชีวิตด้วยก้อนข้าวที่ได้มาด้วยปลีแข้ง
โดยเที่ยวแสวงหาบิณฑบาตตาม
มีตามได้ นั่นจึงควร ประโยชน์อะไรของสมณะด้วยเสนาสนะที่มีค่ามาก ข้อที่สมณะพึงเป็นผู้อยู่ตามโคนไม้
หรืออยู่
ในอัพโภกาส ( กลางแจ้ง ที่ไม่มุงบังอยู่นอกโคนไม้ ) นั่นจึงควร ประโยชน์อะไรของสมณะด้วยคิลานปัจจัยเภสัช
บริขารที่มีค่ามาก ข้อที่สมณะพึงทำยาด้วยน้ำมูตรเน่าหรือด้วยชิ้นสมอ นั่นจึงควร
" เพราะอาศัยเหตุนั้น
เธอจึงแสร้งครองจีวรที่ปอน แสร้งฉันบิณฑบาตที่ทราม แสร้งเสพเสนาสนะที่คร่ำ แสร้งเสพคิลานปัจจัยเภสัชช
บริขารที่เลว คฤหบดีทั้งหลายเข้าใจเธออย่างนี้ว่า " สมณะรูปนี้เป็นผู้มักน้อย
สันโดษ สงัด ไม่ระคนด้วยหมู่
ปรารภความเพียร มีปกติกล่าวธรรมขจัดกิเลส " ดังนี้ ย่อมนิมนต์เธอด้วยจีวร
ฯลฯ เภสัชชบริขารยิ่งๆ ขึ้น
- เธอแสร้งกล่าวอย่างนี้ว่า " เพราะความพร้อมหน้าแห่งวัตถุ
๓ กุลบุตรผู้มีศรัทธาย่อมได้บุญมาก คือ
เพราะความพร้อมหน้าแห่งศรัทธา กุลบุตรผู้มีศรัทธาย่อมได้บุญมาก เพราะความพร้อมหน้าแห่งไทยธรรม
ฯลฯ แห่งทักขิไณยบุคคลทั้งหลาย กุลบุตรผู้มีศรัทธาย่อมได้บุญมาก ศรัทธานี้ของท่านทั้งหลายมีอยู่แท้ด้วย
ไทยธรรมก็มีพร้อมอยู่ด้วย ปฏิคาหกคืออาตมาก็มีอยู่ด้วย ถ้าอาตมาจักไม่รับไซร้
เมื่อเป็นเช่นนั้น ท่านทั้งหลาย
ก็จักเป็นผู้คลาดจากบุญ อาตมาไม่มีความต้องการด้วยของนี้เลย แต่อาตมารับเพื่ออนุเคราะห์ท่านทั้งหลายเท่านั้น
" ดังนี้ เพราะอาศัยเหตุนั้น เธอก็รับจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ คิลานปัจจัยเภสัชชบริขารแม้มากๆ
ความแสร้ง
ทำหน้าสยิ้ว แสร้งทำหน้าเบ้ ล่อลวงให้เขางงงวย เห็นปานนี้อันใด นี้ท่านเรียกว่ากุหนวัตถุที่นับว่าแสร้งปฏิเสธ
ปัจจัย แล
กุหนวัตถุเกี่ยวด้วยการพูดเลียบเคียง
- ก็การทำให้เขางงงวยด้วยประการนั้นๆ ด้วยวาจาแสดงการบรรลุอุตตริมนุสสธรรม
แห่งภิกษุผู้มีความ
ปรารถนาลามกนั่นแล พึงทราบว่า เป็นกุหนวัตถุที่นับว่าการพูดเลียบเคียง เหมือนอย่างที่ท่านกล่าวไว้ว่า
" ในวัตถุเหล่านั้น กุหนวัตถุที่นับว่าการพูดเลียบเคียงเป็นไฉน ? ภิกษุลางรูปในพระศาสนานี้
มีความปรารถนา
ลามก อันความอยากครอบงำ มีประสงค์ให้เขายกย่อง คิดว่า " ชนจักยกย่องเราด้วยอาการอย่างนี้
"
- แล้วกล่าววาจาอิงอริยธรรม ( คือ ) พูดว่า " ภิกษุใดครองจีวรเช่นนี้
ภิกษุนั้นเป็นสมณะมเหสักข์ ( ผู้มี
ศักดิ์ใหญ่ คือบรรลุธรรมขั้นต่างๆ ) " กล่าวว่า " ภิกษุใดใช้บาตรโอโลหะ
กระบอกกรองน้ำ ผ้ากรองน้ำ กุญแจ
ประคด รองเท้าเช่นนี้ๆ ภิกษุนั้นเป็นสมณะมเหสักข์ " พูดว่า พระอุปัชฌายะ
พระอาจารย์ ภิกษุร่วมอุปัชฌายะ
ภิกษุร่วมอาจารย์ ภิกษุผู้เป็นมิตร ภิกษุผู้เป็นเกลอ ภิกษุผู้ชอบพอกัน ภิกษุผู้สหาย
ของภิกษุใด เป็นอย่างนี้ๆ
ภิกษุใดอยู่ในวิหาร โรงยาว ปราสาท เรือนโล้น คูหา ที่เร้น กระท่อม เรือนยอด ป้อม
โรงกลม ศาลายาว
โรงประชุม มณฑป โคนไม้ อย่างนี้ๆ ภิกษุนั้นเป็นสมณะมเหสักข์ " มิฉะนั้นเธอแสดงอาการที่น่าเกลียดหนักเข้า
หน้าด้านเข้า ลวงเขามากเข้า พูดป้อยอช่ำเข้า ก็เสนอหน้าตัวเอง กล่าวถ้อยคำที่ลึกลับซับซ้อนซ่อนเงื่อน
เกี่ยว
กับโลกุตตรธรรมและสุญญตา ( พาดพิงถึงตัวเอง ) เช่นว่า " สมณะผู้นี้ได้วิหารสมาบัติอันละเอียดเหล่านี้อย่างนี้ๆ
" การแสร้งทำหน้าสยิ้ว ทำหน้าเบ้ ล่อลวงให้เขางงงวยเช่นนี้อันใด นี้ท่านเรียกว่า
กุหนวัตถุที่นัยว่าการพูดเลียบเคียง
กุหนวัตถุเกี่ยวกับอิริยาบถ
- ส่วนว่า การลวงเขาด้วยอิริยาบถ ซึ่งทำด้วยประสงค์จะให้เขายกย่อง
แห่งภิกษุผู้เป็นคนมีความ
ปรารถนาลามกนั่นแล พึงทราบว่า เป็นกุหนวัตถุอาศัยอิริยาบถ ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า
" กุหนวัตถุ
ที่นับว่าการวางท่าอิริยาบถ เป็นไฉน ? ภิกษุลางรูปในพระศาสนานี้
- มีความปรารถนาลามก อันความอยากครอบงำแล้ว มีความประสงค์จะให้เขายกย่อง
คิดว่า " ชนจักยก
ย่องเราด้วยอาการอย่างนี้ " แล้วแสร้งบรรจงเดิน บรรจงยืน บรรจงนั่ง บรรจงนอน
ตั้งท่าเดิน ตั้งท่ายืน
ตั้งท่านั่ง ตั้งท่านอน ทำดังว่าเข้าสมาธิเดิน ดังว่าเข้าสมาธิยืน ดังว่าเข้าสมาธินั่ง
ดังว่าเข้าสมาธินอน
และเป็นผู้มักแสร้งเข้าฌานให้คนเห็น การวางท่า ตั้งท่า แต่งท่าอิริยาบถ การแสร้งทำหน้าสยิ้ว ทำหน้าแบ้
ล่อลวงให้เขางงงวยเช่นนี้อันใด นี้เรียกว่า กุหนวัตถุที่นับว่าการวางอิริยาบถ
"
- ในบาลีแห่งกุหนานั้น บทว่า ปจฺจยปฏิเสธนสงฺขาเตน ความว่า
( ด้วยกุหนวัตถุ ) อันบัณฑิตนับพร้อม
อย่างนี้ ว่าการแสร้งปฏิเสธปัจจัย หรือว่าด้วยการแสร้งปฏิเสธปัจจัยอันบัณฑิตกล่าวเรียก
บทว่า พูดเลียบเคียง
ได้แก่พูดเฉียด ( วัตถุประสงค์ ) บทว่า อิริยาบถประสงค์เอาอิริยาบถทั้ง ๔ บทว่า
อฏฺฐปนา แปลว่า การตั้ง ( ท่า )
ไว้ก่อน หรือการตั้ง ( ท่า ) โดยเอื้อเฟื้อ บทว่า ฐปนา คืออาการที่ตั้ง
( ท่า ) บทว่า สณฺฐปนา คือการจัดแต่ง
อธิบายว่า การทำภาวะอันน่าเลื่อมใส บทว่า ภากุฏิกา คือการทำหน้าสยิ้ว
อธิบายว่า ทำหน้าย่น โดยแสดงภาวะ
ของผู้ตั้งอยู๋ในความเพียรอย่างเคร่งครัด การทำหน้าสยิ้ว เป็นปกติของภิกษุนั้น
เหตุนั้น ภิกษุนั้น ชื่อว่า ภากุฏิก
( ผู้มีการทำหน้าสยิ้วเป็นปกติ ) ความเป็นภากุฏิก ชื่อว่า ภากุฏิยํ (
ความเป็นผู้มีการทำหน้าสยิ้วเป็นปกติ )
บทว่า กุหนา แปลว่าการลวง การประพฤติลวงออกไป ชื่อว่า กุหายนา ความเป็นบุคคลผู้ลวง
ชื่อว่า กุหิตตฺตํ
ลปนานิเทศ
- พึงทราบอรรถาธิบายในลปนานิเทศต่อไป การที่ภิกษุเห็นคนมาสู่วิหาร
แล้วพูดขึ้นก่อนว่า " ท่านผู้เจริญ
ท่านทั้งหลายมาเพื่อต้องการอะไร จะนิมนต์ภิกษุหรือ ถ้าอย่างนั้น เชิญกลับเถิด
อาตมาจะพาภิกษุไปภายหลัง "
ดังนี้ชื่อว่า อาลปนา ( ทัก ) อีกนัยหนึ่ง การที่ภิกษุเสนอตนเข้าไป พูดแบบชักเข้าหาตนว่า
" อาตมาชื่อ
ติสสะ พระราชาทรงเลื่อมใสในอาตมา ราชอำมาตย์โน้นๆ ก็เลื่อมใสในอาตมา " อย่างนี้ชื่อว่า
อาลนปา
( เสนอตัว ) การที่ภิกษุถูกถามแล้วพูดอย่างที่กล่าวมาแล้วนั้น ชื่อว่า ลปนา
( โอ่ ) การที่ภิกษุกลัวพ่อเจ้า
เรือนและแม่เจ้าเรือนจะหน่ายแหนง พูดอ่อนน้อมยอมให้โอกาสเขา ชื่อว่า สลฺลปนา
( พูดเอาใจ ) การพูดให้
เขาสูงขึ้น ( กว่าพื้นเพที่เขาเป็นอยู่ ) ว่า " ท่านกุฎุมพีใหญ่ ท่านนายเรือใหญ่
ท่านทานบดีใหญ่ " ดังนี้ ชื่อว่า
อุลฺลปนา ( พูดยก ) การพูดทำให้เขาสูงไปเสียทุกอย่าง ชื่อว่า สมุลฺลปนา
( พูดยอ ) การผูก คือมัดเขาด้วย
วาจาว่า " ดูกรอุบาสกอุบาสิกาทั้งหลาย เมื่อก่อน ในกาลเช่นนี้ พวกท่านย่อมให้นวทาน
( การให้ของที่ผลิตใหม่
เช่นข้าวใหม่ ผลไม้สุกใหม่ ) บัดนี้ไม่ได้ดอกหรือ " ดังนี้ หนักเข้าจนพวกเขารับปากว่า
" ท่านเจ้าข้า พวก
ข้าพเจ้าจักให้ ( เหมือนกัน ) แต่บัดนี้ยังไม่ได้โอกาส " ดังนี้เป็นต้น
ชื่อว่า อุนฺนหนา ( พูดผูก )
- อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุเห็นเขาถืออ้อยแล้ว ถามว่า "
อุบาสกได้อ้อยมาแต่ไหน " เขาตอบว่า " แต่ไร่อ้อย เจ้าข้า "
ภิกษุถามว่า " อ้อยในไร่นั้นหวานไหม " เขาตอบว่า " เคี้ยวดูจึงจะรู้เจ้าข้า
" ภิกษุจึงพูดว่า " อุบาสก อันจะ
พูดว่า ท่านจงให้อ้อย ( แก่อาตมา ) ดังนี้ หาควรแก่ภิกษุไม่ " ถ้อยคำพูดมัดของภิกษุผู้แม้
( พูด ) แก้ไปเช่นนี้
อันใด ถ้อยคำนั้นชื่อว่า อุนฺนหนา การพูดผูกแล้วๆ เล่าๆ ทุกท่าทุกทางไป
ชื่อว่า สมุนฺนหนา ( พูดพัน )
บทว่า อุกฺกปนา อธิบายว่า การพูดปั้นขึ้นว่า " ตระกูลนี้รู้จักฉันผู้เดียว
" อย่างนี้เรียกว่า อุกฺกปนา ( พูดคาด )
อธิบายว่า พูดจี้ ก็ในอธิบายนี้ บัณฑิตควรเล่าเรื่องนางเตลกันทริกา ( มาสาธก
) การพูดคาดเขาไปเสียทุกอย่าง
ชื่อว่า สมุกฺกาปนา ( พูดคั้น ) การพูดพร่ำทำให้เขารักไปท่าเดียว ไม่ต้องแลเหลียวว่าควรแก่สัจจะหรือควร
แก่ธรรมะ ( หรือไม่ ) ชื่อว่า อนุปฺปิยภาณิตา ( ความเป็นผู้พูดประจบ )
ความประพฤติตนต่ำ คือความประพฤติ
วางตนไว้ต่ำๆ ชื่อว่า จาฏุกมฺยตา ( ลดตัว ) ความเป็นผู้เป็นเช่นกับแกงถั่ว
ชื่อว่า มุคฺคสูปตา เหมือนอย่างถั่ว
เมื่อต้มมันไป มันย่อม ( มีที่ ) ไม่สุกบ้างเล็กน้อย นอกนั้นสุก ฉันใด ในคำพูดของบุคคลใด
คำจริงมีเพียงเล็กน้อย
นอกนั้นเป็นคำพล่อยๆ ( ทั้งสิ้น ) ก็ฉันนั้น บุคคลนี้ท่านเรียกว่า มุคฺคสูป
( คนเหมือนแกงถั่ว ) ภาวะแห่งคน
มุคฺคสูป นั้น ชื่อว่า มุคฺคสูปตา
- ความเป็นพี่เลี้ยง ชื่อว่า ปาริภฏฺยตา อธิบายว่า
ก็ภิกษุใดเลี้ยงดู คืออุ้มชูเด็กในสกุล ด้วยสะเอวบ้าง
ด้วยคอบ้าง ราวกะหญิงพี่เลี้ยงเลี้ยงเด็ก การกระทำของภิกษุผู้เลี้ยงเด็กนั้นชื่อว่า
ปาริภฏฺย ความเป็น
ปาริภฏฺย ชื่อว่า ปาริภฏฺยตา ฉะนี้
เนมิตติกตานิเทศ
- พึงทราบอรรถาธิบายในเนมิตติกตานิเทศต่อไป กายกรรมและวจีกรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง
อันยังความ
หมายรู้ในอันให้ปัจจัย ( แก่ตน ) ให้เกิดแก่คนอื่นๆ ชื่อว่า นิมิตฺตํ (
บุ้ยใบ้ ) การที่ภิกษุเห็นเขาถือขาทนียะ
( ของควรเคี้ยว, ของขบของเคี้ยว ) เดินไป จึงทำนิมิตโดยนัยว่า " ท่านทั้งหลายได้ของเคี้ยวอะไรมา
"
ดังนี้เป็นต้น ชื่อว่า นิมิตฺตกมฺมํ ( บอกใบ้ ) การพูดเกี่ยวปัจจัย ชื่อว่า
โอภาโส ( พูดเคาะ ) การที่ภิกษุเห็น
เด็กเลี้ยงโคแล้วแสร้งถามว่า " ลูกโคเหล่านี้เป็นลูกโคนมหรือลูกโคเปรียง
" เมื่อเขาตอบว่า " ลูกโคนมเจ้าข้า "
แล้วทำโอภาสมีอันพูดแคะไค้โดยนัยว่า " ไม่ใช่ลูกโคนมกระมัง ถ้าเป็นลูกโคนม
พวกภิกษุคงได้นมสดบ้าง "
ดังนี้เป็นต้น จนเด็กเหล่านั้นต้องไปบอกมารดาบิดาให้ถวายนมสด ( แก่เธอ ) เป็นอาทิ
ชื่อว่า โอภาสกมฺมํ
( พูดแคะไค้ ) การพูดเฉียด ( วัตถุประสงค์ ) ชื่อว่า สามนฺตชปฺปา (
พูดเลียบเคียง ) ก็ในบทนี้ควรจะเล่า
เรื่องภิกษุชีต้น ( มาสาธก )
- ได้ยินว่า ภิกษุชีต้นใคร่จะฉันอาหาร จึงเข้าไปสู่เรือน
( ของอุปฐายิกา ) แล้วนั่งลง หญิงแม่เรือนเห็นภิกษุ
นั้นแล้ว ไม่อยากจะให้
- จึงเสพูดว่า " ข้าวสารไม่มี " ทำทีจะไปหาข้าวสาร
ไปสู่เรือนของคนคุ้นเคยกันเสีย ภิกษุเข้าไปในห้องมองดูไป
พบท่อนอ้อยที่ซอกประตู เห็นน้ำอ้อยงบในภาชนะ เห็นปลาแห้งในตระกร้า เห็นข้าวสารในหม้อ
เห็นเปรียง
ในกระออมแล้วออกมานั่งอยู่ หญิงแม่เรือน ( กลับ ) มาถึง แสร้งบอกว่าไม่ได้ข้าวสาร
ภิกษุก็พูดขึ้นว่า " อุบาสิกา "
ฉันเห็นลางก่อนแล้ว รู้ว่าวันนี้ภิกษาจักไม่สำเร็จ " หญิงแม่เรือนถามว่า
" ลางอะไร เจ้าข้า " ภิกษุว่า
" ฉันเห็นงูคล้ายท่อนอ้อยที่เก็บไว้ที่ซอกประตู คิดจะตีมัน มองดูไปก็เห็นพังพานซึ่งคล้ายกับปลาแห้งที่เก็บไว้ใน
ตระกร้า อันงูนั้นมันถูกประหารด้วยก้อนหินและก้อนดิน ซึ่งคล้ายก้อนน้ำอ้อยงบที่วางไว้ในภาชนะ
ทำ ( แผ่ )
ขึ้นเมื่อมันจะกัดก้อนดินนั้น ก็เห็นเขี้ยวของมันคล้ายเมล็ดข้าวสารในหม้อพอมันเคืองจัด
( ก็เห็น ) น้ำลายเจือ
ด้วยพิษที่ออกจากปากของมันคล้ายกับเปรียงที่ใส่ไว้ในกระออม " หญิงแม่เรือนนั้นเห็นว่าไม่อาจจะลวงคนหัวโล้นได้
จึงถวายอ้อยแล้วหุงข้าวถวายพร้อมเปรียงน้ำอ้อยงบและปลา ฉะนี้แล การพูดเฉียดอย่างนี้
พึงทราบว่า
สามนฺตชปฺปา ( พูดเลียบเคียง ) พูดล้อมไปล้อมมาเอาจนได้ปัจจัยนั้น ชื่อว่า
" ปริกถา " ( พูดหว่านล้อม )
นิปเปสิกตานิเทศ
- พึงทราบอรรถาธิบาย ในนิปเปสิกตานิเทศต่อไป บทว่า อกฺโกสนา
ได้แก่การด่าด้วยวัตถุสำหรับด่า ๑0
อย่าง บทว่า วมฺภนา ได้แก่พูดข่ม
- บทว่า ครหนา ได้แก่พูดใส่ร้ายเขา โดยนัยว่า เขาเป็นคนไม่มีศรัทธา
เป็นคนไม่เลื่อมใส เป็นต้น
บทว่า อุกฺเขปนา คือขับเขาด้วยวาจาว่า " ท่านอย่าพูดอย่างนี้ในที่นี้
" การขับเขาอ้างเรื่องอ้างเหตุทุกๆ อย่าง
ชื่อว่า สมุกฺเขปนา ( พูดไล่เขา ) อีกอย่างหนึ่ง การที่เห็นเขาไม่ให้แล้วแสร้งพูดยกเขาว่า
" โอ ท่านทานบดี "
ดังนี้ ชื่อว่า อุกฺเขปนา ( ประชด ) ยกหนักขึ้นไปว่า " โอ ท่านมหาทานบดี
" ดังนี้ ชื่อว่า สมุกฺเขปนา บทว่า
ขีปนา คือพูดเย้ย อย่างนี้ว่า " นี่อย่างไร ชีวิตของผู้บริโภคผักละ
" บทว่า สงฺขิปนา คือพูดเย้ยให้ วิเศษยิ่งขึ้น
อย่างนี้ว่า " ท่านทั้งหลายจะเรียกท่านผู้นี้ซึ่งให้คำว่าไม่มี แก่ชนทั้งปวงตลอดกาลเป็นนิตย์
ว่าใช่ทายกได้อย่างไร "
บทว่า ปาปนา ได้แก่เหยียดเขาว่าไม่ใช่ทายก หรือกดเขาให้เสียหาย การพูดเหยียดเขาไปหมดทุกอย่าง
ชื่อว่า
สมฺปาปนา ( หยาม ) บทว่า อวณฺณหาริกา ความว่า การนำความเสียหายจากเรือน
( นี้ ) ไปสู่เรือน ( โน้น )
จากบ้าน ( นี้ ) ไปสู่บ้าน ( โน้น ) จากชนบท ( นี้ ) ไปสู่ชนบท ( โน้น ) ด้วยคิดว่า
" เขาจะต้องให้ ( ปัจจัย )
แก่เรา เพราะกลัวความเสียหายอย่างนี้ บทว่า ปรปิฏฺฐิมํสิกตา ได้แก่ความเป็นผู้พูดคำหวานต่อหน้า
พูดนินทา
ลับหลัง ก็ความเป็นเช่นนั้น เป็นดุจการที่เมื่อบุคคลไม่อาจสู้หน้าเขา กัดเนื้อหลังเขาข้างหลัง
เพราะเหตุนั้น
จึงเรียกว่า ปรปิฏฺฐิมํสิกตา คำว่า อยํ วุจฺจติ นิปฺเปสิกตา ความว่ากิริยามีการด่าเป็นอาทินี้นั้น
ท่านกล่าวว่า
ชื่อว่า นิปฺเปสิกตา เพราะกวาดล้างความดีของคนอื่นให้เสียไป ราวกะกวาดด้วยไม้กวาดซี่ไม้ไผ่
อีกนัยหนึ่ง
เพราะเป็นการบดป่นความดีของคนอื่นแสวงหาลาภ เหมือนบดคันธชาตหาของหอมฉะนั้น