เรื่องพระมหามิตตเถระ
- ฝ่ายหนึ่ง โรคฝีมีพิษเกิดขึ้นแก่โยมหญิงของพระมหามิตตเถระ
แม้ธิดาของนางก็บวชในสำนักภิกษุณี นางจึง
กล่าวกะภิกษุณีธิดานั้นว่า " ไปเถิด แม่คุณ เธอจงไปสู่สำนักพี่ชาย บอกความที่โยมไม่สบายแล้วนำยามาเถิด
"
ภิกษุณีนั้นไปบอกแล้ว พระเถระกล่าวว่า " ฉันไม่รู้จะเก็บยาต่างๆ มียารากไม้เป็นต้นมาต้มเป็นยาให้ดอก
แต่จักบอกยาแก่เธอ เรา จำเดิมแก่กาลที่บวชแล้ว ไม่เคยมีจิตสหรคตด้วยโลภแล้วทำลายอินทรีย์ทั้งหลาย
แลดูรูปที่เป็นวิสภาค ( ไม่เหมาะ ) เลย ด้วยคำสัตย์นี้ ขอความผาสุกจงมีแก่โยมหญิงของเราเถิด
เธอ ( กลับ )
ไปเถิด จงว่าคำ ที่เรากล่าวนี้แล้วลูบสรีระของอุบาสิกาเถิด " ภิกษุณีนั้น
( กลับ ) ไปแจ้งเนื้อความนั้นแล้ว
ได้กระทำตามสั่งทันใดนั้นเอง ฝีของอุบาสิกาก็ฝ่อหายไป เหมือนฟองน้ำแตกหายไปฉะนั้น
นางลุกขึ้นแล้วเปล่ง
วาจาแสดงความชื่นบานออกมาว่า " ถ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังดำรงพระชนม์อยู่ไซร้
ไฉนพระองค์จะไม่พึง
ทรงลูบศีรษะของภิกษุผู้เช่นดังบุตรของเรา ด้วยพระหัตถ์อันมีลายวิจิตรเล่า "
ดังนี้ เหตุนั้น
- แม้บุคคลอื่น ผู้มีความสำคัญว่า ( ตน )
- เป็นลูกสกุล ได้บวชในพระศาสนาแล้ว
- พึงตั้งอยู่ในอินทรีย์สังวรอันประเสริฐ
- ดังพระมิตตเถระ เทอญ
- เหมือนอย่างว่า อินทรีย์สังวรอันภิกษุพึงให้ถึงพร้อมด้วยสติฉันใด
อาชีวปาริสุทธิก็พึงให้ถึงพร้อมด้วยความ
เพียรฉันนั้น เพราะอาชีวปาริสุทธินั้น เป็นวิริยสาธนะ ( มีวิริยะเป็นเหตุให้สำเร็จ
) เหตุว่าความเพียรที่ปรารภ
แล้วโดยชอบ เป็นเหตุให้มีการละมิจฉาอาชีวะ เหตุนั้น อาชีวปาริสุทธินี้ ภิกษุผู้ละอเนสนา*การแสวงหา
ไม่สมควรเสียแล้ว เสพแต่ปัจจัยที่เกิดขึ้นโดยบริสุทธิ์ เว้นปัจจัยที่เกิดขึ้นโดยไม่บริสุทธิ์อันเป็นเหมือนอสรพิษเสีย
พึงทำให้ถึงพร้อมได้ ด้วยการแสวงหาโดยชอบ มีการเที่ยวบิณฑบาตเป็นต้น ด้วยความเพียร
- ในปัจจัย ๒ อย่าง ( คือ ปริสุทธุปปาทปัจจัย
และอปริสุทธุปปาทปัจจัย ) นั้น สำหรับภิกษุผู้ไม่ได้ถือธุดงค์
ปัจจัยที่เกิดแต่สงฆ์หรือแต่คณะก็ดี แต่สำนักของคฤหัสถ์ผู้เลื่อมใสด้วยคุณทั้งหลายของเธอมีการแสดงธรรม
เป็นต้นก็ดี ชื่อว่าปัจจัยที่เกิดขึ้นโดยบริสุทธิ์ ส่วนปัจจัยที่เกิดขึ้นด้วยวัตรมีการเที่ยวบิณฑบาตเป็นต้น
ชื่อว่า
เกิดขึ้นโดยบริสุทธิ์อย่างยิ่งทีเดียว สำหรับภิกษุผู้ถือธุดงค์ ปัจจัยที่เกิดขึ้นด้วยวัตรมีการเที่ยวบิณฑบาตเป็นต้น
และเกิดแต่สำนักของคฤหัสถ์ผู้เลื่อมใสในธุดงคคุณของเธอ โดยอนุโลมแก่ธุดงคนิยม
ชื่อว่า ปัจจัยที่เกิดขึ้นโดย
บริสุทธิ์ อนึ่ง การสมาทานธุดงค์ของเธอผู้เมื่อยาสมอ ( ดองน้ำมูตร ) เน่า และมธุรเภสัช
( น้ำผึ้ง ) ๔ เกิดขึ้น
( ได้มา ) เพื่อใช้ระงับพยาธิอย่างหนึ่ง คิดว่า " เพื่อนพรหมจารีอื่นๆ จะต้องฉันจตุมธุรเภสัช
( เป็นแน่ ) "
ดังนี้แล้ว ( ตัวเอง ) ฉันแต่ชิ้นสมอเท่านั้น ( เช่นนี้ ) เป็นการชอบแท้ อันภิกษุเช่นนี้ท่านเรียกว่า
อริยวํสิกภิกฺขุ ( ภิกษุผู้ตั้งอยู่ในอริยวงศ์ ) ชั้นอุดม
- * อเนสนา = การหาเลี้ยงชีพในทางที่ไม่สมควรแก่ภิกษุ,
เลี้ยงชีวิตผิดสมณะ เช่น หลอกลวงเขาด้วยการ
อวดอุตริมนุสธรรม ,ทำวิญญัติคือออกปากขอต่อคนที่ไม่ควรขอ ,ใช้เงินลงทุนหาผลประโยชน์
ต่อลาภด้วยลาภ
คือให้แต่น้อยเพื่อ หวังตอบแทนมาก ,เป็นหมอเวทมนต์เสกเป่า เป็นต้น
- ก็แลปัจจัยทั้งหลาย มีจีวรเป็นต้นนั้นใด
บรรดาปัจจัยเหล่านั้น ในจีวรและบิณฑบาต นิมิต ( พูดใบ้ )
โอภาส ( พูดเคาะ ) ปริกถา ( พูดหว่านล้อม ) วิญญัติ ( ขอตรงๆ
) ย่อมไม่สมควรแก่ภิกษุทุกรูปผู้จะทำอาชีวะ
ให้หมดจด แต่ในเสนาสนะ นิมิต โอภาส และปริกถา ก็ควร สำหรับภิกษุผู้ไม่ได้ถือธุดงค์
- ในอาการเหล่านั้น การที่เมื่อภิกษุกระทำกิจมีบริกรรมพื้นที่เป็นต้น
เพื่อ ( ปลูก ) เสนาสนะอยู่ ครั้น
คฤหัสถ์ทั้งหลายถามว่า " ท่านผู้เจริญ ท่านทำอะไร ใครทำให้ " แล้วกล่าวตอบว่า
" ไม่มีใครๆ ให้ทำดอก "
ดังนี้ ก็หรือว่านิมิตตกรรม ( การทำใบ้ ) รูปนั้น อย่างอื่นอีก ชื่อว่านิมิต
( ใบ้ ) การที่เมื่อภิกษุถามว่า
" อุบาสกอุบาสิกาทั้งหลาย ท่านทั้งหลายอยู่เรือนอะไร " ครั้นเขาตอบว่า
" ( อยู่ ) ปราสาท เจ้าข้า " แล้วพูดว่า
" อุบาสกอุบาสิกาทั้งหลาย ก็แต่ปราสาทย่อมไม่สมควรแก่ภิกษุทั้งหลาย "
ดังนี้ ก็หรือโอภาสกรรม ( การพูดเคาะ )
รูปนั้น อย่างอื่นอีก ชื่อว่า โอภาส ( เคาะ ) การที่ภิกษุพูดว่า "
เสนาสนะของภิกษุสงฆ์คับแคบ " ดังนี้ ก็หรือ
ว่าการพูดอ้อมไปรูปนั้นอย่างอื่นอีก ชื่อว่า ปริกถา ( พูดหว่านล้อม )
- ในเภสัช อาการทั้งหมดย่อมควร แต่เภสัชที่เกิดขึ้น
( ด้วยอาการมีนิมิตเป็นต้น ) อย่างนั้น ภิกษุจะฉันเมื่อ
โรคหายแล้ว ไม่ควรในเรื่องเภสัช ( ที่เกิดขึ้นอย่างนั้น ) นั้น พระวินัยธรทั้งหลายกล่าวว่า
" ช่อง ( ที่จะฉันยาได้ )
พระผู้มีพระภาคเจ้าโปรดประทานไว้ให้แล้ว เพราะเหตุนั้น จึงควร " ส่วนอาจารย์ฝ่ายพระสูตรกล่าวอย่างนี้ว่า
" ไม่เป็นอาบัติก็จริงอยู่ ถึงอย่างนั้นมันก็ทำอาชีวะให้กำเริบ เหตุนั้นจึงไม่ควร
" ภิกษุใดไม่ทำนิมิต โอภาส ปริกถา
และวิญญัติ แม้ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาต อาศัยคุณมีความมักน้อยเป็นต้นนั่นแล
แม้เมื่อความสิ้น
ชีวิตปรากฎขึ้นเฉพาะหน้า ก็ยังเสพเฉพาะปัจจัยที่เกิดขึ้นเว้นจากกรรมที่เป็นเหตุทำอาชีวะให้กำเริบ
มีโอภาส
เป็นต้น ภิกษุนี้ท่านเรียกว่า " ผู้มีความประพฤติเป็นบรมสัลเลขะ ( เพื่อการขัดเกลากิเลสอย่างยิ่ง
) "
เหมือนพระเถระสารีบุตรฉะนั้น
เรื่องพระสารีบุตรอาพาธ
- ได้ยินว่า ในสมัยหนึ่งพระมหาสารีบุตรเถระจะเพิ่มพูนปวิเวก
( ความสงัดกายสงัดใจ ) จึง ( ไป ) อยู่ในป่าแห่งใดแห่งหนึ่งกับพระมหาโมคคัลลานเถระ
อยู่มาวันหนึ่ง อาพาธเพราะลมในท้องเกิดขึ้น ยังทุกข์
หนักให้เกิดแก่ท่าน ( พระสารีบุตร ) พระมหาโมคคัลลานเถระไปสู่ที่อุปัฏฐากท่านในตอนเย็น
เห็นพระเถระ
( พระสารีบุตร ) นอนอยู่ ถาม ( ทราบ ) ความเป็นไปนั้นแล้ว ถามว่า " อาวุโส
ในกาลก่อนความผาสุกได้มี
แก่ท่านด้วยสิ่งอะไร ? " พระเถระกล่าวว่า
- " อาวุโส ครั้งยังเป็นคฤหัสถ์ โยมหญิงของข้าพเจ้า
ได้ให้ข้าวปายาสหุงด้วยน้ำนมสดล้วนๆ ปรุงด้วยเนยใส
น้ำผึ้ง และน้ำตาลกรวด ความผาสุก ได้มีแก่ข้าพเจ้าด้วยข้าวปายาสนั้น " ฝ่ายท่าน
( พระมหาโมคคัลลานะ )
นั้นจึงกล่าวว่า " อาวุโส เอาเถิด หากบุญของข้าพเจ้าหรือของท่านมีอยู่ ถ้ากระไร
พรุ่งนี้เราก็คงจักได้ " กล่าว
ถึงเทวดาผู้สิงอยู่ที่ต้นไม้ทางท้ายที่จงกรม ได้ยินคำพูดกันนี้ของท่านทั้งสอง
จึงคิดว่า " เราจะต้องช่วยให้ข้าว
ปายาสเกิดแก่พระคุณเจ้าในวันพรุ่งนี้ ( ให้จงได้ ) " จึงไปสู่ตระกูลอุปัฏฐากของพระเถระในทันใดนั้น
เข้าสิงกาย
บุตรคนใหญ่ แสร้งบันดาลอาการเจ็บให้เกิดขึ้น ครั้นแล้ว เทวดานั้นจึงออกปากกะพวกญาติที่มาประชุมกัน
หมายจะเยียวยาคนเจ็บนั้นว่า " ถ้าสูเจ้าจัดทำข้าวปายาสชื่ออย่างนี้ถวายพระเถระในวันพรุ่งนี้ได้
ข้าจึงจะปล่อย "
ญาติเหล่านั้นกล่าวว่า " ถึงท่านไม่บอก พวกข้าพเจ้าก็ถวายภิกษาแก่พระเถระทั้งหลายเป็นประจำอยู่แล้ว
" ดังนี้
ในวันรุ่งขึ้นได้ช่วยกันจัดทำข้าวปายาสอย่างนั้นเตรียมไว้ พระมหาโมคคัลลานเถระมา
( ที่พระสารีบุตร ) แต่เช้า
กล่าวว่า " อาวุโส ท่านจงอยู่ที่นี่จนกว่าข้าพเจ้าไปบิณฑบาตกลับมา "
แล้วเข้าไปสู่บ้าน คนเหล่านั้นออกไป
ต้อนรับท่าน รับบาตรของพระเถระมาบรรจุข้าวปายาสชนิดดังกล่าวจนเต็มถวาย พระเถระแสดงอาการจะ
( กลับ ) ไป คนเหล่านั้นจึงกล่าวว่า " ท่านผู้เจริญ นิมนต์ฉันเถิด ข้าพเจ้าทั้งหลายจักถวายท่านอีก
( บาตรหนึ่ง )
ยังพระเถระให้ฉันเสร็จแล้ว ได้ถวาย ( ข้าวปายาส ) เต็มบาตรอีก ( บาตรหนึ่ง )
พระเถระเข้ามาถึงแล้วน้อมเข้า
ไปถวาย
- กล่าวว่า " อาวุโสสารีบุตร นิมนต์ท่านฉันเถิด "
ฝ่ายพระเถระเห็นข้าวปายาสนั้นแล้ว คิด ( แคลงใจ )
ไปว่า " ข้าวปายาสน่าพึงใจยิ่ง ( นี้ ) เกิดขึ้นอย่างไรหนอ " ก็ได้เห็นมูลที่เกิดขึ้นแห่งข้าวปายาสนั้น*
จึงกล่าวว่า " นำไปเสีย อาวุโสโมคคัลลานะ บิณฑบาต ( นี้ ) ไม่ควรบริโภค
" ฝ่ายท่าน ( พระมหาโมคคัลลานะ )
นั้น ไม่ให้แม้แต่จิต ( คิดโทมนัส ) เกิดขึ้นว่า " เขาไม่ฉันบิณฑบาตซึ่งคนเช่นเรานำมาให้เชียวนะ
" โดยคำ
( สั่งของพระสารีบุตร ) คำเดียวเท่านั้นก็จับขอบปากบาตร ( นำออกไป ) คว่ำเสียในที่ส่วนสุดข้างหนึ่งพร้อม
กับที่ข้าวปายาส ( ลงไป ) กองที่พื้นดิน อาพาธของพระเถระก็หาย จำเดิมแต่นั้นมาตลอด
๔๕ ปี อาพาธเช่นนั้น
ไม่เกิดขึ้นอีกเลย ลำดับนั้นท่านพระสารีบุตร จึงกล่าวกะพระมหาโมคคัลลานะว่า "
อาวุโสข้าวปายาสที่เกิดขึ้น
เพราะอาศัยวจีวิญญัติ เป็นของไม่ควรจะบริโภค แม้เมื่อ ( หิวจน ) ไส้ออกมาเที่ยว
( หาของกิน ) อยู่ตามพื้น
ดิน ( ก็ตามที ) " และได้เปล่งอุทานนี้ว่า
- * มูลที่เกิดข้าวปายาสนั้น
หมายถึงการเปล่งวาจาของท่านเอง บอกพระมหาโมคคัลลานะว่า เมื่อครั้งเป็น
คฤหัสถ์ เวลาท่านอาพาธอย่างนี้ โยมหญิงเคยหุงข้าวปายาส ด้วยน้ำนมไม่ปนน้ำ ปรุงด้วยเนยใสน้ำผึ้งและน้ำตาล
กรวด ให้รับประทานจึงหาย ดังนี้ เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวกะพระมหาโมคคัลลานะ
เมื่อหายเจ็บแล้วว่า
ข้าวปายาสที่เกิดขึ้นพราะอาศัยวจีวิญญัติ เป็นของไม่ควรบริโภค
- มหาฎีกา ไขความต่อไปว่า ความจริง
เมื่อท่านเล่าความที่เคยเป็นมาให้พระมหาโมคคัลลานะทราบนั้นจะ
ได้เกิดจิตคิดมุ่งให้เป็นนิมิตโอภาสอันใดหามิได้ แต่ว่าท่านปฏิเสธข้าวปายาสเสียนั้น
ด้วยเห็นอำนาจประโยชน์
๒ ประการ คือ เห็นว่า คนปุถุชนลางพวกที่ไม่รู้อัชฌาสัยของท่านอาจสำคัญผิดไปเช่นนั้นได้ประการหนึ่ง
อีกประการหนึ่ง เพื่อนพรหมจารีในกาลภายหน้า อาจถือเป็นเยื่ยงอย่างว่าท่านเคยประพฤติอย่างนั้น
ก็จะ
ประพฤติตามบ้าง
- " ถ้าเราพึงเป็นผู้บริโภคข้าวมธุปายาส ที่เกิดขึ้นเพราะเผยวาจาเป็นวจีวิญญัติไซร้
อาชีวะ
ของเราก็จะพึงถูกติเตียน แม้ว่าขนดไส้ของเรา จะพึงออกไปเที่ยวอยู่ข้างนอก เราก็ไม่พึงทำลาย
อาชีวะเป็นเด็ดขาด แม้ต้องสละชีวิต ( ก็ตาม ) เราคุมจิตของตนได้ เราเว้นการแสวงหาไม่ควร
ไม่ทำอเนสนาที่พระพุทธเจ้าทรงเกลียดเลย " ดังนี้
- อนึ่ง แม้เรื่องพระมหาติสสเถระผู้ฉันมะม่วง ซึ่งพำนักอยู่ที่จีวรคุมพวิหาร
ก็ควรเล่าไว้ในที่นี้ *
- * มหาฎีกา ได้เรื่องมาเล่าไว้ว่า
คราวหนึ่งเกิดทุพภิกขภัย พระเถระนี้เดินทางไปอดอาหารประกอบกับเมื่อยล้า
ในการเดินทาง เลยหมดแรง ลงนอนใต้ต้นมะม่วง ซึ่งกำลังมีผล ผลมะม่วงสุกหล่นอยู่เกลื่อน
( ก็ไม่หยิบฉัน )
มีอุบาสกผู้เฒ่าคนหนึ่งมาพบเข้าทำอัมพบาน ( น้ำมะม่วงคั้น ) ถวายให้ดื่ม แล้วยกขึ้นหลังไปส่งถึงที่อยู่
ระหว่างทางพระเถระสอนตัวว่า " ท่านผู้เฒ่านี้ ไม่ใช่พ่อไม่ใช่แม่ของเจ้า
ไม่ใช่ญาติไม่ใช่เผ่าพันธ์ ของเจ้าทั้งนั้น
ท่านทำกิจถึงเช่นนี้ให้เจ้าก็เพราะเหตุที่เจ้าเป็นผู้มีศีลเท่านั้นดอก "
แล้วเจริญวิปัสสนาจนได้พระอรหัตผล
ตามทาง ทั้งที่อยู่บนหลังอุบาสกผู้เฒ่านั่นเอง
- นักพรตผู้บวชด้วยศรัทธา มีปัญญาพิจารณาเห็นผลโดยประจักษ์
ไม่ให้แม้แต่ความคิด ในการ
แสวงหาไม่ควรด้วยประการทั้งปวงเกิดขึ้น พึงทำอาชีวะให้หมดจดได้
- ด้วยประการฉะนี้แล
- เหมือนอย่างว่า อาชีวปาริสุทธิ
อันภิกษุพึงให้ถึงพร้อมด้วยความเพียร ฉันใด ปัจจัยสันนิสิตศีลก็พึงให้ถึง
พร้อมด้วยปัญญา ฉันนั้น เพราะปัจจัยสันนิสิตศีลนั้น เป็นปัญญาสาธนะ ( มีปัญญาเป็นเหตุให้สำเร็จ
)
เหตุว่าบุคคลผู้มีปัญญาเป็นผู้สามารถเห็นโทษและอานิสงส์ ในการบริโภคปัจจัยทั้งหลาย
เพราะเหตุนั้น
ปัจจัยสันนิสิตศีลนั้น ภิกษุผู้ละความกำหนัดในปัจจัยแล้ว พิจารณาด้วยปัญญาโดยวิธีตามที่กล่าวแล้ว
จึงบริโภค
ปัจจัยที่เกิดขึ้นโดยธรรมโดยสมควร ( นั่นแหละ ) พึงทำให้ถึงพร้อมได้
- ในปัจจัยสันนิสิตศีลนั้น การพิจารณามี
๒ คือ พิจารณาในเวลาได้ปัจจัยทั้งหลาย ๑ พิจารณาในเวลาบริโภค
ปัจจัยทั้งหลาย ๑
- ที่จริง การบริโภคของภิกษุผู้บริโภคปัจจัยทั้งหลายมีจีวรเป็นต้น
ที่พิจารณาโดยเป็นธาตุ หรือโดยเป็น
ปฏิกูล แม้ในเวลาได้มาแล้วเก็บไว้ ต่อจากเวลาได้นั้นไป ก็หาโทษมิได้เลย แม้ในเวลาบริโภค
- ( ต่อไป ) นี้เป็นวินิจฉัยที่ทำความตกลง
( ไม่มีสงสัย ) ในการพิจารณาเวลาบริโภคปัจจัยนั้น
- ก็การบริโภค มี ๔ คือ
- ไถยบริโภค ( บริโภคอย่างขโมย
)
- อิณบริโภค ( บริโภคอย่างเป็นหนี้
)
- ทายัชชบริโภค ( บริโภคอย่างเป็นผู้รับมรดก
)
- สามีบริโภค ( บริโภคอย่างเป็นเจ้าของ
)
- ในการบริโภค ๔ อย่างนั้น การบริโภคของภิกษุทุศีล
ผู้นั่งบริโภคอยู่แม้ในท่ามกลางสงฆ์ ชื่อว่าไถยบริโภค
การบริโภคปัจจัยอันตนมิได้พิจารณา ของภิกษุผู้มีศีล ชื่อว่าอิณบริโภค *
เพราะเหตุนั้น
- * มหาฎีกา ขยายความ ไถยบริโภค
และ อิณบริโภค ไว้ว่า อันปัจจัยทั้งหลายนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง
อนุญาตไว้ เพื่อภิกษุผู้มีศีลในศาสนาของพระองค์ หาใช่ทรงอนุญาตเพื่อคนทุศีลไม่
ฝ่ายทายกเล่า เขาบริจาค
ปัจจัย ก็เพื่อท่านผู้มีศีลเหมือนกัน หาใช่บริจาคเพื่อคนทุศีลด้วยไม่ ทั้งนี้
เพราะเขาหวังให้การกุศลของเขา
มีผลมาก ก็เพราะพระศาสดามิได้ทรงอนุญาต ทายกก็มิได้บริจาคให้ ดังนี้ การบริโภคของภิกษุทุศีล
จึงเป็น
บริโภคโดยกิริยาแห่งขโมย คือ บริโภคของที่เขาไม่ให้ เรียกว่า ไถยบริโภค
- ส่วนภิกษุมีศีล แต่บริโภคปัจจัยมิได้พิจารณานั้น
ทำให้ทักขิณาขาดความถึงพร้อมไป ไม่เป็นอุภโตวิสุทธิ
( วิสุทธิทั้งสองฝ่าย คือ ฝ่ายทายก และ ฝ่ายปฏิคาหก ) เพราะไม่วิสุทธิฝ่ายปฏิคาหก
การบริโภคของเธอจึงเป็น
เหมือนเป็นหนี้เขาบริโภค หมายความว่า เป็นหนี้ทักขิณาวิสุทธินั่นเอง เรียกว่า
อิณบริโภค
- จีวร ภิกษุพึงพิจารณาทุกคราวที่บริโภค
บิณฑบาต พึงพิจารณาทุกคำกลืน เมื่อไม่อาจอย่างนั้น พึงพิจารณา
ในกาลก่อนฉัน ภายหลังฉัน ในยามต้น ยามกลาง ยามสุดท้าย ( เวลาใดเวลาหนึ่ง ) ถ้าเมื่อภิกษุนั้นไม่พิจารณา
เสียเลยจนอรุณขึ้น เธอย่อมตั้งอยู่ในฐานอิณบริโภค แม้เสนาสนะเล่าก็พึงพิจารณาทุกคราวที่ใช้สอย
ความมี
สติกำกับ ทั้งในขณะรับ ทั้งในขณะบริโภคเภสัช ย่อมควร แม้เช่นนั้น เมื่อภิกษุทำสติในเวลารับแล้ว
ไม่ได้ทำในเวลา
บริโภคเท่านั้นเป็นอาบัติ แต่ไม่ได้ทำสติในเวลารับ ไปทำในเวลาบริโภค หาเป็นอาบัติไม่
- ก็สุทธิมี ๔ อย่างคือ
- เทสนาสุทธิ ( หมดจดด้วยการแสดง )
- สังวรสุทธิ ( หมดจดด้วยสังวร )
- ปริเยฏฐิสุทธิ ( หมดจดด้วยการแสวงหา )
- ปัจจเวกขณสุทธิ ( หมดจดด้วยการพิจารณา )
- ในสุทธิ ๔ อย่างนั้น ปาฏิโมกขสังวรศีล ชื่อเทสนาสุทธิ
เหตุว่าปาฏิโมกขสังวรศีลนั้น ท่านเรียกว่าเทสนาสุทธิ
เพราะหมดจดด้วยการแสดง อินทรียสังวรศีล ชื่อว่าสังวรสุทธิ เหตุว่าอินทรียสังวรศีลนั้น
ท่านเรียกว่าสังวรสุทธิ
เพราะหมดจดด้วยสังวร โดยตั้งใจว่า " เราจักไม่ทำอย่างนี้อีก " อาชีวปาริสุทธิศีล
ชื่อปริเยฏฐิสุทธิ เหตุว่า
อาชีวปาริสุทธิศีลนั้น ท่านเรียกว่าปริเยฎฐิสุทธิ เพราะหมดจดด้วยการแสวงหา แห่งภิกษุผู้ละอเนสนา
ยังปัจจัย
ให้เกิดขึ้น โดยธรรมโดยชอบอยู่