ปกรณ์วิเศษชื่อวิสุทธิมรรค
ภาค ๒ ตอน ๑
---------------
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า
ผู้เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ พระองค์นั้น
อนุสสติกัมมฐานนิเทส
มรณสติ
- บัดนี้ ภาวนานิเทสแห่งมรณสติ
( อันท่านจัดไว้ ) ถัดจากเทวตานุสสตินี้ ถึงแล้วโดยลำดับ
- ความขาดแห่งชีวิตินทรีย์
( คือความขาดไปทั้ง ชีวิตรูป และชีวิตินทรีย์เจตสิก ) ที่เนื่องอยู่กับภพ
อันหนึ่ง ชื่อว่ามรณะ ในคำว่ามรณสตินั้น
ส่วนว่าสมุจเฉทมรณะ กล่าวคือความขาดเด็ดแห่งวัฏฏทุกข์ของพระ
อรหันต์ทั้งหลายก็ดี ขณิกมรณะ อันได้แก่ความดับในขณะๆ แห่งสังขารทั้งหลายก็ดี
สัมมติมรณะ ( อันได้ ) ในคำ
ของชาวโลกว่า ต้นไม้ตาย โลหะตาย เป็นต้นก็ดี นั้นใด มรณะนั้นท่านมิได้ประสงค์เอาในคำว่ามรณสตินี้
ส่วนมรณะ
ที่ท่านประสงค์เอานั้น มี ๒ อย่าง คือ กาลมรณะ อกาลมรณะ ในมรณะ
๒ อย่างนั้น กาลมรณะ ย่อมมีเพราะสิ้น
บุญบ้าง เพราะสิ้นอายุบ้าง เพราะสิ้นทั้งสองอย่างบ้าง อกาลมรณะ ย่อมมีด้วยอำนาจกรรมอันเข้าไปตัด
( ชนก )
กรรม
- ในมรณะเหล่านั้น มรณะใด แม้เมื่อความถึงพร้อมแห่งปัจจัยอันเป็นเครื่องยังอายุให้สืบต่อไปยังมีอยู่
แต่ก็มี
ขึ้นได้ เพราะความที่กรรมอันก่อปฏิสนธิ มีวิบากสุกงอมสิ้นเชิงแล้วนี้ ชื่อว่า
มรณะเพราะสิ้นบุญ มรณะใดมีขึ้น
ด้วยอำนาจความสิ้นแห่งอายุ ดังอายุอันมีประมาณสัก ๑00 ปีของคนทุกวันนี้ ( ๑00
ปีคืออายุเฉลี่ยในสมัยพุทธ
กาลแต่ปัจจุบันนี้คือประมาณ ๗๕ ปี ) เพราะความไม่มีสมบัติ เช่น คติ กาล และอาหาร
เป็นต้น นี้ชื่อว่ามรณะ
เพราะสิ้นอายุ ส่วนมรณะใดย่อมมีแก่บุคคลทั้งหลายผู้มีปัจจัยเครื่องสืบต่อ ( แห่งอายุ
) ถูกกรรมที่สามารถยัง
สัตว์ให้เคลื่อนจากฐานะ ( ที่เป็นอยู่ ) ได้ทันที เข้ามาตัดเอา ดุจคนบาปทั้งหลายมีพญาทุสิมาร
และพญากลาพุ
เป็นต้นก็ดี แก่บุคคลทั้งหลายผู้มีปัจจัยเครื่องสืบต่อ ( แห่งอายุ ) มาขาดไปด้วยอุปักกมะ
( ความทำร้าย )
มีการใช้ศาสตราเป็นต้น ด้วยอำนาจแห่งกรรมที่ทำไว้ในปางก่อนก็ดี ( คือกรรมชั่วที่ทำไว้ในปัจจุบันชาติ
หรือกรรม
ชั่วที่ทำไว้ในอดีตชาติก็ดีมาให้ผล ) มรณะนี้ชื่อว่า อกาลมรณะ มรณะทั้งหมดนั้น
( ล้วน ) สงเคราะห์เข้าด้วยความ
ขาดแห่งชีวิตินทรีย์ มีประการดังกล่าวแล้ว ความระลึกถึงความตาย กล่าวคือความขาดแห่งชีวิตินทรีย์
ดังกล่าวมานี้แล ชื่อมรณสติ
วิธีเจริญมรณสติ
- พระโยคาวจรผู้ใคร่จะเจริญมรณสตินั้น
พึงเป็นผู้ไปในที่ลับ ( คน ) เร้นอยู่ ( ในเสนาสนะอันสมควร )
- แล้วยังมนสิการให้เป็นไปโดยแยบคายว่า
" มรณํ ภวิสฺสติ ชีวิตินฺทฺริยํ อุปจฺฉิชฺชิสฺสติ ความตายจักมี
ชีวิตินทรีย์จักขาด " ดังนี้ หรือว่า " มรณํ มรณํ ตาย ตาย "
ดังนี้ก็ได้ เพราะเมื่อยังมนสิการให้เป็นไปโดยไม่
แยบคาย ความโศกจะเกิดขึ้นในเพราะไประลึกถึงความตายของอิฏฐชน ( คนที่เป็นที่รัก
) เข้า ดุจความโศก
เกิดแก่มารดาผู้ให้กำเนิดในเพราะไประลึกถึงความตายของบุตรที่รักเข้าฉะนั้น ความปราโมชจะเกิดขึ้น
ในเพราะ
ในเพราะระลึกถึงความตายของอนิฏฐชน ( คนที่เกลียด ) ดุจความบันเทิงใจเกิดขึ้นแก่คนที่มีเวรกันทั้งหลาย
ในเพราะระลึกถึงความตายของเวรีชน ( คนที่มีเวรต่อกัน ) ฉะนั้น ความสังเวชจะไม่เกิดขึ้นในเพราะระลึกถึง
ความตายของมัชฌัตตชน ( คนที่เป็นกลางๆ ไม่รักไม่เกลียด ) ดุจความสลดใจไม่เกิดขึ้นแก่สัปเหร่อ
ในเพราะ
เห็นซากคนตายฉะนั้น ความสะดุ้งกลัวจะเกิดขึ้น ในเพราะระลึกถึงความตายของตนเข้า
ดุจความสะดุ้งกลัว
เกิดขึ้นแก่คนชาติขลาด เพราะเห็นเพชฌฆาตผู้เงื้อดาบ ( จะฟันเอา ) ฉะนั้นความเกิดขึ้นแห่งความโศกเป็นต้น
นั้นทั้งหมดนั่น ย่อมมีแก่บุคคลผู้ไร้สติ และสังเวคะ ( สังเวคะ = ความสังเวช
คือความสำนึกให้มีจิตใจน้อมมาใน
ทางกุศล เกิดความไม่ประมาทและมีกำลังใจที่จะทำความเพียรปฏิบัติธรรมต่อไป ) และญาณ
( ปัญญา )
เพราะเหตุนั้น พระโยคาวจรพึงดูสัตว์ที่ถูกฆ่าและที่ตาย ( เอง ) ในที่นั้นๆ แล้วคำนึงถึงความตายของพวกสัตว์
ที่ตายซึ่ง ( มัน ) มีสมบัติ ( คือความพร้อมมูลต่างๆ ) ที่ตนเคยเห็นมา ประกอบสติ
และสังเวคะ และญาณ
( ปัญญา ) เข้า ยังมนสิการให้เป็นไปโดยนัยว่า " มรณํ ภวิสฺสติ ความตายจักมี
" ดังนี้ เป็นต้นเถิด ด้วยว่าเมื่อ
( ยังมนสิการ ) ให้เป็นไปอย่างนั้น จัดว่าให้เป็นไปโดยแยบคาย
- หมายความว่าให้เป็นไปโดยอุบาย
( คือถูกทาง ) จริงอยู่สำหรับพระโยคาวจรลางท่าน ( ที่อินทรีย์กล้า )
ยังมนสิการให้เป็นไปอย่างนั้นเท่านั้นแหละ นิวรณ์ทั้งหลายจะระงับลง สติอันมีความตายเป็นอารมณ์จะตั้งมั่น
กรรมฐานถึงอุปจารทีเดียวก็เป็นได้
ผู้อินทรีย์อ่อนพึงระลึกโดยอาการ
๘
- แต่สำหรับพระโยคาวจรผู้ใด ด้วยมนสิการเพียงเท่านี้
กรรมฐานยังไม่เป็น ( อย่างนั้น ) พระโยคาวจรผู้นั้น
พึงระลึกถึงความตายโดยอาการ ๘ นี้ คือ
- วธกปจฺจุปฏฺฐานโต โดยปรากฏดุจเพชฌฆาต
- สมฺปตฺติวิปตฺติโต โดยวิบัติแห่งสมบัติ
- อุปสํหรณโต โดยเปรียบเทียบ
- กายพหุสาธารณโต โดยร่างกายเป็นสาธารณแก่สัตว์และปัจจัยแห่งความตายมากชนิด
- อายุทุพฺพลโต โดยอายุเป็นของอ่อนแอ
- อนิมิตฺตโต โดยชีวิตไม่มีนิมิต
- อทฺธานปริจฺเฉทโต โดยชีวิตมีกำหนดกาล
- ขณปริตฺตโต โดยชีวิตมีขณะสั้น
อธิบายอาการที่ ๑ วธกปจฺจุปฏฺฐานโต
- ใน ๘ บทนั้น บทว่า วธกปจฺจุปฏฺฐานโต
แปลว่าโดยปรากฏ ( แห่งความตาย ) ดุจเพชฌฆาต ความว่า
- พระโยคาวจรพึงระลึกว่า เพชฌฆาตคิดว่าจักตัดศีรษะคนผู้นี้
ถือดาบจ่อที่คอ ยืนประชิดตัวอยู่ฉันใด
แม้ความตายก็ปรากฏฉันนั้นเหมือนกัน ถามว่า เพราะอะไร ตอบว่า เพราะมันมาพร้อมกับความเกิด
และเพราะ
มันคร่าเอาชีวิตไปอุปมาเหมือนดอกเห็ด ย่อมพาเอาฝุ่นติดหัวขึ้นมาด้วยฉันใด สัตว์ทั้งหลายก็พาเอาความแก่
และความตายเกิดมาด้วยฉันนั้น จริงอย่างนั้นปฏิสนธิจิตของสัตว์เหล่านั้นก็ถึงซึ่งความแก่ในลำดับแห่งความเกิดขึ้น
นั้นเอง แล้วก็แตก ( ดับ ) ไปพร้อมกับสัมปยุตขันธ์ ( ขันธ์ที่เกิดร่วมด้วย )
ทั้งหลาย ดังศิลาตกจากยอดเขาแตก
ไปฉะนั้น ( นี่ว่าด้วย ) ขณิกมรณะมาพร้อมกับความเกิดก่อน แต่แม้มรณะที่ท่านประสงค์เอาในมรณสตินี้
ก็จัดว่า
มาพร้อมกับความเกิด เพราะความที่สัตว์ผู้เกิดมาแล้ว ต้องตายเป็นแน่ เพราะเหตุนั้น
อันว่าสัตว์นั่น จำเดิม
แก่กาลที่เกิดแล้วก็บ่ายหน้าสู่ความตายไปไม่กลับเลยสักน้อยเดียว เปรียบดั่งดวงสุริยะที่ขึ้นแล้ว
ย่อมบ่ายหน้า
สู่ความตกไปท่าเดียว มิได้กลับแต่ที่ๆ ไปๆ แล้วแม้สักหน่อยหนึ่ง หรือมิฉะนั้น
เหมือนลำธารที่ไหลลงจากภูเขา
มีกระแสเชี่ยวพัดพาเอาสิ่งที่มันจะพาไปได้ให้ไหลรุดไปท่าเดียว มิได้ ( ไหล )
กลับ แม้สักนิดฉะนั้น เพราะฉะนั้น
พระอโยฆรกุมารโพธิสัตว์จึงกล่าวว่า
- " สัตว์เผ่ามนุษย์ ( เข้า
) อยู่ในครรภ์ ในตอนกลางคืนๆ หนึ่ง ในขณะแรก ( ปฏิสนธิ ) ใด ( จำเดิม
แต่ขณะแรกนั้นไป ) สัตว์ผู้ผุดเกิดเป็นตัวแล้วก็บ่ายหน้าไปทีเดียว เขาไปเรื่อย
ไม่กลับ " ( ขุ.ชา วีสติ.
๒๗/๔๖๙ ) ดังนี้
- อนึ่ง เมื่อสัตว์นั้น ( บ่ายหน้า
) ไปอยู่อย่างนั้น ความตายย่อมใกล้เข้ามาทุกที ดุจความแห้งไปแห่ง ( น้ำใน )
ลำน้ำน้อยทั้งหลายที่ถูกแดดในฤดูร้อนแผดเผา ดุจความหล่นแห่งผลไม้ทั้งหลายที่มีขั้วอันรสอาโปซาบแล้ว
ในตอนเช้า ดุจความแตกแห่งภาชนะดินทั้งหลายที่ถูกทุบด้วยค้อน และดุจความเหือดหายไปแห่งหยาดน้ำค้าง
ทั้งหลายมีรัศมีดวงอาทิตย์ต้องเอาฉะนั้น เหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัส
( ๓ คาถาแรก และพระโพธิสัตว์
กล่าวคาถาที่ ๔ ) ว่า
- วันและคืนล่วงไป ชีวิตใกล้ดับเข้าไป
อายุของสัตว์ทั้งหลาย ( ค่อย ) สิ้นไป ดังน้ำแห่งลำน้ำน้อย
( ค่อย ) แห้งไปฉะนั้น
- ภัยแต่ความตาย ย่อมมีเป็นเที่ยงแท้แก่สัตว์ทั้งหลายผู้เกิดมาแล้ว
ดุจภัยแต่ความหล่นในเวลาเช้า
ย่อมมีแก่ผลไม้ทั้งหลายที่สุกแล้วฉะนั้น
- เหมือนอย่างภาชนะดินที่ช่างหม้อทำขึ้นแล้ว
ทั้งเล็กทั้งใหญ่ ทั้งสุกทั้งดิบ ล้วนมีความแตกเป็น
ที่สุดฉันใด ชีวิตของสัตว์ทั้งหลายก็เป็นฉันนั้น
- น้ำค้างที่ยอดหญ้า เพราะดวงอาทิตย์ขึ้นมา
ก็เหือดไปฉันใด อายุของมนุษย์ทั้งหลายก็เป็นฉันนั้น
ข้าแต่แม่ ขอแม่อย่าห้ามข้าฯ ( บวช ) เลย "
ดังนี้
- มรณะมาพร้อมกับชาติดุจเพชฌฆาตที่เงื้อดาบอยู่ฉะนี้
อนึ่งมรณะนี้นั้นย่อมคร่าชีวิตไปท่าเดียว ครั้นคร่า
เอาไปแล้วก็มิได้ ( ปล่อย ) ให้กลับ ดุจเพชฌฆาตนั้นจ่อดาบที่คอ ( จะฟันลงเป็นแน่
) ฉะนั้นเพราะเหตุนั้น
มรณะจึงชื่อว่าปรากฏดุจเพชฌฆาตผู้เงื้อดาบ เพราะมาพร้อมกับชาติ ( การเกิด ) และเพราะคร่าเอาชีวิต
ไปด้วยประการหนึ่ง ดังนี้แล พระโยคาวจรพึงระลึกถึงความตาย โดยอาการปรากฏดุจเพชฌฆาตดังกล่าวมาฉะนี้
อธิบายอาการที่ ๒ สมฺปตฺติวิปตฺติโต
- บทว่า สมฺปตฺติวิปตฺติโต ( โดยวิบัติแห่งสมบัติ
) มีอธิบายว่า อันสมบัติในโลกนี้จะงดงามอยู่ได้ก็ชั่วเวลา
ที่วิบัติยังไม่ครอบงำ และขึ้นชื่อว่าสมบัติที่จะล่วงพ้นวิบัติรอดอยู่ได้ หามีไม่
จริงอย่างนั้น
- แม้พระเจ้าอโศกผู้ทรงมีสุข
ได้ครอบครองแผ่นดินสิ้น ( ชมพูทวีป ) จ่ายพระราชทรัพย์ ( วันละ )
๑00 โกฏิ ในบั้นปลาย ( แห่งพระชนมชีพ ) ได้ทรงครองความเป็นใหญ่ต่อมะขามป้อมครึ่งผลเท่านั้น
ด้วยทั้งเรือนร่าง ( ของมหาราช ) นั้นแหละ ครั้นบุญมาสิ้นไป พระองค์ก็บ่ายพระพักตร์ต่อ
มรณะ ถึงซึ่งภาวะอันน่าเศร้าไปฉะนี้
- อีกนัยหนึ่ง ความไม่มีโรคแม้ทั้งปวง
ย่อมมีความเจ็บไข้เป็นปริโยสาน ( ที่สุด ) ความเป็นหนุ่มสาวทั้งปวง
มีความแก่เป็นปริโยสาน ( ที่สุด ) ความเป็นอยู่ทั้งปวงมีความตายเป็นปริโยสาน
( ที่สุด ) โลกสันนิวาสทั้งปวง
ทีเดียว ถูกชาติติดตาม ถูกชราไล่ตาม ถูกพยาธิครอบงำ ถูกมรณะทำลายล้าง เพราะเหตุนั้น
พระผู้มีพระภาค
เจ้าจึงตรัสว่า
- ภูเขาหินใหญ่ ( สูง ) จดฟ้า
กลิ้งบด ( สัตว์ ) มาทั้งสี่ทิศโดยรอบ ( ไม่เว้นใคร ) ฉันใดก็ดี
ความแก่และความตาย ก็ฉันนั้น ย่อมครอบงำสัตว์ทั้งหลาย คือพวกกษัตริย์ พวกพราหมณ์
พวกแพศย์
พวกศูทร พวกจัณฑาล และปุกกุสะ ( กรรมกรเทขยะ ) ไม่เว้นใครๆ บดขยี้หมดทั้งนั้น
ในความแก่และ
ความตายนั้น ( ชัย ) ภูมิสำหรับพลช้างไม่มี สำหรับพลม้าก็ไม่มี สำหรับพลรถก็ไม่มี
สำหรับพลราบ
ก็ไม่มี และทั้งใครๆ ไม่อาจเอาชนะได้ด้วยมันตยุทธ ( การรบด้วยใช้เวทมนต์ ) หรือด้วยทรัพย์
( สินบน )
- วิบัติคือมรณะ เป็นปริโยสาน (
ที่สุด ) แห่งสมบัติคือชีวิต โดยนัยดังกล่าวมาฉะนี้ พระโยคาวจรพึงเป็นผู้
กำหนดความที่ชีวิตมีมรณะเป็นปริโยสาน ( ที่สุด ) นั้น ระลึกถึงความตาย โดยอาการวิบัติแห่งสมบัติเทอญ
อธิบายอาการที่ ๓ อุปสํหรณโต
- บทว่า อุปสํหรณโต คือ โดย
( นึก ) เปรียบเทียบตนกับคนอื่นๆ ( ที่ตายแล้ว ) ในข้อนั้นมีอธิบายว่า
พระโยคาวจรพึงระลึกถึงความตายโดยเปรียบเทียบด้วยอาการ ๗ คือ
- ยสมหตฺตโต โดยความมียศใหญ่
- ปุญฺญมหตฺตโต โดยความมีบุญมาก
- ถามมหตฺตโต โดยความมีเรี่ยวแรงมาก
- อิทฺธิมหตฺตโต โดยความมีฤทธิ์มาก
- ปญฺญามหตฺตโต โดยความมีปัญญามาก
- ปจฺเจกพุทฺธโต โดยความเป็นพระปัจเจกพุทธะ
- สัมฺมาสมฺพุทฺธโต โดยความเป็นพระสัมมาสัมพุทธะ
ยสมหตฺตโต
- ถามว่า ( พึงระลึกโดยความมียศใหญ่
) อย่างไร ?
- แก้ว่า พึงระลึกโดยความมียศใหญ่อย่างนี้ว่า
" อันความตายนี้ได้ตกต้องผองท่านผู้มียศใหญ่ ( คือ ) ผู้มี
บริวารมาก มีทรัพย์และพาหนะพร้อมพรั่ง
- แม้กระทั่งพระเจ้ามหาสมมต พระเจ้ามันธาตุ
พระเจ้ามหาสุทัสสนะ และพระเจ้าทัฬหเนมิ มาแล้วไม่แคล้วได้
ก็เหตุไฉนมันจักไม่ตกต้องตัวเราเล่า
- ท่านผู้มียศใหญ่ทั้งหลาย แม้เป็นท้าวพญาผู้ประเสริฐเช่นพระเจ้ามหาสมมต
ท่านยังประสพอำนาจ
มฤตยู กล่าวอะไรในคนทั้งหลายเช่นเราเล่า
- ดังนี้เป็นประการแรก
ปุญฺญมหตฺตโต
- ( พึงระลึก ) โดยความมีบุญมากอย่างไร
? พึงระลึกโดยความมีบุญมากอย่างนี้ว่า
- เศรษฐีเหล่านี้คือ โชติยะ ชฏิละ
อุคคะ เมณฑกะ ปุณณกะ และคนอื่นๆ ที่ปรากฏว่า เป็นผู้มีบุญ
มากในโลก ยังถึงซึ่งความตายไปสิ้น กล่าวอะไรในคนทั้งหลายเช่นเราเล่า