| |
มงคลสูตร์คำฉันท์
ต้นมงคลสูตร์
สิบสองฉนำเหล่า |
นรอีกสุเทวา |
รวมกันและตริหา |
สิริมังคะลาใด |
เทวามนุษทั่ว |
พหุภพประเทศใน |
หมื่นจักระวาฬได้ |
ดำริห์สิ้นจิรังกาล |
แล้วยังบ่รู้มง- |
คะละสมมโนมาลย์ |
ด้วยกาละล่วงนาน |
บ่มิได้ประสงค์สม |
ได้เกิดซึ่งโกลา- |
หะละยิ่งมโหดม |
ก้องถึง ณ ชั้นพรหม |
ธ สถิตสเทือนไป |
องค์โลกะนาถเทศน์
|
วรมังคะลาใด |
ยังปาปะปวงให้ |
ทุษะเสื่อมวินาศมล |
ชนหลาย บ
พึงนับ |
ผิสดับสุมงคล |
ใดแล้วและรอดพ้น |
พหุทุกขะยายี |
เราควรจะกล่าวมง- |
คะละอันประเสริฐที่ |
กอบด้วยคุณามี |
วรอัตถะเฉิดเฉลา |
มงคลสูตร์
องค์พระอานนท์ท่านเล่า |
ว่าข้าพเจ้า |
ได้ฟังมาแล้วดังนี้ |
|
สมัยหนึ่งพระผู้มี |
พระภาคชินสีห์ |
ผู้โลกนาถจอมธรรม์ |
|
ประทับ ณ เชตะวัน |
วิหาระอัน |
อนาถะบิณฑิกไซร้ |
|
จัดสร้างอย่างดีที่ใน |
สาวัตถีให้ |
เปนที่สถิตสุขา |
|
ครั้งนั้นแลเทวะดา |
องค์หนึ่งมหา- |
นุภาพมหิทธิ์ฤทธี |
|
ล่วงประถมยามราตรี |
เธอเปล่งรัศมี |
อันเรืองระยับจับเนตร์ |
|
แสงกายเธอปลั่งยังเขต |
สวนแห่งเจ้าเชต |
สว่างกระจ่างทั่วไป |
|
องค์พระภควันนั้นไซร้ |
ประทับแห่งใด |
ก็เข้าไปถึงที่นั้น |
|
ครั้นเข้าใกล้แล้วจึ่งพลัน |
ถวายอภิวันท์ |
แด่องค์สมเด็จทศพล |
|
แล้วยืนที่ควรดำกล |
เสงี่ยมเจียมตน |
แสดงเคารพนบศีร์ |
|
เมื่อเทวดายืนดี |
สมควร ณ ที่ |
ข้างหนึ่งดังกล่าวแล้วนั้น |
|
จึ่งได้ทูลถามภควัน |
ด้วยถ้อยประพันธ์ |
เปนพระคาถาบรรจง |
|
เทพอีกมนุษหวัง |
คติโสตถิจำนง |
โปรดเทศะนามง- |
คะละเอกอุดมดี |
(ฝ่ายองค์สมเด็จชินสีห์ |
ตรัสตอบวาที |
ด้วยพระคาถาไพจิตร์) |
|
หนึ่งคือ บ่
คบพาล |
เพราะจะพาประพฤติผิด |
หนึ่งคบกะบัณฑิต |
เพราะจะพาประสบผล |
หนึ่งกราบและบูชา |
อภิบูชะนีย์ชน |
ข้อนี้แหละมงคล |
อดิเรกอุดมดี |
ความอยู่ประเทศซึ่ง |
เหมาะและควรจะสุขี |
อีกบุญญะการที่ |
ณ อดีตะมาดล |
อีกหมั่นประพฤติ์ควร |
ณ สะภาวะแห่งตน |
ข้อนี้แหละมงคล |
อดิเรกอุดมดี |
ความได้สดับมาก |
และกำหนดสุวาที |
อีกศิลปะศาสตร์มี |
จะประกอบมนุญการ |
อีกหนึ่งวินัยอัน |
นรเรียนและเชี่ยวชาญ |
อีกคำเพราะบรรสาน |
ฤดิแห่งประชาชน |
ทั้งสี่ประการล้วน |
จะประสิทธิ์มนุญผล |
ข้อนี้แหละมงคล |
อดิเรกอุดมดี |
บำรุงบิดามา- |
ตุระด้วยหทัยปรีย์ |
หากลูกและเมียมี |
ก็ถนอมประหนึ่งตน |
การงานกระทำไป |
บ่ มิยุ่งและสับสน |
ข้อนี้แหละมงคล |
อดิเรกอุดมดี |
ให้ทาน ณ กาลควร |
และประพฤติ์สุธรรมศรี |
อีกสงเคราะห์ญาติที่ |
ปฏิบัติบำเรอตน |
กอบกรรมะอันไร้ |
ทุษะกลั้วและมัวมล |
ข้อนี้แหละมงคล |
อดิเรกอุดมดี |
ความงดประพฤติ์บาป |
อกุศล บ่ ให้มี |
สำรวมวรินทรีย์ |
และสุรา บ่ เมามล |
ความไม่ประมาทใน |
พหุธรรมะโกศล |
ข้อนี้แหละมงคล |
อดิเรกอุดมดี |
เคารพ ณ
ผู้ควร |
จะประณตและนอบศีร์ |
อีกหนึ่งมิได้มี |
จะกระด้างและจองหอง |
ยินดี ณ
ของตน |
บ่ มิโลภทยานปอง |
อีกรู้คุณาของ |
นรผู้ประคองตน |
ฟังธรรมะโดยกา- |
ละเจริญคุณานนท์ |
ข้อนี้แหละมงคล |
อดิเรกอุดมดี |
มีจิตตะอดทน |
และสถิต ณ ขันตี |
อีกหนึ่ง บ่ พึงมี |
ฤดิดื้อทนงหาญ |
หนึ่งเห็นคณาเลิด |
สมณาวราจารย์ |
กล่าวธรรมะโดยกาล |
วรกิจจะโกศล |
ทั้งสี่ประการล้วน |
จะประสิทธิ์มนุญผล |
ข้อนี้แหละมงคล |
อดิเรกอุดมดี |
เพียรเผากิเลสล้าง |
มละโทษะยายี |
อีกหนึ่งประพฤติ์ดี |
ดุจะพรหมพิสุทธ์สรรพ์ |
เห็นแจ้ง ณ
สี่องค์ |
พระอะรียสัจอัน |
อาจนำมนุษผัน |
ติระข้ามทเลวน |
อีกทำพระนิพพา- |
นะประจักษ์ะแก่ชน |
ข้อนี้แหละมงคล |
อดิเรกอุดมดี |
จิตใครผิได้ต้อง |
วรโลกะธรรมศรี |
แล้วย่อม บ่ พึงมี |
จะประหวั่น ฤ กังวล |
ไร้โศกธุลีสูญ |
แลสบาย บ่ มัวมล |
ข้อนี้แหละมงคล |
อดิเรกอุดมดี |
เทวามนุษทำ |
วรมงคะลาฉนี้ |
เปนผู้ประเสริฐที่ |
บ่มิแพ้ ณ แห่งหน |
ย่อมถึงสวัสดี |
สิริทุกประการดล |
ข้อนี้แหละมงคล |
อดิเรกอุดมดี |
|