ผลงานของกิ่งฉัตร

ผลงานของกิ่งฉัตร > ลำเนาลม

17 >>>> ลำเนาลม

k2_lumnaolom.jpg (6607 bytes) ชื่อเรื่อง : ลำเนาลม

ตีพิมพ์ครั้งแรก : นิตยสารสกุลไทย

พิมพ์รวมเล่มครั้งแรก : สำนักพิมพ์ อรุณ มีนาคม 2544

จากภาพ : ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 1  สำนักพิมพ์ อรุณ  มีนาคม 2544

ISBN : 974-7074-17-6, จำนวน 1 เล่มจบ; 718 หน้า

จากปก :   จิลลาเหมือนว่าว...      ที่บัดนี้แม้จะไม่ขึ้นสูงอย่างน่าปลื้มใจ       หากกินลมนิ่ง    จนชเลได้แต่หวังลึกๆในใจ ให้ลมของเพื่อนสาวสงบนิ่งเช่นนี้เรื่อยไป      ไม่ต้องพัดขึ้นสูง      ทว่าอย่าพัดลงต่ำตกดินเช่นกัน

จากสำนักพิมพ์ :   การส่งลูกไปเรียนเมืองนอกไม่ใช่เรื่องยุ่งยากใหญ่โตอีกต่อไปแล้วสำหรับยุคนี้     จึงปรากฏหนุ่มสาว ชาวไทยจำนวนมากที่ไปใช้ชีวิตอิสระเสรีเรียนหนังสืออยู่ในประเทศต่างๆทั้งยุโรปและอเมริกา

"ลำเนาลม" ก็เป็นเรื่องจริงจากหลากหลายแหล่งข้อมูลที่ "กิ่งฉัตร" นำมาเรียงร้อยถักทอ     จนออกมาเป็นเรื่องราวเข้มข้น ของกลุ่มหนุ่มสาวกลุ่มหนึ่งที่ไปใช้ชีวิตเรียนหนังสืออยู่ที่ประเทศฝรั่งเศส    โดยมีชีวิตรักระหว่างเรียนของหญิงสาวสอง คนเป็นตัวดำเนินเรื่อง

ใครชอบอ่านนิยายแนวท่องเที่ยวอยู่แล้ว     รับรองไม่ผิดหวัง    หรือใครที่คิดอยากไปเรียนต่อต่างประเทศพอดี    ก็ไม่ควร แค่เปิดผ่าน    และยิ่งถ้ากำลังจะส่งลูกหลานไปเรียนต่อละก็    ขอบอกเลยว่าควรอ่านอย่างยิ่ง

สำนักพิมพ์อรุณ    มีนาคม 2544

จากผู้เขียน :   สารภาพตามตรงค่ะว่า     เมื่อเริ่มเขียนลำเนาลมนั้น    ดิฉันค่อนข้างเครียด     อาจจะเป็นเพราะเรื่องนี้ เนื้อหาและวิธีการนำเสนอแตกต่างไปจากเรื่องก่อนๆของ "กิ่งฉัตร"         เนื้อหาไม่หวือหวาและค่อนข้างหนักเพราะ พล็อตและรายละเอียดหลายส่วนนำมาจากชีวิตจริง      การเป็นนักเรียนนอกนั้น    ใครๆก็ฝันถึง     ใครๆก็อยากเป็น    แต่ไม่ ใช่คนไทยทุกคนที่ไป "เรียนนอก" จะกลับมาพร้อมกับความสำเร็จ      "เมืองนอก" ไม่เหมือน "บ้านเรา"    นอกจากความ เหงาจะเป็นศัตรูตัวฉกาจแล้ว      การอยู่ในดินแดนที่ค่าครองชีพสูงลิ่วยังดึงตัวตนและ "สันดาน"ที่แท้ จริงของมนุษย์ออกมาให้เห็นได้ชัด      อยู่เมืองไทยเลี้ยงข้าวเพื่อนฝูงได้สบาย    แต่พออยู่ต่างแดน...กระดาษชำระม้วน เดียวยังเกี่ยงกันออก    โต้เถียงว่าใครใช้มากใช้น้อย....

มาตรฐานบุคคลเป็นอีกหนึ่งในตัวแปรของผู้ไปเรียน   วินัย  ความอดทน   และความมุ่งมั่น     เป็นตัวกำหนดว่าใครจะ ประสบความสำเร็จในบั้นปลาย

เมื่อเริ่มต้นคิดชื่อของนวนิยายเรื่องนี้    ดิฉันคิดถึงว่าว    ชีวิตเหมือนว่าวที่เจ้าชีวิตทำหน้าที่เชิดชัก    วัฒนธรรม  ความเป็นอยู่   สิ่งแวดล้อม   และการตัดสินใจในการดำเนินชีวิตไม่ต่างจากสายลม    อยู่เมืองไทยมีหลายมือช่วย     ไม่ ต้องใช้พละกำลังอะไรมาก      ว่าวก็ขึ้นฟ้า ประคองตัวอยู่ได้      แต่เมื่อไปต่างแดนต้องคุมว่าวชีวิตกันเอง     ถ้าอ่อนแอ ไร้เรี่ยวแรง    รั้งสายป่านไม่ไหว     ปล่อยแนวลมเป็นคนกำหนด     ลมหนาวโหมแรง    สายป่านตึง,,,ว่าวมีสิทธิ์ขาดลอย   ลมอ่อน    สายป่านหย่อน....ว่าวก็อาจตกดิน     กระดาษขาดเปื้อนเปรอะ

คนที่คุมสายป่านอยู่เท่านั้น     ว่าวถึงจะกินลมได้สง่างาม !

จิลลาและขเลไม่ใช่ชีวิตของใครคนใดคนหนึ่งโดยตรง     แต่ดิฉันสร้างทั้งคู่ขึ้นจากคำบอกเล่า .......(อ่านต่อในเล่มนะคะ)   .......

กิ่งฉัตร    

awrite.gif (1762 bytes)เชิญออกความเห็นเกี่ยวกับเรื่อง "ลำเนาลม"  


"บ้านกิ่งฉัตร" เป็นโฮมเพจกิ่งฉัตรอย่างไม่เป็นทางการ    มิได้จัดทำขึ้นเพื่อผลประโยชน์ใดๆแก่ผู้จัดทำ    "กิ่งฉัตร" และผลงานที่อ้างอิงบนโฮมเพจนี้   ยังคงเป็นสิทธิ์ของผู้เขียนและผู้พิมพ์ทุกประการ

"บ้านกิ่งฉัตร" จัดทำโดย กมลวรรณ อ่อนละมัย   7 ก.พ. 2544