พัฒนาการบุคคลในทรรศนะของฟรอยด์

ฟรอยด์ เชื่อว่า บุคลิกภาพของผู้ใหญ่นั้นพัฒนามาจากบุคคลในวัยเด็กที่เป็นผลของพัฒนาการทางเพศรวมกับวิธีการที่บุคคลใช้ในการแก้ปัญหา

วิธีการที่บุคคลใช้ในการแก้ปัญหาเมื่อเกิดความคับข้องใจและไม่สามารถใช้วิธีแก้ปัญหาอย่างตรงไปตรงมาอย่างมีเหตุผล หรือโดยอาศัยหลักความจริงได้นั้น ฟรอยด์เรียกว่า กลวิธานหรือกลไกในการป้องกันตัว ( Defense Mechanisms )

เป็นวิธีที่บุคคลใช้ลดความเครียดเพื่อแก้ปัญหาที่ไม่สามารถแก้ได้ด้วยเหตุผลที่ตรงไปตรงมา ถ้าใช้วิธีนี้เป็นครั้งคราว เพื่อลดความเครียดให้ตนสามารถเผชิญกับปัญหาได้ บุคคลนั้นก็จะสามารถปรับตัวได้และอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข แต่ถ้าใช้วิธีนี้เป็นประจำไม่ยอมรับความเป็นจริง บุคคลนั้นก็จะอยู่ในโลกของตนเองมีอาการประสาทหลอนและกลายเป็นโรคจริง

กลวิธานที่สำคัญตามทรรศนะของฟรอยด์ ได้แก่

การนับตนเข้าเป็นพวก

เป็นการปรับตัวเพื่อลดความเครียดด้วยการกระทำตนให้มีลักษณะท่าทางหรือแม้แต่ความคิดอ่าน คล้ายหรือเหมือนบุคคลที่ตนเองพอใจ เพื่อจะได้รู้สึกว่าตนเป็นเหมือนอย่างคนนั้นคนนี้ทั้งๆที่ความจริงแล้วไม่ได้เป็น

การชดเชย

เป็นกลวิธีในการปรับตัวเพื่อลดความเครียดด้วยการพยายามทำสิ่งอื่นทดแทน หรือชดเชยสิ่งที่ตนทำไม่ได้

การทดแทน

เป็นกลวิธีในการปรับตัวเพื่อลดความเครียดที่คล้ายๆกับกรรชดเชยต่างกันที่การทดแทนเป็นการหาสิ่งอื่นมาชดเชยสิ่งที่ตนต้องการซึ่งความต้องการของตนเป็นที่ยอมรับของสังคม

การเก็บกด

เป็นกลวิธีในการปรับตัวเพื่อลดความเครียด ด้วยการแกล้งทำเป็นลืมเหตุการณ์บางอย่างที่กระทบกระเทือนจิตใจ หรือเก็บความรู้สึกกดดันไว้ในใจ บางครั้งมีความรู้สึกเหมือนไม่เคยประสบกับเหตุการณ์นั้นจริงๆ คือเกิดการลืมไปชั่วขณะหนึ่ง

การกล่าวโทษผู้อื่น

เป็นกลวิธีในการปรับตัวเพื่อลดความเครียด ด้วยการกล่าวโทษผู้อื่นหรือสิ่งอื่นว่าเป็นสาเหตุของปัญหาเพื่อตนเองจะได้รู้สึกสบายใจว่าตนมิใช่ผู้ผิด

การทำตรงกันข้ามกับใจคิด

เป็นกลวิธีในการปรับตัวเพื่อลดความเครียด โดยการแสดงพฤติกรรมออกมาตรงข้ามกับความรู้สึกนึกคิดที่ไม่ดี เพ่อแสดงให้ผู้อื่นเห็นว่าตนไม่ได้คิดหรือเป็นอย่างที่คิด

การถอยกลับ

เป็นกลวิธีในการปรับตัวเพื่อลดความเครียด ด้วยการถอยกลับไปหาพฤติกรรมในขั้นพัฒนาการที่เคยผ่านมาแล้ว

การหาเหตุผลเข้าข้างตนเอง

เป็นกลวิธีในการปรับตัวเพื่อลดความเครียด โดยพยายามหาเหตุผลตางๆมาอ้างเพื่อให้ตนเกิดความสบายใจทั้งๆที่เหตุผลที่ยกมาอ้างมิใช่เหตุผลโดยแท้จริงของสิ่งที่กำลังเป็นปัญหา

การก้าวร้าว

เป็นกลวิธีในการปรับตัวเพื่อลดความเครียด ด้วยการทำให้ผู้อื่นได้รับความกระทบกระเทือน เพื่อเป็นการระบายอารมณ์ที่ตึงเครียด

กิจกรรมพัฒนากล้ามเนื้อใหญ่

เพื่อให้เด็กพัฒนาความแข็งแรงของกล้ามเนื้อใหญ่ และความคล่องแคล่วในการใช้อวัยวะต่างๆโดยให้เด็กได้ เล่นอิสระกลางแจ้ง เล่นเครื่องเล่นสนาม เคลื่อนไหวร่างกายตามจังหวะดนตรี รายละเอียดของการจัดกิจกรรมเป็นดังนี้

1. เล่นอิสระกลางแจ้ง มุ่งพัฒนากล้ามเนื้อใหญ่ แต่ในขณะเดียวกันก็ฝึกให้เด็กได้คิดตัดสินใจเลือกโดยอิสระด้วยตัวเอง เด็กจะเป็นผู้เลือกที่จะเล่นเอง ทั้งวิธีการเล่น วัสดุอุปกรณ์ที่จะใช้ สถานที่ที่จะเล่น

2. การเล่นเครื่องเล่นสนาม เป็นกิจกรรมเพื่อให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรง มีโอกาสลงมือปฏิบัติและกระทำกับอุปกรณ์เครื่องเล่นสนามได้อย่างอิสระ การเล่นเครื่องเล่นสนามจะทำให้เด็กมีโอกาสพัฒนาการหลายด้าน โดยเฉพาะการพัฒนากล้ามเนื้อใหญ่ และฝึกทักษะ การสังเกต การรู้จักการแก้ปัญหาจากการเล่น

เครื่องสนามมีหลายลักษณะ เช่น เครื่องเล่นปีนป่าย เครื่องเล่นสำหรับโยกหรือไกว เครื่องเล่นสำหรับหมุน เครื่องเล่นประเภทล้อเลื่อน ราวโหนขนาดเล็ก ราวไม้สำหรับทรงตัว เป็นต้น

3. การเคลื่อนไหวร่างกายตามจังหวะดนตรี เป็นกิจกรรมที่เด็กได้เคลื่อนไหวส่วนต่างๆของร่างกายอย่างอิสระตามจังหวะเพลง โดยใช้เสียงเพลง คำคล้องจอง และอุปกรณ์อื่นๆมาประกอบการเคลื่อนไหว

กิจกรรมการเคลื่อนไหร่างกายควรเริ่มจากเคลื่อนไหวอิสระ ตามความคิดของเด็กเองมีทั้งการเคลื่อนไหวอยู่กับที่และการเคลื่อนไหวจากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่ง ทั้งที่เป็นรายบุคคล เป็นคู่ เป็นกลุ่มเล็กๆหรือทั้งกลุ่มใหญ่ อุปกรณ์และวัสดุที่ใช้ประกอบการเคลื่อนไหวและใช้จังหวะควรเป็นสิ่งของที่อยู่ใกล้ตัวเด็ก เช่น กระดาษหนังสือพิมพ์ เศษผ้า ท่อนไม้

ภายหลังจากการเล่นออกกำลัง เคลื่อนไหวร่างกายแล้วต้องให้เด็กพักผ่อนโดยอาจให้นอนเล่นบนพื้นห้อง พื้นสนามหญ้า เปิดเพลงจังหวะช้าๆเบาๆที่สร้างความรู้สึกให้เด็กอยากพักผ่อน

กิจกรรมพัฒนากล้ามเนื้อเล็ก

เพื่อให้เด็กได้พัฒนาความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ การประสานสัมพันธ์ระหว่างมือและตา จึงแนะนำให้จัดกิจกรรมให้เด็กคือ

1. การเล่นเครื่องเล่นสัมผัส เป็นการที่เด็กใช้ประสาทสัมผัส คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย สัมผัส รับรู้ มีปฏิสัมพันธ์กับวัตถุสิ่งของเครื่องเล่นต่างๆ ได้แก่ เครื่องเล่นสัมผัสเพื่อการเรียนรู้เรื่องมิติ รูปร่าง

2. เล่นเกมต่อภาพ เด็กได้เรียนรู้คำศัพท์และภาษาพัฒนาไปพร้อมๆกัน การต่อเรียงภาพเป็นเรื่องราว เด็กจะสามารถเข้าใจเรื่องได้ตลอด การเล่นแบบนี้นำมาสู่การพัฒนาความพร้อมที่จะนำไปสู่สัญลักษณ์ รูป เสียง พยัญชนะ และคำศัพท์ง่ายๆ

3. การฝึกช่วยเหลือตัวเองในการแต่งกาย คือการฝึกให้เด็กรู้จักกิจวัตรประจำวันเกี่ยวกับสวม – ถอดเสื้อผ้า ทาแป้ง หวีผม ใส่ – ถอดถุงเท้า รองเท้าด้วยตนเอง เป็นการทำให้เด็ก มีโอกาสใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กและประสาทสัมพันธ์กันระหว่างมือกับตา

4. การหยิบจับช้อนส้อม การจัดสภาพแวดล้อมให้เด็กได้มีโอกาสหยิบจับช้อนส้อมประกอบด้วยสถานที่ หมายถึงบริเวณที่เด็กรับประทานอาหาร ฝึกให้เด็กเข้าแถว เรียงลำดับก่อน-หลัง เพื่อรับถาดอาหาร จัดวางช้อนส้อมไว้บนจานหรือบนโต๊ะ ฝึกวิธีการตักอาหารรับประทานด้วยช้อนส้อมประกอบกัน เมื่อรับประทานอิ่มแล้วควรรวบช้อนส้อม รู้จักเก็บวางภาชนะที่ใช้รับประทาน

5. การใช้อุปกรณ์ศิลปะ เช่น สีเทียน กรรไกร พู่กัน ดินเหนียว ให้อิสระและความเข้าใจกับธรรมชาติของเด็กและให้เวลาแก่เด็กเต็มที่

การปั้นดินเหนียว ดินน้ำมัน แป้งโดว์ คือ เมื่อเด็กได้สัมผัสด้วยนิ้วมือจะรู้สึกนุ่ม เหนียว และความแตกต่างของสี จากดินน้ำมันและแป้งโดว์ เพื่อให้เด็กพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็ก พัฒนาการประสานสัมพันธ์กันระหว่างมือกับตา และประสาทสัมผัสทางกาย รู้จักคุณลักษณะการอ่อน หยุ่น นุ่ม แข็ง เรียบ มัน และทางอื่นๆ สี กลิ่น

 

กลับดีกว่า