(จากหนังสือ เตรียมสอบ ม.3 / สำนักพิมพ์พัฒนาศีกษา)

โจทย์        วัตถุวางอยู่ห่างจากเลนส์นูน 40 cm เกิดภาพจริงห่างจากเลนส์ 40 cm เลนส์นูนมีความยาวโฟกัสเท่าใด วิธีคิด
		1        =      1     +     1
	                      f                 u            v
	
	 f      คือ   ความยาวโฟกัส	        =     ?
	u      คือ   ระยะวัตถุ	        =     +  40 cm  ( u  ของเลนส์นูนเป็น  + )
	v      คือ   ระยะภาพ	        =     +  40 cm  ( v  ของภาพจริงเป็น  + )
		1          =           1        +        1   
		 f                    + 40             + 40
		1          =          2  
		 f                     40
		 f          =         40 
		                        2
		 f          =         20
	เลนส์นูนมีความยาวโฟกัส 20 cm			    Ans

โจทย์        วัตถุวางอยู่ห่างจากเลนส์เว้า 36 cm ถ้าเลนส์เว้ามีความยาวโฟกัส 12 cm ภาพที่เกิดขึ้นอยู่ห่างจากเลนส์เว้าเท่าใด
วิธีคิด

		1        =      1     +     1
	                      f                 u            v
	
	 f      คือ   ความยาวโฟกัส	        =     -  12 cm  ( f  ของเลนส์เว้าเป็น  - )
	u      คือ   ระยะวัตถุ	        =     +  36 cm  ( u  ของเลนส์เว้าเป็น  + )
	v      คือ   ระยะภาพ	        =     ?
	                     1          =        1       +     1
	                 - 12                   36              v		
                          - 1        - 1           =        2
                          12        36                      v
                                 - 1 - 1           =        1
                                    36                         v		
                                      - 4            =        1
                                      36                       v		 
                                        v             =       - 36 
		                        4
                                        v             =        - 9
      ภาพที่เกิดขึ้นอยู่ห่างจากเลนส์เว้า 9 cm ( ภาพที่เกิดขึ้นเป็นภาพเสมือนเพราะ  v  เป็น  - )	         Ans
  • การเขียนทางเดินของแสงผ่านเลนส์ เพื่อหาตำแหน่งและลักษณะภาพโดยใช้รังสีของแสง 2 เส้น ทำได้ดังนี้
    1. ลากรังสีของแสงจากวัตถุขนานแกนมุขสำคัญ แล้วหักเหผ่านจุดโฟกัสของเลนส์
    2. ลากรังสีของแสงจากวัตถุผ่านกึ่งกลางเลนส์โดยไม่หักเห
  • รังสีของแสงทั้งสองเส้นไปตัดกันที่ใด ตำแหน่งนั้น คือ ตำแหน่งภาพ    รูปที่14.1
    ถ้ารังสีของแสงทั้งสองไปตัดกันจริงจะเกิดภาพจริง
    ถ้าเสมือนหนึ่งไปตัดกันจะเกิดภาพเสมือน
  • มนุษย์ได้นำเลนส์นูนมาใช้ เป็นส่วนประกอบของอุปกรณ์ต่างๆ หลายชนิด เช่น แว่นขยาย เครื่องฉายภาพนิ่ง กล้องถ่ายรูป กล้องจุลทรรศน์ กล้องโทรทรรศน์
  • เมื่อแว่นขยายส่องดูวัตถุ จนเห็นภาพชัดเจนแล้ว วัตถุจะอยู่ใกล้กว่าความยาวโฟกัส ของแว่นขยาย ภาพที่เกิดจากแว่นขยายเป็นภาพเสมือนหัวตั้งมีขนาดใหญ่กว่าวัตถุ การใช้แว่นขยายส่องดูวัตถุต้องถือแว่นขยายให้อยู่ใกล้ตาเสมอ แล้วเลื่อนวัตถุไปมาจน เห็นภาพได้ชัดเจน
  • ภาพที่เกิดจากเลนส์นูน จึงเป็นได้ทั้งภาพจริงหัวกลับที่มีขนาดใหญ่กว่าวัตถุ หรือเท่าวัตถุ หรือเล็กกว่าวัตถุ หรือภาพเสมือนหัวตั้งโตกว่าวัตถุขึ้นอยู่กับระยะวัตถุ ส่วนภาพที่ เกิดจากเลนส์เว้าเป็นภาพเสมือนหัวตั้งขนาดเล็กกว่าวัตถุเสมอ    รูปที่14.2
  • กล้องโทรทรรศน์ประเภทหักเหแสง ประกอบด้วย เลนส์นูน 2 อัน คือ    รูปที่14.3
    1. เลนส์ใกล้ตา อยู่ใกล้ตาใช้สำหรับมองดู เป็นเลนส์นูนที่มีความยาวโฟกัสสั้น
    2. เลนส์ใกล้วัตถุ อยู่ไกลตาหรืออยู่ใกล้วัตถุ เป็นเลนส์นูนที่มีความยาวโฟกัสยาว
  • กล้องโทรทรรศน์ประเภทหักเหแสง มีหลักการดังนี้ เมื่อแสงจากวัตถุที่อยู่ไกลผ่านผ่านเลนส์ใกล้วัตถุทำให้ เกิดภาพจริงหัวกลับ ภาพนี้จะเป็นวัตถุของเลนส์ใกล้ตา เลนส์ใกล้ตาจะทำหน้าที่ขยายภาพอีกครั้งหนึ่ง ภาพที่ตาเห็นเป็นภาพเสมือน ขนาดขยาย และเป็นภาพหัวกลับกับวัตถุเดิม    รูปที่14.4
  • กำลังขยายของกล้องโทรทรรศน์ประเภทหักเหแสง หาได้จากสูตร

    กำลังขยายของกล้องโทรทรรศน์ประเภทหักเหแสง    =    fo
                                                                                             fe
    
    เมื่อ	 fo      คือ   ความยาวโฟกัสของเลนส์ใกล้วัตถุ
    	fe      คือ   ความยาวโฟกัสของเลนส์ใกล้ตา
    
    โจทย์        กล้องโทรทรรศน์อันหนึ่ง เลนส์ใกล้วัตถุมีความยาวโฟกัส 200 cm เลนส์ใกล้ตามีความยาวโฟกัส 10 cm จงหากำลังขยายของกล้องโทรทรรศน์
    วิธีคิด
    	 กำลังขยายของกล้องโทรทรรศน์	        =     fo
    				        =     fe
    		=     200 cm             	        =     20		         
    		         10 cm	
    	 กำลังขยายของกล้องโทรทรรศน์	        =     20   เท่า             Ans                             
    


ย้อนกลับ       กลับไปหน้าหลัก       หน้าถัดไป