(จากหนังสือ เตรียมสอบ ม.3 / สำนักพิมพ์พัฒนาศีกษา)
ขณะที่มนุษย์อวกาศอยู่ในอวกาศจะประสบปัญหา ดังนี้
สภาพไร้น้ำหนัก ถ้าอยู่ในสภาพไร้น้ำหนักเป็นเวลานานจะทำให้กล้ามเนื้อออกแรงน้อยกว่าปกติ ทำให้กล้ามเนี้อลีบและทำให้ของเหลวในร่างกายเคลื่อนตัวจากส่วนล่างมายังร่างกายส่วนบน
สภาพความดันต่ำและอุณหภูมิสูง ความดันภายนอกต่ำกว่าความดันโลหิตในร่างกายมาก จึงทำให้หลอดโลหิตแตกและถึงแก่ความตายได้ นอกจากนั้นในอวกาศยังมีอุณหภูมิสูงและเต็มไปด้วยรังสีต่าง ๆ
นักบินอวกาศต้องออกกำลังกายอยู่เสมอเพื่อ
- ทำให้กล้ามเนื้อแข็งแรง ไม่เกิดกล้ามเนื้อลีบ
- ช่วยให้ระบบสูบฉีดโลหิตทำงานเช่นเดียวกับเมื่ออยู่ในสภาพปกติ
นักบินอวกาศต้องสวมชุดอวกาศ เพื่อ
- ปรับความดันให้สมดุลกับความดันโลหิตในร่างกาย
- ป้องกันพลังงานความร้อน และรังสีต่าง ๆ จากดวงอาทิตย์
ยุคอวกาศ เริ่มต้นในปี พ.ศ. 2500 เมื่อดาวเทียมสปุตนิก 1 ซึ่งเป็นดาวเทียมดวงแรงของโลกถูกส่งขึ้นไปโคจรรอบโลก ข้อมูลที่ดาวเทียมดวงนี้ส่งกลับมาสู่โลก ได้แก่
- ข้อมูลเกี่ยวกับความหนาแน่นของบรรยากาศชั้นสูง
- ข้อมูลเกี่ยวกับอุณหภูมิของบรรยากาศชั้นสูง
มนุษย์อวกาศคนแรกของโลก คือ ยูริ กาการิน ชาวรัสเซีย
มนุษย์ส่งสถานีอวกาศพร้อมนักบินอวกาศขึ้นไปโคจรรอบโลก เพื่อทำกิจกรรมต่าง ๆ เช่น สำรวจสภาวะแวดล้อมของโลก
วิจัยและปฏิบัติการทดลองที่ไม่สามารถทำได้บนโลก หรือทำได้ยากและสั้น เปลืองค่าใช้จ่าย
ในปัจจุบันเราใช้ยานขนส่งอวกาศ ทำหน้าที่แทนจรวด เพราะยานขนส่งอวกาศสามารถนำกลับมาใช้ได้อีกหลายครั้ง เราใช้ยานขนส่งอวกาศทำกิจกรรมต่าง ๆ ดังนี้
- นำยานอวกาศ ดาวเทียม สถานีอวกาศและอุปกรณ์อื่น ๆ ขึ้นไปปฏิบัติงาน
- เก็บดาวเทียมที่หมดอายุและมาซ่อมแซม หรือนำลงมาซ่อมแซมบนโลก และนำกลับขึ้นไปปล่อยใหม่
- ทำการทดลองทางอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น การหลอม เชื่อมโลหะ ผลิตโลหะผสม ทำวัคซีน และการตกผลึกในอวกาศ
ยานขนส่งอวกาศ ประกอบด้วย
ยานโคจร สำหรับขนส่งนักบินอวกาศ และอุปกรณ์ค้นคว้าทดลอง
ถังเชื้อเพลิงด้านนอก บรรทุกเชื้อเพลิง ได้แก่ ไฮโดรเจนเหลว และตัวเผาไหม้ ได้แก่ ออกซิเจนเหลวให้กับจรวดหลัก 3 เครื่องของยานโคจร
จรวดเชื้อเพลิงแข็ง 2 ตัว ให้แรงเสริมในการส่งยานขึ้นสู่อวกาศ
* ยานโคจรและจรวดเชื้อเพลิงแข็ง สามารถนำกลับมาใช้ได้อีกหลายสิบครั้ง
ในปัจจุบันข้อมูลเกี่ยวกับอวกาศ ได้จากการรายงาของอุปกรณืและเครื่องมือที่ส่งขึ้นไปมากกว่าได้จากการสังเกตของนักบินอวกาศ
ในอนาคตการเก็บข้อมูลนอกโลกจึงเน้นไปที่การส่งอุปกรณ์และเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพสูงมากกว่าการส่งมนุษย์
ประเทศไทยใช้บริการผ่านดาวเทียม 3 ระบบ คือ
- ดาวเทียมอุตุนิยมวิทยา
- ดาวเทียมสื่อสาร
- ดาวเทียมสำรวจทรัพยากรธรรมชาติ
ดาวเทียมทุกระบบมีเครื่องส่งวิทยุ แต่ดาวเทียมอุตุนิยมวิทยา และดาวเทียมสำรวจทรัพยากรธรรมชาติมีกล้องถ่ายภาพด้วย
ดาวเทียมทุกระบบส่งข้อมูลในรูปสัญญาณคลื่นวิทยุและสัญญาณวิทยุโทรภาพมายังสถานีรับสัญญาณบนพื้นโลก แล้วมีเครื่องมือแปลคลื่นวิทยุออกมาเป็นตัวเลข ภาพถ่าย และกราฟแสดงข้อมูลต่าง ๆ
ดาวเทียมอุตุนิยมวิทยามีประโยชน์ ดังนี้
- ใช้ติดตามลักษณะอากาศ โดยเฉพาะลักษณะอากาศแปรปรวน เช่น การเกิดพายุฟ้าคะนอง การเคลื่อนที่และความแรงของพายุหมุนเขตร้อน
- ใช้คำนวณหาความเร็วลมชั้นบน
- ใช้หาอุณหภูมิอากาศแต่ละระดับความสูง
- ติดตามการเปลี่ยนแปลง ตำแหน่ง จำนวนและชนิดของเมฆ
- ใช้คำนวณปริมาณน้ำฝนได้โดยประมาณ
- ใช้สำรวจข้อมูลในบริเวณที่ไม่มีสถานีตรวจอากาศ เช่น ในถิ่นทุรกันดาร ทะเลหรือมหาสมุทร
- ใช้ประโยชน์ในด้านการเกษตรและการประมง
ดาวเทียมอุตุนิยมวิทยา ได้แก่ ดาวเทียม GMS - 3 ดาวเทียม NOAA - 8 ดาวเทียม NOAA - 9
ดาวเทียมสื่อสาร ได้แก่ ดาวเทียมขององค์การอินเทลแสต ดาวเทียมปาลาปา
ประเทศไทยใช้ดาวเทียมสื่อสารเพื่อติดต่อสื่อสารระหว่างประเทศและในประเทศ กิจการโทรทัศน์ สื่อสารข้อมูล ถ่ายทอดสัญญาณโทรทัศน์
และสื่อสารภายในประเทศ บริการโทรคมนาคมภายในประเทศถ่ายทอดสัญญาณวิทยุและโทรทัศน์จากส่วนกลางไปยังต่างจังหวัด โดยผ่านสถานีเครือข่าย
ดาวเทียมไทยคม เป็นดาวเทียมสื่อสารดวงแรกของไทย ถูกส่งขึ้นไปโคจรเหนือประเทศไทยในเดือนธันวาคม 2536
ดาวเทียมดวงนี้ใช้ในการส่งสัญญาณภาพเสียง และข้อมูลที่เป็นประโยชน์กับงานธุรกิจคอมพิวเตอร์ วิทยุกระจายเสีย โทรทัศน์ โทรศัพท์ เคเบิลโฟนลิงค์ โทรศัพท์เคลื่อนที่
ดาวเทียมสำรวจทรัพยากร ได้แก่ ดาวเทียมแลนด์แซต ดาวเทียมสปอต ดาวเทียมมอส
ข้อมูลจากดาวเทียมสำรวจทรัพยากรมีการนำไปใช้ประโยชน์ในหลายสาขา เช่น ด้านป่าไม้ ด้านการใช้ที่ดิน ด้านการเกษตร
ด้านอุทกวิทยา ด้านธรณีวิทยา ด้านสมุทรศาสตร์และการประมง ด้านสิ่งแวดล้อและด้านการทำแผนที่