(จากหนังสือ เตรียมสอบ ม.3 / สำนักพิมพ์พัฒนาศีกษา)
15.5 การต่อหลอดไฟ
ในหลอดไฟฟ้ามีไส้หลอด ไส้หลอดเป็นตัวนำไฟฟ้าที่มีความต้านทานสูง ไส้หลอดนี้อาจเรียกว่า "ลวดต้านทาน" เราใช้สัญญลักษณ์
แทนลวดต้านทาน
เมื่อต่อหลอดไฟฟ้าแบบอนุกรมแล้วต่อกับถ่านไฟฉาย หลอดไฟฟ้าแต่ละหลอดจะสว่างน้อยกว่า เมื่อต่อหลอดไฟฟ้าแบบขนานแล้วต่อกับถ่านไฟฉาย แสดงว่าความต้านทานรวมของหลอดไฟ เมื่อต่อแบบอนุกรมมีค่ามากกว่าเมื่อต่อแบบขนาน
กระแสไฟฟ้าจึงผ่านหลอดไฟที่ต่อแบบอนุกรมได้น้อยกว่าหลอดไฟที่ต่อแบบขนาน
ถ้าต่อหลอดไฟฟ้าแบบอนุกรม แล้วต่อกับสายไฟฟ้าในบ้าน จะเกิดปัญหาดังนี้
- หลอดไฟฟ้าแต่ละหลอดสว่างน้อยลง
- ถ้าไส้หลอดของหลอดใดหลอดหนึ่งขาด หลอดที่เหลือทุกหลอดจะไม่สว่าง
- ไม่สามารถเลือกเปิดบางหลอดได้
การต่อหลอดไฟฟ้าในบ้านจึงต้องต่อกันแบบขนานเพราะ
- หลอดไฟฟ้าแต่ละหลอดสว่างกว่าเมื่อต่อแบบอนุกรม
- ถ้าหลอดไฟฟ้าหลอดใดหลอดหนึ่งขาด หลอดที่เหลือก็ยังสว่าง
- สามารถเลือกเปิดบางหลอดได้
การต่อเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านจึงต้องต่อกันแบบขนานเพราะ
- หลอดไฟฟ้าแต่ละหลอดสว่างกว่าเมื่อต่อแบบอนุกรม
- ถ้าหลอดไฟฟ้าหลอดใดหลอดหนึ่งขาด หลอดที่เหลือก็ยังสว่าง
- สามารถเลือกเปิดบางหลอดได้
ประเทศไทยมีการใช้พลังงานไฟฟ้าเพิ่มขึ้นทุกปีเนื่องจาก
- ประชากรเพิ่มมากขึ้น
- มีการพัฒนาทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมากขึ้น
กฎของโอห์ม กล่าวว่า "เมื่ออุณหภูมิของตัวนำคงที่ อัตราส่วนระหว่างความต่างศักย์กับกระแสไฟฟ้าในตัวนำนั้นมีค่าคงที่เสมอ ค่าคงที่นั้นคือความต้านทานของตัวนำ"
กฎของโอห์ม เขียนเป็นสูตรได้ว่า
| R | = | V | หรือ | V | = | IR |
หรือ | I | = | V | |
| | | I | | | | |
| | | R | |
|